ล่าสุดธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 12 แห่งประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 และครึ่งแรกปี
2545 (ก่อนสอบทาน) โดยช่วงครึ่งแรกปี 2545 ระบบธนาคารกำไรสุทธิประมาณ 1.28
หมื่นล้านบาท เทียบกับขาดทุนสุทธิประมาณ 1.76 หมื่นล้านบาท (ก่อนรายการพิเศษ)
ช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ปรับตัวดีขึ้นประมาณ 173%
เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มธนาคาร กลุ่มธนาคารรัฐกำไรสุทธิประมาณ 7.18 พันล้านบาท
(+139.5%) กลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ กำไรสุทธิประมาณ 9.3 พันล้านบาท (+83.5%)
ขณะที่กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง ขาดทุนประมาณ 3.7 พันล้านบาท (+17.7%)
กลุ่มธนาคารรัฐ ถือว่ามีพัฒนาการด้านผลประกอบการ (ก่อนรายการพิเศษ) โดดเด่น
เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ภาระหนี้เสีย
และการกันสำรอง ลดลง ฐานเงินกองทุนแข็งแกร่งขึ้น นโยบายปล่อยสินเชื่อเชิงรุก
และการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ขณะเดียวกัน กลุ่มธนาคารอื่นๆ ยังคงได้เปรียบ ด้านการแข่งขันอีกหลายแง่มุม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างระบบธนาคาร
หลังจากปี 2539 ที่วิกฤตความเชื่อมั่นระบบการเงินไทยเริ่มต้น จากปัญหาความมั่นคงธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ
ระบบการเงินไทยพลิกโฉมหน้าครั้งใหญ่ ประมาณ 58 บริษัทเงินทุนต้องถูกระงับดำเนินกิจการ
ขณะที่ 2 ธนาคารพาณิชย์เอกชน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ (BBC) และธนาคารมหานคร
(FBCB) ต้องคืนใบอนุญาติประกอบกิจการ พร้อมโอนสินทรัพย์ดีไปธนาคารกรุงไทย
(KTB) เป็นผลให้จำนวนธนาคารพาณิชย์ในระบบลดจาก 15 ธนาคารเหลือ เพียง 13 ธนาคาร
ใน 13 ธนาคาร ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ทำให้แบ่งกลุ่มธนาคารเป็น 3 กลุ่มหลัก
คือ
' กลุ่มธนาคารที่ยังคงผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นองค์กรอิสระ/เอกชนไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ
(BBL) กสิกรไทย (TFB) ไทยพาณิชย์ (SCB) ทหารไทย (TMB) และกรุงศรีอยุธยา (BAY)
การเพิ่มทุนช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลุ่มนี้ ไม่ส่งผลเอกชนไทยเสียอำนาจบริหาร
ยังคงผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยรวมกันเกิน 50%
' กลุ่มธนาคารที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ 4 ธนาคาร ธนาคารเอเชีย
และไทยทนุ หาผู้ร่วมทุนใหญ่ชาวต่างประเทศ คือธนาคารเอบีเอ็นแอมโร สัญชาติเนเธอร์แลนด์
และธนาคารดีบีเอส สัญชาติสิงคโปร์ ตามลำดับ ปี 2541
' ขณะที่กระทรวงการคลัง/กองทุนฟื้นฟูฯ แทรกแซงกิจการธนาคารนครธนและแหลมทอง
(ภายหลังคือธนาคารรัตนสิน) ก่อนขายธนาคารดังกล่าวให้ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
สัญชาติอังกฤษ และธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ สัญชาติสิงคโปร์ ตามลำดับ
ปี 2542 ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศแต่ละธนาคารกลุ่มนี้ สูงกว่า
