Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543
Linklaters & Alliance             
 

   
related stories

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ LOCAL HERO

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
Linklaters & Alliance
ธนาธิป พิเชษฐวณิชย์โชค
Consultants and Professional Services




ความเป็นมา

ลิ้งค์เลเทอร์ส (Linklaters) เป็นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณ 150 ปีก่อน ภายใต้ชื่อ "ลิ้ งค์เลเทอร์ส แอนด์ เพนส์" (Linklaters & Pains) อันเป็นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ ที่มีจุดประสงค์หลักในการดำเนินกิจการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ทั้งในระดับภาย ในประเทศ และระหว่างประเทศทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา และเอเชีย

เครือข่ายของบริษัทเป็นทีมงาน ที่มีความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาด้าน กฎหมาย ปัจจุบันลิ้งค์เลเทอร์สมีสำนักงานตั้งอยู่ทั่วโลก อาทิ บรัสเซล, แฟรงค์เฟิร์ต, ฮ่องกง, มอสโก, นิวยอร์ก, ปารีส, ซานเปาโล, เซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก, เซี่ยงไฮ้, สิงคโปร์, โตเกียว, วอชิงตัน ดี.ซี. และล่าสุดกรุงเทพมหานคร

พนักงานทั้งหมดของลิ้งค์เลทอร์สทั่วโลกมีจำนวนถึง 3,000 คน โดยมี ที่ปรึกษากฎหมาย ที่เป็นหุ้นส่วน 200 คนที่ปรึกษากฎหมาย 600 คน และผู้ ช่วย ที่ปรึกษากฎหมาย 200 คน

นอกจากนี้ลิ้งค์เลเทอร์สยังได้ร่วมมือกับ ที่ปรึกษากฎหมายชั้นนำในยุโรป 4 ประเทศ คือ De Bandt Van Hecke, Lagae & Loeson ( เบลเยียม), De Brauw Blackstone Westbroek (เนเธอร์แลนด์), Glanni, Origoni & Partners (อิตาลี), Lagerlof & Leman (สวีเดน) และ Oppenhoft & Radler (เยอรมนี)

บริษัทที่ปรึกษากฎหมายดังกล่าว จะร่วมกันจัดตั้งบริษัทในเครือภายใต้ชื่อ "ลิ้งค์เลเทอร์ส แอนด์ อะไลแอนส์" (Linklaters & Alliance) ซึ่งเป็นศูนย์รวมในการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจการเงิน และการลงทุนทั่วโลก โดยมีจำนวนนักกฎหมาย รวมทั้งสิ้นถึง 1,900 คน จาก 28 สำนักงาน ใน 16 ประเทศ

แนวคิดการรวมกิจการ (merge) เข้าด้วยกันดังกล่าวเกิดจากการมองว่า ลูกความของแต่ละบริษัท ที่ออกไปลงทุนยังต่างประเทศทั่วโลกต้องการบริการที่ปรึกษากฎหมายในบริษัทเดียว ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาในระดับมาตรฐาน เดียวกันหรือใกล้เคียงทำให้ได้รับความสะดวกสบาย

ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จึงมีแนวคิดอยากจะมี office ที่ใหญ่ด้วยการเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่ปรึกษากฎหมายท้องถิ่น ที่มีทักษะ ข้อมูล และการจัดการที่สอดคล้องกัน จึงเกิดแนวคิด Alliance ขึ้นมา โดยทั้งหมดเริ่มเจรจากันมานานแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เนื่องจากติดขัดในเรื่องของวัฒนธรรมการบริหาร การคิดค่าธรรมเนียม ที่แตกต่างกัน คาดว่าภายใน 2-3 ปี ข้างหน้า จะสามารถรวมกันได้

ส่วนลิ้งค์เลเทอร์สในประเทศไทย เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม ปี 1998 โดยเน้นไป ที่บริการที่ปรึกษาด้านการเงินของธุรกิจการควบ และผนวกกิจการภาษี การฟื้นฟูกิจการ (รวมทั้งเรื่องการชำระหนี้สิน และการปรับโครงสร้างหนี้) การระดมทุนโครงการ และประเด็นเกี่ยวกับตลาดทุนระหว่างประเทศ บริการกฎหมายทั้งของไทย อัง กฤษ และอเมริกา

