23 มีนาคม 2543
เอเชี่ยน วอลล์สตรีท เจอร์นัล (AWSJ) หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ที่พิมพ์ในเอเชีย
แต่ถือหุ้นโดย DowJones แห่งสหรัฐฯ ซึ่งเสนอข่าว ทีพีไออย่างต่อเนื่องมาตลอด
(อ่านเพิ่ม จาก "ผู้ จัดการ" ฉบับเดือนเมษายน 2543)
- บมจ.อุตสาหกรรมไทยปิโตรเคมีกัลไทย (ทีพีไอ) เสนอแผนการปรับโครงสร้างกิจการใหม่ให้กับเจ้าหนี้
นับเป็นการดิ้นรนเฮือกสุดท้าย ที่จะป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้เข้าควบคุมกิจการบริษัท
ในเอกสาร ที่จะเสนอให้กับเจ้าหนี้วันนี้ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ก่อตั้ง
และผู้บริหารสูงสุดของทีพีไอเสนอให้เจ้าหนี้ จัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจขึ้นมา
โดยอาจให้บริษัทด้านการบัญชีรtหว่างประเทศ ที่อยู่ในกลุ่ม "Big Five" เป็นผู้บริหารกิจการ
และทีมผู้บริหารชุดปัจจุบันของทีพีไอจะเป็นผู้บริหารบริษัทในระหว่าง ที่มีการปรับโครงสร้างกิจการ
AWSJ รายงานว่าเจ้าหนี้รายใหญ่ 5 รายของทีพีไอเสนอชื่อเอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์สให้เป็นผู้จัดทำ
และบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้ทั้ง 5 ก็ยังถือครองมูลหนี้ร่วมกันไม่ถึงสองในสามของมูลหนี้ทั้งหมด
สัดส่วนการถือครองมูลหนี้ดังกล่าวจะเป ็นคะแนนเสียงในการชนะคะแนนเลือกตัวผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ
ดังนั้น เจ้าหนี้ทั้ง 5 จึงกำลังหาเจ้าหนี้สนับสนุนเพิ่มเติม ตามข้อเสนอของประชัย
บริษัทเฉพาะกิจจะ "ให้อำนาจ อย่างจำกัด" แก่ผู้บริหารชุดปัจจุบันของทีพีไอ
โดยให้สามารถบริหารกิจการ ต่อไปได้ แต่จะมีอำนาจร่วมกันในการเซ็นเช็ค และให้มีการตรวจสอบเงินสดหมุนเวียนของบริษัทได้อย่างอิสระ
รวมถึงการจัดทำรายงานความคืบหน้าประจำเดือนส่งมอบให้กับศาลล้มละลายกลาง และฝ่ายเจ้าหนี้ด้วย
ฝ่ายบริหารของทีพีไอกล่าวว่าบริษัทจะต้องต่อสู้กับ "ความอ่อนล้า" ของเจ้าหนี้
ที่จะเปิดการเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งประชัย
และเจ้าหนี้ประสบความล้มเหลวในการเจรจาในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยประชัยมองว่าฝ่ายเจ้าหนี้
ยื่นเงื่อนไข ที่เข้มงวดเกินไป เขาต้องการให้เจ้าหนี้ยอมให้ทีพีไอระดมทุนเพิ่มก่อน
ที่เขาจะลงนามรับแผนการฟื้นฟูกิจการ แ ต่ฝ่ายเจ้าหนี้ปฏิเสธ
"เราหวังว่าเจ้าหนี้จะพิจารณาว่าสำนึกในเชิงธุรกิจ และความเป็นมืออาชีพนั้น
สำคัญกว่าความรู้สึกส่วนตัว" วิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของทีพีไอให้ความเห็น
แผนฟื้นฟูกิจการใหม่นี้จะอิงอยู่กับแผนฟื้นฟูกิจการที่มีอยู่เดิมเป็นหลัก
เพียงแต่จะขอแก้ไขในเรื่องแนวทางการระดมทุนในอนาคต "เราไม่ได้ขอให้เจ้าหนี้
เริ่มต้นเจรจาใหม่ทั้งหมด แต่ขอให้ตกลงในเรื่อง ที่ยังค้างคากันอยู่" วิวัฒน์
เสริม
ทีพีไอเชื่อว่าข้อเสนอของตนมีสิ่งที่ฝ่ายเจ้าหนี้สนใจคือ การที่ไม่ต้องรับผิดชอบ