50%
' กลุ่มธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นกองทุนฟื้นฟูฯ นอกจากธนาคารกรุงไทย
ยังมีสมาชิก เพิ่มอีก 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารไทยธนาคาร (BT รวมกันระหว่างธนาคารสหธนาคาร
(UB) บริษัทเงินทุน 12 แห่ง และบริษัทเงินทุนกรุงไทย ธนกิจ ปี 2542) ธนาคารนครหลวงไทย
(SCIB) และธนาคารศรีนคร (BMB)
' อย่างไรก็ตาม 1 เมษายน ทางการตัดสินใจรวมธนาคารศรีนคร กับธนาคารนครหลวงไทย
ทำให้จำนวนธนาคารกลุ่มนี้ลดจาก 4 ธนาคาร เหลือเพียง 3 ธนาคาร
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบธนาคาร ระหว่างช่วงวิกฤตการเงิน และการควบรวมกิจการ
2 ธนาคารที่รัฐแทรกแซงช่วงต้นปี 2545 ส่งผลจำนวนธนาคารในระบบลดจาก 15 ธนาคารช่วงก่อนวิกฤต
เหลือเพียง 12 ธนาคารปัจจุบัน ไม่รวมธนาคารธนชาติ ที่ยังเป็นธนาคาร พาณิชย์ประเภทจำกัดขอบเขตธุรกิจ
คือยังไม่สามารถประกอบธุรกิจทุกประเภทเช่นธนาคารพาณิชย์ปกติ จำนวนธนาคารพาณิชย์ลดจาก
15 เหลือ 12 ธนาคาร
ภาพรวมภาวะการแข่งขัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินการเปลี่ยน แปลงภาวะการแข่งขันระหว่างกลุ่มธนาคารเอกชน
ไทยขนาดใหญ่ ธนาคารลูกครึ่งที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นนักลงทุนต่างประเทศ และธนาคารที่รัฐแทรก
แซง ตั้งแต่ปี 2542 ถึงไตรมาสแรก โดยใช้ข้อมูล ตามงบการเงินหลังสอบทาน และไตรมาส
2 ปี 2545 โดยใช้ข้อมูลเบื้องต้นจากงบการเงินก่อนสอบทาน พิจารณาแง่มุม และทิศทางต่างๆ
ของการแข่งขัน ดังนี้ :-
' ส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อ-เงินฝาก และสภาพคล่อง : ธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ยังครองตำแหน่งสภาพคล่องสูงสุด
เงินฝาก เมื่อนำยอดเงินฝากสิ้นไตรมาส 2 ปี 2545 เทียบปลายปี 2542 เงินฝากระบบธนาคารขยายตัวประมาณ
12.5% หรือ 12.4% ไตรมาสแรกของปี โดยการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก กระจายตัวทุกกลุ่มธนาคาร
นำโดยกลุ่มธนาคารรัฐ ที่การขยายตัวเงิน ฝากสูงถึง 17.6% ตามด้วยกลุ่มธนาคารเอกชนไทย
10.9% และกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง 4.3% กลุ่ม ธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเงินฝากสูงสุด
61.7% ส่งผลธนาคารกลุ่มนี้ต้องเผชิญค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยฝากสูงสุดตามไปด้วย
สินเชื่อ ข้อมูลสินเชื่อตามงบการเงินรายธนาคารสิ้นไตรมาสแรกปี 2545 (หลังปรับปรุงผล
การย้ายรายการตั๋วเงิน จากการขายสินทรัพย์ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์จากรายการระหว่างธนาคาร
เป็นเงินให้สินเชื่อ และโอนกลับหนี้สูญตัดบัญชีบางธนาคาร) หดตัวจากปลายปี
2542 (ปรับปรุงใหม่) ประมาณ 15.5%
ตามการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และชำระคืนสินเชื่อสุทธิจากภาคเอกชน
เป็นหลัก เป็นการหดตัวกลุ่มธนาคารรัฐ (-23.2%) และกลุ่ม ธนาคารเอกชนไทย (-11.9%)
ขณะที่กลุ่มธนาคาร ลูกครึ่ง อัตราขยายตัวสินเชื่อติดลบน้อยกว่ากลุ่มอื่น
คือ -7%