"เรามาเปิดสำนักงานเมื่อไทยเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจแล้ว โดยเปิดการทำธุรกิจที่ปรึกษากฎหมายในไทยด้วยแนวคิด Global Premier Law Firm คือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกฎหมายด้านตลาดทุนด้านแบงกิ้ง หรือ project finance และด้านภาษี" ธนาธิป พิเชษฐวณิชย์โชค พาร์ตเนอร์ลิ้งค์เลเทอร์ส ประจำประเทศไทยกล่าว

เขายังกล่าวต่อไปถึงการมองหาลูกค้าว่าจะมองเป็น transaction firm มากกว่าการให้คำปรึกษาเป็นครั้งคราว "คือ จะให้คำปรึกษาจบเป็นดีลๆไป เช่น ออกหุ้น กู้ ซื้อบริษัท ออกหลักทรัพย์ ร่วมทุน"

ที่ผ่านมาลิ้งค์เลเทอร์ส ได้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับบริษัทไทย ในการปรับโครงสร้างหนี้หลายราย อาทิ บริษัท ไทยออยล์, บมจ.เค.อาร์. พรีซิซัน (KPR), บมจ.ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น (TT&T) และบมจ.อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีกัลไทย (TPI)

ธนาธิปได้แสดงความเห็นถึงปัญหา ที่พบมากที่สุดในการเข้าไปให้คำปรึกษาในบริษัทคนไทยคือ วิธีการทำงาน "ส่วนหนึ่งคือ วัฒนธรรมคนไทยกับต่างชาติจะแตกต่างกัน" เนื่องจาก ที่ปรึกษากฎหมายบริษัทต่างชาติเวลาเข้าไป ทำงานค่อนข้างจะเป็นสากล "แต่บริษัทไทยเวลาทำงานอาจจะคลุมเครือ การสื่อสารอาจจะไม่ตรงกัน"

อีกสิ่งหนึ่ง คือ วิธีการเก็บรักษาเอกสารหรือว่าการที่บริษัทท้องถิ่นโดย เฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่สายตาคนข้างนอกมองว่า บริษัท เหล่านั้น มีการบริหารการจัดการระบบที่ดีในแง่ของการ centralize ข้อมูลเอกสาร โดยเฉพาะงาน ที่เกี่ยวข้องกับการที่บริษัทที่ปรึกษากฎหมายจะต้องเข้าไปตรวจสอบ

"บางครั้งกว่า ที่เราจะผ่านเข้าไปตรวจสอบเอกสาร โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะได้เอกสาร 1 ชุด ซึ่งไม่เข้าใจว่า ทำไมการขอดูเอกสารถึงต้องใช้เวลานานมาก จึงเกิดข้อสงสัยว่ามีการปกปิดข้อมูลหรือไม่" ธนาธิปบอก

นอกจากนี้ทนายความในสมัยก่อนหรือปัจจุบันทนายความ ที่เป็นคนไทยยังมีความคิดว่าถ้าเข้าไปเป็นที่ปรึกษากฎหมายแล้ว จะต้องเป็นศัตรูกับ ที่ปรึกษากฎหมาย ที่เป็นฝ่ายตรงข้าม " ซึ่งจริงๆ แล้วเรามองว่าคนสองคนตกลงกันแล้ว ในแง่ของกฎหมายหร ือสัญญา ที่จะทำให้สองฝ่ายสบายใจคือ หลักฐาน"

"คือ เราไม่ได้เข้าไปสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น เมื่อเขาตกลงกันแล้ว เราคือ ผู้ที่ทำให้สองฝ่ายสบายใจ เราพยายามหา solution ทางด้านกฎหมาย ข้อสัญญาให้คนสองคน ซึ่งก็ตกลงกันแล้วบรรลุวัตถุประสงค์"

เขายังกล่าวปิดท้ายว่า ในปัจจุบันโดยเฉพาะคนไทยมองบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติในแง่ลบบ้าง โดยเฉพาะประเด็นของการทำงานล่าช้า "แต่ก็ดีขึ้นกว่าในอดีตมาก"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us