หลายคนกล่าวว่ายุคทองของ MBA ไทยได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลังจากเศรษฐกิจไทยเผชิญกับภาวะวิกฤติมาตั้งแต่ปี
2540 แต่ปรากฏการณ์ ที่มหาวิทยาลัยแทบทุกแห่งต่างเคลื่อนไหวอย่างคึกคักมากขึ้นขณะนี้
ทำให้เกิดคำถามว่า MBA ไทย กำลังอยู่ ที่จุดใดกันแน่
เมื่อ Product อิ่มตัว
ผศ.โอภาศ โสตถิลักษณ์ ผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีบริหารธุรกิจ
มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทัศนะว่า หากจะพิจารณา MBA ประหนึ่งสินค้าก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเป็นช่วง
ที่ product ถึงจุดอิ่มตัว กล่าวคือ ภาวะถดถอย ที่เกิดขึ้นเป็นไปโดยตัวสินค้าเอง
เพราะมีมากจนล้น แต่ปัญหา MBA ของไทยแตกต่างอย่างสิ้นเชิง หากเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เพราะในสหรัฐฯ นั้น ภาวะ supply ล้น คือ เงื่อนไขสำคัญ
แต่ในประเทศไทยตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา resources ในการให้การศึกษาในหลักสูตรยังมีไม่เพียงพอ
แต่คนรู้สึกอิ่มตัวกับ product ชนิดนี้แล้ว
ความเห็นของผศ.โอภาศ สอดรับกับข้อเท็จจริง ที่ว่าในช่วงปี 2534 ซึ่งถือเป็นช่วง
ที่เศรษฐกิจพองตัวเต็มที่นั้น มีผู้มา สมัครสอบ เพื่อเข้าเรียน MBA ของธรรมศาสตร์มากถึง
10,000 คน ขณะที่จำนวน ที่รับได้มีเพียง 200 คนเท่านั้น ซึ่งก็คือ อัตราการแข่งขันระหว่างผู้สมัครสอบในระดับ
50 ต่อ 1 ซึ่งถือว่าสูงมาก แต่ในปี 2542 ที่ผ่านมา มีผู้สมัครเหลือประมาณ
3,000 คนเศษเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับสถาบันการศึกษา
จำนวนผู้สมัครสอบเข้าเรียน MBA ที่ลดลงของธรรม ศาสตร์ ในด้านหนึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากจำนวนมหา
วิทยาลัย ที่เปิดสอนหลักสูตร MBA ในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้น แต่จากการสำรวจพบว่า
สิ่งที่น่าหนักใจสำหรับมหาวิทยาลัย แต่ละแห่งก็คือ จำนวนนักศึกษา ที่ประสงค์จะเข้าเรียนหรือมีศักยภาพ
ที่จะเข้าเรียน MBA มีจำนวนไม่มากพอ ที่จะเฉลี่ยให้ทุกมหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษา
MBA ในระดับ ที่เพียงพอต่อการดำเนินหลักสูตรได้ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรพิเศษ
ที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับทั้งผู้เรียน และมหาวิทยาลัยอยู่ในเกณฑ์สูง และทำให้มหาวิทยาลัยบางแห่งจำเป็นที่จะต้องระงับโครงการดังกล่าวเสีย
ดร.ผ่องใส ศุภจรรยารักษ์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผลของภาวะเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปี 2540
เป็นต้นมาได้ส่งผลให้จำนวนนักศึกษาในหลักสูตร MBA ลดลง ซึ่งผลกระทบ ต่อโครงการ
MBA ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เป็นรูปธรรมในเวลานี้ก็คือ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยกเลิกหลักสูตร
International Finance Programme ซึ่งเป็นหลักสูตร MBA ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
ในอังกฤษไปโดยปริยาย เพราะมีผู้สนใจสมัครเรียนน้อย ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยสูงมาก
ขณะที่จำนวนนักศึกษาในภาคปกติ และ EXMBA ก็ลดลงโดยเฉพาะในช่วงปี 2541-2542
สัดส่วนการแข่งขันระหว่างผู้สมัครสอบต่อจำนวน ที่รับได้ลดลงเหลือเพียงระดับ
2 ต่อ 1 จากเดิม ที่อยู่ระหว่าง 6-7 ต่อ 1 แต่ในปีการศึกษา 2543 นี้กระเตื้องขึ้นมาบ้างคือ
อยู่ในระดับ 3-4 ต่อ 1
ถึงยุคแข่งขันช่วงชิง
จำนวนนักศึกษา ที่ลดลงนี้ส่งผลให้สถาบันการศึกษาแทบทุกแห่ง ต่างเร่งระดมสรรพกำลังในการเชิญชวน
และดึงดูดให้นักศึกษาสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นการแข่งขันระหว่างสถาบันการศึกษา
