Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 สิงหาคม 2545
ธุรกิจประกันภัย...สู่ยุคการเปลี่ยนแปลง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Insurance




ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY) วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจประกันภัย ว่าช่วงวิกฤต เศรษฐกิจเมื่อปี 40 ถึงแม้ธุรกิจประกันภัยจะประสบปัญหาการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แต่โดยภาพรวมแล้วยังมีอัตราขยายตัวโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศ พิจารณาจากจำนวนเบี้ย ประกันรวมของธุรกิจประกันภัยปี 44 ที่ขยายตัวสูงเกือบ 150,000 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวประมาณ 28.62% เมื่อเทียบกับปี 40 โดยเฉพาะด้านประกันชีวิตที่ขยายตัวสูง

ประมาณ 61% สำหรับปี 45 กระทรวง พาณิชย์ ได้คาดการณ์อัตราการขยาย ตัวของธุรกิจประกันภัยเพิ่มขึ้นประมาณ 13.7% เมื่อเทียบกับปี 44 โดยมีเบี้ยประกันภัยรวมประมาณ 161,456 ล้านบาท แยกเป็นเบี้ยประกันชีวิต 105,220 ล้านบาท อัตราการขยายตัว 17% และเป็นเบี้ยประกันวินาศภัย 56,236 ล้านบาท อัตราการขยายตัว 8% นอกเหนือจาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่คาดว่าจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ยังมีปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการขยายตัวของ ธุรกิจประกันภัยและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี อาทิ

นโยบายและแผนการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ควบคุมดูแลธุรกิจประกันภัยโดยตรง ได้แก่ กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ จะติดตาม กำกับ ดูแล และตรวจสอบสถานะทางการเงินของบริษัทประกันภัยอย่างใกล้ชิด เพื่อเสริมสร้างฐานะความมั่นคงทางการเงิน และสภาพคล่องของบริษัทซึ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากความมั่นคงทางการเงิน นับเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจทุกประเภทที่ประชาชนจะให้ความเชื่อมั่นและเชื่อถือ

รวมถึงการส่งเสริมให้มีช่องทาง การลงทุนใหม่ๆ การปรับปรุง แก้ไข กฎหมายและกฎระเบียบในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยเพื่อให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบัน เอื้อต่อการแข่งขันอย่างเสรีในอนาคต เสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัยแก่ ประชาชน ตลอดจนการพัฒนาระบบข้อมูลและฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการประกันภัย โดยมีเป้าหมายให้ธุรกิจ ประกันภัยเติบโตอย่างมั่นคง เป็นที่เชื่อใจของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการประกันภัยเพิ่มมากขึ้น

สำหรับนโยบาย แผนการดำเนินงาน กฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ ของภาครัฐที่คาดว่าจะมีผลต่อการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตอย่างเด่นชัด ได้แก่

การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาสำหรับเบี้ยประกันชีวิต จากการที่สมาคมประกันชีวิตไทยได้เสนอต่อกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 45 ให้เพิ่ม ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันชีวิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 10,000 บาท ซึ่งใช้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เป็น 50,000 บาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าเมื่อ เทียบกับค่าลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันชีวิตของประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี ประมาณ 4.6 แสน บาท สวิตเซอร์แลนด์ ประมาณ 6.9 หมื่นบาท หรือแม้กระทั่งสิงคโปร์และมาเลเซียสามารถหักค่าลดหย่อนได้ถึง 1.2 แสนบาท และ 6 หมื่นบาท ตามลำดับ กอปรกับภาครัฐได้มีการปรับ เพิ่มลดหย่อนภาษีประเภทอื่นๆ เพื่อความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองนโยบายของ รัฐที่ต้องการส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ให้เติบโตและให้ประชาชนหันมาทำประกันชีวิตมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีการทำประกันชีวิตเพียงร้อยละ 13 ของ ประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่อยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 90 ภาค ธุรกิจ ประกันชีวิตโดยสมาคมประกันชีวิตไทยได้เสนอว่าการปรับเพิ่มการหักค่าลดหย่อนแม้จะส่งผลให้ภาครัฐมีรายได้ลดลงประมาณ 1 พันกว่าล้านบาท