โดยรวม ทิศทางเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดยอดสินเชื่อและเงินฝากช่วงกว่า 3
ปีที่ผ่าน มาแต่ละกลุ่มธนาคาร บ่งชี้ว่า กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง ปรับตัวดีที่สุด
กล่าวคือ สามารถคุมเงินฝากขยาย ตัวต่ำ ขณะที่ยอดสินเชื่อชะลอตัวต่ำสุดเมื่อเทียบ
กับกลุ่มธนาคารอื่นๆ
สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากธนาคารกลุ่มนี้ จึง สูงกว่าธนาคารอื่น อาจชี้ให้เห็นภาวะสภาพคล่อง
ต่ำกว่า หรือความคล่องตัวฐานะหารายได้ดอกเบี้ย ต่อต้นทุนสูงกว่า นั่นเอง
แม้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากทุกกลุ่มธนาคารปลายมีนาคม ล้วนลดจากปลายปี 2544
แต่สัดส่วนดังกล่าวกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง ประมาณ 92.4% ซึ่งยังสูงกว่าธนาคารเอกชนไทย
และธนาคารรัฐ ที่ 75.6% และ 77.9% ตามลำดับ
ความสามารถหารายได้ดอกเบี้ย : ธนาคารลูกครึ่งยังนำ
การลดดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้ และการแก้ ปัญหาหนี้เสียอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการโอนหนี้เสียไปบริษัทบริหารสินทรัพย์
และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ระหว่างช่วงประมาณ 2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยหลักส่งผลระบบธนาคาร
เพิ่มส่วนต่างดอกเบี้ยได้ต่อเนื่อง
ส่วนต่างดอกเบี้ยระบบธนาคาร ดีขึ้นจากประมาณ -0.13% ปี 2542 มาที่ประมาณ
1.7% ช่วงครึ่งแรกปี 2545 (ตัวเลขก่อนสอบทาน) เมื่อพิจารณารายกลุ่มธนาคาร
พบว่า
- กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง เพิ่มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย จากประมาณ -0.32% ปี
2542 มาที่ประมาณ 1.7% ครึ่งแรกปี 2545 เนื่องจากได้เปรียบมากที่สุด เชิงการขยายตัวฐานเงินให้กู้ยืม
เทียบเงินฝาก และรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากที่เสนอประชาชนอัตราต่ำกว่าธนาคารอื่น
ส่งผลธนาคารกลุ่มนี้ ครองความสามารถหารายได้ดอกเบี้ย (ประเมินจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย)
โดดเด่นที่สุด โดยส่วนเงินให้กู้ยืม ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดนครธนมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป
ตาม สัญญาจัดการเงินให้กู้ยืมจากกองทุนฟื้นฟูฯ
กลุ่มสินทรัพย์ภายใต้สัญญาจัดการเงินให้กู้ยืม (Covered Asset Pool: CAP)
ทั้งสิ้นประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท ณ มี.ค. โดยกองทุน ฟื้นฟูฯ จะจ่ายชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปของ
CAP ทุก 6 เดือน คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากบวก 1% ต่อปี
ขณะที่ธนาคารยูโอบีรัตนสิน รายรับดอกเบี้ยจากตั๋วเงิน จากการโอนสินเชื่อธนาคารไปบริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน
ซึ่งค้ำประกันโดย กองทุนฟื้นฟูฯ ยอดตั๋วเงินดังกล่าว ประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท
ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2545 ภายใต้สัญญา ธนาคารจะได้รับดอกเบี้ยทุก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราถัวเฉลี่ยดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
