Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 สิงหาคม 2545
บิ๊กค้าปลีกรอดยาก สรุปผิดกม.แข่งขัน             
 


   
search resources

Carrefour SA
Tesco
สยามแม็คโคร, บมจ.
บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บมจ.
เนวิน ชิดชอบ
Retail




"เนวิน" ตั้งแท่นเสนอ "อดิศัย" พิจารณาฟัน 4 ยักษ์ค้าปลีก บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส แม็คโคร และคาร์ฟูร์ ผิดมาตรา 29 แห่งกฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยสรุปข้อหาทำการค้าไม่เป็นธรรมได้ถึง 6 ประเด็น หลังก่อนหน้านี้ในกรณีของ "เซ็นทรัล" บังคับซัปพลายเออร์เข้าระบบศูนย์เติมและกระจายสินค้า (RC) ก็เข้าข่ายผิดกฎหมายในมาตราเดียว กันนี้มาแล้ว เผยโทษตามกฎหมายจำคุก 3 ปีปรับ 6 ล้านหรือทั้งจำทั้งปรับ

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการการแข่งขันทางการค้าที่มีนายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระ ทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ในกรณี ที่ร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 4 ราย คือ บิ๊กซี เทสโก้โลตัส แม็คโคร และคาร์ฟูร์มีพฤติกรรมทางการค้า ที่ไม่เป็นธรรมว่า ในเบื้องต้นคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาแล้วสรุป ว่าพฤติกรรมดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ มีเหตุผลอันควรว่าการกระทำของร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 4 รายเป็นพฤติกรรมอันไม่ใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เป็นการกำจัดโอกาสของผู้ผลิตสินค้า (ซัปพลายเออร์) รายใหม่ในการเข้าสู่ตลาด เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมกับซัปพลายเออร์ เป็นการเพิ่มต้นทุนของซัปพลายเออร์ เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการทำธุรกิจ โดยเป็นการเอื้อประโยชน์ของตนเองโดยไม่มีเหตุผล ทำให้ซัปพลายเออร์ เสียเปรียบ และเป็นการกำจัดโอกาสในการขายสินค้าของซัปพลายเออร์

นอกจากนี้ ยังมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีด กัน หรือจำกัดการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเพื่อไม่ให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการ ค้าไม่เป็นธรรมดังกล่าวไม่สามารถเอาผิดตามมาตรา 25 ที่ว่าด้วยเกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาดได้ เพราะมาตรา 25 ยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาดออกมาใช้บังคับ

สำหรับพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมของร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 4 ราย ที่คณะอนุกรรมการฯ เห็นว่าเข้าข่ายผิดมาตรา 29 นั้น ได้แก่

1.ค่าวางสินค้าแรกเข้า (Entrance Fee) ที่ร้านค้าปลีกรายใหญ่กำหนดอัตราจัดเก็บสูงขึ้นทุกปี จัดเก็บสินค้าชนิดเดียวกัน แต่ต่างยี่ห้อในอัตราไม่เท่ากัน และเรียกเก็บไม่สมเหตุผล โดยไม่เรียกเก็บจากซัปพลายเออร์ที่เป็นบริษัทข้ามชาติ

2.ส่วนลด มีการเรียกเก็บส่วน ลดที่ไม่มีเหตุผล เช่น ส่วนลดเปิดสาขาใหม่ ส่วนลดชดเชยค่าสูญเสีย (ของหาย) ส่วนลดอื่นๆ ที่ไม่มีเหตุ ผล นำส่วนลดต่างๆ ที่ได้รับมาหักในต้นทุนสินค้า นำส่วนลดต่างๆ ที่ได้รับมาสร้างรายได้ให้ตนเอง

3.การนำสินค้าออกจากชั้นวาง (Delete) ถ้านำสินค้าออกโดยมีเจตนากีดกัน หรือจำกัดการประ กอบธุรกิจของผู้อื่น หรือเพื่อสร้างรายได้ของตนเอง เพราะต้องการเก็บค่าวางสินค้าแรกเข้าจากสินค้าตัวใหม่ หรือไม่มีการแจ้งล่วงหน้าก่อนนำสินค้าออก

4.การขายสินค้าที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เช่น การลดราคาสินค้าชนิดเดียวกันเป็นระยะเวลานาน

5.การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายและส่วนลดต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นถ้าไม่ยินยอมจะถูกนำสินค้าออกจากชั้นวาง

