กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ ฝ่ายวิจัย ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
คาดว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในปี 2545 จะขยายตัว 0.9% เมื่อเทียบกับ 1.6% ในปีก่อน
หากแนวโน้มราคาน้ำมันไม่ปรับเพิ่มขึ้นหรือทรงตัวในระดับเดิมได้ตลอดช่วงเวลาที่เหลือถึงสิ้นปี
อัตราเงินเฟ้อช่วงครึ่งปีแรก จากแนวโน้มคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ที่หลายๆ
สถาบันปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากการคาด การณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวแล้ว
ยังเนื่องมาจากความเชื่อมั่นในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ที่เติบโตจากภายในประเทศตามสัญญาณเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
สอด คล้องกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาสล่าสุด(Q1/2545) ที่สภาพัฒน์
ประกาศเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย โดยมีการเติบโตถึง 3.9% จากไตรมาสแรกปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคหรืออัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประจำไตรมาส
แรกปีนี้เพิ่มขึ้นเพียง 0.6%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยชะลอลงเมื่อเทียบกับอัตราเงิน เฟ้อเฉลี่ย 1.1%
ของไตรมาสก่อนหน้า ส่วนในไตรมาส 2 อัตราเงินเฟ้อยังคงชะลอลงต่อเนื่อง โดยมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง
0.2% (yoy)
จากหมวดอาหารที่หดตัวลง 0.2% จาก ที่ขยายตัว 0.3% ในไตรมาสก่อน สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากทางการไม่อนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาสินค้าในข่ายควบ
คุมของหมวดแต่อย่างใด
ส่วนหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มมีทิศทางชะลอตัวลง ทว่าการขยายตัวของดัชนีราคาสินค้าในหมวด
หลังนี้ยังสูงกว่าหมวดแรกเล็กน้อย โดยช่วง เวลาตั้งแต่ต้นปี ราคาสินค้าที่ปรับขึ้นมาตลอด
คือน้ำมันเชื้อเพลิงตามภาวะราคาน้ำมันดิบใน ตลาดโลกทั้งราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลหมุน
เร็ว เพิ่มมากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะชะลอลงเล็ก
น้อยช่วงต้นเดือนมิถุนายน ตามราคาน้ำมันโลก ซึ่งลดลงมากกว่าช่วงก่อนหน้า
สำหรับสินค้าอื่นที่ราคาปรับขึ้นเล็กน้อย (ทว่ายังอยู่ในระดับราคาเพดานของกรมการค้าภายใน)
เช่น
ของใช้บริโภคส่วนบุคคล ค่า บริการตรวจรักษา ก๊าซหุงต้มขนาดเล็ก รวม ทั้งราคาวัสดุก่อสร้าง
เช่น ปูนซีเมนต์ที่ราคาเพิ่มแม้จะเป็นสินค้าควบคุม เนื่องจากความ
ต้องการปลูกสร้างใหม่และซ่อมแซมในภาคธุรกิจก่อสร้าง ผนวกกับมาตรการภาครัฐเร่งกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน
รวมทั้งโครงการ ก่อสร้างภาครัฐซึ่งมีเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้มีการปรับขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า รวมทั้งอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์
โดยสรุปแล้วการขยายตัวของเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 2545
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียง 0.4% เป็นผลของการขยายตัวของราคา สินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม
0.6% และหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพียง 0.1%
ทำนองเดียวกับดัชนีด้านต้นทุนสินค้าหรือดัชนีราคาผู้ผลิตที่เริ่มเคลื่อนไหวในอัตราชะลอลงมาตั้งแต่ต้นปี
โดยดัชนีสินค้าหมวดเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงตามราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดที่อ่อนตัวมากโดยเฉพาะราคาผลไม้
เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ดัชนีราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมราคาปรับลดลง-เพิ่มบ้างในบางเดือน เพราะตลาดมีการแข่งขันสูง
รวมทั้งภาวะการส่งออกผันผวน ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น รวม