6 เดือนธนาคาร 5 แห่ง 1%
นับเป็นแหล่งรายได้ดอกเบี้ยเสริมให้ธนาคารกลุ่มนี้อีกแหล่งหนึ่ง ขณะเดียวกัน
ต้นทุน ดอกเบี้ยจ่ายธนาคารกลุ่มนี้ ต่ำกว่ากลุ่มธนาคาร อื่นโดยเปรียบเทียบ
เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยต่ำกว่า ส่งผลธนาคารกลุ่มนี้ เปอร์เซ็นต์ต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย
ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2545 ลดจากปี 2542 ถึงประมาณ 2.7% มากกว่าระบบธนาคาร และกลุ่มธนาคารเอกชนไทย
ที่ลดลงประมาณ 2.66-2.67%
- กลุ่มธนาคารรัฐ เช่นเดียวกับธนาคารลูก ครึ่ง ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา
ธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารกรุงไทย นครหลวงไทย และศรีนคร ทยอยโอนหนี้เสียไปบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท
และบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยกองทุนฟื้นฟูฯ รวมกันเกือบ
6 แสนล้านบาท
ธนาคารได้รับตั๋วเงินจากบริษัทบริหารสิน ทรัพย์ อาวัลโดยกองทุนฟื้นฟูฯ
และจ่ายดอกเบี้ย ทุก 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ย เงินฝากเฉลี่ยของธนาคาร
ให้ครอบคลุมถึงต้นทุน จากการนำส่งเงินให้กองทุนฟื้นฟูฯ และค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
การแก้ไขปัญหาหนี้เสียด้วยวิธีดังกล่าว ส่ง ผลธนาคารกลุ่มนี้ได้เงินจากตั๋วเงินบริษัทบริหาร
สินทรัพย์แทนก้อนหนี้เสียเก่า ที่ไม่สร้างรายได้ดอกเบี้ย ธนาคารกลุ่มนี้
จึงมีส่วนต่างดอกเบี้ยดี ขึ้นมากเช่นกัน เพิ่มจาก 1.05% ปี 2542 มาที่ประมาณ
1.4% ช่วงครึ่งแรกปี 2545
- กลุ่มธนาคารเอกชนไทย เพิ่มส่วนต่างดอกเบี้ยได้เช่นกัน เพิ่มจาก 0.38%
ปี 2542 มาที่ 1.7% ช่วงครึ่งแรกปี 2545 เนื่องจากการลดดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เป็นหลัก
แม้บางธนาคารกลุ่มนี้โอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่บริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าว
ยังคงนับเป็นบริษัทในเครืออยู่ดี ทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการโอนย้ายหนี้เช่นกรณีโอนหนี้ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ทางการ
อัตราการเพิ่มของส่วนต่างดอกเบี้ยธนาคารกลุ่มนี้ จึงต่ำที่สุดเมื่อเทียบธนาคารกลุ่มอื่น
พิจารณาความสามารถทำกำไรด้านดอกเบี้ย ข้อมูลส่วนต่างดอกเบี้ยมีนาคม กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง
พัฒนาการจากปี 2542 ดีที่สุด สามารถดันส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มถึงประมาณ 2.9%
สูงกว่า ของระบบที่เพิ่มขึ้น 1.8% ตามด้วยกลุ่มธนาคารรัฐ ที่ส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
2.5% รั้งท้ายด้วยกลุ่มธนาคารไทยที่ 1.3%
แม้มิถุนายน ทุกกลุ่มธนาคารแสดงส่วนต่างดอกเบี้ยดีขึ้นมาก แต่เมื่อนำค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่ เกี่ยวข้องพิจารณา เช่น เงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ (ประมาณ 0.4% ต่อปี ของยอดเงินฝากและยอด
