|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กทช.เปิดแผนบริการ USO ในใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ต้องขยายจุดบริการโทรฯสาธารณะ 6,000 หมู่บ้านภายใน 3 ปี แจกบัตรโทรศัพท์สำหรับคนพิการ-ผู้มีรายได้น้อย ในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศที่ขึ้นทะเบียนกระทรวงพัฒนาสังคมฯ 30 นาที/คน/เดือน
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทช.ได้ออกร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO)
กทช.เน้นการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงให้แก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร หมู่บ้านยากจน รวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม คนพิการ เด็ก คนชรา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีความทัดเทียมเสมอภาค ในการใช้บริการโทรคมนาคมมาเป็นส่วนสำคัญในการเสริมกิจกรรมด้านการแพทย์ การศาสนา การศึกษา ในการสร้างจุดสมดุลให้แก่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ที่ขาดแคลนให้มีความรู้เท่าทันสถานการณ์และใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขกับโลกยุคใหม่
สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดให้มีบริการUSO โดยแบ่งออกเป็นส่วนที่ 1 แผนการดำเนินงาน ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ส่วนที่ 3 หน้าที่ผู้รับใบอนุญาต บทเฉพาะกาล และเอกสารแนบ1 (ระบุเงื่อนไขและมาตรฐานการให้บริการ ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม)
ส่วนที่ 1 เรื่องแผนการดำเนินงาน คณะกรรมการได้กำหนดเงื่อนไขเพื่อให้มีบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดระยะเวลาและภารกิจที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการหลักๆ ดังนี้
"ภายใน 30 เดือน นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีโทรศัพท์สาธารณะอย่างน้อย 2 เลขหมายต่อ 1 หมู่บ้าน จำนวนไม่เกิน 6,000 หมู่บ้าน จัดให้มีบัตรโทรศัพท์สำหรับกลุ่มคนพิการ กลุ่มคนชราที่มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเวลา 30 นาทีต่อเดือนต่อคน เป็นระยะเวลา 30 เดือนนับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต รวมถึงภายใน 24 เดือน ต้องจัดให้มีโทรศัพท์มีสายหรือไร้สาย ซึ่งติดตั้งประจำที่ และโทรศัพท์สาธารณะอย่างน้อยอย่างละ 1 เลขหมาย รวมอย่างน้อย 2 เลขหมายต่อแห่ง ในสถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือแก่สังคมจำนวนไม่เกิน 4,000 แห่งทั้งนี้การดำเนินการต้องให้เป็นตามพื้นที่เป้าหมายและระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด"
นอกจากนี้ ต้องจัดให้มีโทรศัพท์สาธารณะอย่างน้อย 1 เลขหมายภายในรัศมีไม่เกิน 100 เมตร ของชุมชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีขนาดไม่ต่ำกว่า 100 ครัวเรือน ที่ได้ยื่นความต้องการและอยู่ในเขตพื้นที่โครงข่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยต้องสำรองเลขหมายไว้ไม่เกิน 2,600 เลขหมาย และจัดให้มีโทรศัพท์สาธารณะและบริการอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ตามระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวนความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544
ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ในการพิจารณาแผนดำเนินการของผู้ขอรับใบอนุญาต ต้องพิจารณาและคำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น กายภาพ เทคนิค ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการเงินและเศรษฐกิจ การสนับสนุนและส่งเสริมโอกาสทางการแข่งขัน คณะกรรมการมีอำนาจให้ผู้ขอรับใบอนุญาตจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด และมีอำนาจในการปรับปรุง แก้ไขแผนการจัดให้มีการบริการของผู้ขอรับใบอนุญาตก่อนพิจารณาอนุมัติ
ส่วนที่ 3 หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ทั้งประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 จะต้องแจ้งความจำนงที่จะจัดบริการและแสดงรายละเอียดต่อคณะกรรมการพร้อมกับแผนดำเนินการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานฯ ระยะ 3 ปี อาทิ บทสรุปผู้บริหาร แผนจัดหาติดตั้งและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อกำหนดทางเทคนิคของโครงข่ายและรายละเอียดการเชื่อมต่อโครงข่าย ตำแหน่งของจุดติดตั้ง ประมาณการรายได้ และแผนการสนับสนุนแก่ผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เด็ก คนชรา และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
อย่างไรก็ตามร่างประกาศฉบับนี้จะเปิดระดมความคิดเห็นในวันพฤหัสบดีที่ 28 ก.ค. นี้ ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล พลาซ่า ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.เช่นเดียวกับร่างแผนจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม
|
|
 |
|
|