6.บังคับเก็บค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้า

ส่วนสินค้าเฮาส์แบรนด์ ที่ร้าน ค้าปลีกรายใหญ่ได้ว่าจ้างซัปพลายเออร์ผลิตเลียนแบบสินค้าปกตินั้น ได้ข้อสรุปว่าผิดกฎหมายสิทธิบัตร ในเรื่องของการดีไซน์ เพราะเจตนา ผลิตสินค้าให้มีรูปร่างของบรรจุภัณฑ์คล้ายกับสินค้าอื่นๆ ที่ทำตลาดอยู่ก่อนแล้ว เพื่อให้ผู้บริโภค เข้าใจผิด

สำหรับบทลงโทษกรณีทำผิดมาตรา 29 ที่ว่าด้วยการห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจกระทำการใดๆ อันไม่ใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการ ประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้อื่นประกอบธุรกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำผิดซ้ำอีกต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ

แหล่งข่าวกล่าวว่า การสรุปผลการพิจารณา กรณีการดำเนินการค้าที่ไม่เป็นธรรมของร้าน ค้าปลีก รายใหญ่ต่อซัปพลายเออร์ในครั้งนี้ ถือเป็นความเห็นเบื้องต้นของคณะอนุกรรม การฯ ที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าชุดใหญ่ที่มีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานพิจารณาในเร็วๆนี้ โดยหากคณะกรรมการฯ พิจารณาออกมาอย่างไรก็จะถือเป็นข้อยุติ

โดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าชุดนายอดิศัยจะต้องพิจารณาว่าสิ่งที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอให้พิจารณาและเห็นว่าเข้าข่ายผิดมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้านั้น คณะกรรมการฯ ชุดใหญ่จะว่าอย่างไร ถ้าเห็นว่าผิด ร้านค้าปลีกรายใหญ่ก็ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ เหมือนกับที่รัฐบาลในหลายๆ ประเทศได้เอาผิดกับร้านค้าปลีกรายใหญ่ที่ดำเนินการค้าอย่างไม่เป็นธรรม ในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในไทย

ยกตัวอย่างเช่น ในไต้หวัน ซัปพลายเออร์ ในไต้หวันได้ร้องเรียนว่าคาร์ฟูร์ได้เรียกร้องส่วน ลดคืนกำไร และค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา ค่าวางสินค้าแรกเข้า ค่าขนส่ง/กระขายสินค้า เป็นต้น เป็นประจำปีโดยไม่เหมาะสม และยังขอให้ซัปพลายเออร์จ่ายเงินช่วยเหลือ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับยอดขายสินค้า และการส่งเสริมการขาย ถ้าไม่ยินยอม คาร์ฟูร์ก็จะเอาสินค้าออกจากชั้นวางทันที ซึ่งผลจากการสืบสวนของคณะกรรมการการค้าที่เป็นธรรมของ ไต้หวัน พบว่าการกระทำของคาร์ฟูร์ไม่เป็นธรรม อย่างชัดเจน และได้ลงโทษด้วยการปรับเป็นเงินถึง 4 ล้านเหรียญไต้หวันมาแล้ว

ก่อนหน้านี้ ทางคณะอนุกรรมการฯ ชุดนาย เนวินได้มีความเห็นในลักษณะเดียวกันในเรื่องการดำเนินการค้าไม่เป็นธรรมในกรณีของเซ็นทรัล โดยระบุว่าการที่เซ็นทรัลได้บังคับให้ซัปพลายเออร์ต้องเข้าสู่ระบบศูนย์เติมและกระ จายสินค้า(RC) ของเซ็นทรัลนั้น เข้าข่ายผิดมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า เพราะเป็น การใช้อำนาจและช่องว่างทางกฎหมายบังคับให้ซัปพลายเออร์ต้องเข้าสู่ระบบโดยไม่มีทางเลือก ถือเป็นการดำเนินการค้าที่ไม่เป็นธรรม

โดยสิ่งที่คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นตรงกันก็คือ ระบบผูกขาดของเซ็นทรัลน่าจะเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า มาตรา 29 ว่าด้วยการผูกขาดทางการค้า เพราะไม่เปิดโอกาสให้ซัปพลายเออร์เลือก และค่าบริการที่เรียกเก็บจากซัปพลายเออร์ยังเป็นการสร้างรายได้ให้เซ็นทรัลอีกด้วย ที่สำคัญเซ็นทรัลไม่เปิดโอกาสให้มีทางเลือก เพราะที่ผ่านมาซัปพลายเออร์รายกลางและเล็กจะจัดส่งสินค้าไปยังสาขาต่างๆ ของเซ็นทรัลและโรบินสันได้เอง แต่หากมาใช้บริการของ RC จะเป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างมาก

