Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 สิงหาคม 2545
IBM ควบไพร้ซฯ คู่แข่งป่วนเร่งปรับกลยุทธ์             
 


   
search resources

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย, บจก.
ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.




ไอบีเอ็มผนวกไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์ฯพ่นพิษใส่ศัตรู ป่วน เร่งปรับแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจฝุ่นตลบ อุปทานเหมือนเสือติดปีก ยิ่งตามใกล้ยิ่งทิ้งห่าง บรรลุเป้าหมายสานยุทธศาสตร์มุ่งธุรกิจเซอร์วิส เติบโตสร้างรายได้หลักแทนที่ธุรกิจฮาร์ดแวร์

จากกรณีที่ไอบีเอ็มเข้าซื้อกิจการไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์สในส่วนธุรกิจให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการเทคโนโลยี ทั้งสองบริษัทได้ลงนามในข้อตกลงโดยบีเอ็มจะจ่ายให้ไพร้ซฯ เป็นเงินสด และหุ้น รวมมูลค่า 3,500 ล้าน เหรียญ

แม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลหลังจากได้รับอนุมัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และคะแนนเสียงสนับสนุนจากบริษัทของไพร้ซฯในท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะสามารถกำหนดข้อสรุปได้ในช่วงปลายไตรมาสสาม โดยเริ่มดำเนินการเพื่อรวมธุรกิจและบุคลากรของทั้งสองบริษัทในช่วงต้นไตรมาสสี่

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวการรวมตัวระหว่างสองกิจการกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยรวมของอุตสาหกรรมไอที เพราะไอบีเอ็มคือบริษัทชั้นนำทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ของโลก ส่วนไพร้ซฯ เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจบริการที่ปรึกษา ทำให้การรวมตัวกันครั้งนี้เป็นการถูกมองว่าจะเป็นการช่วยให้ธุรกิจด้านบริการที่ปรึกษาของไอบีเอ็ม สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ โดยใช้เทคโนโลยีระดับโลกมาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ

ที่สำคัญประเด็นการควบรวมกิจการ ดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งไม่เฉพาะกับไอบีเอ็มเท่านั้น แต่ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อยู่ในการเฝ้าติดตามของบรรดาคู่แข่งของไอบีเอ็มทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ดหรือเอชพีใหม่ คู่แข่งคนสำคัญพยายามจะเบียด แย่งความเป็นผู้นำของไอบีเอ็ม

หลังจากที่เอชพีใหม่สามารถควบรวมกิจการบริษัทคอมแพคมาได้ ภาพของเอชพี ได้ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในแทบทุกธุรกิจ ซึ่งเป็นเป้าหมายนโยบายในการเป็นบริษัท ด้านไอทีสำหรับคอนซูเมอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นซัปพลายเออร์ด้านไอทีที่ใหญ่ที่สุดในตลาดระดับองค์กรธุรกิจขนาดกลาง และเล็ก นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในผู้นำสำหรับตลาดระดับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่

"การดำเนินธุรกิจของเอชพีต้องเหนื่อยมาก ขึ้นในการแย่งชิงตลาดจากไอบีเอ็ม เพราะการรวมกิจการในครั้งนี้ระหว่างไอบีเอ็มกับไพร้ซ วอเตอร์เฮ้าส์ฯ ส่งผลให้ธุรกิจโกลบอลเซอร์วิสของไอบีเอ็มแข็งแกร่งยิ่งขึ้น สามารถทำตลาดได้อย่างง่ายดาย เพราะไพร้ซฯมีฐานลูกค้าจำนวน มาก และไพร้ซฯถือว่าเป็นบริษัทที่ฐานลูกค้ามาก ที่สุดในประเทศไทย" นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทยและหัวหน้ากลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์องค์กรขนาดใหญ่ บริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ดใหม่ หรือเอชพีใหม่กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ถึงผลกระทบที่หนักหน่วงจาก การควบรวมกิจการของไอบีเอ็ม