เพื่อช่วงชิงจำนวนนักศึกษาให้มากที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน โดยการแข่งขันระหว่างสถาบันการศึกษาทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อผลพวง
ของนโยบายเปิดเสรีด้านการศึกษา ที่เป็นความพยายามของรัฐบาลสมัยอานันท์ ปันยารชุน
เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มปรากฏ ภาพเด่นชัดพร้อมกับการเกิดขึ้นของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งใหม่ๆ
ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการสถานศึกษาแห่งใหม่เหล่านี้ อยู่ ที่ projection
รายรับรายจ่าย และจำนวนนักศึกษา ที่จะเข้าเรียนในแต่ละสาขาวิชา ตั้งอยู่บนฐานของตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงปี
2533-2536 ซึ่งเป็นช่วง ที่ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวสูงสุดในรอบทศวรรษ ที่ผ่านมา
แต่การขออนุญาตเปิดสถานศึกษา และการเตรียมความพร้อมในเรื่องอาคาร และสถานที่
ล้วนแต่เป็นกรณี ที่ต้องอาศัยระยะเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของหลักสูตร
ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลโดยตรง
สิ่งที่สถาบันการศึกษาเหล่านี้ประสบอยู่ในปัจจุบัน ก็คือ จำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเอกชนเปิดใหม่เหล่านี้
มีไม่มากพอ ที่จะหล่อเลี้ยงให้มหาวิทยาลัยดำเนินงานได้อย่างราบรื่น สถาบันการศึกษาเหล่านี้จึงจำเป็นต้องแสวงหารายได้จากการเปิดหลักสูตรใหม่ๆ
เพื่อนำเงินรายได้มาถัวเฉลี่ยกับต้นทุนทั้งระบบ
หลักสูตร ที่สถาบันการศึกษาเหล่านี้ พยายามผลักดันออกมาเป็นแหล่งสร้างรายได้
แน่นอนว่าย่อมต้องเป็นหลักสูตร ที่ตลาดยอมรับ และดูเหมือนว่า หลักสูตร MBA
(Master of Business Administration) หรือปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
จะเป็นสินค้าชนิดเดียว ที่ผู้คนจับต้อง และเข้าใจได้ง่ายกว่าหลักสูตรอื่นๆ
ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจเลย ที่สถาบันการศึกษาบางแห่งในขณะนี้ แม้จะยังไม่มีนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสำเร็จการศึกษาได้รับการประสาทปริญญาเลย
แต่มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ได้ดีกรี MBA ไปแล้วไม่น้อยกว่า 2-3
รุ่น
ดร.ปริญ ลักษิตานนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
(EAU) ซึ่งเปิดรับนักศึกษา MBA มาเป็นรุ่นที่ 7 อยู่ในขณะนี้ให้ความเห็นว่า
"ช่วง ที่เศรษฐกิจบูมใครก็สนใจอยากเรียน MBA เพราะรู้ว่าดีกรี MBA มีตลาดแรงงานรองรับแน่นอน
และไม่ใช่รองรับธรรมดา สามารถ upgrade ไป ที่อื่นได้ง่ายด้วย แต่วันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว
ทุกคนต้องคิดหนักว่าจะลงทุนเรียน ดีหรือไม่ ขณะที่ผู้เรียนน้อยลง หลักสูตรของมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศ
และต่างประเทศกลับมีมากขึ้น การแข่งขันก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา"
เมื่อตระหนักถึงการแข่งขัน ที่เพิ่มความหนักหน่วงมากขึ้น สิ่งที่ Eastern
Asia ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดใหม่ได้ไม่ถึง 5 ปี สามารถทำอยู่ในขณะนี้ก็คือ
"ความพยายาม ที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่คนในพื้นที่บริการ ซึ่งมีบริเวณครอบคลุมจังหวัด
ปทุมธานี นครนายก อยุธยา และจังหวัดใกล้เคียง โดยได้ประสานกับหอการค้าจังหวัด
รวบรวม mailing list จัดส่งให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ซึ่งก็ได้รับการตอบสนองอยู่ในเกณฑ์ที่ดี" ดร.ปริญ ซึ่งคลุกคลีกับแวดวงการตลาดมานานพอควร
