ท่ามกลางข้อกังขาในนโยบายการเงินว่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน แบบลอยตัวยังเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่หรือไม่
และหากค่าเงินบาทยังผันผวนและแข็งค่าต่อไปจะกระทบกับเศรษฐ กิจมากน้อยแค่ไหน
เบื้องหลังของการแก้ไขหนี้กองทุนฟื้นฟูฯกว่า 1.4 ล้านล้านทำอย่างไร อ่านได้จาก
"คำต่อคำ" "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ผ่าแนวคิดม.ร.ว.ปรีดิยาธร: นโยบายการเงินลอยตัวเหมาะสมแล้ว
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้ รับแรงกดดันอย่างหนัก ภายหลังจากค่าเงินบาทอยู่ในภาวะที่ผันผวน นายกรัฐมน
ตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงกับกล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้นายสมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการให้
ธปท.ดูแลนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ม.ร.ว. ปรีดิยาธร ได้รับเชิญจาก สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
บรรยายเรื่อง "ระบบและนโยบายการเงินการธนาคาร" ซึ่งผู้ว่าการธปท.ได้สะท้อนแง่คิดในการทำ
งานและการกำกับดูแลนโยบายการเงินที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจอย่างละเอียด
"ผู้จัดการรายวัน"จึงขอนำคำบรรยายของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรมาถ่ายทอดอย่างละเอียดดังนี้
" ท่านประธานให้หัวข้อที่กว้างและเดาไม่ออกว่าอยากรู้อะไร ผมจะเล่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำและทำไปแล้ว
และ ปัญหาที่เจอและที่ต้องกวาดเสียก่อน และจะรู้ว่ามันจะเดินต่ออย่างไรได้
ตอนที่ผมเข้าไปเห็นปัญหาใหญ่ๆ 2 อย่าง อย่างหนึ่งก็คือทุนสำรองระหว่างประเทศเหลืออยู่
31.6 ล้านเหรียญ แต่ความจริงเหลือไม่ถึง ค่อนข้างล่อแหลม ซึ่ง ในขณะนั้นต้องใช้หนี้ไอเอ็มเอฟอีกเยอะ
นี่คือการบ้านอันแรก
อันที่สอง ที่เข้าไปเจอ ก็คือ เราก็สงสัยว่าเขาลดดอกเบี้ยมานานไม่ออกผลให้ประเทศเติบโตสักที
ไปเจอว่ากองทุนฟื้นฟูฯขาดทุนอยู่เยอะ เมื่อขาดทุนก็ได้เงิน มาก้อนจากรัฐบาลที่แล้ว
5 แสนล้านมาล้างก็ไม่พอ ก็ต้องไปกู้เงินมาจากตลาดซื้อคืนพันธบัตรซึ่งเป็นตลาดระยะสั้น
ทีละ 14 วัน หมุนอยู่เรื่อย 2 ปี มาอีก 3 แสนล้าน ในการที่จะไปกู้ 3 แสนล้านในตลาดระยะสั้น
มันเป็นตัวเหมือนขอนไม้เข้าไปกั้นเอาไว้ ทำให้ดอกเบี้ยไม่มีส่งผลไปถึงประเทศได้
นี่คือโจทย์สองอันใหญ่ที่ผมบอกว่าถ้าไม่แก้ตัวนี้ นโยบายการเงินดอกเบี้ยเดินมีผลยาก
แต่นโยบายลดอัตราแลกเปลี่ยนพอ ทำได้ เวลาจะทำผมก็ทำ 2 อย่าง
