Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กรกฎาคม 2548
"คอตโต้" เปิดศูนย์รื้อ-ซ่อม-แก้บ้านเก่าเก็บข้อมูลตลาด คาดปี49 ได้ฤกษ์ลุยเต็มตัว             
 


   
search resources

สยาม ซานิทารี แวร์ อินดัสตรี, บจก.
Construction




"คอตโต้" เปิด "ศูนย์บริการอะไหล่-ก๊อกน้ำสุขภัณฑ์ คอตโต้" พร้อมจับมือตัวแทนจำหน่าย เปิด "คอตโต้ เซอร์วิส คอนเนอร์" รับซ่อมแก้ไข ซุ่มเก็บข้อมูลตลาดปรับปรุงบ้านเก่าทั่วประเทศ ย้ำพร้อมเมื่อไหร่ลุยเต็มที่ คาดปี 49 ทำตลาดเต็มตัว เชื่อดีมานด์ตลาดมีอยู่สูง ขณะที่ปัจจุบันผู้ประกอบการแชร์ตลาดได้เพียง 10% แจง ระยะเวลา ความสะอาด ความปลอดภัย ความพร้อม ปัจจัยสำคัญส่งผลต่อการตัดสินใจปรับปรุงที่อยู่อาศัย เชื่อแนวโน้มตลาดขยายตัวต่อเนื่อง ด้าน "สหโมเสค" ชี้ยอดขาย 70% มาจากตลาดปรับปรุงบ้านเก่า ขณะที่ "พลัส" หัวใส เปิดบริการ Plus Fast Fix ใช้เป็นจุดขายโครงการ

เป็นที่ทราบกันดีว่านับจากช่วงต้นปี 48 มา ราคาน้ำมันมีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการก่อสร้างในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งหากมีการคิดเฉลี่ยที่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับตัวของราคาน้ำมัน ในธุรกิจบ้านจัดสรรมีต้นทุน ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 10-15% ส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในธุรกิจ วัสดุก่อสร้างประเภท ปูนซีเมนต์, กระเบื้องและสุขภัณฑ์ เฉลี่ยมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 15% ทำให้ผู้ประกอบการบ้านจัดสรร ต้องปรับราคาที่อยู่อาศัยขึ้นประมาณ 5-10% และหันไปลดต้นทุนในด้านอื่น อาทิ การบริหารจัดการ เร่งระยะเวลาในการก่อสร้างแทน เพื่อลดต้นทุนในส่วนที่เพิ่มขึ้นมา

ส่วนในตลาดวัสดุก่อสร้าง ผู้ประกอบการต่างหันไปลดต้นทุนในด้านค่าขนส่ง วัตถุดิบ การใช้พลังงานทดแทนในการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาตามต้นทุนในส่วนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะปรับขึ้นราคาขายวัสดุก่อสร้างอยู่ประมาณ 5-10% บางรายต้องปรับขึ้นตามต้นทุนที่แท้จริงประมาณ 10-15% ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้ขยายตัวอยู่ในวงแคบ แต่ยังขยายตัวไปสู่บริษัทรับสร้างบ้าน ซึ่งที่ผ่านมาทุกบริษัทต่างมีการปรับตัวลดต้นทุนค่าก่อสร้างลง แต่ก็ไม่สามารถจะทดแทนต้นทุนในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาได้ทั้งหมด ทำให้ต้องมีการปรับราคาค่าก่อสร้างขึ้นอีกประมาณ 5-7%

การปรับขึ้นราคาที่อยู่อาศัย วัสดุก่อสร้าง ค่าก่อสร้าง ของผู้ประกอบการ นับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคในตลาดมีกำลังซื้อที่ลดลง และต้องชะลอการซื้อออกไปเพื่อรอดูสถานการณ์ตลาดและเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งปัจจัยสำคัญทางด้านอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มปรับตัวขึ้นตามสภาพคล่องที่เปลี่ยนไป

นายนิพนธ์ ธีรนาทสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ซานิทารี แวร์ อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์ คอตโต้ เปิดเผยว่า ตลาดปรับปรุงบ้านเก่านับว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีดีมานด์จำนวนมาก แต่ยังไม่มีการศึกษาและข้อมูลที่ชัดเจนว่าตลาดจริงมีขนาดเท่าใด และยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดสามารถเข้าไปครอบครองตลาดได้หมด โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการเข้าไปมีแชร์ ตลาดดังกล่าวอยู่ไม่ถึง 10% ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดที่ผู้ประกอบการเข้าถึงและมีการปรับปรุงชัดเจนมากที่สุด จะเป็นตลาดโรงแรม โรงพยาบาล ส่วนตลาดบ้านยังมีจำนวนน้อยอยู่

ทั้งนี้เชื่อว่า แนวโน้มตลาดปรับปรุงบ้านเก่า จะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบัน ระบบการสื่อสารและการเข้าถึงของ ข้อมูลข่าวสาร ในกลุ่มผู้บริโภคมีความรวดเร็วและไหลรื่นมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภครับทราบข้อดีข้อเสีย

"ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจปรับปรุงที่อยู่อาศัยเก่า คือ ระยะเวลา เนื่องจากผู้บริโภคไม่สามารถจะรู้ระยะเวลาที่แน่นอน ทำให้มีปัญหาในการย้ายที่อยู่อาศัยและไม่คุ้นเคยกับการมีคนแปลกหน้าที่มาทำงานอยู่ในบ้าน ความสะอาดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจ เพราะในการก่อสร้างย่อมมีเศษวัสดุก่อสร้าง ในไซด์งาน และปัจจัยที่มีอิทธพลมากที่สุดคือเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สินและชีวิตของผู้บริโภคเอง เพราะการที่มีคนแปลกหน้าเข้ามาทำงานอยู่ในบ้าน โดยไม่รู้ประวัติ นิสัยใจคอ ความกลัวในเรื่องการความปลอดภัยย่อมเกิดขึ้น" นายนิพนธ์ กล่าว

โดยบริษัทมีแผนที่จะเข้ามาทำตลาดปรับปรุงบ้านเก่าในปี 2549 แต่เนื่องจากปัจจัยดังกล่าว ทำให้บริษัทต้องมีการศึกษาและเก็บข้อมูลในการทำตลาดอย่างละเอียด และให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถคุมต้นทุนและระยะเวลา รวมถึงความปลอดภัย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจและเข้าใจให้แก่ลูกค้า โดยบริษัทต้องให้ความชัดเจนกับลูกค้า ในเรื่องของระยะเวลาในการปรับปรุง มีวัสดุและสินค้าที่รองรับความต้องการได้อย่างครอบคลุม และรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ของลูกค้า

ซึ่งขณะนี้ บริษัทได้เริ่มศึกษารายละเอียด และข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการตลาด การสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ของตลาดไปทั้งหมด โดยการเปิดศูนย์บริการอะไหล่-ก๊อกน้ำสุขภัณฑ์ คอตโต้ รับซ่อมแก้ไข และปรับปรุงห้องน้ำ ตลอดจนการรื้อและก่อสร้างใหม่ เพื่อให้บริการลูกค้า เก็บข้อมูล ศึกษาความต้องการของตลาด ตลอดจนการเตรียมความพร้อม ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ ศูนย์บริษัทการแล้ว 4 สาขา ประกอบด้วย สาขาดอนเมือง สาขาเชียงใหม่ สาขาภูเก็ต และสาขาพัทยา

นอกจากนี้ เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลและรองรับลูกค้าลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น บริษัทยังได้ร่วมมือกับร้านค้าตัวแทนจำหน่าย เปิดบริการดังกล่าวภายใต้ชื่อ คอตโต้ เซอร์วิส คอนเนอร์ เพิ่มโดยขณะไดเปิดศูนย์บริการร่วมกับตัวแทนจำหน่ายแล้ว 8 สาขา และตั้งเป้าว่าจะเปิดเพิ่มให้ครบ 12 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าไปทำตลาดปรับปรุงบ้านเก่าคาดว่าจะมีความชัดเจนได้ทั้งหมดในปี 2549 และหากบริษัทมีความพร้อมในทุกด้านแล้ว จะเริ่มกระจ่ายสาขารวมกับร้านค้าตัวแทนจำหน่ายและทำการประชาสัมพันธ์ทันที

นายสุทิน ยุทธนาวราภรณ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และกระเบื้องโมเสก กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดรวมกระเบื้องปูพื้นและบุผนังมีความต้องการใช้ต่อปี 130-132 ล้านตร.ม. เติบโตขึ้น 10% จากปี2547 และคาดว่าจะมีรายได้รวมปีนี้ 2,800-2,900 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโต 25% สำหรับในปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตรวม 23 ล้านตร.ม./ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีอยู่ประมาณ 16 ล้านตร.ม./ปี ซึ่งบริษัทมีส่วนแบ่ง การตลาดอยู่ประมาณ 14-15% หรือ ประมาณ 9 ล้านตร.ม./ปี แบ่งเป็น ยอดขายจากตลาดปรับปรุงประมาณ 70% และบ้านใหม่ 30%

อย่างไรก็ตาม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ จำกัด นับว่าเป็นรายแรกที่นำกลยุทธ์การปรับปรุงบ้านเข้ามาใช้ในการทำตลาด นายปิยบุตร เลิศดำริห์การ กรรมการผู้จัดการ พลัสฯ กล่าวว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี บริษัทได้เปิดให้บริการ Plus Fast Fix ซึ่งเป็นการให้บริการหลังการขายให้กับลูกค้าของบริษัท ที่ซื้อบ้านทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมของบริษัท ซึ่งปัจจุบันลูกค้าที่ได้รับโอนทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมซึ่งอยู่ในช่วงการประกันระยะเวลา 1 ปีมีจำนวนทั้งสิ้นแล้ว 700 ราย และคาดว่าประมาณกลางปี 2549 นี้บริษัทจะมีลูกค้าที่รับมอบโอนสินค้าและอยู่ในช่วงระยะประกันของบริษัททั้งหมดรวมประมาณ 2,000 ราย สำหรับบริการ Plus Fast Fix เป็นบริการ รับซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่บริษัท ได้ส่งมอบให้แก่ลูกค้าไปแล้วเกิดปัญหา ในระยะเวลาที่บริษัทรับประกัน 1 ปี โดยมีทีม Plus Fast Fix เข้าไปซ่อมแซมหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us