"ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม" ประธานแกรมมี่ ประกาศแยกกลุ่มธุรกิจมีเดียออกจากจีเอ็มเอ็มแกรมมี่
โดยให้เอไทม์ มีเดีย เข้าซื้อ กิจการบริษัทมีเดียในเครือ เพื่อแต่งตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ปลายปีนี้
โดยใช้ชื่อใหม่ว่า "จีเอ็มเอ็ม มีเดีย" หวังระดมทุนเพื่อขอรับสัมปทานธุรกิจวิทยุ
และโทรทัศน์จากกสช. เผยหากขยายธุรกิจภาพยนตร์และอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ก็จะนำบริษัทเข้าตลาดอีกเช่นเดียวกัน
นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด
(มหาชน) เปิดเผยว่า แกรมมี่อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อแยกกลุ่มธุรกิจมีเดียออกจากจีเอ็มเอ็มแกรมมี่
โดยจะให้บริษัท เอไทม์
มีเดีย จำกัด ซึงเป็นผู้ดำเนิน ธุรกิจวิทยุ เข้าซื้อกิจการของบริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม
แกรมมี่ ที่ ทำธุรกิจด้านมีเดียเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ บริษัทที่ประกอบกิจการด้านสื่อโทรทัศน์
ประกอบด้วย แกรมมี่เทเลวิชั่น,
เอ็กแซ็กท์ ซึ่งเป็นผู้ผลิต รายการละคร, แมสมอนิเตอร์ ผู้ผลิตรายการเกมโชว์,
ทีนทอล์ก ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์,เลมอนกราส โปรดักชั่นส์,เวอร์เทกซ์ วิชั่น
ส่วนบริษัททางด้านสื่อวิทยุ ประกอบด้วย เรดิโอ
คอนเซ็ปต์", มาสเตอร์ แพลน , แกรมมี่ ไดเร็คท์ และสื่อสิ่งพิมพ์ คือ
บริษัท อิมเมจ พับลิชชิ่ง ซึ่งทำธุรกิจนิตยสารอิมเมจ และสำนักพิมพ์อิมเมจ
เป็นต้น ซึ่งหลังจากซื้อกิจการเรียบ ร้อยแล้ว
ก็จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเข้า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ แต่จะใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย
จำกัด (มหาชน) โดยมีจีเอ็ม เอ็ม
แกรมมี่ถือหุ้น 80% และอีก 20% จะกระจายให้แก่ประชาชนทั่วไป คาดว่าจะเข้าตลาดได้ภายใน
ปลายปีนี้ นายไพบูลย์ กล่าวว่า การนำกลุ่มธุรกิจมีเดียเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
ในครั้งนี้
เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีเดียของ แกรมมี่ มีผลกำไรและสามารถเลี้ยงตัวเองได้แล้ว
โดยปี 2544 ธุรกิจมีเดียมีรายได้เกือบ 1,000 ล้าน บาท
และมีแนวโน้มว่าสัดส่วนรายได้ที่มาจากธุรกิจมีเดียจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งการเติบโตและการ
บริหารงานของธุรกิจมีเดียในปัจจุบันก็ไม่เกี่ยวพันธ์กับธุรกิจเพลงมากนัก
ในขณะที่ธุรกิจเพลงซึ่งมีเพลงที่เป็นลิขสิทธิ์นับหมื่นเพลง นับเป็นมูลค่ามหาศาล
ที่ทางบริษัทก็ไม่อยากให้มูลค่าใน ส่วนนี้ต้องปะปนอยู่กับธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเพลง
และที่สำคัญก็คือ
เป็นการสร้างความชัดเจนในการทำธุรกิจให้แก่นักลงทุน ที่รู้ว่ากำลังลงทุนทำธุรกิจอะไร
สำหรับการนำธุรกิจมีเดียเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในครั้งนี้
เนื่องจากเป็นการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
หรือกสช. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยบริษัทจะนำเงินที่ระดมเงินทุนได้มาใช้ในการ ขอรับสัมปทานกิจการวิทยุและโทรทัศน์จากกสช.