อธิบายถึงการรุกเข้าหากลุ่มเป้าหมาย ตามแบบฉบับของนักการตลาด
นอกจากจะเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแล้ว ดร.ปริญ เชื่อว่า product
ที่จะเสนอให้แก่ตลาดจะต้องมี ความน่าสนใจ และเป็นไปโดยสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละกลุ่ม
"เราพยายามทำให้หลักสูตรมีความกระชับ และไม่สิ้นเปลืองเวลามากนัก เพราะกลุ่มนักศึกษา
ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราส่วนใหญ่คือ ผู้ที่ทำงานแล้ว และต้องการใช้เวลาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แสวงหาความรู้
ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร ที่นักศึกษาเรียนมา 3-4 ปีแล้วจบไม่ได้ ถามว่าพวกเขาไม่มีความสามารถหรือเปล่า
ตอบได้ทันทีว่า เปล่า แต่บ่อยครั้งเป็นเพราะหลักสูตรไม่ได้สนองตอบต่อความต้องการของพวกเขาอย่างแท้จริง
ไม่นับรวมถึงกฎเกณฑ์ ที่จุกจิก เช่น ภาคการศึกษานี้วิชานี้ไม่เปิดสอน ภาคการศึกษาหน้าเปิดเฉพาะบางวิชา
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้กระตุ้นให้คนอยากศึกษา เราจึงพยายามพูดคุยกับนักศึกษาว่าความต้องการของพวกเขาคือ
อะไร แล้วเราจะจัดหลักสูตรหรือเปิดสอนวิชาอะไร ใครควรเป็นผู้ บรรยาย มันก็คือ
การที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิชา ที่จะเรียนด้วย ในลักษณะ tailor-made
programme ภายใต้ หลักการที่ว่า ถ้าอยากเรียนต้องได้เรียน เราจึงเปิดรับนักศึกษาตลอดทั้งปี"
ดร.ปริญ กล่าวย้ำจุดยืน และปรัชญาของ EAU ภายใต้การแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ
หากพิจารณาจากโครงสร้างหลักสูตร จากรายวิชา ที่นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน
เพื่อให้ได้มา ซึ่ง Degree MBA แล้วก็จะพบว่า MBA ก็เป็นเพียงหลักสูตรปริญญาโทอีกหลักสูตรหนึ่งไม่แตกต่างจากหลักสูตรปริญญาโทในสาขาอื่นๆ
ที่เน้นให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถในทางลึกมากขึ้นจากเดิม ที่ได้ศึกษามาโดยกว้างๆ
ในระดับปริญญาตรี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เน้นให้เกิดความชำนาญการในสาขา ที่เรียนมากขึ้น
แต่ความแตกต่าง ที่สำคัญของ MBA ก็คือ การมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษา มีความสามารถในฐานะผู้บริหารมากขึ้น
ซึ่งดูเหมือนจะตรงใจ และตรงต่อความต้องการของผู้ศึกษามากกว่าปริญญาโทในสาขาอื่น
ซึ่งถึงที่สุดแล้ว แม้จะจบปริญญาโทก็อาจมีฐานะเป็นลูกจ้างผู้ชำนาญการคนหนึ่งเท่านั้น
ย้อนอดีตยุค MBA เฟื่องฟู
ประเด็นดังกล่าว แม้จะยังไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นอย่างประจักษ์แจ้งว่ามีความเท็จจริงอย่างไร
แต่กระแสความนิยม MBA ในช่วง ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ที่ภาวะเศรษฐกิจกำลังขยายตัว
โดยมีสถาบันการเงินเป็นประหนึ่งหัวหอกของการเติบโตดังกล่าวได้ผลักดันให้
MBA กลายเป็น brand name ของยุคสมัย และขยายตัวไปสู่การอบรมสัมมนานานาชนิด
ตามแต่จะสรรหามาเรียกขาน แต่ ที่ได้รับความนิยม ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ
Mini MBA ซึ่งแม้จะได้รับเพียงวุฒิบัตร และไม่สามารถนำไปปรับวุฒิหรือต่อยอดทางการศึกษาได้มากนัก
แต่ผู้เรียนก็ได้รับความรู้สึกพึงพอใจไม่น้อย ที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
MBA นี้
สภาพการแข่งขันในการโน้มน้าวให้มีนักศึกษาสมัครเข้าเรียนในหลักสูตร MBA
ในช่วงเศรษฐกิจพองตัวนั้น แม้จะคึกคักแต่ไม่รุนแรงมากนัก หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาปัจจุบัน
เพราะท่ามกลางกระแสความนิยม และภาวะ ที่เงินสะพัดในช่วงดังกล่าว สถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง
