Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน31 กรกฎาคม 2545
Stock Options......ดาบสองคม บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.




เหตุการณ์อื้อฉาวทั้งกรณีของบริษัทเอนรอน (Enron Corp)ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจพลังงานยักษ์ใหญ่และบริษัทเวิลด์คอม (WorldCom Inc) ซึ่ง

เป็นบริษัทที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมและข้อมูลทางไกลใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐ และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายใหญ่ของโลก ที่เคยมีพนักงานกว่า 85,000

คนและให้บริการใน 65 ประเทศทั่วโลก ได้ก่อให้เกิดประเด็นคำถามต่างๆ ตามมาในสหรัฐฯเกี่ยว กับมาตรฐานและความเชื่อถือได้ของตัวเลขทางบัญชี ตลอดจนมูลเหตุที่นำไปสู่การตกแต่งบัญชี

ซึ่งประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจมาก คือเรื่องของ Stock Options หรือสิทธิ์ที่บริษัทซึ่งเป็นนายจ้างมอบให้กับพนักงานในการซื้อหุ้นของบริษัทด้วยราคาที่กำหนดไว้ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะต่ำ

กว่าราคาตลาดมาก ทั้งนี้เพื่อเป็นรางวัลจูงใจในการทำงานของพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของบริษัทที่มักจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าเงินจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม

สืบเนื่องจากหลายกรณีเกี่ยว กับการตกแต่งบัญชีที่ได้เกิดขึ้นรวมทั้งกรณีของเวิลด์คอมนี้ ได้ทำให้ในสหรัฐฯขณะนี้ เรื่องของ Stock Options จึงกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิด

ข้อพิจารณากันอย่างกว้างขวาง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกร ไทย ขอสรุปการวิเคราะห์ไว้เป็น 2 ประเด็น คือ 1. ปัจจุบันในสหรัฐฯ Stock Options ได้

กลายเป็นรางวัลหรือสิ่งจูงใจที่มีผลอย่างมากต่อพนักงานบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานในระดับเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งมักได้รับ Stock Options ในปริมาณมากๆ เพราะนั่นหมายถึงกำไร

มหาศาลจากหุ้นของบริษัทที่ตนเองถืออยู่ หาก ราคาหุ้นนั้นสูงทะยานขึ้น ดังนั้นในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ก็จะต้องพยายามบริหารบริษัทให้มีผลการดำเนินงานดีที่สุด

มีตัวเลขทางบัญชีที่สวยงาม มีผลกำไรสูงสุด เพื่อ ให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ได้มีเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบางคน พยายามตกแต่งบัญชี โดยการบิดเบือนข้อมูลตัวเลข

ด้วยการปิดบังค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่ แท้จริง เพื่อให้งบการเงินดูสวยงามกว่าความเป็นจริง จนกลายเป็นประเด็นว่าเสน่ห์ของ Stock Options กลับกลายเป็นดาบสองคม

และได้มีส่วนทำให้เกิดแรงจูงใจในการตกแต่งและบิดเบือนตัวเลขทางบัญชีของบริษัท เพราะหากราคาหุ้นของบริษัทในตลาดซึ่งอิงอยู่กับตัวเลขผลประกอบการของบริษัทยิ่งสูงขึ้นมาก เท่าไร

เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้นั้นก็จะสามารถทำกำไรจาก Stock Options ที่ได้รับได้มากเท่านั้น 2. จากแนวปฏิบัติในปัจจุบัน บริษัทในสหรัฐฯส่วนใหญ่ยังถือว่า Stock Options ที่ให้ กับพนักงาน

ไม่ได้เป็นรายการต้นทุนค่าใช้จ่าย ต่างกับค่าจ้าง เงินเดือน หรือโบนัส ทั้งนี้ปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายให้บริษัทต้องบันทึก Stock Options เป็นต้นทุนค่าใช้จ่าย

ดังนั้นรายการดังกล่าวจึงมักไม่ถูกนำ มาหักจากรายรับบริษัท ส่งผลให้ตัวเลขกำไรของ บริษัทดูดีกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทใหญ่ๆหลายแห่งในสหรัฐฯ ที่มักจะมีขนาด ของ Stock