การบริหารกิจการด้านปิโตรเคมีใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการคงผู้บริห
ารชุดเดิมไว้จะทำให้เจ้าหนี้มีโอกาสมีรายได้จากการดำเนินการสูงสุด และเป็นวิธีการเร็วที่สุด
ที่จะได้รับชำระหนี้คืน
ส่วนเอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์ส กลับคัดค้านข้อคิดเห็นดังกล่าว แอน โทนี นอร์แมน
กรรมการผู้จัดการของเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สได้อ้าง เอกสารผลประกอบการประจำปี
1999 ที่ทีพีไอส่งให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งแสดงว่ากิจการมีรายได้เพิ่มจาก
46 พันล้านบาท ในปี 1998 เป็น 56 พัน ล้านบาท แต่ผลกำไรก่อนชำระดอกเบี้ยก่อนหักภาษีแลtหักค่าเสื่อมราคา
กลับลดลงอยู่ ที่ 5 พันล้านบาทจาก 9 พันล้านบาท
"เจ้าหนี้จะต้องเลือกระหว่างทีมบริหารชุดหนึ่ง ที่ยังไม่เคยชำระหนี้กับทีมบริหาร
อีกชุดหนึ่ง ที่ยังไม่ได้ รับการทดสอบแต่เชื่อมั่นว่าสามารถทำได้" นอร์แมนกล่าว
"เราผ่านขั้นตอนการเจรจาไปแล้ว นี่เป็นเรื่องจุดยืนของเจ้าหนี้ และ ดูเหมือนว่าจะยังไม่ได้รับการยอมรับจากทีพีไอ"
นอกจากนี้เอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์ส จะแต่งตั้งแบรี่ เมอร์ฟี่ อดีตกรรมการผู้จัดการของคาลเท็กซ์
ออยล์ ออสเตรเลีย เข้ารับช่วงการบริหารของทีพีไอ หากได้รับเลือกจากฝ่ายเจ้าหนี้
นอร์แมนกล่าวว่าจะขอความร่วมมือจากประชัย และทีมงานด้วย แต่หากไม่ได้รับความร่วมมือทีมของเขาก็ยังบริหารงานได้
แต่ฝ่ายผู้บริหารของทีพีไอก็ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถตามคำอ้างของเอ็ฟเฟ็คทิฟ
แพลน เนอร์สเช่นกัน
31 มีนาคม 2543
เอเชียวีค นิตยส ารรายสัปดาห์ ที่พิมพ์ในเอเชีย โดย TIME INC แห่งสหรัฐฯ
เป็นเจ้าของ
พาดหัวเชิงคำถามว่า "เกมธุรกิจถึงบทจบ ทีพีไอล้มละลาย?" เนื้อหาย้อนไปก่อน
ที่ค่าเงินบาทจะถูกโจมตีในเดือนกรกฎาคม 1997 เพียงไม่ถึงสองเดือนครึ่ง ประชัย
เลี่ยวไพรัตน์ ประธาน กรรมการทีพีไอเคยประกาศอย่างมั่นใจ ว่า บริษัทของเขากำลังเดินหน้าไปด้วยดี
โดยมีแผนการสร้างโรงกลั่นขนาด 300,000 บาร์เรลในไทย และกำลังเจรจากับบริษัทในอิ
นเดียเรื่องการผลิตเหล็กลูกปราย การผลิตเหล็กกล้าในไทย และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอีกหลากหลายชนิดในจีน
และออสเตรเลีย
แต่ทั้งหมดได้กลายเป็นเพียงความทรงจำ เมื่อทีพีไอกลับกลายเป็นกิจการล้มละลาย
และปร ะชัยได้เผชิญกับวันเวลาแห่งความปวดเศียรเวียนเกล้า
เอเชียวีคบอกว่า กรณีทีพีไอนับเป็นมาตรวัดการเปลี่ยนแปลงของไทยอย่างหนึ่ง
และเป็นกรณี ที่ต้องมองในแง่ดี เมื่อบริษัทขนาดใหญ่อันดับ 9 ของประเทศเมื่อนับจากยอดขายล้มละลายโดยเฉพาะในหมู่นักลงทุน
ผู้ปล่อยกู้ และ ใครก็ตาม ที่คิดว่าประเทศไทยจะต้องมีระบบ ที่เชื่อถือได้สำหรับกรณีการล้มละลาย
"คำตัดสินของศาลเป็นการส่งสัญญาณ ที่ชัด เจนให้บรรดาลูกหนี้ทั้งหลาย" โคโรนา
ลิม (Corona Lim) นักวิเคราะห์แห่งเอชเอสบีซี ซีเคียวริตี้ส์ เอเชีย (HSBC