หนี้สินตามที่กองทุนฟื้นฟูฯกำหนด) และการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่
ธปท. (ไม่ต่ำกว่า 1% ของฐานเงินฝากและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากต่างประเทศ) ร่วมพิจารณาด้วย
ส่วนต่างดอกเบี้ยที่มีการปรับปรุง 2 รายการ ดังกล่าว ต่ำลง โดยส่วนต่างดอกเบี้ยใหม่ระบบธนาคาร
ช่วงครึ่งแรกปี 2545 ลดจากส่วนต่างดอก เบี้ยตามวิธีการคำนวณแบบปกติที่ 1.7%
มาที่ 0.5% เท่านั้น
เมื่อพิจารณาพัฒนาการของส่วนต่างดอกเบี้ยใหม่ (นำค่าใช้จ่ายอื่นฯ ข้างต้นพิจารณาร่วมด้วย)
ไตรมาสแรกปี 2545 เทียบปี 2542 กลุ่มธนาคารลูกครึ่งยังคงมีพัฒนาการดีที่สุด
(+2.97%) ตามด้วยกลุ่มธนาคารรัฐ (+2.37%) และธนาคารเอกชนไทย (+1.47%)
' ความเข้มแข็งเงินกองทุน : ธนาคารรัฐดีขึ้นมาก
รอบ 3 ปีที่ผ่านมา เงินกองทุนต่อสิน ทรัพย์เสี่ยงระบบธนาคารดีขึ้น จากประมาณ
12% ปี 2542 มาที่ประมาณ 13.3% ปี 2544 และประมาณ 13.6% งวดครึ่งแรกปี 2545
(งบก่อนสอบทาน)
ประเด็นความเข้มแข็งเงินกองทุนนี้ กลุ่มธนาคารรัฐ พัฒนาการเด่นชัดที่สุด
โดยเฉพาะหลังจากธนาคารศรีนครและนครหลวงไทยขายหนี้เสียให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี
และโอน สำรองกลับเป็นรายได้ เพื่อล้าขาดทุนสะสมให้ทั้ง 2 ธนาคารช่วงกลางปี
2544 ส่งผลทั้งธนาคารศรีนครและนครหลวงไทย พลิกเงินกองทุน จาก ที่เคยติดลบประมาณ
10.3 และ 5.7 พันล้านบาท ไตรมาสแรกปี 2544 เป็นบวกถึง 3.9 และ 3.4 หมื่นล้านบาท
ตามลำดับ ไตรมาส 2 ปีเดียวกัน
ผลจากการทำสำรองเพื่อรองรับปัญหาหนี้เสีย การดำเนินงานระหว่างปีที่ขาดทุน
และขยาย ธุรกิจ ส่งผลอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงกลุ่มธนาคารเอกชนไทย
และกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง สิ้นปี 2544 ลดจากปี 2542 ประมาณ 0.3% และ 1.4% ตามลำดับ
ตามการลดลงเงินกองทุนขั้นที่ 1
ขณะที่กลุ่มธนาคารรัฐ กลับมีอัตราส่วนดังกล่าวสูงขึ้นประมาณ 6.2% ซึ่งเน้นการเพิ่มขึ้น
เงินกองทุนขั้นที่ 1 เช่นกัน ภาพที่ประมวลได้จึงยืนยันว่า กลุ่มธนาคารรัฐ
จะได้เปรียบด้านฐานเงินทุนสูงสุด
แม้ธนาคารกลุ่มนี้ หน้าที่โดยนัยสนองนโยบายรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตั้งราคาและรับประโยชน์จากการแข่งขันระหว่างธนาคาร
เต็มที่ อาจส่งผลเสียระดับเงินกองทุน แต่คาดว่า ทางการจะทำหน้าที่แหล่งที่มาของทุนได้
กรณีเกิดปัญหา
กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง แม้สัดส่วนเงินกองทุน รวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงธันวาคม
2544 ต่ำกว่ากลุ่ม ธนาคารเอกชนไทย แต่เนื่องจากธนาคารลูกครึ่ง ระดับเงินกองทุนขั้นที่
1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่า กลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ ประมาณ 8.6% เทียบกับกลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่
ที่ประมาณ 7.5% ปลายปี 2544 ประกอบกับมีแหล่งเงินทุนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ
ทำให้การเพิ่มทุนไม่ใช่เรื่องยากนัก
เห็นได้จากข่าวการเพิ่มทุนไตรมาส 2 ถึง 3 ปี 2545 ธนาคารเอเชีย และธนาคารยูโอบี