ทั้งราคาทองคำที่สูงขึ้นตามภาวะตลาดโลก ส่วนดัชนีหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองหดตัวตั้งแต่ต้นปี
เนื่องจากสินค้าบางประเภทดัชนีราคาลดลงตามราคาตลาดต่างประเทศ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ดีบุก
เป็นต้น แม้ดัชนีราคาทั้งในส่วนผู้บริโภคและผู้ผลิตจะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง
กล่าวคือ มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นและชะลอลงตามสถาน การณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก
แต่ดัชนีราคา โดยรวมทั้ง 2
ด้านยังอยู่ในระดับต่ำ ทว่าไม่ต่ำมากจนส่งผลให้เกิดการชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ
เนื่องจาก
ครัวเรือนยังมีกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ช่วยเสริมการจับจ่ายใช้สอยตามการว่างงานที่ลดลง
ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นทางด้านการผลิตและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเมื่อพิจารณา
ตามสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นของ เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม
พบว่า ดัชนีการอุปโภค บริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้น 4.5% จากเดือนเดียวกันปีก่อน
โดยองค์ประกอบเพิ่มขึ้นทั้งหมด อาทิ ยอดขายจักรยานยนต์ รถยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภคนำ
เข้า รวมทั้งยอดค้าปลีก สอดคล้องกับภาษีมูลค่า เพิ่มและภาษีสรรพสามิตที่ภาครัฐจัดเก็บได้สูงขึ้น
ทางด้านดัชนีความเชื่อมั่นของนักธุรกิจปรับขึ้นเหนือระดับปกติ(50.0)ต่อเนื่องเป็นเดือนที่
3 ทั้งด้านการลงทุน การผลิตและการ จ้างงาน โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น
14.2%
ตามยอดขายปูนซีเมนต์ที่ เพิ่มตามการลงทุนภาคก่อสร้าง มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน
ตลอดจนยอดผลิตและส่งออกรถยนต์ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 8.4%
แม้ระดับการใช้กำลังการผลิตจะยังไม่เต็มกำลังแต่มีทิศทางการขยายตัวขึ้นอยู่
ที่ 59.1% เทียบกับช่วงต้นปีที่ 55.6% ผู้ผลิตจึงยังไม่ปรับเพิ่มราคาสินค้าบริการอย่างรวด
เร็วเช่นช่วงก่อนที่เศรษฐกิจเคยขยายตัวสูง เพราะอาจบั่นทอนภาวะการอุปโภคบริโภคซึ่ง
เพิ่งเริ่มขยายตัวดีขึ้นให้ชะงักหรือกลับชะลอลง การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี
2545 ของ สถาบันต่างๆ
ราคาน้ำมันโลกที่ปรับขึ้นเป็นลำดับในช่วงครึ่งปีแรก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สถาบันวิเคราะห์ต่างๆ
ทั้งภายในและต่างประเทศ ปรับเปลี่ยนคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นระยะๆ
เนื่องจากหวั่นเกรงภาวะต้นทุนเพิ่มจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจน กระทบภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจให้ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวยาวนานขึ้น
อย่างไรก็ตาม
หลังจากทางการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อรายเดือนตั้งแต่ต้นปี ทำให้หน่วยงานต่างๆ
ล้วนปรับลดคาดการณ์ระดับเงินเฟ้อเป็นระยะ
ตั้งแต่หน่วยงานภาครัฐซึ่งดูแลระดับราคาภายในประเทศหรือกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์มีการปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อลง
จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อ ปลายปี 2544 ในอัตรา 1.8-2.0%
โดยทยอย ปรับลงในช่วงเดือนเมษายนมาอยู่ที่ 1.4-1.7% และทบทวนใหม่เป็น 1.5%
ราวเดือนพฤษภาคม ลดคาดการณ์อีกครั้งในเดือนมิถุนายนมา อยู่ในช่วง 1.0-1.5%
ล่าสุดคาดว่าทั้งปี 2545
อัตราเงินเฟ้อจะทั่วไปขยายตัวไม่เกิน 1.0% ตามราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นจากนโยบาย
ภาครัฐในการพยุงราคาสินค้า แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับลดลง ทว่าค่าเงิน
บาทเริ่มมีเสถียรภาพดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้ามาก ในทำนองเดียวกัน สภาพัฒน์ฯ
