Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 สิงหาคม 2545
"บุญคลี"ชี้วิกฤตธุรกิจโทรคมไทย แนะเร่งปรับกลยุทธ์บริหารกิจการ             
 


   
search resources

บุญคลี ปลั่งศิริ
Telecommunications




บุญคลี ปลั่งศิร" ชี้กิจการโทรคมนาคมไทยต้องเร่งปรับการบริหารใหม่รับยุคการแข่งขันเสรี ประเมินสถานการณ์ธุรกิจ วางแผนการลงทุน สร้างความสมดุล ภายในองค์กร สู่รูปแบบโครงการบริหารที่ท้าทาย อาศัยทีมลีดเดอร์เจาะตรงใจกลุ่มผู้บริโภค มั่นใจทำ ได้องค์กรไปโลดแน่

นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ในฐานะบุคคลดีเด่นด้านโทรคมนาคมประจำปี 2545 ปาฐกถาพิเศษในงานประชุมทางวิชาการด้านโทรคมนาคม หรือเอเชียคอมม์/เอ็กซ์โปคอมม์ 2002 เรื่องการบริหารกิจการโทรคมนาคมในยุคการแข่งขันเสรี ว่าขณะนี้แม้ว่าประเทศไทยได้ยังไม่ได้ก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีในส่วนของกิจการโทรคมนาคม แต่การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันดุเดือดและเข้มข้นเหมือนกับธุรกิจด้านนี้เปิดกว้างอย่างเสรีแล้ว

ทั้งนี้หลังจากการเปิดเสรีกิจการ โทรคมนาคม สิ่งที่ตามมาคือกระบวน การปรับโครงสร้างของแต่ละธุรกิจภาย ใต้การกำกับดูแลขององค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการดูแล ผู้บริโภค ความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจเอกชน และการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างที่ผู้ประกอบการธุรกิจ โทรคมนาคมจะต้องพิจารณา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านจำนวนประกอบการที่มีผลต่อตลาด เนื่องจากจะเป็นตัวบ่งบอกถึงความอยู่รอด 2.ขอบเขตบริการ หมายถึงเทคโนโลยีเครื่องมือต่างๆ ที่นำมาใช้จะ ต้องพิจารณาการพัฒนาต่อเนื่องได้ เพราะปัจจุบันอายุการใช้งานของเทคโนโลยีไม่เกิน 10 ปี การสร้างความต่อ เนื่องทางเทคโนโลยีจนสามารถทำให้เกิดองค์กรใหม่ที่สร้างรายได้ ถือเป็นผลสำเร็จขององค์กร

และ 3. ด้านการแข่งขันคือตัวผลักดันให้องค์กรเคลื่อนไหวตลอดเวลา หากองค์กรในไม่สามารถสร้างแรงผลักดันได้องค์กรนั้นจะไม่สามารถ อยู่ในธุรกิจที่มีผู้บริโภคเป็นตัดสินการเลือกใช้งานบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

"สินค้าโทรคมนาคมแม้จะเป็นสินค้ามวลชนเช่นเดียวกับสินค้าคอนซูเมอร์ แต่การทำตลาดต่างกันโดยสิ้น เชิง เพราะสินค้าโทรคมนาคมเป็นการ ขายสินค้าล่วงหน้า เหมือนกับการขาย สินค้าตัวอย่างให้ผู้บริโภคทดลองใช้ ซึ่งจะส่งผลในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ส่งผล หากองค์กรโทรคมนาคมใดสามารถควบคุมราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ถือเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จŽ

หากพิจารณาตัวเลขการลงทุนของภาคธุรกิจโทรคมนาคมในช่วงปี 2543-2544 ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนมูลค่าสูงที่สุดไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มที่จะต้องลงทุนเพิ่มมากขึ้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเติบโตของยอดขาย ส่งผลให้งบลงทุนในการขยายเครือข่ายเพื่อรองรับความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย

ในเรื่องดังกล่าวผู้บริหารกิจการ โทรคมนาคมต้องมีการวางแผนการลง ทุนอย่างรอบคอบ เนื่องจากจำนวนเงิน ลงทุนยิ่งมากก็หมายถึงจำนวนหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างบริษัทเอไอเอส ปัจจุบันมีตัวเลขหนี้สินกว่า 40,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามตัวเลข ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหากับบริษัท เพราะว่ายอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รายได้ของบริษัทมีมากกว่างบลงทุนและยอดหนี้สิน

"ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในขณะนี้เร่งยอดขายมากๆ จึงต้องลงทุนให้สอดคล้องกับภาวะการเติบโตของตลาด ตัวเลขที่เกิดขึ้นของงบลงทุนหากยังสอดคล้องกับยอดขาย จะไม่ส่งผลกระทบ แต่หากไม่เป็นเช่นนั้นบริษัทเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาทางธุรกิจในอนาคต ซึ่งผู้ประ กอบการรายใดสามารถหยุดการลงทุน ได้ก่อนในธุรกิจนี้จะเป็นผู้ชนะ สำหรับผู้ที่ต้องลงทุนแบบไม่หยุดจะเป็นผู้แพ้

นายบุญคลี กล่าวว่าที่สำคัญในขณะนี้กิจการโทรคมนาคมของไทยเป็นองค์กรขนาดใหญ่ทั้งขนาด ขอบ เขตการทำงาน พื้นที่รับผิดชอบและจำนวนพนักงาน ส่งผลต่อการบริหารงานเชื่องช้า ต้องมีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เหมาะสมและพร้อมปรับตัวอย่างรวดเร็ว

รูปแบบของกิจการโทรคมนาคมเปลี่ยนการบริหารไปสู่รูปแบบใหม่ ในการสร้างทีมลีดเดอร์เป็นหน่วยย่อย หลายหน่วย เพื่อตอบสนองความต้อง การของลูกค้าในช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงการแบ่งตามบริการหรือเทคโนโลยีในรูปแบบของฝ่ายหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง

"โครงสร้างบริหารกิจการโทรคมนาคมรูปแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของ ผู้บริหารองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะเราคงไม่อยากเห็นบริษัทโทรคมนาคมไทยต้องพึ่งพาผู้บริหารต่างประเทศ หรือไม่อยากเห็นกิจการของคนไทยตกอยู่ในมือบริษัทต่างชาติ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us