|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอกชนชี้เงินบาทและเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคแข็งค่าขึ้น หลังจีนประกาศลอยค่าเงินหยวนเมื่อวานนี้ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับ 41.25 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินเยนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกันเงินดอลลาร์เช่นกัน
นายเสถียร ตันธนะสฤษดิ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารเงินและการตลาด ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวกรณีที่จีนลอยตัวเงินหยวนแบบมีการจัดการว่า หลังจากทางการจีนประกาศลอยตัวเงินหยวนเมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) ทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นจากที่อยู่ในระดับ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ มาเป็นประมาณ 8.11 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 และส่งผลทำให้เงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย โดยเงินเยนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์เช่นกัน และสิงคโปร์ดอลลาร์ก็แข็งค่าขึ้น ซึ่งเงินบาทแข็งค่าขึ้นเช่นกัน
นายเสถียร กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอยู่ในระดับ 41.25 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะอ่อนค่าลงในช่วงเช้าวันนี้ (22 ก.ค.) โดยเงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระดับประมาณ 41.50-41.60 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้ ไม่มากเท่ากับเงินหยวน เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากเกินไปอยู่แล้ว และการแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนในระดับนี้ แม้จะแข็งค่ามากกว่าเงินบาท หากพิจารณาแล้วถือว่า เป็นระดับการแข็งค่าของเงินที่ไม่มีนัยสำคัญพอที่จะทำให้ไทยได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางการค้า ดังนั้น นักธุรกิจไม่ควรเป็นห่วงมากจนเกินไป และเป็นไปไม่ได้ที่เงินบาทจะแข็งค่ากว่าเงินหยวน
นายเสถียร กล่าวถึงการลอยตัวค่าเงินหยวนของจีนแบบมีการจัดการในระบบตะกร้าเงินว่า ทางการจีนกำหนดให้เงินหยวนสามารถเคลื่อนไหวได้ในช่วงแคบ ๆ ประมาณร้อยละ 0.3 บวกลบก่อน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของจีนเอาไว้ และเมื่อเศรษฐกิจของจีนปรับตัวพร้อมแล้ว ทางการจีนจึงจะปล่อยลอยตัวค่าเงินหยวนได้มากกว่านี้ โดยหากจะมีการปรับช่วงการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปคงจะทำในช่วงเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ 1 ปีนับจากนี้ไป ทั้งนี้ ในระบบตะกร้าเงินของจีนจะให้น้ำหนักเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลอื่น ๆ เนื่องจากสหรัฐเป็นคู่ค้าที่สำคัญของจีน ส่วนประเทศมาเลเซียที่ประกาศลอยตัวค่าเงินริงกิตเมื่อวานนี้ (21 ก.ค.) เช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเสียเปรียบหรือการเสียหายทางการเงินของมาเลเซียเอง
“ทั้งนี้ ระบบตะกร้าเงินของจีนแตกต่างจากระบบตะกร้าเงินที่ประเทศไทยเคยใช้ และยกเลิกการใช้ระบบดังกล่าวไปในช่วงประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจเมื่อปี ค.ศ. 1997 โดยระบบตะกร้าเงินของไทย ที่เงินบาทมีค่าในระดับ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เปลี่ยนแปลงร้อยละ 0.1 ในแต่ละวัน” นายเสถียร กล่าว
นายเสถียร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ราว 1 ปีเศษ มีแรงกดดันจากทั่วโลกให้จีนปล่อยให้ค่าเงินหยวนสะท้อนความเป็นจริงให้มากขึ้น เพราะการที่จีนนำเงินหยวนไปผูกกับเงินดอลลาร์ ทำให้เงินหยวนอ่อนค่ากว่าความเป็นจริง จะทำให้มีการนำเงินเข้าไปในจีนมากขึ้น โดยสินค้าจากจีนถูกมองว่าราคาถูกลงในสายตาต่างชาติ โดยเฉพาะจากนักธุรกิจสหรัฐ ทำให้สหรัฐเสียดุลการค้ากับจีนค่อนข้างมาก สหรัฐจึงกดดันจีนให้ลอยตัวค่าเงินหยวนเพื่อให้ค่าเงินสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น และการที่จีนยอมให้เงินหยวนสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นในครั้งนี้ เชื่อว่าจะทำให้สหรัฐขาดดุลการค้าจีนน้อยลงกว่าที่ผ่านมา
|
|
|
|
|