ทั้งในการขอรับสัมปทานคลื่นวิทยุ และการบริหาร สถานีโทรทัศน์ ซึ่งเชื่อว่าบริษัทมีความพร้อมทั้งเงินทุน
ศักยภาพ และความเชี่ยวชาญในธุรกิจทั้งสองประเภทเป็นอย่างดี "การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯยังส่งผลดีต่อบริษัท
ที่นอกจากจะเป็นการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจแล้ว ยังช่วยให้บริษัทได้รับการลด
หย่อนภาษีลงจากเดิมที่จะต้องเสียภาษีปีละ 30% เป็น 20% และบริษัทกำลังเจรจาเพื่อจะขอให้ลดอัตราการเสียภาษีลงเหลือ
15% ซึ่งหากคิดเฉพาะส่วนต่างที่ลดลงจากการได้รับการลดหย่อน
อัตราการจัดเก็บภาษีเพียง 10% จะทำให้บริษัทประหยัดเงินส่วนนี้ไปได้ 20-30
ล้านบาทต่อปี" นอกเหนือจากธุรกิจมีเดียแล้ว แกรมมี่ยังมี แผนที่จะนำธุรกิจกลุ่มอื่นเข้าตลาดหลักทรัพย์หาก
กิจการขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ธุรกิจภาพยนตร์ ซึ่ง ปัจจุบันแกรมมี่มีภาพยนตร์อยู่ในมือประมาณ
10 เรื่อง และยังได้หับ โห้ หิ้น
เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรในการผลิตภาพยนตร์ป้อนให้แกรมมี่เพียงค่ายเดียวอีกด้วย
ซึ่งหากในอนาคตธุรกิจภาพยนตร์ของแกรมมี่ขยายตัวก็มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์เช่นเดียวกับเอไทม์
มีเดีย รวมทั้งธุรกิจอินเทอร์เน็ต ที่มี บริษัท อีโอ ทูเดย์ ดอทคอม เป็นผู้บริหาร
โดยคาดว่าในปีนี้จะมีกำไรจากธุรกิจอินเทอร์เน็ตประมาณ 15-20 ล้านบาท นายไพบูลย์
กล่าวอีกว่า ปีนี้นับได้ว่าเป็นปี ทองของแกรมมี่ในด้านผลการดำเนินงาน เนื่องจากผลกำไรของ
บริษัท
จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ในช่วง ไตรมาสแรกของปีนี้ เท่ากับกำไรของปี 2544 ตลอดทั้งปี
และกำไรในช่วงไตรมาสที่สองก็ยังเพิ่มขึ้น และคาดว่าไตรมาสที่สามก็จะมีกำไรเป็น
ที่น่าพอใจเช่นเดียวกัน
ซึ่งผลกำไรที่เพิ่มขึ้นนี้เป็น ผลมาจากการที่แกรมมี่ได้ลดราคาซีดีและวีซีดีลง
เหลือแผ่นละ 155 บาทเมื่อกลางปี 2544 ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
จนปัจจุบันสัดส่วนการขายซีดีและวีซีดี
คิดเป็นสัดส่วน 60% และเทปมีเพียง 40% จากที่ก่อหน้านี้การขายซีดีและวีซีดี
มีสัดส่วนเพียง 10% ส่วนเทปมีถึง 90% "การที่ยอดขายซีดีและวีซีดีเพิ่มขึ้นส่งผลให้
บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น เพราะการขายซีดี
วีซีดี จะได้กำไรดีกว่าการขายเทป" นอกจากนี้ ผลกำไรที่มากขึ้นเป็นผลมาจากการลดการขาดทุนของบริษัท
จีเอ็มเอ็ม 8866 จำกัด ในไต้หวัน จากปีก่อนที่มียอดขาดทุนสะสม 200 ล้านบาท
ในปีนี้คาดว่าจะมีกำไร ส่วนบริษัทอีโอ ทูเดย์ ก็คาดว่าจะมีกำไร 15-20 ล้านบาท
การปิดบริษัทที่ไม่ทำกำไร และการที่เศษฐกิจ โดยรวมของประเทศดีขึ้นส่งผลให้อัตราการลงโฆษณาในรายการวิทยุของเอไทม์มีเดีย เติบโต 20% ส่วนโฆษณาในรายการโทรทัศน์ของแกรมมี่ก็เติบโตขึ้น 10% จึงทำให้ปีนี้ถือเป็นปีที่ดีที่สุดของแกรมมี่