ปรับลดลงจาก 2.0% เมื่อธันวาคมปีก่อน เหลือ 1.6% ในไตรมาส 1/2545 และประเมินครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนเหลือ
1.3% กรณีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังปรับลดอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์เป็น
1.0% ตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมทั้งปีที่คาดว่าจะขยายตัวได้ถึง
3.7%
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ปรับลดอัตราเงินเฟ้อทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
(core inflation) ลง พร้อมไปกับการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(ในกรอบนโยบาย เป้าหมายเงินเฟ้อช่วง 0-3.5%) ส่วนผลสำรวจ ประจำไตรมาสของสถาบันต่างประเทศในเรื่อง
นี้โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters Poll) คาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อขยายตัวลดลงจาก
2.7% เมื่อครั้งสำรวจ เดือนมีนาคมปีก่อน เหลือ 1.4% ในมีนาคมปีนี้ และล่าสุด
ผลสำรวจพบว่ามีแนวโน้มขยายตัว 1.2% สำหรับ IMF คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐ-กิจไทยสูงขึ้นกว่าเดิม
ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนหนึ่งคืออัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวอยู่ในระดับต่ำเพียง
0.6% ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการ ผลิตสินค้า คือ แนวโน้มราคาน้ำมัน
ซึ่งหากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงมากย่อมเป็นอุปสรรค ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ภายใต้สถาน การณ์ของกลุ่มประเทศโอเปกตกลงจำกัดเพดานการผลิตไว้ที่ 21.7 ล้านบาร์เรล/วัน
เพื่อ
ผลักดันราคาน้ำมันดิบให้สูงขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านๆ มา จะเห็นว่าไม่สามารถควบคุมปริมาณ
การผลิตและส่งออกของประเทศนอกกลุ่มได้ อย่างทั่วถึง เพราะประเทศอื่นนอกกลุ่ม
ย่อมมีวัตถุประสงค์เดียวกันที่ต้องการเสริมสร้างราย ได้หลักจากการส่งออกน้ำมัน
ดังนั้นแม้จะมีการประเมินถึงแนวโน้มความต้องการบริโภค น้ำมันโลกเฉลี่ยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่ง
หลังของปี
โดยกลุ่มโอเปกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากวันละ 2.3 แสนบาร์เรลในไตรมาส 3 เป็น
1 ล้านบาร์เรลในไตรมาส 4 ประเทศอุตสาห-กรรมชาติตะวันตกคาดว่าเพิ่มจาก 4 แสนบาร์เรลเป็น
1.1-1.6 ล้านบาร์เรล
ขณะที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ของ สหรัฐฯ คาดว่าเพิ่มจาก 9.2
แสนบาร์เรลเป็น 1.4 ล้านบาร์เรลนั้น แต่คาดว่าแนวโน้มการผลิตน้ำมันของประเทศนอกกลุ่ม
เช่น รัสเซีย นอร์เวย์ เม็กซิโก
ตลอดจนเวเนซุเอลา ย่อมเป็นลักษณะเพิ่มการผลิตเพื่อการส่งออกมาก ขึ้นเพื่อการสร้างรายได้
ดังนั้น แนวโน้มราคาน้ำมันในครึ่งปีหลังไม่น่าจะสูงกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี
แม้ว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมีความต้อง การใช้น้ำมันที่เพิ่มตามฤดูกาลอยู่บ้างในระยะสั้นๆ
รวมทั้งความไม่น่าไว้วางใจในสถานการณ์ความไม่สงบในแถบตะวันออกกลางจะยังคงมีอยู่ก็ตาม
แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่นและอาเซียน
ยังเป็นองค์ประกอบทางอ้อมในการ เปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อในประเทศอีก ประการหนึ่ง
หากแนวโน้มการขยายตัวของประเทศคู่ค้าหลักอยู่ในระดับต่ำหรือมีข้อจำกัดจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อไม่ให้ขยายตัวมาก
โดยเฉพาะแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ
อาจต้องใช้ระยะเวลาเนิ่นนานขึ้นกว่าที่คาด เนื่องจากประสบหลายปัญหา เช่น
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัว ขณะที่การบริโภคยังคงเกินตัวจนเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก
ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากความไม่มั่นใจของนักลงทุนที่มีต่อภาคธุรกิจ
