การบินไทยเร่งหากลวิธีเพิ่มรายได้ไตรมาส 4 หลังไตรมาส 3 กำไรทรุดฮวบต่ำกว่าไตรมาส
2 สรุปเดินแผนการตลาดเพิ่มสัดส่วนลูกค้า ชั้นธุรกิจและชั้นเฟิสต์คลาส ยันไม่ใช้กลยุทธ์ลดราคาเพิ่มปริมาณผู้โดยสาร
ส่วนผลประกอบการ 9 เดือนกำไรกว่าหมื่นล้านบาท 50% มาจากอัตราแลกเปลี่ยน
นายทนง พิทยะ ประธานคณะกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) เปิดเผยถึงโอกาสในการเพิ่มรายได้ของบริษัทการบินไทยว่า
ยังมีอีกมาก เพียงแต่ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างเสถียรภาพในการดำเนินการให้มีมากขึ้น
เห็นได้ว่าการแต่งตั้งกรรมการอำนวยการและประธานกรรมการก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว
และกรรมการส่วนใหญ่ก็มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา
3 ชุดเพื่อหาข้อสรุป 3 เรื่องสำคัญโดยเร็วเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิ- ภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการของบริษัทการบินไทย
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการชุดแรกจะพิจารณาเรื่องรายละเอียดของการเพิ่มทุน มีนายสมใจนึก
เอง ตระกูลปลัดกระทรวงการคลังและกรรมการบริษัทการบินไทยและนายวิโรจน์ นวลแข
เป็นผู้รับผิดชอบ
คณะอนุกรรมการชุดที่ 2 พิจารณาในเรื่องแผนวิสาหกิจการลงทุนของบริษัทการบินไทย
รวมถึง การซื้อเครื่องบินใหม่ มีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับคณะอนุกรรมการชุดที่
3 จะพิจารณาในเรื่องการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เช่น การปรับเก้าอี้ผู้ โดยสารและปรับปรุงการให้บริการในเครื่องบินชุดนี้มี
นายชัยอนันต์ สมุทวานิช เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการซื้อเครื่องบินใหม่หรือไม่นั้น
คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวจะมีการหารือในสัปดาห์หน้า
สำหรับ ผลประกอบการงวด 9 เดือน สิ้นสุดมิถุนายน 2545 มีกำไรกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท
50% เป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม แสดงให้เห็นว่าผลประกอบการของบริษัทการ
บินไทยดีขึ้นมาเป็นลำดับ แม้ว่างวดไตรมาส 3 สิ้นสุด 30 เดือนมิถุนายน มีกำไรน้อยกว่าไตรมาส
2 ที่มีกำไร 4.72 พันล้านบาท โดยมีสาเหตุสำคัญเนื่องจากเงินบาทมีค่าแข็งขึ้น
ทำให้มีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ เป็นจำนวนเงิน 1,848
ล้านบาท สำหรับในรอบ 6 เดือนบริษัทการบินไทยมีกำไร 5.77 พันล้านบาท
คาดว่า ในไตรมาส 4 แนวโน้มของกำไรจะดีกว่าไตรมาส 3 เพราะเป็นช่วงฤดูกาลเดินทาง
นายทนง กล่าว
เล็งเจาะลูกค้ากลุ่มเฟิสท์คลาส
นายกนก อภิรดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า กรณีที่สายการ
บินต่างชาติเปลี่ยนจุดแวะจากกรุงเทพฯเป็นที่ประเทศสิงคโปร์ คาดว่าจะไม่กระทบต่อรายได้ของการบินไทย
เนื่องจากการบินไทยได้มีการส่ง เสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้โดยสารที่ชั้นประหยัดมีจำนวนเต็มเกือบทุกเที่ยว
บิน สำหรับชั้นธุรกิจและชั้นเฟิสท์คลาส ผู้โดยสาร ยังมีจำนวนไม่เต็มที่นั่ง
ซึ่งในปีนี้ทางบริษัทได้ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางเพิ่มรายได้ในชั้นเฟิสท์คลาสให้มากขึ้น
ทั้งนี้ แต่เดิมปริมาณการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin factor) ของชั้นธุรกิจและชั้นเฟิสท์คลาส
มีประมาณ 30%-55% ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะขยายรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการเดินสายไปพบกับผู้จัดการของแต่ละประเทศที่การบินไทยให้บริการ
อยู่ รวมถึงผู้โดยสารในประเทศต่างๆ ทั่วโลกใน ทุกประเทศที่เครื่องบินของการบินไทยเดินทางไป
ถึง ได้มอบหน้าที่ให้ผู้จัดการในแต่ละประเทศนำ เสนอรูปแบบการบริการให้กับบริษัทในการดึงลูกค้าให้มาใช้บริการชั้นเฟิสท์คลาสของบริษัทฯ
มากขึ้น
การบินไทยยังได้บอกผ่านไปถึงตัวแทนจำหน่ายว่า ต่อไปนี้ถ้าจะทำหน้าที่เพียงดึงลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้แล้ว