รัตนสิน อีกประมาณ 6.3 และ 1.5 พันล้านบาท อาศัยเงินจากบริษัทแม่ต่างประเทศเป็นหลัก
การเพิ่มทุนธนาคารเอเชียไตรมาส 2 ส่งผล สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงกลุ่มธนาคาร
ลูกครึ่ง เพิ่มจากประมาณ 11.6% ปลายปี 2544 มาที่ประมาณ 13% ช่วงครึ่งแรกปี
2545 สูงกว่าระดับของกลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่
หมายความว่ากลุ่มธนาคารเอกชนไทย ความเสี่ยงด้านความเพียงพอเงินกองทุนมากที่สุด
โดยเฉพาะ เมื่อธนาคารกลุ่มนี้ ยังคงมีภาระไถ่ถอน SLIPS และ CAPS อีกกว่า
1.25 แสนล้านบาท เพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งจะใช้สิทธิ์ไถ่ถอนก่อนกำหนดได้อีก
2 ปีข้างหน้า
' การแก้ไขปัญหาหนี้เสีย และระดับการทำ สำรอง : ธนาคารรัฐโดดเด่นประเด็นเอ็นพีแอลที่ลดลงเร็ว
แต่ธนาคารเอกชน 9 แห่งทำสำรองครอบคลุมปัญหาหนี้เสียมากกว่า
ระบบธนาคารแก้ไขปัญหาหนี้เสียต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตเป็นต้นมา ส่งผลเอ็นพีแอล
(ตามงบการเงินหลังสอบทาน) ระบบธนาคาร ลด จากประมาณเกือบ 2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ
43.9% ของสินเชื่อรวมปี 2542 เป็น 4.437 แสนล้านบาท ประมาณ 11.6% ของสินเชื่อรวม
สิ้นปี 2544 และเป็น 4.4 แสนล้านบาท ประมาณ 11.3% ของสินเชื่อรวม ปลายมิถุนายน
2545 คิดเป็น การลดจากธันวาคม 2542 ถึง 1.55 ล้านล้านบาท การลดลงจำนวนนี้
ลดลงของเอ็นพีแอลกลุ่มธนาคารรัฐถึง 63.5% ตามด้วยการลดลงกลุ่มธนาคารไทย 29.4%
จากการโอนหนี้ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นหลัก
ขณะที่กลุ่มธนาคารลูกครึ่งครองส่วนแบ่งเอ็นพีแอลลดลงประมาณ 7%
ความช่วยเหลือจากทางการ ช่วยจัดการปัญหาหนี้เสียระบบธนาคาร โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารรัฐ
พลิกธนาคารกลุ่มนี้ กลายเป็นธนาคาร ที่เอ็นพีแอลต่ำสุดเมื่อเทียบธนาคารกลุ่มอื่น
ข้อมูลตามงบการเงิน (ก่อนสอบทาน) มิถุนายน แสดงว่าสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมกลุ่มธนาคารรัฐ
ประมาณ 5.95% ตามด้วยกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง 7.9% และกลุ่มธนาคารไทย 14.8%
อนาคตอันใกล้ คาดว่ากลุ่มธนาคารรัฐอาจ มีสัดส่วนเอ็นพีแอลลดลงอีก ตามแนวทางโอนหนี้
เสียที่มูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาทไป บสท.ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย ได้ ยังคงเป็นปัญหายืดเยื้อระบบธนาคารพาณิชย์
ไทย เนื่องจากยังคงมียอดไม่นิ่ง ประกอบกับสถานการณ์ฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น
จากปัญหาภาวะตลาดหุ้นซบเซาในสหรัฐฯ ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ที่การบริโภคภาคเอกชนอเมริกันอาจชะลอตัว
จะส่งผล เสียการส่งออก รวมทั้งการขยายตัวเศรษฐกิจไทย
แม้ช่วงที่ผ่านมา อัตราการเพิ่มขึ้นเอ็นพีแอล รายใหม่ลดลง จากที่เคยสูงถึงประมาณ
4.3 หมื่นล้านบาทต่อเดือนปี 2542 มาที่ 8 พันล้านบาทต่อเดือนช่วง 5 เดือนแรกปี
2545 แต่การไหล กลับเอ็นพีแอล ที่เคยผ่านการปรับปรุงโครง สร้างหนี้ กลับสูงขึ้นจากประมาณ