ที่เปิดหลักสูตร MBA นั้น ต่างต้องเผชิญกับปัญหา excess demand มหาวิทยาลัยบางแห่งมีอัตราส่วนผู้สมัครสอบแข่งขันกับจำนวน
ที่สามารถรับได้อยู่ในระดับ ที่สูงถึง 50 ต่อ 1 ซึ่งลำพังเฉพาะค่าใบสมัครสอบ
และค่าธรรมเนียมการสอบ ก็แทบจะหล่อเลี้ยงโครงการ MBA แห่งนั้น ไปได้อย่างสบายตลอดปี
แต่หากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดแล้ว อัตราการแข่งขันของผู้สมัครสอบต่อจำนวน
ที่รับได้จะอยู่ ที่ระดับเฉลี่ยประมาณ 15 ต่อ 1
นอกจากนี้ ในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อยยังมีรายได้จากโครงการ
MBA สำหรับผู้บริหาร หรือ Executive MBA (EXMBA) และขยายไปสู่ Young Executive
MBA (YMBA) รวมถึงการจัดอบรมสัมมนา ที่เกิดขึ้นในลักษณะรายวัน ซึ่งก็คือ
การขยายสินค้า และตลาดให้ สนองตอบต่อกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยไปในตัว ซึ่งทำให้คณาจารย์จำนวนมากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากโครงการที่หลากหลายเหล่านี้
และส่งผลให้ความคิดอ่านว่าด้วยการนำมหา วิทยาลัยของรัฐออกจากระบบราชการกลายเป็นความคิดอ่าน
ที่ผู้คนในแวดวงวิชาการจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ เพราะไม่จำเป็นต้องรอเงินงบประมาณจากรัฐ
ก็สามารถสร้างเสริม และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงอาคารสถานที่จากรายได้ของโครงการที่กำลังเบ่งบานนี้
ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เรียนในหลักสูตร MBA แต่ละรายอาจแตกต่างตามแต่กรณี
แต่โดยทั่วไปการศึกษา MBA ภาคปกติหรือ ที่เรียกว่า regular programme ในมหาวิทยาลัยเอกชนภายในประเทศจะอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย
ที่ระดับ 2-4 แสนบาทต่อคน ซึ่งโดยหลักใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายลงทะเบียนแต่ละรายวิชาประมาณหน่วยกิตละ
3,000-3,500 บาท รวม 48 หน่วยกิต ส่วน ที่เหลือ จะเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษา
และค่ากิจกรรมอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนด ขณะที่ค่าใช้จ่ายในมหาวิทยา
ลัยของรัฐจะอยู่ ที่ระดับเฉลี่ยประมาณ 8 หมื่นถึง 1.5 แสนบาท ส่วนหลักสูตร
EXMBA และ YMBAของแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นในลักษณะเหมาจ่ายเป็น package ในระดับเฉลี่ยประมาณ
3-6 แสนบาท รวมอาหารเครื่องดื่ม และการไปดูงานต่างประเทศ
เมื่อตลาดมี demand ใน MBA มากจนล้นเหลือเช่นนี้ ทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งประสบกับปัญหาการขาดแคลนผู้ทรงคุณวุฒิ
และส่งผลให้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งต้องดำเนินความพยายาม ที่จะได้มา ซึ่งคณาจารย์
ที่มีชื่อเสียง หรือเป็นที่ยอมรับในวงสังคมมาเป็นผู้บรรยายในหลักสูตร ซึ่งทิศทางดังกล่าวทำให้
MBA ของสถาบันการศึกษาหลายแห่งเกือบจะประกอบไปด้วยคณาจารย์ชุดเดียวกัน ขณะที่จุดขายอีกประการหนึ่งของ
MBA แต่ละแห่งก็คือ การมีอาจารย์ หรือผู้ บรรยายจากต่างประเทศมาเพิ่มสีสัน
ส่วนผู้บรรยายจากต่างประเทศเหล่านี้จะมีความสามารถหรือไม่ เป็นอีกกรณีหนึ่ง
ผู้บรรยายชาวต่างประเทศเหล่านี้ มีโอกาสเข้ามาส่งผ่านความรู้ให้กับนักศึกษา
MBA ไทย หลังจาก ที่กระแสโลกาภิวัตน์ ถาโถมเข้าใส่แทบทุกบริบทของสังคมไทย
ซึ่งสถาบันการศึกษาก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งหลีกหนีปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่พ้น
ความพยายาม ที่จะผลักดันให้หลักสูตรมีความทันสมัย และมีลักษณะนานาชาติ เป็นสิ่งที่อาจจะจับต้องได้ยากหากพิจารณาจากเนื้อหา
และวิธีการ ดังนั้น การเป็นนานาชาติ (inter) โดยรูปแบบจึงกลายเป็นสิ่งที่โดดเด่นมาก
และสาธารณชนจับต้องได้ง่ายกว่า