ในขณะที่กรมสรรพากรประเมิน ไว้ประมาณ 2 พันล้านบาท กรมการประกันภัยและกระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ 1.5-1.6 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ระยะยาวที่ภาครัฐจะได้รับแล้วถือว่าเป็นจำนวนที่เล็กน้อย เนื่องจากภาครัฐจะได้รับรายได้กลับคืนมาในรูปภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทประกันชีวิตจากผลกำไรของธุรกิจประกันชีวิต และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากตัวแทน ประกันชีวิตที่คาดว่าจะขายประกันได้มากขึ้น ทำให้ภาษีจากภาคธุรกิจประกันชีวิตนำส่งรัฐได้มากขึ้นและรัฐจะมีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การปรับเพิ่มค่าลดหย่อนในครั้งนี้จะสามารถกระตุ้นให้ประชาชนหันมาทำประกันชีวิตมากขึ้น คาดว่าจะทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต ไม่น้อยกว่า 20% ต่อปี และจำนวนผู้ทำประกันชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 15-16 ของจำนวนประชากรทั้งหมด รวมทั้งจำนวนเบี้ย ประกันชีวิตที่เพิ่มขึ้นจะเป็นแนวทางการระดมเงินออมและเงิน ทุนของประเทศทางหนึ่ง ดังนั้น ภาครัฐควรจะมีการสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตโดยการปรับค่าลดหย่อนรายการนี้เพิ่มขึ้นอีก

ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการ กลั่นกรองเรื่องเสนอ ครม. คณะที่ 2 เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 45 ได้มีการอนุมัติกฎกระทรวงออกตามประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิต โดยผู้เอาประกันชีวิต สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับ กรมธรรม์ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป และกรม ธรรม์ตลอดชีวิต โดยต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น และให้หักค่าลดหย่อนได้ปีต่อปีหรือเริ่มทำประกันปีใดก็หักได้ตั้งแต่ปีนั้น ซึ่งคณะกรรมการฯ จะเสนอให้ ครม. พิจารณาต่อไปคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณปลายเดือน ก.ค. นี้หรือต้นเดือน ส.ค. 45 และกำหนดให้มีผลตั้งแต่รอบปีภาษี 2545 หรือ 1 ม.ค. 45 เป็นต้นไป โดยกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่า การลดหย่อนภาษีครั้งนี้จะทำธุรกิจประกันชีวิตขยายตัว 30% ต่อปี ยอด เบี้ยประกันเพิ่มขึ้นจาก 1 แสนล้านบาท เป็น 1.3 แสนล้านบาท ตัวแทนประกันชีวิตจะมีรายได้เพิ่มขึ้นส่งผลต่อ บริษัทประกันชีวิตให้มีรายได้เพิ่มตาม ไปด้วย นำไปสู่การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นประมาณ 37% ภาครัฐจะสามารถเก็บภาษีเงินได้ในปีต่อๆ ไปได้มากขึ้นเมื่อพิจารณารวมกับผลการขยายตัวของธุรกิจ

การขายกรมธรรม์แบบยูนิตลิงค์ (Unit Link : กรมธรรม์ประกันชีวิตที่ขายควบหน่วยลงทุน) กรมการประกันภัยได้เสนอต่อ ก.ล.ต. เพื่อขอ อนุญาตประกอบธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เพื่อ ที่จะสามารถขายกรมธรรม์ควบการลงทุนได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการจัดสรรเบี้ยประกันให้แก่ผู้เอาประกันว่าจะนำไปประกันชีวิตเท่าไรและนำไป ลงทุนเท่าไร เช่น หากผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันปีละ 500 บาท อาจจะนำไปทำประกันชีวิต 350 บาท อีก 150 บาท นำไปลงทุน เช่น ลงทุนใน หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน แล้วแต่เงื่อนไขที่ผู้เอาประกันเลือก โดยผู้เอาประกันภัยต้องรับความเสี่ยง ที่เกิดจากการลงทุนเอง เป็นการลดความเสี่ยงจากกรมธรรม์สะสมทรัพย์ที่ผู้รับประกันภัยรับประกันผลตอบ แทนขั้นต่ำในอัตรา 4% นอกจากนี้ยังเป็นการขยายฐานนักลงทุนในระบบกองทุนรวมซึ่งมีอยู่ประมาณ 5.4 แสน รายให้เพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบันมีผู้ถือกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ 3.5 ล้านกรมธรรม์ ซึ่งความเคลื่อนไหวล่าสุดของการขายกรมธรรม์กรณีนี้กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการหารือร่วมกันระหว่าง ก.ล.ต. และกรมการประกันภัย โดยมีแนวทางที่จะต้องพิจารณาร่วมกัน 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแรก การให้บริษัทประกันชีวิตใช้บริการผ่าน บลจ. (ปัจจุบันมีประมาณ 14 แห่ง) โดยจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ บลจ. แนวทางที่ 2 การแก้ไขกฎเกณฑ์