ประการแรก ความรู้สึกตอนนั้นที่เงินไหลเข้าไหลออกเยอะ ส่วนมากทำให้กำลังไหลออกเพราะคนกลัวสองอย่าง
อย่างแรกคนกลัวว่าบาทจะไป 50 ก็รีบจ่ายเงินเสียก่อน อย่างที่สองคนกลัวว่า
บาทจะไปเป็น 42 ก็กลัวอีกก็เข้าอีกออกอีก ก็ทำให้ไหลเข้าไหลออก ผมก็คิดว่าดีที่สุดทำอะไรก็ตามให้มีเสถียรภาพ
ถ้ามีเสถียรภาพแล้วความกลัวที่รีบใช้เงินไปต่างประเทศจะน้อยลง
ประการที่สอง ผมตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย เพราะรู้ว่าดอกเบี้ยต่ำเป็นทฤษฎีที่ดี
ถ้าสามารถส่งผลให้เศรษฐกิจโตได้ แต่ดอกเบี้ยต่ำในขณะนั้นไม่มีทางส่งผลให้เศรษฐกิจ
โตได้ เพราะกองทุนฟื้นฟูฯไปยืมเงินจากตลาดมา 3 แสนล้าน และทุก 14 วัน ต้องหมุนอยู่เรื่อย
เราก็หมุนอยู่ 2 ปีแล้ว เราก็บอกว่าถ้ายังแก้ไม่ได้ เราขอยืมในดอกเบี้ยที่สูงแก้ให้เงินไหลเข้าประเทศ
จากลดดอกเบี้ยคราวนั้นก็ยังเป็นแค่สัญญาณ ยังไม่ยังจะส่งผลได้ทำให้เศรษฐกิจ
โตได้ ถ้ายังแก้ปัญหาเงินกองทุนฟื้นฟูไปกู้เงินจากตลาดระยะสั้น3 แสนล้านให้หมดออกไปไม่ได้
คือต้องเอาให้ตัวบล็อกนี้ออกก่อน ถ้าตัวบล็อกตัวนี้ออกก่อนและต่อไปนี้ดอกเบี้ยจะมีส่งผลต่อเศรษฐกิจ
ในการที่จะให้ตัวบล็อกนี้ออกก่อน
กองทุนฟื้นฟูฯนั้นมีความเสียหายทั้งหมด1.4 ล้านล้านบาท ถามว่าเกิดจากอะไรง่ายๆ
นะครับ บรรทัดแรก คือช่วยเหลือสภาพคล่อง 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกปิดไป คือให้เงินไปจ่ายผู้ฝากเงินแก่เจ้าหนี้นั้นแหละ
แต่ว่าตอนที่จะได้เงินคืน คืนจาก ปรส.ไปขายสินทรัพย์มาจาก 7 แสนกว่าล้าน
ได้คืนมา 2 แสนกว่าล้าน ก็เลยขาดทุน 5.9 แสนล้านไม่มีอะไรนะครับ อันนี้ขาดทุนแล้วแน่นอนชัดเจน
รับได้แล้ว
เรื่องของสถาบันการเงินอื่นๆ ก็คือหลังจาก 56 ไฟแนนซ์ ปิดไฟ พออีกปีก็จะมีเล็กๆ
น้อยๆ ถูกปิด อย่างบลง.ธนสยามเป็นต้นถูกปิดที่หลัง 6-7 แห่งรวมทั้ง บีบีซีด้วย
อันนี้อยู่นอก 56 ไฟแนนซ์ให้ไป 7 0,000 ล้าน แต่เวลาที่คืนได้คืน 4 0,000
ล้าน มันก็ขาดทุนอีก เสียหายอีก 3-4 หมื่นล้าน และ หลังจากนั้นก็มีกระบวนการที่ว่าเพิ่มทุนให้ไทยธนาคาร
กรุงไทย ศรีนคร นครหลวง ที่เพิ่มทุนเหล่านี้รวมทั้ง บีบีซีเดิมด้วย ที่เพิ่มทุนเหล่านี้หมดนี้ใช้เงิน
ไป 3.5-3.6 แสนล้านบาท แต่ว่ามูลค่า ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2545 เหลืออยู่ครึ่งเดียวคือคิดตาม
BOOK VALUE เลย เพราะว่าขาดทุนอีก 1.7 แสนล้านบาท นี่ขาดทุนนะครับ แต่ขาดทุนตามบัญชี
สองบรรทัดแรกขาดทุนแล้วเรียบร้อย แต่บัญชีเราต้อง กลับเข้ามาเสียก่อน
อันสุดท้ายคือที่ทำกันมาที่บอกว่าให้ตั้ง เอเอ็มซีต่างๆ แซม แพมอะไรต่างๆ
ที่ตั้งชื่อสระแอมทั้งหลาย เวลาตั้งเขามีวิธี ก็คือว่าให้โอนสินทรัพย์เสียๆ
เพื่อให้แบงก์ที่เหลือดูดี ให้มีทุน เวลาโอนมาก็โอนมาเกือบเต็มมูลค่า แต่ว่าทวงได้น้อยกว่า
ผมก็ทำทีเดียวเลย ทั้งที่ทำมาแล้วกลับที่ทำมาในอนาคต เอาประมาณการคือถือว่าทวงได้เท่ากับหลักประกันก็แล้วกัน
ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ปกติตอนนี้ ไม่มีจะคิดเป็นแบบอื่น ถ้าทวงได้ตามมูลค่าหลักประกัน
1 ล้านล้านหลักที่โอนมาเหลือหลักทรัพย์ค้ำประกันประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ น่าจะขาดทุนอีก
6.5 แสนประมวลแล้วขาดทุน 1.37 ล้านกว่า ระหว่าง 4-5 ปี ที่ผ่านมาก็มีดอกเบี้ยจ่ายที่เราไปยืมจากตลาดมาทำตลอด
มีดอกเบี้ยจ่ายประมาณ 1.6 แสนกว่า โชคดีที่ธนาคารพาณิชย์เขาส่งมาให้อีก.4
เปอร์เซ็นต์ ของเงินฝาก ก็ได้มา1.38 แสน สุทธิก็เสีย 1.4 แสน สุทธิ
ผมมาก็ดู คิดว่ามันทีเดียวจบ เพราะเรื่องนี้มันเรื่องใหญ่ในใจของต่างชาติ
จริงแล้วก็คือเรื่องที่รัฐบาลหมกหนี้หรือธนาคาร กลางหมกหนี้อันนี้ยิ่งกว่า
Good governance เป็นหน่วยงานของรัฐกลางซึ่งหนี้หมกเอาไว้ มันต้องจัดการเคลียร์หนี้ให้หมด
ถึงจะเรียกว่า Good governance คนถึงจะเชื่อได้
อีกเรื่องหนึ่งที่อยากรู้ ก็คืออัตราแลกเปลี่ยนที่มีข่าวเร็วๆ นี้ อัตราแลกเปลี่ยนก็คืออัตราแลกเปลี่ยนของเรา
ก็คือบาทต่อดอลลาร์ ตั้งแต่มกราคมเป็นต้นมา เดิม 44 กว่า ตอนนี้มา 42 เศษๆ
ก็คือบาทแข็งขึ้น ทุกคนก็ตกใจ ผู้กู้เงินบาทก็ยิ้ม อิมพอร์ตเตอร์ก็ยิ้ม เอ็กซ์พอร์ตเตอร์ก็เหนื่อย
มันเกิดจากอะไรนะครับ
จริงๆ แล้วมันไม่ได้เกิดจากเราเก่งกาจอะไรหรอก มันเกิดจาก 2 ตัว ตัวหนึ่งคือดอลลาร์มันอ่อนลง
สองมันมีเงินไหลเข้ามาเมืองไทยเยอะเหลือเกิน เงินมันไหลเข้าเมืองไทยตั้งแต่มกราคมถึงเดี๋ยวนี้ผมเชื่อว่ามัน
7 พันล้านเหรียญ เพราะว่าง่ายๆ คือเงินที่อยู่นอกบริการมันเยอะ ตลาดญี่ปุ่นมันก็แย่
ตลาดฮ่องกงมันก็แย่ ตลาดสิงคโปร์มันก็แย่ แย่หมดเลยน่ะ ตลาดไต้หวันก็แย่
ที่ดูได้ก็มีตลาดมาเลเซีย คนไม่กล้าเข้าไปด้วยอะไรก็ไม่รู้นะ แต่ว่าที่ดูได้มันก็มีจีน
จีนกับไทย นักลงทุนมันก็ต้องเอาเงินไปวางที่ไหนที่ มันก็เข้ามาเรื่อยๆ ตลอดเวลา
เร็วมาก ขณะที่เงินเข้าเร็ว ดอลลาร์เข้า ปริมาณของดอลลาร์เยอะ ก็แปลว่าอัตราดอลลาร์จะต้องอ่อน
หรือบาทจะต้องแข็ง เราก็ได้ใช้ความสามารถทุกอย่างไม่ให้อิมเพกนี้แรงมาก เพราะ
7พันล้านเหรีญ 6 เดือนนี้แรงมากนะครับ
ถ้าปล่อย Free Floatting แบบความฝันของ ไอเอ็มเอฟ มันอาจจะสวิงก์แรงกว่านี้เยอะ
แต่เราได้ทำในลักษณะที่ manage Float ซึ่งก็ไล่ให้ฟังได้ว่าทำทุกประเทศพร้อมกันเลย
เรานั่งทำ เอ้ยทำไมมันก็ทำ ทุกคนก็บอกว่าเหมือนกัน มันสวิงก แรงเหลือเกิน
เพราะคนมันขาดความเชื่อมั่นในอเมริกาอะไรหลายๆ อย่าง เมื่อสวิงแรงมากเราก็ต้องทำให้แรงกระแทกมันน้อยหน่อยก็เท่านั้นเอง
ไม่ได้ขืนเทรนเลย จะขึ้นจะลงไม่ได้ขืน แต่ว่าให้แรงกระแทกมันน้อยนะครับ
เราดูแลพอควร ที่ต้องดูแลพอควรเพราะไม่งั้นคนค้าขายไม่ได้หรอก ถ้าสวิงก์
มากนัก สิงคโปร์ก็จะแข็งน้อยกว่าเรา ยกเว้น เฉพาะจากมีนาฯมา แต่ถ้าดูจากมิถุนาฯมา
จาก 28 มิถุนาฯถึงวันนี้เราอ่อนลงนะ ฉะนั้น คนที่วิจารณ์มันเลอะเองนะครับ
เราอ่อนลง มีจริงอยู่เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว มันมีปัจจัยอื่นด้วย ทั้งคำพูดและ
อะไรหลายๆ อย่าง ฝรั่งก็เลยสนุกกันใหญ่ เราก็ต้องพยายามเข้าไปหักล้างไอ้สิ่งอันนี้ให้มีผลน้อยลง
' กรณีที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร วิจารณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นถึง
30 บาท ถึงเลข 3 มีความเห็นเป็นอย่างไร
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร : ผมเรียนตรงๆ ว่ามันทำให้ตลาดป่วนสมควร ฝรั่งมันเชื่อ
ฝรั่งก็ยิ่งชอบอยู่แล้วว่าแบงก์ชาติเราถูกการ เมืองเข้าครอบงำสิ้น ก็ยังไม่เห็นมีใครมาครอบงำอะไรผมเลยนะครับ
เมื่อเขาพยายาม เชื่ออยู่แล้ว พอมีเสียงอย่างนั้นเขาก็เชื่อ เขาก็นึกว่าไปจริง
ไปจริงเขาก็รุมพอสมควร เพราะฉะนั้นครึ่งวันแรกรุมพอสมควร ผมก็ตัดสินใจคงจำเป็นเอาประเทศอยู่ก่อน
เรา ก็ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นนะครับ เรายังห่วงผู้ส่งออก เราอยากให้มันค่อยๆ
ทีละนิดก็เลยต้อง แจกแจงให้เป็นรูปนั้น เพื่อให้เห็นว่ายังไงมันไม่เป็นไปตามนั้น
พอออกไปก็หยุดดีพอสมควร แต่เขามีลูกตามเยอะนะครับ ก็ในที่สุดต้องถือว่าจบแล้วในเรื่องนั้น
' เป็นไปได้ไหมถ้าเราคิดว่า เสถียร-ภาพของเราอยู่ที่ 42, 43 44, 45 หรือ
30 หรือ 39 อย่างไรก็แล้วแต่ทำนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ไว้แบบมาเลเซียไว้สักระยะนึง
เพื่อให้ประเทศไทยของเราทั้งหมดได้เสถียรภาพ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร: ถ้าจะทำตอนนั้นต้อง ทำตั้งแต่ 2540 ตอนนั้นถ้าจะทำก็ต้องทำตอนนั้น
จาก 25 กระโดดเป็น 40 สมมุติหรือ เป็น 36 ก็ได้ แต่เมื่อมันผ่านมา 5 ปีแล้วมันยากมาก
แล้วผมบอกให้นิดนึงตอนนี้ในสมองคุณ มันเป็นดอลลาร์บาท ผมจะเริ่มโค้ท 3 อัตราแล้ว
ผมจะโค้ทดอล ลาร์เย็น ดอลลาห์บาท ดอลลาร์ยูโรทุกวัน อีกหน่อยคุณก็ซึมไปเอง
การที่เราจะไป ใช้นโยบายตายตัว กับอันใดอันหนึ่งในโลกใหม่นี้ยาก ทำไมรู้ไหมครับ
สมมุติว่าเราไปคงที่ดอลลาร์ให้คุณ แล้ว ตอนนี้ดอลลาร์อ่อนพวกคุณก็สบายอ่อนไป
แต่พออีก 2 ปี คุณแพ้ทั้งโลก ทำไมรู้ไหมครับ คุณจะ สนุกกับไอ้สิ่งที่ขายง่าย
แต่คุณจะลืมปรับประสิทธิภาพในการผลิต productivity คุณจะลืมปรับ productivity
เลย ขณะที่คนอื่นเขาปรับ productivity ตามความเป็นจริงของโลก พอสองสามปีคราวนี้พวกคุณถูกกวาดหมดเลย
คราวนี้อีกหนหนึ่งเลย อาจจะต้องไป 60 อีกหน แล้วก็ตายกันเลย
ฉะนั้น กระบวนการที่พอโดดออกมาเป็นที่เรียกว่า การบริหารนโบายแบบลอยตัว
"manage float system" แล้วนี้ คือกระบวนการที่จะมีให้บทเรียนแก่คุณที่ต้องปรับตัว
บอกตรงๆ ผมก็รู้จักพวกคุณหมดนะผู้ส่งออก นี้ ถ้าไม่กดดันก็ไม่ปรับตัวเหมือนกัน
' ปัจจุบันนี้นโยบายการเงินหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยคือใช้นโยบายเงินเฟ้อนำนโยบายการเงิน
ขณะนี้มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะใช้นโยบายอันนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร :
เรื่องของ นโยบายเงินเฟ้อ มันเป็นกรอบในการที่จะคิดเป็น กรอบที่ดีเราใส่กรอบไว้ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า
0 เปอร์-เซ็นต์ เพราะเรากลัวว่าจะเกิด เงินฝืดและจะต้องไม่สูงกว่า 3.5 ตอนที่อยู่ประมาณ
1 เปอร์เซ็นต์ ผมนั่งยิ้มยังไงยังไงมันก็ได้ แต่ตอนนี้มันเหลือ 0.2 แล้ว
นโยบายเงินเฟ้อจำเป็น เพราะมันไม่ได้กันแค่ขาขึ้น มัน กันขาลงด้วยที่จำเป็น
เพราะว่าเรากลัวว่าถ้าเกิดเงินเฟ้อจะเป็นแบบญี่ปุ่น แล้วจะหนืดจะกลับมายาก
และตอนนี้ที่มันมาเป็นติดลบ
' นโยบาย และแนวคิดของแบงก์ชาติที่เกี่ยวพันเรื่องปัญหาสังคมและปัญหาความยากจนโดยเฉพาะกรณีตัวอย่างเช่น
เบี้ยกุดชุม
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร : ผมเองก็ชอบวิธีทำอะไรให้มันเกิดประโยชน์แก่ชุมชนนะครับ
ก็คุยกับคุณไพบูลย์มาเยอะ เสียดายที่เข้ามาช้าไปเรื่องเบี้ยกุดชุมมันเลยไปแล้ว
ผมได้ หยิบเรื่องเบี้ยกุดชุมมาดูน่าสนใจ พูดจริงๆ น่าสนใจ และเป็นสิ่งที่เกิดจากแนวคิดแท้ของคนซึ่งดีมาก
บริสุทธิ์กว่าพูดเราที่นั่งอยู่ ที่นี้กันนะ ขอโทษที คงจะถูกนะครับ ฉะนั้น
อันนี้เสียดายที่ว่าเข้ามาช้าไป ตอนนี้เรื่องพอหยิบขึ้นมาดูเหมือนกัน แต่มันเลยไปแล้ว
เลยจนถึงตีความกฎหมายแล้ว มันก็เลยต้องขอโทษด้วยนะครับ นี้ถามว่าจะช่วยสังคมอย่างไร
ก็พยายามจะช่วยอยู่ แต่คงต้องมีขอบเขต คงจะไม่ไปสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ว่าให้ไปกระจายเงินกู้ให้แก่
อันนั้นอันนี้ แต่สิ่งที่ผมกำลังเดินและอาจจะออกมา แต่ไปถึงโน้นเลยถึง BIS
เลย หรือว่าอาจจะได้เขาเรียกว่าอัตราการความต้องการที่ต้องมีเงินทุนสำหรับเงินกู้รายย่อย
ต่ำกว่ารายใหญ่ ซึ่งถ้าออกอัตรานี้ออกมาได้ก็เป็นการชักจูงให้ธนาคารพาณิชย์เต็ม
ใจจะให้กู้แก่รายย่อยมากกว่ารายใหญ่ คือ พยายามจะทำให้ขอบเขตที่ตัวเองจะทำได้
แต่ไม่สามารถลงไปในโครงการในแต่ละอันให้ชัดเจนได้ คือในสำนึกก็พยายามนึกอะไรอยู่เช่นกัน
แต่อันนี้น่าจะออกมาในสักปีกว่าๆ และถ้าออกมาได้ก็จะดีกับประเทศของเราด้วย
อันนี้เราไปถึงระดับโลกเลยนะครับ
' หนี้กองทุนฟื้นฟู ธปท.ได้แก้ไขแล้ว ถามว่าหนี้สาธารณะที่สำนักหนี้กระทรวงการคลังมีแนวทางที่จะแก้ไขอย่างไรบ้าง
หรือว่าสิ่งที่เป็นอยู่นี้ได้ดำเนินการอย่างดีแล้วสำหรับหนี้สาธารณะ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
: อันนั้นเป็นเรื่องของคลังโดยแท้ แล้วก็เท่าที่ผมดูเขาจัดโปรแกรม ไว้แล้วในการที่ออกพันธบัตรอะไรยังไง
นะครับ และเขาจัดได้ดีทีเดียวกระจายจนไม่ทำให้งบประมาณใช้ในการพัฒนาไม่ได้
เขาจะมีรูมสำหรับงบพัฒนาเหลือพอสมควร จัดได้ค่อนข้างดีทีเดียว ต้องบอกอย่างนั้นนะครับ
แล้วนี้เขาเตรียมจะรีไฟแนนซ์สำหรับหนี้ที่กู้ดอลลาร์แพงๆ ด้วยซึ่งผมว่าดูแล้วเขาทำเป็น
แล้วเขาทำได้ดีเท่าที่ดู ไม่น่าห่วงอะไรครับ
' หลายๆ ปีมานี้นะครับ ประเทศไทยตัดสินใจใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนะครับ
manage float ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซีย ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
fix exchange rate นะครับ จนกระทั่งถึง ปัจจุบันนี้นะครับ เศรษฐกิจทั้งสองประเทศอย่างนี้ขอเรียนถามว่า
ใครตัดสินใจ ได้ถูกต้องมากกว่ากัน แล้วก็ใครตัดสินใจได้เก่งกว่ากัน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร : ตัดสินใจเก่งที่สุดกลายเป็นเกาหลี เกาหลีใช้ float เหมือนกันนะครับ
แล้วตอนนี้เกาหลีออกมาดีที่สุด จีดีพีดีที่สุดอะไรดีที่สุดหมดเลย แต่เกาหลีได้สองตัว
คือหนึ่งตัดสินใจใช้ระบบที่ดีด้วย กับสองต้องบอกผู้นำยุคนั้นเขาแข็งมาก เขาลงแก้เอง
เวลาเขาแก้เศรษฐกิจเขาลงเองที่ภาค อุตสาหกรรมที่แท้จริง เลย ภาคการผลิตเลย
ซึ่งเป็นการลงที่ถูกจุด ถ้าลองมาแก้ผ่านแบงก์ไม่เคยถูกจุดสักที ฉะนั้นเขาได้สองตัวก็เลยออกมาเร็วนะครับ
ตอนนี้เรากับมาเลย์ผมก็ยังเชื่อว่าเราเดินไม่ผิดนะครับ เพราะว่าเป็นระบบที่มีความคล่องตัวมาก
' ผลกระทบต่อการเงินการคลังของประเทศถ้าหนี้สาธารณะยังสูงอยู่อย่างเช่นนี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร : หนี้สาธารณะตอนนี้ถึงจุดสูงสุดแล้วนะครับ ถึงกันยาจะสูงสุดประมาณ