ทั้งนี้ นับเนื่องตั้งแต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งต่อมา
กลายเป็นวิกฤติเศรษฐ-กิจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียนั้น จำนวนนักศึกษา ที่จะเข้าเรียนในหลักสูตร
MBA ต่างลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่องค์กรธุรกิจในภาคเอกชน ซึ่งแต่เดิมเคยให้
การสนับสนุนโครงการ MBA เหล่านี้ในรูปแบบ ต่างๆ ตั้งแต่ความร่วมมือในการจัดหลักสูตร
อบรมสัมมนา การสนับ สนุนค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานระดับกลาง และสูง ในการเข้าศึกษาในหลักสูตร
EXMBA และ YMBA ต่างต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน บางแห่งถึงกับต้องปิดตัวเอง
และจำนวนไม่น้อยถูกคำสั่งของรัฐบาลให้ปิดกิจการ ทำให้ ที่มาของรายได้ ที่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งเคยมีเคยได้ลดลงอย่างรวดเร็ว
ท่ามกลางภาวะ ที่ผู้คนจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน และอีกจำนวนไม่น้อยยังอยู่ในระหว่างเฝ้ารอคอยคำตอบของอนาคตอย่างใจจดใจจ่อ
จำนวนผู้สนใจสมัครเข้าเรียน MBA ในหลายแห่งลดลงถึงระดับ ที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีจำนวนผู้สมัครน้อยกว่าจำนวน
ที่ตั้งใจจะรับ ทำให้ต้องเปิดรับสมัครกันตลอดทั้งปี เพื่อให้โครงการ MBA
ที่มีอยู่สามารถดำเนินการต่อไปได้
"สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้จำนวนผู้สมัครเรียน MBA ลดลง อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่ใจในสถาน
การณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหวั่นเกรงว่าการลงทุน เพื่อการศึกษาในหลักสูตร
MBA ยังเป็นสิ่งที่คุ้มค่าน่าลองอยู่หรือไม่ เพราะภายหลังจากสิ้นสุดยุคของการเปลี่ยนงาน
เพื่อเพิ่มอัตราเงินเดือน และการศึกษาปรับวุฒิ เพื่อการขยับสถานะในช่วงก่อน
ปัจจุบันการเรียน MBA ดูจะเป็นการลง ทุน ที่ต้องรอคอยผลตอบแทนนานเกินไปเสียแล้ว"
ดร.บุญชัย หงส์จารุ ผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
(นิด้า) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนหลักสูตร MBA ให้ความเห็น
แต่หากถามถึงจำนวนนักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียน MBA ที่นิด้าแล้ว ดร.บุญชัย
ให้ข้อมูลว่า "มีนักศึกษาให้ความสนใจสมัครสอบ เพื่อเข้าเรียน MBA ในระดับปกติ
คือ ไม่ลดลงมากนัก ยังอยู่ในระดับ ที่ต้องแข่งขันกันประมาณ 10 ต่อ 1 ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะค่าใช้จ่าย
ที่นี่ต่ำกว่า ที่อื่น ค่าหน่วยกิต ที่แสน ถูก คือ ประมาณ 500-600 บาทต่อหน่วย
เบ็ดเสร็จแล้ว การเรียน MBA ภาคปกติทั้งหลักสูตรมีค่าใช้จ่ายเพียง 5-6 หมื่นบาทเท่านั้น
ซึ่งจะมีนักศึกษาบางส่วน ที่ประสบปัญหาจากตลาด แรงงานหันมาให้ความสนใจกับการศึกษาต่อเพราะมองว่าเป็นการหลบภัยเศรษฐกิจ
ซึ่งเราก็ต้องบอกให้พวกเขารู้ว่าจริงๆ แล้วข้างนอกขณะนี้เป็นอย่างไร พวกคุณโชคดีขนาดไหน
เพราะเมื่อพวกคุณเรียนจบก็พอดีกับ ที่เศรษฐกิจกำลังจะฟื้น ตัว ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของพวกคุณ"
ปรับตัวสู่หลักสูตร INTER
นอกจากนี้ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งต่างต้องเผชิญกับการแข่งขัน
เพื่อให้ได้มา ซึ่งจำนวนนักศึกษา เพื่อหล่อเลี้ยงโครงการต่อไปกันอย่างหนักหน่วงยิ่งขึ้น
อีกทั้งปรากฏการณ์ดังกล่าว ก็มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่สถาบันการศึกษา ที่เปิดให้บริการในประเทศไทยเท่านั้น
หากแต่สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศก็พยายาม ที่จะแทรกตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งสรรจำนวนนักศึกษาดังกล่าวด้วย