Options ที่ให้กับพนักงานในปริมาณ ที่ค่อนข้างมาก ซึ่งหากนำมานับเป็นรายจ่ายก็จะกระทบผลกำไรของบริษัทไม่น้อยเลย อย่าง ไรก็ตาม หลังจากกรณีอื้อฉาวของบริษัทใหญ่ๆในสหรัฐฯ

อย่างเอนรอนและเวิลด์คอม ขณะนี้ ได้มีเสียงเรียกร้องในสหรัฐฯให้ทางการมีการปฏิรูปกฎระเบียบเกี่ยวกับการลงบัญชี ประเด็น หนึ่งคือการให้นับ Stock Options เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัท

ซึ่งล่าสุดก็ปรากฏว่ามีบางบริษัทในสหรัฐฯ อาทิ บริษัท โคคา โคล่า ได้สมัครใจนำเอารายการ Stock Options มาบันทึกเป็นต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการส่งเสริม มาตรฐานทางบัญชี

ขณะเดียวกันในส่วนของรัฐ ก็คาดว่าจะมีกฎระเบียบใหม่ๆที่เกี่ยวกับ Stock Options ออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด

หลักทรัพย์ของสหรัฐฯก็ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นบริษัทสามารถมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง เกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้Stock Optionsของบริษัทที่ให้กับเจ้าหน้าที่บริหาร

ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายที่สำคัญ อำพรางบัญชี โยงใยซับซ้อน....ยิ่งสาวยิ่งบานปลาย ดังได้กล่าวมาแล้วว่าความอื้อฉาวในพฤติกรรมฉ้อฉลของธุรกิจในสหรัฐฯ

ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่บริษัทผู้ประกอบธุรกิจทำการบิดเบือนตัวเลขผลการดำเนินงานที่แท้จริงเท่านั้น แต่บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีก็มักมีส่วนรู้เห็นหรือร่วมกันกระทำการอำพรางตัวเลขทางบัญชีด้วย

ดังเช่นกรณีของบริษัทเอนรอนและผู้ตรวจสอบบัญชีคือ อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่นที่ได้ร่วมรับชะตากรรมไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เหตุการณ์ทำ ท่าว่าจะไม่จำกัดขอบเขตอยู่เพียงเท่านี้ เนื่องจาก

ขณะนี้จากการสืบสวนของทางการก็พบว่ามีการโยงใยธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ 2 แห่ง คือ Citigroup และ J.P. Morgan Chase

ซึ่งได้ถูกกล่าวหาว่าได้มีการอำพรางเงินที่ปล่อยกู้ให้เอนรอนจำนวน 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 1992-2001 โดยได้ช่วยเอนรอนบิดเบือน

บัญชีว่าเป็นรายได้จากการทำธุรกิจค้าน้ำมันและก๊าซกับบริษัทหุ่นที่ตั้งขึ้นในต่างประเทศในลักษณะ Offshore Companies เพื่องานนี้โดยเฉพาะ โดยบันทึกบัญชีเป็นการชำระค่าสินค้า ล่วงหน้า หรือ

Prepays ทำให้ยอดเงินจำนวน นี้ไม่ปรากฏเป็นหนี้สินในงบการเงินของเอนรอน วิธีการนี้ ทั้ง 2 ธนาคารได้ทำธุรกรรมเงินกู้แบบซ่อนเร้นให้เอนรอนด้วยการแลกกับอัตราดอกเบี้ย

และค่าธรรมเนียมบริการที่สูงมาก ด้วยวิธีการ นี้ได้ทำให้ยอดหนี้ของเอนรอนที่ปรากฏในปี 2000 ต่ำกว่าที่เป็นจริงไป 40% คือมีประมาณ 10 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แทนที่จะเป็น 14

พันล้านเหรียญสหรัฐ และทำให้รายรับจากการดำเนินธุรกิจสูงเกินความจริงไป 47% คือมีจำนวน 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แทนที่จะมีเพียง 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นการสืบ

สวนยังพบว่าทั้งสองธนาคารมิได้ให้บริการแบบนี้ (ซึ่งได้สมญาว่า ENRON-Style Prepays) เพียง เฉพาะให้เอนรอนเท่านั้น แต่ยังให้บริการกับบริษัทอื่นๆอีกรวมกว่า 10 บริษัท คือ Citigroup