รวมทั้งภาวะการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับยุโรปและอาเซียนคาดว่าเศรษฐ-กิจจะขยายตัวได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม
ภูมิภาค ยุโรปเองบางประเทศยังประสบปัญหาขีดจำกัดในการเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
รวมทั้งมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม ขณะที่อาเซียน กำลังอยู่ใน
ระหว่างการฟื้นตัว
ความสามารถในการซึมซับการนำเข้าจากประเทศอื่นๆ จึงยังไม่เต็มที่ ส่วนญี่ปุ่น
เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะซบเซาและรอการฟื้นตัว ซึ่งเมื่อพิจารณาโดย รวมแล้ว
จะเห็นว่าปัจจัยข้างต้นนี้อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มรายได้ประชากรหรือครัวเรือนของไทยที่จะชะลอลงตามการส่งออกที่ชะลอตัว
เพราะอุปสงค์ในประเทศคู่ค้า ลดลงตามรายได้
ราคาสินค้าในประเทศจึงไม่อาจปรับขึ้นท่ามกลางอุปสงค์ที่ทรงตัวในระดับต่ำ
ในส่วนของต้นทุนค่าไฟฟ้า คาดว่าจะไม่ ส่งผลต่อเงินเฟ้อหรือกระทบภาคครัวเรือนแต่อย่างใด
เนื่องจากค่าเอฟที (Ft)
ในช่วงไตรมาส 3 จะคงระดับเดียวกับช่วงก่อนหน้า เพราะการผลิตไฟฟ้าและน้ำมัน
เตาในประเทศมีเพิ่มขึ้นประกอบกับการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านลดลง
รวมทั้งมีการปรับลดการลงทุนในกิจการทั้ง 3 แห่งของการ ไฟฟ้าลงแล้ว ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นภาระหนี้ของการไฟฟ้าจึงบรรเทาลง
ทั้งนี้ คาดว่าค่า Ft ในระยะต่อไปคือช่วง
ไตรมาสสุดท้ายของปีจะปรับลดลง เพราะค่า เงินบาทแนวโน้มมีเสถียรภาพตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ส่วนแนวคิดการลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มของสำนักงานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(สพช.)
ตั้งแต่กลาง ปี 2545 หรือเริ่มในเดือนกรกฎาคมนั้น เป็นช่วงที่ทางการคาดว่าเหมาะสม
เนื่องจากเป็นฤดูกาลที่ราคาก๊าซไม่สูงนัก ทว่าฝ่ายวิจัย
มีความเห็นว่าการลอยตัวของราคาก๊าซสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคเสมอ
เนื่องจากราคาก๊าซและต้นทุนผู้ค้าย่อมแปรผันตามสถานการณ์ราคา ก๊าซในตลาดโลก
แม้ว่าจะยังคงเป็นสินค้าที่อยู่ ในข่ายการดูแลจากทางการก็ตาม ในส่วนของกำลังซื้อของประชากรที่เพิ่ม
ขึ้นบ้างตามภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน จะไม่ผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มมาก
แม้
จะมีปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนที่คาด ว่าจะเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นจาก
แนวนโยบายของภาครัฐในการพยุงและประกันราคา ประกอบกับภาวะความแห้งแล้ง ของปรากฏการณ์
เอล นิโญอาจส่งผลให้ราคาสินค้าบริการในประเทศเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม
ยังมีปัจจัยลดทอนให้ราคา สินค้าและบริการปรับลดลงได้ จากการไหลเข้า
ของสินค้าเกษตรจากต่างประเทศตามพันธะเงื่อนไขการเปิดเสรีสินค้าเกษตรของ
WTO ตลอดจนการลดอัตราภาษีของสินค้าอุตสาห-กรรมภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียนของอาฟตา
ในส่วนของปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญที่ยังคงเอื้อให้เงินเฟ้อเคลื่อนไหวในระดับต่ำได้คือ
อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระดับต่ำของต่างประเทศไม่ส่งผลกดดันกระแสเงินทุนหรือภาระหนี้ต่างประเทศมากนัก
รวมทั้งค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ สำหรับแนวคิดการรุกฟื้น
เศรษฐกิจจากอุปสงค์ในประเทศของทางการคงไม่กระทบต่อราคาสินค้าบริการเกินควร
เนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตแม้จะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังสามารถใช้ขยายการผลิตได้อีกมาก
ส่วนกรณีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) เป็น 10% จากเดิม 7 % ซึ่งจะครบกำหนดเมื่อสิ้นไตรมาส
3 นี้นั้น ฝ่ายวิจัยเห็นว่าควรชะลอหรือยืดระยะเวลาการปรับขึ้น VAT