การถือหุ้นของบริษัทประกันซึ่งกำหนดห้ามบริษัทประกันถือหุ้นในบริษัทต่างๆ เกิน 10% หากมีการตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาเพื่อดำเนินการด้านนี้ แนวทางสุดท้าย คือ การให้ใบรับอนุญาตในการบริหารกองทุนแก่บริษัท ประกัน เพราะปัจจุบันบริษัทประกันมีใบอนุญาตในการบริหารกองทุนส่วน บุคคลอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม หากกรมธรรม์แบบยูนิตลิงค์ได้รับการผลักดันสำเร็จ จะสามารถขยายฐานของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้อย่างมาก ใน ระยะยาวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันด้วยเพราะมีโอกาสในการสร้าง ผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนครบอายุกรม ธรรม์ได้หากต้องการใช้เงินสด และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการดำเนินธุรกิจของบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย การขายประกันแบบยูนิต ลิงค์เป็นที่นิยมมาก ในประเทศอังกฤษก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน แต่มี 2 ลักษณะ คือ Unit Link และ Investment Link โดยแบบ Unit Link จะไม่ประกันความเสี่ยงด้านการ ลงทุนให้แก่ลูกค้าหรือผู้ถือกรมธรรม์ แต่แบบ Investment Link จะประกันความเสี่ยงขั้นต่ำให้แก่ลูกค้า

การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ ประกอบธุรกิจนายหน้าของประกันชีวิตและประกันวินาศภัย (Ban-cassurance หรือ Bank Insurance) เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด ใหม่เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจประกันภัย และเป็นการเพิ่มช่อง ทางการหารายได้จากค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคารพาณิชย์อีกทางหนึ่ง

ธปท. จึงได้ออกประกาศอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 44 โดยธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบ ธุรกิจการเป็นนายหน้าประกันภัยได้ต้องยื่นขออนุญาตและปฏิบัติตามประกาศนายทะเบียน (นายทะเบียนตาม พ.ร.บ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535) ธนาคารพาณิชย์ที่จะขอรับใบอนุญาตฯ ได้จะต้องมีพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคารที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัยเป็น ผู้กระทำแทนประจำสำนักงานไม่น้อยกว่าสำนักงานละ 1 คน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อติดต่อกับประชาชนและชี้แจงต่อนายทะเบียน เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับใบอนุญาตแล้วให้ถือว่าสาขาของธนาคารพาณิชย์ เป็นสาขาในการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ประชาชน/ลูกค้าของธนาคารสามารถซื้อประกันผ่านธนาคารได้สะดวกและทั่วถึงกว่าเดิม บริษัทประกันภัยมีโอกาสในการทำธุรกิจได้กว้างขึ้นและมีโอกาสในการสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้น เพราะสามารถประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยอาศัยการดำเนินธุรกิจผ่านสาขาจำนวนมากของธนาคาร