ขณะที่ซัปพลายเออร์รายใหญ่ แม้ในช่วงแรกของการเริ่มใช้ระบบ RC จะไม่ได้บังคับให้เข้าสู่ระบบ แต่ในขณะนี้เซ็นทรัลได้เริ่มเข้มงวดกับการใช้ระบบ RC อย่างจริงจังแล้ว กล่าวคือ ได้เริ่มบังคับให้รายใหญ่ต้องเข้าสู่ระบบ โดยออกมาตรการห้ามให้รายใหญ่ที่จะส่งสินค้าเองส่งสินค้าในเวลาที่เซ็นทรัลอนุญาตไว้

ยกตัวอย่างเช่น สหพัฒน์ เดิมเซ็นทรัล ให้ส่งสินค้าเองได้ในเวลากลางคืนเท่านั้น แต่ขณะนี้ห้ามให้ส่งในเวลากลางคืนแล้ว ซึ่งหากสหพัฒน์ไม่สามารถส่งสินค้าได้ในเวลากลางคืนก็จะไม่สามารถส่งสินค้าให้เซ็นทรัลได้ เท่ากับว่าจะต้องเข้าสู่ระบบเท่านั้น จึงจะนำสินค้าเข้าไปขายในเซ็นทรัลได้

"การกระทำดังกล่าวเป็นการบังคับให้รายใหญ่ต้องเข้าระบบ ขณะเดียวกัน เมื่อรายใหญ่เข้าระบบแล้ว รายกลางและเล็ก ที่ไม่มีอำนาจต่อรองก็จำเป็นต้องเข้าระบบตาม และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเท่ากับว่าเซ็นทรัลผิดมาตรา 29 แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าจริง เพราะใช้อำนาจที่มีอยู่ผูกขาดและยังเป็นการใช้อำนาจบังคับให้ซัปพลายเออร์ต้องปฏิบัติตาม"แหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้เซ็นทรัลได้มีหนังสือชี้แจงกลับมายังคณะอนุกรรมการฯ ว่าไม่ได้เป็นการบังคับให้ซัปพลายเออร์เข้าสู่ระบบ RC แต่เป็นการจัดระบบการขนส่งของเซ็นทรัลใหม่ โดยนำระบบ RC มาใช้ ซึ่งเป็นการลดต้น ทุนให้เซ็นทรัลและยังช่วยลดต้นทุนให้กับซัป-พลายเออร์ เพราะเซ็นทรัลจะเข้ามาดูแลระบบการขนส่งสินค้าที่ซัปพลายเออร์นำมาส่งกระจายไปยังสาขาต่างๆ ของเซ็นทรัลเอง ซึ่งสะดวกทั้งเซ็นทรัลและซัปพลายเออร์

ส่วนการดำเนินการในเรื่องการจัดการร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 4 รายดำเนินการค้าไม่เป็นธรรมกับซัปพลายเออร์นั้น เรื่องนี้นายเนวินได้เข้ามาจัดการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้เข้ามาดูแลปัญหาค้าปลีกแทนนายสุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยนายเนวินใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือนจนสามารถตกผลึกในแนวคิดออกมาได้ว่าการดำเนินการค้าของร้านค้าปลีกรายใหญ่เป็นการดำเนินการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า

โดยการดำเนินการในเรื่องนี้ นายเนวินได้เริ่มจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากซัปพลาย เออร์ว่าถูกร้านค้าปลีกรายใหญ่ทำการค้าไม่เป็นธรรมอย่างไร โดยได้รับฟังจากซัปพลายเออร์ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต่อมาได้เปิดโอกาสให้ร้านค้าปลีกรายใหญ่ทั้ง 4 รายได้เข้ามาชี้แจงข้อกล่าวหา จากนั้นเป็นคิวขององค์กรผู้บริโภคที่ได้เข้ามาให้ความคิดเห็นต่อกรณีการมีร้านค้าปลีกรายใหญ่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็นจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายของผู้ร้องเรียน (ซัป- พลายเออร์) การแก้ข้อกล่าวหาของร้านค้าปลีกรายใหญ่ และความเห็นของผู้บริโภคมาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำข้อสรุปที่ได้ทั้งหมดมาจัดทำเป็นวาระการนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเพื่อตัดสินขั้นสุดท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us