การปรับปรุงหลักสูตร MBAให้สอดรับกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไปนี้ กลายเป็นสิ่งที่หลายสถาบันกำลังศึกษา
และร่างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ แต่ "การขอเปิดหลักสูตรใหม่ๆ เป็นสิ่งที่น่าอึดอัดใจมาก
เพราะถูกควบคุมโดยทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งแม้มหาวิทยาลัยเอกชนจะมีความสามารถในการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร
แต่กลไกรัฐมักดูแคลน และกล่าวหาว่าไปลอกเลียนมาจาก ที่อื่น และพยายามจำกัดให้หลักสูตรส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน"
ดร.ผ่องใส แห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยอธิบายถึงข้อจำกัดในการขอปรับหลักสูตร
อย่างไรก็ดี สำหรับนิด้า ซึ่งถือว่าเป็นสถานศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ที่บุกเบิกหลักสูตร
MBA มาตั้งแต่เมื่อปี 2510 การขออนุมัติเปิดเพิ่มหลักสูตรนานาชาติไม่ใช่เรื่องยาก
โดยในเดือนกันยายนปีนี้ จะเริ่มเปิดสอนหลักสูตร MBA ที่เน้นศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ
Asia-Pacific โดยเฉพาะ และเป็นหลักสูตร ที่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอน
เพื่อรองรับกับนักศึกษาจากต่างประเทศ ที่คาดว่าจะสมัครเข้าเรียนร่วมกับนักศึกษาไทยด้วย
ซึ่งถือเป็น "หลักสูตรใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน และนิด้ากำลังจะเป็นผู้บุกเบิกอีกครั้ง"
ดร.บุญชัย หงส์จารุ กล่าวอย่างภาคภูมิใจ
แต่หากพิจารณาเฉพาะมหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตร MBA โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อมาตั้งแต่ต้นแล้ว
การปรับตัว เพื่อรองรับกับการแข่งขัน ที่ต้องเผชิญก็อยู่ในระดับ ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
"เราไม่ได้หวังให้ ABAC เป็นสินค้า ที่จะต้อง boom ในตลาด หากแต่ต้องรักษาระดับความนิยมนี้ไปให้ได้
ซึ่ง ที่ผ่านมา แม้ว่าจะได้ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจบ้าง แต่จำนวนนักศึกษา
ที่มาสมัครเรียนก็ไม่ได้ลดลงมากนัก เพราะชื่อเสียงของ ABAC ในฐานะมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งแรกในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของสังคม
และหากเปรียบเทียบ กับมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งอื่นแล้ว ค่าใช้จ่ายของนักศึกษาแต่ละคนที่เข้ามาเรียน
ที่ ABAC ก็ต่ำกว่ามาก" ภราดา ดร.วินัย วิริยวิทยาวงศ์ รองอธิการบดี และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
สาขาบริหารธุรกิจ อธิบายถึงการวาง position ของ ABACท่ามกลางการแข่งขันของสถาบันการศึกษา
ที่เน้นความเป็นนานาชาติมาเป็นจุดขายมากขึ้น
การกำหนด position ของ ABAC ในลักษณะเช่นนี้ ทำให้จำนวนผู้สมัครเรียน MBA
ของ ABAC ไม่ลดลงมากนัก เพราะมีนักศึกษา ที่เล่าเรียนอยู่ในต่างประเทศจำนวนไม่น้อย
ที่ประสบกับผลพวงภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ จำเป็นต้องทยอยเดินทางกลับมาเรียนต่อในเมืองไทย
เพราะไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่าย ที่สูงขึ้นหลังค่าเงินบาทลดลงได้ ประกอบกับมีนักศึกษาจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเอเชียใต้ และกลุ่มอาเซียนสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้น
"นักศึกษาต่างชาติเหล่านี้ให้ความสำคัญกับชื่อเสียงของสถาบันในการเลือก
ที่จะสมัครเข้าเรียน เพราะค่าใช้จ่ายด้าน การศึกษาในประเทศของเขากับ ที่จะต้องจ่ายในบ้านเราไม่แตกต่างกัน
แต่ ABAC ถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่ง แรกในประเทศไทย (The First