Bancassurance หรือ การทำประกันภัยผ่านธนาคาร โดยธนาคาร ทำหน้าที่เป็นผู้ขาย/จำหน่าย หรือชี้แนะช่องทางให้มีการขายสินค้าและบริการด้านประกันภัยให้แก่ลูกค้าของ ธนาคารหรือบุคคลอื่นๆ ผ่านทางสาขา หรือสำนักงานใหญ่ของธนาคาร มีต้นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส (จึงใช้คำว่า Banc แบบฝรั่งเศส) ประมาณปี 1970 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในปี 1980 ก่อนที่จะขยายไปยังประเทศอื่นๆ โดยมีหลายรูปแบบ เช่น การทำสัญญาความร่วมมือ (Co-operation Agreement) ระหว่างธนาคารและบริษัทประกันภัยหรือการร่วมเป็นพันธมิตรกันธนาคารสามารถจำหน่าย กรมธรรม์แบบต่างๆ ของบริษัทประกันฯ ให้แก่ลูกค้าของธนาคารได้ โดยโครงสร้างการถือหุ้นและการบริหารยังคงแยกกันอยู่เหมือนเดิม การเข้าถือหุ้นในบริษัทประกันภัยของธนาคาร (Equity Interest) ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การรวมกิจการ การซื้อกิจการ รวมถึงการที่ธนาคารเข้าถือ หุ้นส่วนใหญ่ (Majority Ownership) ซึ่งสินค้าและบริการของบริษัทประกันฯ ถือเป็นส่วนหนึ่งของธนาคาร (Integrated Products) โดยบริษัทประกันฯ จะทำหน้าที่ในการผลิตสินค้า และบริการเพื่อจำหน่ายผ่านธนาคาร การตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อดำเนินกิจการ ด้านการตลาด(Joint Venture in Marketing Company) โดยธนาคาร และบริษัทประกันร่วมกันจัดตั้งบริษัทเพื่อทำหน้าที่การตลาด การออก แบบและจำหน่ายกรมธรรม์ให้แก่ลูกค้าของธนาคารหรือบริษัทประกันฯ การที่ธนาคารตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเอง (Greenfields Start-up) เป็นต้น

การแข่งขันกันระหว่างบริษัท ประกันภัย จะช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบการประกันภัยและผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างหลากหลาย อาทิ กรมธรรม์ ที่ผสมผสานระหว่างการออมทรัพย์ และการคุ้มครองชีวิตโดยได้รับผลตอบแทนเป็นช่วงระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

นอกจากการพัฒนารูปแบบสินค้าแล้ว บริษัทประกันภัยยังได้แข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศให้มี ความก้าวหน้าและบริการลูกค้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความประทับใจและดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการในหลายๆ รูปแบบ เช่น การบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce อาทิ การซื้อและการรับชำระเบี้ยประกันผ่านอินเทอร์เน็ต การบริการข่าวสารข้อมูล การบริการลูกค้าผ่านระบบ Call Center เป็นต้น

ธุรกิจประกันภัยมีแนวโน้มจะเติบโตต่อเนื่องไปอีกจากปัจจัยสำคัญต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม นอกจากภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจการเงินของประเทศแล้ว ยังมีอุปสรรคปัญหาบางประการที่อาจ ส่งผลต่อการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยบ้างแต่คาดว่าไม่มากนัก อาทิ การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตลงจาก 5% เป็นไม่เกิน 4% ตั้งแต่ 24 ก.ย. 44 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของผลตอบแทนที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายให้กับผู้เอาประกันจะถูกลดลงมาเหลือแค่ 4% หรือการกำหนดให้มีการยกเลิกการนำอสังหาริมทรัพย์มาเป็นส่วนหนึ่งของเงินสำรองประกันภัย ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน 1 ม.ค. 46 ประเภทของทรัพย์สินที่นำมาจัดสรรเป็นเงินสำรองประกันภัย (ค่าสินไหมทดแทน) ลดลง จำเป็นต้องมีการหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทอื่นๆ มาทดแทนส่วนที่ลดลงไป ตลอดจน การกำหนดให้มีการประเมินราคาทรัพย์สิน และหนี้สินของธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยใหม่ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 45 นี้ อาจ ทำให้สภาพคล่องของบริษัทประกันภัยลดลงและมีผลกระทบต่อการดำเนินงานได้ เนื่องจากราคาประเมิน ทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจประกันชีวิตและวินาศภัยในปัจจุบันลดลงจากเดิมพอสมควร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us