ให้บริการแบบนี้กับอีก 3 บริษัทเป็นอย่างน้อย ใน ขณะที่ J.P. Morgan Chase ให้กับอีก 7 บริษัท ซึ่งทางธนาคารก็แก้ตัวว่า ไม่รู้ว่าเอนรอนจะไปลง บัญชีเงินกู้ด้วยวิธีใด และเอนรอนก็ยังบอกว่าเป็น

วิธีการที่ถูกต้องแล้ว เพราะผู้ตรวจสอบบัญชีคือ อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น ก็รับรองเห็นชอบด้วย

เนื่องจากการอำพรางธุรกรรมด้วยวิธีการที่ซับซ้อนและการตกแต่งตัวเลขผลประกอบการเป็นจำนวนเงินมากมายขนาดนี้ คงเป็นไปได้ยาก

ที่บริษัทผู้ประกอบธุรกิจจะทำได้ตามลำพังโดยไม่ได้รับความร่วมมือหรือมีส่วนรู้เห็นด้วยจากบุคคลหรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี หรือคู่ค้า/ คู่กรณีทางธุรกิจฯลฯ ดังนั้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมีความวิตกว่า หากทางการสหรัฐฯมีการสืบสาวเพิ่มเติมในกรณีอื่นๆ นอกเหนือไปจากคดีของเอนรอน ก็อาจจะพบการโยงใยที่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ

รวมทั้งการเกี่ยวโยงกับนักการเมืองในสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ ทั้งคดีของเอนรอนจนมาถึงกรณีของเวิลด์คอม นอกจากจะได้นำไปสู่วิกฤติศรัทธาในวงการธุรกิจสหรัฐฯแล้ว

ยังเป็นชนวนนำไปสู่ประเด็นทางการเมืองในสหรัฐฯด้วย เมื่อได้มีความพยายามโยงใยผู้บริหารในคณะรัฐบาลว่ามีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลเมื่อครั้งอดีตสมัยที่เป็นผู้บริหารอยู่ในบริษัทธุรกิจเอกชน

ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งถูกตั้งข้อสงสัยในกรณีที่ได้เคยขายหุ้นบริษัทน้ำมันที่ชื่อว่า Harken Energy Corp. เป็นจำนวนมากในช่วงที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทนี้

ก่อนที่บริษัทจะ แจ้งผลดำเนินการขาดทุนที่ยังผลให้ราคาหุ้นในตลาดร่วงลง มิหนำซ้ำประธานาธิบดีบุชยังรายงานการขายหุ้นต่อก.ล.ต.ของสหรัฐฯช้าไป 8 เดือน หรือแม้แต่กรณีของรองประธานาธิบดี

นายดิค เชนีย์ สมัยที่เป็นผู้บริหารของบริษัทธุรกิจ น้ำมัน Halliburton Co.

ซึ่งบริษัทนี้ปัจจุบันกำลังถูกตรวจสอบจากก.ล.ต.สหรัฐฯในข้อหาตกแต่งตัวเลขทางบัญชีในช่วงที่นายเชนีย์ดำรงตำแหน่งผู้บริหารบริษัท ดังนั้น ในขณะนี้ประธานาธิบดีบุชจึงมีความ

วิตกกับปัญหาวิกฤติศรัทธาของธุรกิจสหรัฐฯเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะได้สร้างความเสียหายต่อวงการธุรกิจสหรัฐฯแล้ว ยังอาจส่งผล

กระทบทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้

ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้ปรากฏว่ามีความพยายามที่จะโยงใยนักการเมืองในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน กับกรณีฉ้อฉลทางธุรกิจในสมัยที่เคยดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บริหารในบริษัทเอกชนดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น

เมื่อเร็วๆ นี้ประธานาธิบดีบุชจึงได้ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนด้วยท่าทีแข็งกร้าวเอาจริงเอาจัง ในการผลักดันการปฏิรูปการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นที่

บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจเพื่อที่จะเรียกศรัทธาจากประชาชนอเมริกันกลับมาให้ได้

และได้ขอให้สภาคองเกรสเร่งรัดการพิจารณาออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินธุรกิจและระบบบัญชีของสหรัฐฯ ตลอดจนการเพิ่มโทษผู้บริหารบริษัทที่มีพฤติกรรมฉ้อฉล

ทั้งนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us