International University in Thailand) ซึ่งนอกจากนักศึกษา MBA จะมีบรรยากาศการเรียนการสอน
ที่เชื่อว่าเป็นสากล เพราะต้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ABAC ยังเชื่อว่าสภาพโดยทั่วไปของนักศึกษา
ABAC และของ campus โดยรวมก็มีความเป็นสากลเพียงพอ ที่จะไม่ทำให้นักศึกษา
MBA รู้สึกแปลกแยกจากส่วนอื่นๆ ของ ABAC มากนัก"
แม้ว่า ABAC จะอยู่ในฐานะ ที่เป็น market leader ของมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนหลักสูตร
MBA ด้วยภาษาอังกฤษ เป็นแห่งแรกมาเป็นเวลานาน และถือว่าเป็นหลักสูตร MBA
ที่ เน้นกลุ่มเป้าหมายระดับบน ที่มีศักยภาพทั้งทางเศรษฐกิจ และความสามารถทางภาษา
แต่ในห้วงปัจจุบัน สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้พัฒนาความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ
ด้วยการมีข้อตกลงทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โดยนักศึกษา ที่เข้าลงทะเบียนเรียนในบางมหาวิทยาลัย
สามารถเดินทางไปศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศในบางภาคการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียน
MBAให้ความสนใจไม่น้อยเพราะนอกจากจะได้ MBA กลับบ้านแล้ว ยังมีโอกาสไปเรียนรู้โลกในต่างแดนอีกด้วย
ซึ่งถือเป็นการเปิดแนวรุกใหม่ในตลาด MBA ด้วย
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี อธิการบดี วิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด-หัวหิน ซึ่งล่าสุดได้ร่วมมือทางวิชาการกับมหา
วิทยาลัยนานาชาติ Shiller กล่าวถึง การแข่งขันของสถาบันการศึกษาเอกชนในรูปแบบของมหาวิทยาลัยนานาชาติว่า
จะมีจุดตัดสินกัน 2 ประการเป็นหลัก ประการแรกคือ เรื่องของสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
ว่ามีความอบอุ่นร่มรื่น และสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการหรือไม่อย่างไร
และประการที่สองก็คือ ชื่อเสียงหรือ Brand Name ของมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องยอมรับว่าการแข่งขันมีอยู่จริง
แต่สำหรับแสตมฟอร์ด ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ชัดเจนว่า ควรจะเป็น upper-middle
จะไม่กระทบกับมหาวิทยาลัยอื่นมากนัก เพราะเป็นคนละกลุ่ม และนักศึกษา ที่จะมาเรียน
ที่นี่จำนวนไม่น้อยก็คือ พวก ที่ไปเรียนต่างประเทศมาแล้ว แต่ประสบกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ซึ่งแสตมฟอร์ดน่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับพวกเขาได้
แม้จะมีการแข่งขันสูงขึ้น แต่สำหรับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ ซึ่งเป็นสถาบัน
ที่เปิดสอนหลักสูตร MBA ที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในระดับ high-end แล้ว รองศาสตราจารย์ประพันธ์พงศ์
เวชชาชีวะ รองผู้อำนวยการ ฝ่าย พัฒนา และวางแผนของศศินทร์ มองว่าคู่แข่งขันในตลาด
MBA ไม่ใช่สถาบันการศึกษาในประเทศ หากแต่เป็นการแข่งขันกับตัวเอง และสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเป็นหลัก
"ต้องเข้าใจก่อนว่าสำหรับศศินทร์นั้น นักศึกษา ที่จะมาเรียน ประการแรกต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งในเชิงวิชาการ
และภาษาอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร ประการที่สองเป็นผู้ที่มีฐานทางเศรษฐกิจพอสมควร
เนื่องจากค่าใช้จ่าย ที่ศศินทร์ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสถาบันอื่น แต่ยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับการไปเล่าเรียนในต่างประเทศ
เพราะฉะนั้น กลุ่มเป้าหมาย ที่จะเข้ามาเรียน ที่ศศินทร์ จึงแตกต่างจากสถาบันอื่นๆ