1.1 หมื่นล้านบาทต่อเดือนปี 2542 มาที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน ช่วง
5 เดือนแรกปีนี้ ขณะที่การลดลงเอ็นพีแอลจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หดจาก
8 หมื่นล้านบาทต่อเดือนปี 2542 มาที่ 1.1 หมื่นล้านบาทต่อเดือนปี 2545 เนื่องจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระยะหลัง
เหลือกรณีที่ยากต่อการแก้ไข
เมื่อพิจารณาสถานะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย ได้ ระหว่างธนาคารเอกชน (นับรวมกลุ่มธนาคาร
เอกชนไทยขนาดใหญ่ และกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง) กับกลุ่มธนาคารรัฐ กรณีไม่คำนึงถึงการแก้ปัญหาหนี้เสียด้วยทางเลือกโอนหนี้ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์
กลุ่มธนาคารรัฐ ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจัดการปัญหาหนี้เสียสูงกว่ากลุ่มธนาคารเอกชนทั้ง
9 แห่ง
การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลรายใหม่เฉลี่ยต่อ เดือนและต่อธนาคาร ธนาคารรัฐ
ยังคงสูงกว่าธนาคารเอกชน เช่นเดียวกัน แนวโน้มเอ็นพีแอล ไหลกลับ หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉลี่ยต่อเดือนและต่อธนาคาร
ยังเพิ่มอัตราสูงกว่าธนาคารเอกชน
ขณะที่ขนาดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉลี่ย ต่อเดือนและต่อธนาคาร กลุ่มธนาคารรัฐ
เริ่มมีขนาดต่ำกว่ากลุ่มธนาคารเอกชน 9 แห่งระยะหลัง ชี้ว่า กลุ่มธนาคารเอกชน
9 แห่ง จะมีความสามารถจัดการหนี้เสียดีกว่า
หากพิจารณาระดับทำสำรอง ต่อปัญหาหนี้ เสียก่อนหักหลักประกัน หมายความรวมถึงหนี้เสียจัดชั้นตั้งแต่ชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
และหนี้อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ประมาณ 50% ของหนี้ ที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมด
เพื่อแสดง ขอบเขตการปรับโครงสร้างหนี้ที่อาจไม่ประสบความสำเร็จ
สิ้นมีนาคม สัดส่วนความครอบคลุมการทำ สำรองต่อปัญหาหนี้เสียกลุ่มธนาคารเอกชนและกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง
ใกล้เคียงกันที่ประมาณ 45% สูงกว่ากลุ่มธนาคารรัฐ ที่มีเพียงประมาณ 38%
หมายความว่า แม้กลุ่มธนาคารเอกชนไทย สัดส่วนเอ็นพีแอลสูงกว่ากลุ่มธนาคารอื่น
แต่เนื่อง จากทำสำรองครอบคลุมระดับค่อนข้างสูงเช่นกัน ความเสี่ยงด้านจัดการปัญหาหนี้เสีย
จึงจะอยู่ใน ขอบเขตที่ธนาคารจะยอมรับได้ โดยไม่ส่งผลกระทบความเพียงพอเงินกองทุน
' รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย: ยังคงครองตลาด โดยธนาคารเอกชนขนาดใหญ่ที่สำคัญ
ได้แก่ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ เมื่อเทียบช่วงปลายปี 2544 กับปลายปี
2542 ทุกธนาคารขยาย รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน การปล่อยสินเชื่อต้องเผชิญภาวะแข่งขันรุนแรงขึ้น
ส่งผลธนาคารต้องแย่งกันตัดราคา (ลดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม) ขณะที่กลุ่มลูกค้าดียังจำกัด
ทำให้ธนาคารต้องเร่งขยายฐานรายได้ประเภทอื่น เช่น รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ
เพราะรายได้ดังกล่าว คิดเป็นประมาณ 65% และ12% ของ รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย
และรายได้ทั้งหมดระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบข้อมูลปลายปี 2544 กับปี 2542 ทุกกลุ่มธนาคารเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม
และบริการ สอดคล้องกัน ส่งผลรายได้ดังกล่าวทั้งระบบธนาคาร เพิ่มขึ้นประมาณ
18.5%
ส่วนแบ่งตลาดรายได้ค่าธรรมเนียม กลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
หรือประมาณ 74% ตามความได้เปรียบจำนวนสาขา ตามด้วยกลุ่มธนาคารรัฐ ที่ประมาณ
27% และกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง 6.4%
' ประสิทธิภาพพนักงาน: ธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ยังนำ ตั้งแต่ปลายปี 2542
เป็นต้น มา ทุกกลุ่มธนาคารลดพนักงาน ทำให้พนักงานระบบธนาคารพาณิชย์ ลดจากประมาณ
101,607 คน ปลายปี 2542 มาที่ 85,592 คน ครึ่งแรกปี 2545 ลดประมาณ 15.8%
(16,015 คน)
กลุ่มธนาคารรัฐ พนักงานลดลงมากที่สุด หรือประมาณ 23% (7,267 คน) ส่วนหนึ่งคาดว่า
สาเหตุจากการควบรวมกิจการธนาคาร/สถาบันการเงินอื่น ในธนาคารรัฐที่ยังดำเนินกิจการอยู่
เช่น รวม 12 บริษัทเงินทุนและ KTT เข้าธนาคาร ไทยธนาคาร รวมธนาคารมหานคร
เข้าธนาคารกรุงไทย การรวมธนาคารศรีนคร เข้าธนาคารนครหลวงไทย ทำให้จำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
ส่วนกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง ลดพนักงานประมาณ 12.9% (1,047 คน) ตามด้วยกลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่
12.4% (7,701 คน)
หากเทียบส่วนแบ่งตลาดจำนวนพนักงาน กับพนักงานทั้งระบบธนาคาร ปลายมิถุนายน
กลุ่มธนาคารรัฐ ส่วนแบ่งประมาณ 28.5% กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง 8.3% และกลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่
63.3%
ปี 2544 ค่าใช้จ่ายด้านพนักงานกลุ่มธนาคาร รัฐ ลดจากปี 2542 ประมาณ 12.7%
ขณะที่กลุ่ม ธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่ และกลุ่มธนาคาร ลูกครึ่ง เพิ่มขึ้นประมาณ
1.8% และ 12.6% ตาม ลำดับ
สัดส่วนค่าใช้จ่ายพนักงานต่อค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยทั้งหมด ปี 2544
เทียบปี 2542 กลุ่ม ธนาคารรัฐลด 1% มาที่ 29.6% ขณะที่กลุ่มธนาคาร เอกชนไทยขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น
1.2% มาที่ 33.2% และกลุ่มธนาคารลูกครึ่งเพิ่มขึ้น 11.2% มาที่ 35.7%
ประสิทธิภาพพนักงานแต่ละกลุ่มธนาคาร กำไรสุทธิก่อนการสำรอง รายการพิเศษ
และบริษัทย่อยต่อหัว (ของพนักงาน) เพิ่มขึ้นสอด คล้องกัน กลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่สัดส่วนดังกล่าวสูงสุด
ขณะที่สัดส่วนกลุ่มธนาคาร รัฐ เริ่มดีขึ้นตามลำดับ กรณีกลุ่มธนาคารรัฐ อาจ
ไม่สามารถหาเหตุผลประสิทธิภาพพนักงานที่ดีขึ้น โดยให้น้ำหนักการลดขนาดองค์กรเต็มที่
เนื่อง จากการลดพนักงานช่วงที่ผ่านมา สะท้อนภาพจำนวนพนักงานธนาคาร หรือสถาบันการเงิน
ที่ปิดกิจการร่วมด้วย ไม่ใช่การลดจำนวนพนักงาน ธนาคาร ที่กำลังดำเนินกิจการปัจจุบันเพียงอย่างเดียว