60 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ 54, 55 ของจีดีพี อยู่ แต่หลังจากนั้นจะลงที่ลงเพราะว่าแบงก์ชาติจับมือกับกระทรวงการคลัง
ต้องบอกว่ารัฐมนตรีคลังคนนี้เข้าใจเรื่องนี้ดี เราได้บอกว่าที่ผ่านมานี้เรากระตุ้นเศรษฐกิจให้รัฐบาลเป็นหนี้เอาง่ายๆ
คือยอมขาดดุล เป็นหนี้ยอมขาดดุล กระตุ้นมาถึงจุดหนึ่งนี้หนี้มันสูง มันเริ่มอันตราย
เราก็บอกว่าหลังจากนี้ไปเราก็ขอท่านว่า จาก นี้ไปคือจากงบประมาณปี 46 นี้ขอให้ขาดดุลน้อยลง
ยังขาดดุลอยู่นะครับ แต่น้อยลง และ ขอน้อยลงไปเรื่อยๆ จนสัก 4-5 ปีขอให้
งบดุลให้ได้ดุลเลย โดยชี้ให้เห็นทุกอย่างหมดว่าถ้าประเทศหนี้สูง ประเทศหนี้ต่ำ
มาเลเซียมันต่างกันอย่างไร ของเรา 54, 55 เปอร์เซ็นต์ เขา 32, 33 เปอร์เซ็นต์การบริหารมันง่ายเยอะกันอย่างไร
ในที่สุดก็ได้ข้อตกลงมาแล้ว แล้วข้อตกลงนี้ตกลงถึงท่านนายกฯด้วย ก็คุยกันชัดเจนนายกฯก็ตกลง
ก็เดินตามนี้ งั้นเรื่องหนี้จากนี้ไปจะลงไม่ใช่ขึ้นนะ จะขาดดุลในอัตราที่น้อยลงหนี้ก็จะลงไปเอง
ส่วนประเด็นที่ถามว่าจะเงินฝืดอีกหรือไม วันนี้ก็ยังฝืดเคืองอยู่ แต่มันดีขึ้นกว่าตอนเมื่อสักสองสามปีที่ผ่านมา
โอกาสกลับมามีหรือไม่ ถ้าปัจจัยของสหรัฐฯ ไม่เกิดขึ้น คือถ้าเกิดบริษัทสหรัฐฯ
ไม่มีอะไรเสียกว่านี้ ไม่ด่างพร้อยกว่านี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เดินปกติ ผู้บริโภคของสหรัฐฯ
เริ่ม ซื้อของปกติ ผมคิดว่ามันคงไม่กลับไปสถาน การณ์นั้นอีกแล้วนะครับ แต่ถ้าเกิดทุกอย่าง
มันโครมที่สหรัฐฯ และผู้ซื้อก็ไม่ซื้อของเสียอย่าง มันเกิดทั้งโลกนะ มันไม่ได้เกิดที่เมือง
ไทย นะต้องบอกว่า ต้องมีคำว่าถ้า เพราะอันนี้เป็นเรื่องใหญ่
' สถาบันการเงินฝากจะเกิดได้เมื่อไหร่
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร : สถาบันประกันเงินฝากเกิดเมื่อไหร่ อยู่ที่ทางรัฐบาล
แต่ทางเราทำเรื่องทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว อันนี้ไม่ใช่การตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย
ในการเรียนของกระทรวงการคลัง และรัฐบาล คงต้องถามทางโน้น ส่วนสถาบันประกันสินเชื่อถูกไหมครับ
สถาบันประกันสินเชื่อนี้ ที่เขาพยายามจะทำ คือสำหรับสินเชื่อรายย่อย อย่างเช่น
มี บสย. เป็นต้น มันเกิดไปตั้งนานแล้ว ไม่เคยสำเร็จ ผมว่าเรามาทำให้แบงก์พาณิชย์
ทำงานดีกว่า เพราะว่าเวลาเขาวิเคราะห์ เขาอยากให้กู้ เขาก็อยากให้กู้ บสย.เขาก็ทำมานานแล้วนะ
ก็ไม่เห็นสำเร็จสักที ตั้งหลายปีแล้ว มันเกิดมาแล้ว