ศศินทร์จึงไม่อยู่ในข่าย ที่จะแข่งขันกับสถาบันการศึกษา ที่มีอยู่ในประเทศ"
จุดแข็ง ที่ศศินทร์ ภาคภูมิใจก็คือ การเป็นสถาบันการศึกษา ที่มีความเป็นสากลมากกว่าแห่งอื่น
เพราะภายใต้ข้อยกเว้น ที่ศศินทร์ ได้รับจากทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เมื่อครั้ง
ที่ขออนุญาตเปิดสอนหลักสูตร MBA โดยร่วมมือพัฒนาหลักสูตรกับ J.L.Kellogg
แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสต์เทอร์น และ Wharton แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียนั้น
ทำให้นักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาจากศศินทร์ ได้รับปริญญาบัตรทีประสาทโดยมหาวิทยาลัยทั้ง
3 แห่งในใบเดียว แต่นั่นอาจไม่ใช่คำตอบทั้งหมด ที่นักศึกษาต้องการได้รับ
เพราะนักศึกษาจำนวนไม่น้อยของศศินทร์คือ ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากต่างประเทศ
หรือใช้ชีวิตกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในต่างแดน การเข้าเรียน MBA ในศศินทร์ ก็คือ
การย่างเท้ากลับบ้าน เพื่อแสวงหา connection ก่อน ที่จะลงหลักปักฐานในสังคมไทยอีกครั้ง
ถึงเวลาหา niche ใหม่
แม้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจะพยายามปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนไป แต่การจะดึงดูดให้นักศึกษาสมัครเข้าเรียนในหลักสูตร MBA ดูจะไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่ายเมื่อเทียบกับช่วงเวลาในยุคเฟื่องฟู
สิ่งที่สถาบันการศึกษา และนักศึกษาในขณะนี้คิดคำนึงจึงอยู่ ที่ว่าจะเลือกเรียนสาขาวิชาอะไร
เพื่อให้มีโอกาสในอาชีพการงานในช่วงต่อไป
"MBA ต้องหา niche ของตัวเองให้พบว่าจะอยู่ ที่จุดไหน ในอดีต MBA ด้านการเงิน
(finance) อาจจะเป็นพระเอก เป็นตัวชูโรง ซึ่งแม้ว่าวันนี้มันอาจจะตกลงไปบ้าง
แต่ทุกอย่างมีวงจรชีวิต (life cycle) ของมัน วันหนึ่งมันอาจจะกลับมา อีก
เพราะเรื่องเกี่ยวกับการเงินการทองมันไม่มีวันสิ้นสุด เรายังต้องดำเนินการด้าน
securitization อยู่ เพราะฉะนั้น MBA finance ก็ยังอยู่ แต่จะอยู่ในรูปแบบไหนนั่นเป็นอีกกรณี"
ดร.ณรงค์ชัย ให้มุมมองผ่านกรอบของผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการเงินการธนาคารมานาน
ขณะที่ ผศ.โอภาศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มองว่า ความนิยมใน MBA อาจลดลงเพราะเข้าใจว่า
เมื่อ finance ฟุบก็ไม่รู้จะเรียน MBA ไปทำไม ซึ่งหากมหาวิทยาลัยสามารถเสนอตัวเลือกใหม่ๆ
คือ ปรับให้ทันกับยุคสมัย เช่น เพิ่มสาขาวิชา MIS (Management Information
System) ซึ่งคนที่ศึกษา computer science ก็มีความรู้เฉพาะในเชิงเทคนิควิธี
แต่ในด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะในการบริหารมาเป็นผู้แนะนำ
หรือการเปิดสอนวิชาว่าด้วย e-commerce ซึ่งเป็นการสอนทั้งระบบตั้งแต่ ก ข
ก.กา ของเรื่องเหล่านี้ คนก็จะสนใจ และจะตระหนักว่า MBA ก็คือ องค์ ความรู้อีกชนิดหนึ่งเป็นองค์ความรู้
เพื่อการจัดการที่ยังควรให้ความสนใจ พร้อมกับย้ำว่า "สิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ
สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ (manage change)"
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญ ที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสนใจน่า จะอยู่ ที่จะสามารถสร้างเสริมความแตกต่าง
และคุณค่าของหลักสูตรท่ามกลางการแข่งขันนี้ได้อย่างไร ซึ่งนั่นย่อมนำไปสู่กระบวนการในการผลิตบัณฑิตปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ
ที่มีวุฒิภาวะ และความสามารถ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ทางธุรกิจ ที่มีการแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป