Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 กรกฎาคม 2548
GM ไตรมาส2ขาดทุนยับ $286ล. วิตกอาจลุกลามถึงขั้นล้มละลาย             
 


   
search resources

เจเนอรัล มอเตอร์
Auto Manufacturers




จีเอ็มเผย ขาดทุนมหาศาลอีกครั้งในช่วงไตรมาส 2 แม้ความพยายามลดราคาครั้งใหญ่เพื่อจูงใจผู้บริโภคในตลาดอเมริกาเหนือจะช่วยให้ขายรถได้และมีส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นก็ตาม

เจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ผู้ผลิตยานยนต์ใหญ่อันดับ 1 ของโลกเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (20) ว่า บริษัทมียอดขาดทุนสุทธิถึง 286 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2005 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2004 ที่บริษัทมีผลกำไร 1,400 ล้านดอลลาร์

ผลประกอบการในไตรมาส 2 ซึ่งเท่ากับขาดทุนหุ้นละ 51 เซนต์นี้ถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับผลสำรวจนักวิเคราะห์ของทอมสัน เฟิร์สต์ คอล ซึ่งคาดการณ์กันไว้ว่าจะกำไรหุ้นละ 3 เซนต์ และยิ่งดิ่งหนักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีกำไรหุ้นละ 2.42 ดอลลาร์

และหากนับรวมรายจ่ายพิเศษนอกเหนือรายการปกติ จีเอ็มมียอดขาดทุนในช่วงไตรมาส 2 นี้ถึง 318 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับขาดทุนหุ้นละ 56 เซนต์ เมื่อคำนวณตามจำนวนหุ้นภายหลังมีการแตกหุ้นแล้ว

ผลประกอบการที่ออกมาในครั้งนี้ของจีเอ็มส่อเค้าย่ำแย่มากเสียจนกระทั่งมีนักวิเคราะห์มองว่า จีเอ็มอาจต้องยื่นขอความคุ้มครองภายใต้กฎหมายล้มละลายในไม่ช้า

ศาสตราจารย์ปีเตอร์ โมริซิ แห่งวิทยาลัยธุรกิจโรเบิร์ต เอช.สมิธ ของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ชี้ว่า “หากจีเอ็มยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนในด้านยุทธศาสตร์และภาวะผู้นำ สภาพการขาดทุนนี้อาจยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งบริษัทหมดเงินทุน ทำให้บรรดาผู้ถือหุ้นกู้ตลอดจนธนาคารต่างๆ พากันละทิ้งจีเอ็มไป จนต้องขอความคุ้มครองภายใต้กฎหมายล้มละลายในที่สุด”

ที่ผ่านมาตลาดวอลล์สตรีทมีความรู้สึกไม่สู้ดีนักกับจีเอ็ม โดยก่อนหน้านี้ยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์รายนี้มียอดขาดทุนถึง 1,100 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา และตราสารหนี้ก็ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงมาอยู่ที่ระดับไม่น่าลงทุนหรือ “จังค์บอนด์” ในเดือนพฤษภาคม จนทำให้จีเอ็มมีต้นทุนในการกู้ยืมพุ่งสูงจาก 2,800 ล้านดอลลาร์ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2004 เป็น 3,700 ล้านดอลลาร์

ต่อมาในเดือนมิถุนายน จีเอ็มได้ประกาศแผนการปรับลดพนักงาน 25,000 ตำแหน่ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น 41% อันเนื่องมาจากการนำโปรแกรมการให้ส่วนลดแก่ลูกค้าในอัตราเท่ากับพนักงานบริษัทมาใช้

จากข้อมูลของออโตดาตา คอร์เปอเรชั่น ชี้ว่า จีเอ็มเพิ่มมาตรการจูงใจลูกค้าโดยการลดราคารถโดยเฉลี่ยลงมาอยู่ที่คันละ 4,458 ดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน ซึ่งถือว่ามากกว่าคู่แข่งรายอื่นๆ และสูงกว่ามาตรการจูงใจของโตโยต้า มอเตอร์ถึง 4 เท่า

ทว่า แม้จีเอ็มจะสามารถขจัดสินค้าคงคลังที่มีไปได้ค่อนข้างมาก แต่กลับไม่สามารถควบคุมบังเหียนด้านค่าใช้จ่ายได้

กล่าวคือ จีเอ็มมีส่วนแบ่งในตลาดอเมริกาเหนือเพิ่มขึ้นเป็น 27.3% ในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ เมื่อเทียบ 26.2% ของช่วงเวลาเดียวกันในปี 2004 แต่ยอดขาดทุนในภูมิภาคนี้กลับทะยานขึ้นอยู่ที่ 1,200 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับผลกำไร 355 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาส 2 ปีก่อนหน้า

ริก วาโกเนอร์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารจีเอ็มกล่าวว่า “ท้ายที่สุดแล้ว ปัญหาค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณสุขก็ยังคงเป็นภาระสำคัญที่สุดประการหนึ่งต่อศักยภาพในการแข่งขันของบริษัท ซึ่งขณะนี้เรากำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อหาข้อยุติกับบรรดาสหภาพแรงงาน”

ทั้งนี้ จีเอ็มมีรายรับโดยรวมในไตรมาส 2 ลดลงเหลือ 48,500 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ 49,300 ล้านดอลลาร์ช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยรายรับทั้งหมดที่ลดต่ำลง 2.5% ในธุรกิจยานยนต์นั้นถูกชดเชยด้วยผลประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น 3.5% ในธุรกิจการเงิน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us