หากพิจารณาผลกระทบทางด้านธุรกิจของเอชพีในประเทศไทย จะพบว่าที่ผ่านมาการทำธุรกิจด้านให้คำปรึกษาทางธุรกิจและบริการเทค-โนโลยีของเอชพีในหลายโครงการจะอาศัยความ ร่วมมือกับไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์ฯเป็นหลัก เมื่อไพร้ซฯรวมกับทางไอบีเอ็มย่อมหมายความว่าผล กระทบแรกที่เอชพีได้รับก็คือการขาดแขนขาสำคัญพันธมิตรไปอยู่ในฝั่งคู่แข่ง

นายเชิดศักดิ์ กล่าวว่าทุกวันนี้การแข่งขันของธุรกิจนี้อยู่ที่การเสนอสินค้าเป็นแบบแพกเกจ เซอร์วิสครบวงจร เพราะความเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วของโลกธุรกิจปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้ายกเป็นแพเกจโซลูชั่น ดังนั้นการที่บริษัทใดสามารถที่จะนำเสนอสินค้าได้ครบวงจร อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ย่อมหมายถึงผลสำเร็จที่จะตามมาเหนือคู่แข่งขันด้วย

"เราต้องยอมรับว่าขณะนี้ไอบีเอ็มเหมือนเสือที่ติดปีก เอชพีอยู่ในสถานการณ์ลำบากที่ต้อง ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ช่วงห่างของการแข่งขันถูกทิ้งมากเกินไป" นายเชิดศักดิ์กล่าว

ที่ผ่านมาทางบริษัทมีการคาดการณ์ว่า หลังจากเอชพีรวมกับคอมแพคจะสามารถดำเนินธุรกิจทางด้านคอนซัลติ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กรณีการรวมของไอบีเอ็มถือได้ว่าเป็นการเสริมทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและทิ้งห่างบรรดาคู่แข่งไปอีกหลายช่วง ก่อนหน้านี้ทางเอชพีมีแผนที่จะเข้าไปซื้อกิจการของไพร้ซฯ แล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2543 แต่ด้วยช่วงเวลาอันไม่เหมาะสม ทำให้แผนการครั้งนั้นต้องล้มเลิกไป และกลายมาเป็นหอกสำคัญของคู่แข่งที่กำลังแทงกล่องดวงใจของเอชพี

ส่วนนายทายาท ศรีปลั่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้ บริการที่ปรึกษาด้านบริหารงานองค์กร และงานบุคคล กล่าวว่าการควบรวมกิจการระหว่าง ไอบีเอ็มกับไพร้ซฯ ถือเป็นการเสริมแขนขาธุรกิจทั้งองค์กรของไอบีเอ็ม เนื่องจากช่วงที่ผ่าน มาตลาดไอทีโดยเฉพาะทางด้านฮาร์ดแวร์ตกลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไอบีเอ็มพยายามที่จะหาธุรกิจอื่นๆ เข้ามาเสริมรายได้ของบริษัท และบริการด้านคอนซัลติ้งเป็นธุรกิจที่มีอัตราเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไอบีเอ็มจึงกระโดดเข้าสู่ธุรกิจ นี้อย่างเต็มตัว โดยผลักดันธุรกิจใหม่ควบคู่ไปกับธุรกิจหลักเดิมทางฮาร์ดแวร์

"งานนี้ถือได้ว่าไอบีเอ็มสามารถสร้างความแข็งแกร่งได้ยิ่งขึ้น และยิ่งทิ้งห่างคู่แข่งออกไปห่าง อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากไอบีเอ็มจะได้โนว์ฮาวสำคัญ ทางด้านธุรกิจคอนซัลติ้งจากไพร้ซฯ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีความชำนาญมากในธุรกิจ โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ของ ไอบีเอ็มได้สมบูรณ์มากขึ้น จากที่ผ่านมาไอบีเอ็ม ได้ชื่อว่ามีความพร้อมในทุกๆ ด้านอยู่แล้ว" นาย ทายาทกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นระหว่างรอการควบรวมกิจการอย่างสมบูรณ์อยู่นี้ อาจเป็น ช่วงที่บรรดาคู่แข่งน่าจะเจาะตลาดได้ เนื่องจากลูกค้าอาจจะเกิดความไม่มั่นใจในการเลือกใช้บริการของทั้งไอบีเอ็มและไพร้ซฯ โดยจะรอ บทสรุปที่แน่นอนเสียก่อน หรือไม่ก็อาจจะเลือกใช้บริการของบริษัทที่ปรึกษารายอื่นๆ
ไอบีเอ็มพร้อมลุย