ต้องร่วม กระบวนการสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นบริษัทใหญ่ๆ มาสนใจใช้บริการสายการบินไทยให้มากขึ้น
ให้รู้ว่าการบินไทยมีการบริการเป็นอย่างไรบ้าง สิ่งนี้ ได้เริ่มไปแล้วและคงจะได้เห็นปริมาณผู้โดยสารในชั้นธุรกิจ
และชั้นเฟิสท์คลาสเพิ่มขึ้น
สำหรับกลยุทธ์เรื่องราคานั้น การบินไทย ยังไม่มีนโยบายในการลดราคาชั้นธุรกิจและชั้นเฟิสท์คลาส
เนื่องจากจะต้องศึกษาดูก่อนว่าผู้โดยสารคำนึงถึงสิ่งใดมากกว่ากันระหว่างราคากับบริการที่ดี
เพราะราคาไม่ใช่เครื่องชี้บ่งในทุกๆ กลุ่มของผู้โดยสารเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับชั้นราคาประหยัด
การบินไทยได้มีการปรับลดราคาลงเล็กน้อยซึ่งก็จะต้องดำเนินการต่อไป
เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร แกนนำที่ปรึกษา
ด้านความคืบหน้าแผนเพิ่มทุนของการ บินไทย ซึ่งได้กำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่
30 สิงหาคมนี้เพื่อพิจารณาและอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่จำนวน 300,000,000
หุ้น ดังนี้คือหุ้นสามัญจำนวน 285,000,000 หุ้นให้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป
(Public Offering) ซึ่งอาจจะออกเสนอขายครั้งเดียวเต็มจำนวนหรือเสนอขายเป็นคราวๆ
ไปก็ได้ และหุ้น อีกจำนวน 15,000,000 หุ้นให้พนักงานภายใต้โครงการ จัดสรรหลักทรัพย์ให้กับพนักงานบริษัทการบินไทย
นายกนก กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการจำหน่ายหุ้นที่มีนายสมใจนึก
เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็น ประธาน ได้มีมติเลือก 6 บริษัทหลักทรัพย์(บล.)
มาเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผนขายหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทได้แล้ว ประกอบด้วย
1. บล.เจ.พี. มอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด 2. บล.แอสเซทพลัส จำกัด (มหาชน)
3. บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด 4. บล.บัวหลวง จำกัด 5. บล.ธนชาติ จำกัด และ 6. บล.เมอร์ริลลินซ์
ภัทร จำกัด โดยบล.เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร จะเป็นแกนนำที่ปรึกษาของการบิน ไทยที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมด
หลังจากที่การบินไทยทำการเพิ่มทุนเสร็จสิ้น แล้ว การบินไทยมีแผนที่จะจัดซื้อเครื่องบินเข้าฝูง
โดยในขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของ นายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม
ซึ่ง เป็นประธานการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องฝูงบิน (แพลนเน็ต แพลน) โดยจะมีการประชุมเรื่องนี้ใน
สัปดาห์หน้า และหลังจากจัดทำแผนวิสาหกิจแปรรูปการบินไทยเสร็จเรียบร้อย ก็จะได้ข้อสรุป
ทั้งในเรื่องของขนาด ความจุ ความสูง ของเครื่อง บินจะเป็นอย่างไร รวมทั้งในเรื่องของการปรับการบินระหว่างทางไกล
(ไพรเน็ต ซิตี้ สองเร้นท์)
ในเรื่องของนโยบาย ผมจะเข้าร่วมในฐานะที่เป็นกรรมการ แต่การตัดสินใจต้องแล้วแต่นายศรีสุขอย่างไรก็ตาม
แผนการจัดซื้อเครื่อง บินจะเกี่ยวข้องกับแผนการลงทุนของแผนระยะยาวที่มีนายทนง
พิทยะ ประธานกรรมการการ บินไทยเป็นประธาน ซึ่งในกรอบแผนการลงทุนไม่ได้มุ่งที่จะลงทุนในเรี่องการจัดซื้อเครื่องบินอย่างเดียว
จะต้องดูในเรื่องของการจัดระบบที่นั่ง หรือการปรับเปลี่ยนที่นั่งในเครื่องบินบางลำที่มี
อายุมากด้วย ซึ่งโดยปกติ จะพยายามจะยืดอายุ ที่นั่งโดยการเมนเทรนระบบให้ดีที่สุดนายกนก
กล่าว
นายทนง พิทยะ กล่าวว่า บริษัทการบินไทย ได้ตัดขาดทุนสะสมหมดแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน
ที่ผ่านมาและหากมีการเพิ่มทุนสำเร็จก็จะทำให้หนี้สินต่อทุนของการบินไทยลดลงเหลือ
2 กว่าต่อ 1 เท่าจาก 4 ต่อ 1 เท่า เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้ลงทุนในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะต้องเริ่มใช้เงินตั้งแต่ต้นปีหน้า
เงินที่ต้องใช้ทั้งสิ้นประมาณ 1 หมื่นล้านบาท