Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 กรกฎาคม 2548
แบงก์ชาติขึ้นอาร์/พี 0.25%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




ธปท. ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ส่งผลให้ดอกเบี้ยอาร์/พี ขยับไปอยู่ที่ระดับ 2.75% เหตุราคาน้ำมันพุ่งและค่าจ้างแรงงานที่จะปรับเพิ่มขึ้นจะผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่ง ระบุเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่เดือนส.ค.ปี 2547 ด้านนักเศรษฐศาสตร์ชี้เหมาะสม แนะจับตาธปท.เตรียมออกบอนด์ดูดซับสภาพคล่องอีกรอบ

นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรซื้อคืนระยะ 14 วัน (อาร์/พี) อีก 0.25% เป็น 2.75% ต่อปี จากเดิมที่อยู่ในระดับ 2.50% ต่อปี เนื่องจากพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไปแล้วเห็นว่า โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเร่งตัวสูงกว่าเป้าหมายที่ธปท. ตั้งไว้ 0-3.5% มีมากขึ้น รวมทั้งเป็นการส่งสัญญาณการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคภาคประชาชน

ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน 6 เดือนแรกของปี 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.2% และอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานอยู่ที่ 0.9% ซึ่งการที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าเป้าหมาย มีสาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น การที่ภาครัฐลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ราคาสินค้าควบคุมที่แพงขึ้น รวมทั้งการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ "

น้ำมันที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้น กนง.จึงเห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายควรจะอยู่ในทิศทางขาขึ้น เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจระยะยาว" นางอัจนากล่าว

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.จะเน้นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก แต่ต้องอยู่ในอัตราที่พอเหมาะพอควร เพื่อให้ได้ดุลยภาพระหว่างการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า 0.25% เป็นระดับที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ เพราะเป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป "

กนง.ได้นำตัวเลข 0.50% มาพิจารณาเช่นกัน แต่เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วนัก ส่วนในระยะต่อไปหากมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ก็สามารถทำได้ เพราะส่งสัญญาณมาตลอด นอกจากนี้ กนง.ยังได้พิจารณาถึงเสถียรภาพภาย นอกมาประกอบด้วย เช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ" นางอัจนากล่าว

นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินยังพิจารณาว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยใน 5 เดือนแรกของปี 2548 ชะลอตัวลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในช่วงครึ่งหลังของปี เศรษฐกิจไทยจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องตามการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐ ซึ่ง ธปท.จะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กรกฎาคมที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้จะไม่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทหรือการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนจากต่างประเทศ มากนัก เนื่องจากการที่นักลงทุนจะนำเงินมาลงทุนหรือนำออกนอกประเทศจะพิจารณาจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากกว่าอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งในปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน

สำหรับปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาดมากกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง ธปท.ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 5 ครั้ง แต่อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้นเพียงครั้งเดียว คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะมีผลต่อการลงทุนในระยะยาว และการที่ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของแต่ละแห่งด้วย

ด้านนายเกริกไกร จีระแพทย์ กรรมการ กนง. กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งในช่วงปลายปี 2549 เงินเฟ้ออาจเร่งตัวเกินเป้าหมายที่ ธปท. ตั้งไว้ที่ระดับ 3.5% โดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้องปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ต้องปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่เหมาะสมด้วย

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การปรับดอกเบี้ยอาร์/พีของ ธปท. เป็นการทำเพื่อดูแลเสถียรภาพ แต่ขณะเดียวกันยังห่วงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจด้วย ซึ่งการประกาศปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 1.50% ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547

"แม้ว่าธปท.ทยอยขึ้นดอกเบี้ยมาหลายครั้งแล้ว แต่ธนาคารยังขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25-0.50% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำ ดังนั้นหากธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% วานนี้ก็ไม่น่าจะมีผลทำให้ธนาคารต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม และเชื่อว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 7 ก.ย.นี้ ธปท.น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เพื่อลดแรงกดดันส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยต่างประเทศ"

นางสาวอุสรา กล่าวว่า ขณะนี้ธปท.มีเครื่องมือในการดูดซับสภาพคล่องมากขึ้น ด้วยการออกพันธบัตรซึ่งคาดว่าในไตรมาส 3 นี้ธปท.จะมีการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องได้ ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการส่งผ่านนโยบายการเงินของธปท.เพื่อดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจทำได้ดีขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us