ออกไปอีกเพื่อช่วยสนับสนุนบรรยากาศการใช้จ่ายในประเทศ และเพิ่มรายรับของภาครัฐจากการขยายปริมาณธุรกรรมทางเศรษฐกิจ
(แทนที่จะเพิ่ม อัตราภาษี) ได้ในระดับหนึ่ง
เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปสามารถดำเนิน ไปได้ด้วยดี ดังนั้น
หากแนวโน้มราคาน้ำมันไม่ปรับเพิ่มขึ้นหรือทรงตัวในระดับเดิมได้ตลอดช่วง เวลาที่เหลือถึงสิ้นปี
ราคาสินค้าและบริการใน
ประเทศคงจะยังไม่ได้รับผลจากปัจจัยใด มากนักทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ภายใต้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
เพื่อตอบสนองการ
กระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐผ่านการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สภาวะในภาพรวมจึงไม่น่ามีปัจจัยสำคัญที่จะกดดันให้ อัตราเงินเฟ้อในประเทศปรับตัวสูงขึ้นได้เท่าใดนัก
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อปี 2545 จะขยายตัวได้ 0.9% เทียบกับ 1.6% ในปีก่อน สำหรับข้อวิตกกังวลอีกทิศทางหนึ่งที่ว่า
อาจเกิดภาวะเงินไม่เฟ้อ (disinflation) หรือ ราคาสินค้ามีระดับลดต่ำลงมาก
จนเป็นผลให้ เศรษฐกิจไทยอาจมีแนวโน้มหดตัว เนื่องจาก ประชาชนชะลอการใช้จ่ายในปัจจุบัน
เพื่อรอซื้อสินค้าราคาถูกกว่าในอนาคตดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในบางประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นและฮ่องกงนั้น
เหตุการณ์เช่นนี้มีโอกาสเกิด ขึ้นได้น้อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งครัวเรือนทั่วไปโดยเฉลี่ยมีการจับจ่ายใช้สอยในลักษณะค่อนข้างประหยัดอยู่แล้ว
การจะชะลอการใช้จ่ายลงอีกนับว่ากระทำได้ยาก
แต่อาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับสินค้าบางกลุ่ม บางประเภท เช่น สินค้าที่มีการเก็บสต๊อก
ไว้ มากหรือสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การผลิตอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
นอกจากนั้น
ในกรณีของประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้วในระยะก่อนหน้านี้ รวมทั้งประเทศไทย
ราคาอสังหา- ริมทรัพย์ได้ปรับตัวลดลงมาจากจุดที่เคยขึ้นไปสูงสุดได้มากพอสมควรแล้ว
จึงเป็นไปได้ยากที่ราคาอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวลดลงจากระดับปัจจุบันอีกจนเป็นสาเหตุให้ประเทศเกิดภาวะเงินฝืดดังกล่าว
สรุป อัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวระดับไม่สูงนักใน ปีปัจจุบัน
นับว่ามีส่วนผลักดันให้เกิดการขยายตัวของการบริโภคได้พอสมควร โดยเฉพาะภาคครัวเรือนทั่วไปที่แม้จะมีรายได้รวม
เพิ่มจากระดับรายได้เดิมไม่มากนัก ก็อาจขยายการใช้จ่ายได้
ภายใต้อัตราดอกเบี้ยทั้งด้านเงินออมและเงินกู้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อผนวกกับมาตรการต่างๆ
ของภาครัฐทั้งภาคการเงินการคลังที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนเพื่อมุ่งขยายการบริโภคให้สูงขึ้น
จึงนับว่ามีศักยภาพที่จะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม
ทว่าผลกระทบอีกด้านหนึ่งจากอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำที่ควรให้ความระมัดระวังบ้าง
เนื่อง
จากอาจก่อให้เกิดการนำรายได้ในอนาคต (future income)มาใช้บริโภคในปัจจุบันมาก
เกินไป (over demand) อย่างฉับพลัน จะกดดันให้ระดับราคาปรับเพิ่มขึ้นหากการผลิต
ไม่สามารถเพิ่มขึ้นอย่างทันท่วงที หรือรองรับปริมาณความต้องการได้อย่างพอเพียง
อย่างไรก็ตาม ระดับราคาที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจของแต่ละประเทศนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายๆ
ประการ
อัตราเงินเฟ้อระดับหนึ่งอาจดูสูงเกินไปสำหรับประเทศหนึ่ง แต่ในทางตรงข้าม
อาจเหมาะสมแล้วกับประเทศหนึ่ง หรืออาจต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับอีกประเทศหนึ่ง
สำหรับประเทศไทย
อัตราเงินเฟ้อที่ประมาณการไว้ 0.9% ในปี 2545 น่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ที่จะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องนับจากนี้