การสร้างภาพลักษณ์ใหม่สู่การเป็นผู้นำธุรกิจบริการ หรือไอทีโพรไวร์เดอร์โซลูชั่นของไอบีเอ็มเด่นชัดมากยิ่งขึ้นหลังจากได้ไพร้ซฯเข้ามาเสริม ช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนขุมกำลังส่วนใหญ่เบนเข็มมาสู่ธุรกิจนี้ ไม่เพียงแต่สร้างจุดพลิกผันให้เกิดกับธุรกิจ แต่ยังเป็นการประกาศศักดาเหนือคู่แข่งที่ยังไม่สามารถมีผู้ให้บริการไอทีรายใดสามารถดำเนินธุรกิจทางด้านนี้ได้อย่างครบวงจรอย่างไอบีเอ็ม

ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปีที่ไอบีเอ็มอยู่ในสังเวียนธุรกิจ ชื่อของไอบีเอ็มที่คนทั่วไปรู้จัก ก็คือการเป็นผู้นำทางด้านฮาร์ดแวร์ ที่มีส่วนผลักดันสำคัญให้ชื่อของไอบีเอ็มติดตลาดและกระจายแทรกซึมเข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจองค์กรต่างๆ

แต่เมื่อช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงไปการบริโภค ของกลุ่มลูกค้าเริ่มมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ไปตามภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการปรับตัวเพื่อให้ทันกับคู่แข่ง หรือว่าอยู่เหนือการแข่งขัน ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ มองหาเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยนำพาธุรกิจให้สามารถยืนหยัดรับคลื่นลมการแข่งขันได้อย่างเป็นต้องกลัวใคร

สิ่งสำคัญที่ได้รับการยอมรับในยุคสมัยนี้ก็คือการที่ธุรกิจต่างๆ นำเอาเทคโนโลยีที่นำหน้าทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร ในความต้อง การดังกล่าวต้องครอบคลุมทั้งเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจ ว่าสิ่งที่ได้ดำเนินการไปเพื่อองค์กรเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

จุดนี้เองทำให้ไอบีเอ็มซึ่งมีความพร้อมตั้งแต่เรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการจัดการดำเนินการบริการให้กับกลุ่มลูกค้าภายใต้การทำงานของบริษัทเดียว ได้จัดตั้ง "ไอบีเอ็ม โกล บอล เซอร์วิส" หรือไอจีเอสขึ้น เพื่อดำเนินธุรกิจ บริการด้านไอทีแบบครบวงจร

"ไอบีเอ็มสามารถประสานฮาร์ดแวร์ ซอฟต์ แวร์ โซลูชั่น รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ในบริการ หรือเป็นไอทีโพรไวร์เดอร์โซลูชั่นเพียงราย เดียวในตลาดที่สามารถทำเช่นนี้ได้" นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ กรรมการผู้จัด การ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว

ที่ผ่านมาไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิสมีอัตราการโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากผลประกอบการในรอบปี 2544 ธุรกิจไอจีเอสมีรายได้รวมทั้งสิ้น 35 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 คิดเป็น 5% แต่หากรวมรายได้ทั้งหมดของ ไอบีเอ็มทั่วโลก จะมาจากไอจีเอสประมาณ 41%

"ไอบีเอ็มมีพนักงานทั้งสิ้น 150,000 คนทั่วโลก ภายใน 100 คน จะมีคนถึง 46 คนที่รับผิดชอบในธุรกิจบริการ แต่หลังจากการรวมกับไพร้ซฯ พนักงานในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นมาอีก 30,000 คน ตัวเลขดังกล่าวทำให้บุคลากรทางด้านนี้ของไอบีเอ็มมีมากว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมด นั่นหมายความว่าไอบีเอ็มให้ความสำคัญกับ ไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิสมาก และถือเป็นแหล่ง รายได้มหาศาลที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง"

แนวทางการดำเนินธุรกิจของไอบีเอ็มสำหรับธุรกิจด้านให้คำปรึกษาทางธุรกิจ และบริการเทคโนโลยีนั้นจะอยู่ภายใต้ไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิส เป็นการให้บริการด้านไอทีแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา ออกแบบระบบธุรกิจ บริหารจัดการระบบสารสนเทศ และรับดำเนินงานในส่วนที่องค์กรไม่ต้องการทำเอง โดยไอบีเอ็มเริ่มก่อตั้งหน่วยธุรกิจนี้ขึ้นเมื่อปี 1997

ไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิสแบ่งการให้บริการออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ประกอบด้วย

1. Business Innovation Service บริการ ปฏิรูปธุรกิจ (บีไอเอส) ซึ่งช่วยให้คำปรึกษาและจัดทำระบบแก่หน่วยงานธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ตามแนวคิดล้ำสมัย เช่น บริหารสายพานการ ผลิตวางแผน และบริหารทรัพยากรองค์กร การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า การบริหารองค์ความรู้ เป็นต้น

2. Integrated Technology Services บริการวางระบบเทคโนโลยี (ไอทีเอส) จะช่วยให้ลูกค้ามีพาร์ตเนอร์ที่สามารถให้คำปรึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถจัดการกับสภาพ แวดล้อมอันซับซ้อนของอีบิสซิเนสในระบบสารสนเทศแบบหลายผู้ผลิตได้ บริการวางระบบเทค โนโลยี รวมถึงบริการจัดการระบบ และบริการสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบ

3. Strategic Outsourcing บริการเอาต์ ซอร์สเชิงกลยุทธ์ (เอสโอ) เป็นบริการความร่วมมือระยะยาวระหว่างไอบีเอ็มและลูกค้าที่พยายาม จะเพิ่มคุณค่าในการทำธุรกิจ เพื่อจัดการความรับผิดชอบในขั้นตอนและระบบการทำงานร่วมกัน โดยบริการนี้จะสนับสนุนความสำคัญธุรกิจหลักของลูกค้า ทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เช่น การเอาต์ ซอร์สเพื่อการทำธุรกิจอีบิสซิเนส การสร้างเน็ตเวิร์กเพื่อการค้า การเอาต์ ซอร์สเพื่อการปรับองค์กร การบริหารแอปพลิเคชั่น และการให้บริการด้านเครือข่าย เช่น ศูนย์ ข้อมูล เว็บโฮสติ้ง เป็นต้น

"ทั้งสามส่วนธุรกิจของไอจีเอสจะทำงานสอดประสานกับอย่างลงตัว โดยแต่ละฝ่ายสามารถช่วยเหลือฝ่ายต่างๆ ให้เกิดผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสู่ลูกค้า"

ธุรกิจที่ไอบีเอ็มผนวกไพร้ซฯเข้ามาในครั้งนี้จะถูกนำไปรวมกับหน่วยธุรกิจ Business Innovation Service ของไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิส เพื่อสร้างองค์กรใหม่ มีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจทางด้านนี้ของไพร้ซฯจะมีรายได้จากการให้บริการที่ปรึกษาในปี 2545 ประมาณ 4,900 ล้าน เหรียญสหรัฐ ไม่รวมถึงเงินทดรองจ่ายที่จะได้รับคืนจากลูกค้า

หน่วยธุรกิจใหม่ที่ตั้งขึ้นทั่วโลกจะนำเอาความสามารถต่างๆ ของไอบีเอ็ม มานำเสนอให้ลูกค้ามีโซลูชั่นสมบูรณ์แบบ ผ่านบริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจและเทคโนโลยี ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ และทักษะความชำนาญด้านกรให้บริการของไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิส

นายทรงธรรม กล่าวว่าหากมองธุรกิจด้านที่ปรึกษาในประเทศไทย การที่ไอบีเอ็มได้ไพร้ซฯเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งทำให้ไอบีเอ็มเป็นบริษัทเดียวที่สามารถให้บริการได้อย่างครบวงจร และช่วยเติมช่องโหว่ทางธุรกิจของไอบีเอ็ม เพราะที่ผ่านมาหน่วยธุรกิจ Business Innovation Service จะเจาะตลาดได้เฉพาะกลุ่มองค์กรคอร์ปอเรทขนาดใหญ่ บริษัทมัลติเนชั่นแนลจากต่างประเทศ นอกจากนั้นจะเป็นการประสานการทำงานกับพาร์ตเนอร์เจาะตลาดอื่นๆ แต่ไพร้ซฯจะมีตลาดที่แข็งแกร่งตั้งแต่ระดับกลาง ลงไปถึงขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ลูกค้าคอนซูเมอร์ รีเทล เอสเอ็มอี ซึ่งไอบีเอ็มไม่มีกำลังคนเพียงพอที่จะลงไปเจาะในตลาดเหล่านี้ได้

ที่ผ่านมาไอบีเอ็มและไพร้ซฯต่างคนต่างทำธุรกิจแข่งขัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ขึ้นอยู่กับความถนัดและเชี่ยวชาญในภาคอุตสาห-กรรมนั้น แต่เมื่อรวมกันแล้วความแข็งแกร่งย่อมเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ หมายความว่าไอบีเอ็ม ต้องเจาะตลาดได้มากขึ้นและมีลูกค้าที่เลือกใช้สินค้าของไอบีเอ็มมากยิ่งขึ้น

"พนักงานไอบีเอ็มทุกคนดีใจที่สามารถซื้อไพร้ซฯเพราะเรามีเป้าหมายในการสร้างอัตราการ เติบโตของเซอร์วิสบิสซิเนสให้เป็นธุรกิจที่มีสร้าง ผลกำไรสูงสุด ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นยังดำเนินธุรกิจขายในสิ่งที่ไม่มีกำไรนับวันก็จะยิ่งตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง" นายทรงธรรมกล่าว

ไอบีเอ็มเล็งเห็นความเปลี่ยนแปลงในตลาด โลกเมื่อลูกค้าต้องการเวนเดอร์ครบวงจรแพก เกจโซลูชั่นจนกระทั่งสามารถเอาต์ซอร์สงาน บริษัทให้รับผิดชอบดำเนินการ สัญญาณนี้ได้บ่งบอกมานับ 10 ปี ไอบีเอ็มจึงตัดสินใจกระโดด เข้ามาร่วมวงแชร์ส่วนแบ่งตลาดในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง

ผลสำรวจของอินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น หรือไอดีซี ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับการวิจัยตลาด ยืนยันว่าไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิส เป็นผู้นำตลาด และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านคุณสมบัติที่มีความสำคัญต่อลูกค้าเมื่อต้องการเลือกบริการผู้ให้บริการ และมีความพร้อมในการให้บริการโซลูชั่นเฉพาะที่หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม การผลักดันธุรกิจใหม่ของไอบีเอ็มในครั้งนี้ใช่ว่าจะสามารถเปิดตลาดของธุรกิจบริการอย่างง่ายดาย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่เห็นเป็นตัวผลิตภัณฑ์ชัดเจนเหมือนฮาร์ด แวร์หรือซอฟต์แวร์

"การทำธุรกิจให้บริการยอมรับว่าขายยากกว่าสินค้าประเภทฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ เพราะกว่าลูกค้าจะเข้าใจไม่ใช่เรื่องง่าย" นายทรงธรรมกล่าวและว่าสำหรับการทำตลาดของธุรกิจนี้ ไอบีเอ็มจะเข้าไปพรีเซ็นต์ให้ลูกค้าเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับโดยตรง

"ที่เราโตอย่างต่อเนื่องเพราะไม่มีคู่แข่งที่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของตัวเองแบบครบวงจรเหมือน เรา ที่ทำให้ธุรกิจของลูกค้าดำเนินกิจการไปได้แบบไม่มีสะดุด คือตรงนี้เราขายคนเดียวก็เลยโต คนเดียว"

และหากพิจารณาถึงโครงการที่เกิดขึ้นจากไอบีเอ็ม โกลบอล เซอร์วิส จะเป็นโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10-1,000 ล้านบาท โดยเป็นสัญญา ผูกพันระหว่างไอบีเอ็มกับบริษัทลูกค้า ซึ่งนั่นหมายความว่าไอบีเอ็มจะมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องจากจำนวนปีของสัญญาผูกพัน ทั้งนี้ไม่ว่าธุรกิจไอทีจะตกต่ำเพียงไร ไอบีเอ็มก็จะไม่ได้รับผลกระทบเรื่องของรายได้ เนื่องจากจะมีรายได้จากพันธสัญญากับบริษัทลูกค้าที่ต้องดำเนินการไปทุกๆ ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us