Securities Asia) ประจำฮ่องกงบอก "ถ้าหากคุณไม่มาเจรจากัน ที่ โต๊ะ เราจะเอาคุณขึ้นศาล
และศา ลก็ไม่จำเป็นต้องเข้าข้างลูกหนี้ด้วย"
ก่อนวิกฤติการเงินไม่เคยมีสัญญาณทำนองนี้มาก่อน แต่ในวันนี้คำตัดสินของศาลในกรณีทีพีไอ
ซึ่งสั่งให้ประชัยไม่มีอำนาจบริหารกิจการอีก เป็นการย้ำว่าไทยกำลังจะจัดการกับผู้ที่ไม่ชำระหนี้
ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก "ข้อมูล เป็นตัวบังคับว่ากระบวนการจัดการกับปัญหาหนี้สินกำลังคืบหน้าไปด้วยดี
เกินกว่า ที่ฝ่ายทีพีไอจะรู้" โดนัลสัน ฮาร์ตแมน (Donaldson Hartman) ผู้
ช่วยหัวหน้าส่วนวิจัยซาโลมอน สมิธ บาร์นี (Salomon Smith Barney) กล่าว เขาบอกว่ายังมีอีกนับพันกรณี
ที่ธนาคารในไทยกำลังจะนำลูกหนี้ขึ้นศาล ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าพิศวงเมื่อเปรียบเทียบ
กับจำนวนเพียงหยิบมือ ที่น่าจะถูกฟ้องในช่วง ที่ผ่านมา
ศาลล้มละลายกลางเพิ่งตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว โดยเป็นการ สนับสนุนระบบศาล
ที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ ที่ยุ่งยาก และซับซ้อน โดยก่อนหน้ากรณีทีพีไ
อ คดีฟ้องล้มละลายกิจการ บมจ.อัลฟาเทค อิเล็คโทรนิคส์ก็เป็นคดี ที่โด่งดังที่สุดของไทยไปเมื่อปี
1998 แต่สิ่งที่ทำให้ กรณีทีพีไอแตกต่างไปก็คือ มูลหนี้ ที่สูง 3.5 พันล้านดอลลาร์
และการที่ประชัยตอบโต้อย่างแข็งกร้าวต่อกลุ่มเจ้าหนี้ ทั้งใน และต่างประเทศ
ที่มีรวมกันถึง 148 ราย โดยมีธนาคารกรุงเทพเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่
เอเชียวีคตั้งประเด็นคำถามว่า บรรดานักลงทุน และผู้ปล่อยสินเชื่อต่างประเทศนั้น
มองค วามก้าวหน้าของการปฏิรูปในไทยอย่างไร ในเมื่อดัชนีตลาดหุ้นของไทยร่วงลงตลอดเก้าเดือนที่ผ่านมา
โดยลดลงราว 25% ในช่วง กลางปี 1999 ในขณะที่ตลาดอื่นในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ที่เป็นเช่นนี้ส่วน หนึ่งก็เพราะนักลงทุนต่างมีความรู้สึกว่าการปฏิรูปเป็นเพียงคำพูด
ที่ไม่มีการปฏิบัติจริง ทว่ากรณีกิจการทีพีไอของประชัยอาจเปลี่ยนความรู้สึกดังกล่าวได้
ความเป็นมาของทีพีไอ และการเสียหน้าจึงเป็นคำอธิบายได้ว่า เหตุใดประชัยจึงไม่ทุกข์ร้อนง่ายๆ
กับความอับอายขายหน้าของการล้มละลาย เขาต่อสู้กับเจ้าหนี้มานานกว่าสองปี
โดยบริษัทพักการชำระหนี้มาตั้งแต่เดือน สิงหาคม ปี 1997 ทั้งยังประกาศว่าจะไม่ชำระหนี
้ จนทำให้กรณีทีพีไอถูกจัด อยู่ในกลุ่ม ที่เรียกว่า "เงินกู้ ที่ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในเชิงยุทธศาสตร์"
(Strategic NPLs)
ประชัยยืนกรานว่า บริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้แต่จะไม่ชำระ เพราะเขาไม่เชื่
อว่าผู้กู้จะต้องรับภาระจากแรงกดดัน ที่ค่าเงินบาทตกอย่างฮวบฮาบ จนส่งผลให้เงินกู้สกุลดอลลาร์ทะยานตัวจนเกินจะชำระคืนได้
ทั้งนี้ใน ช่วงต้นปี 1998 เงินกู้ 1 ดอลลาร์ จะต้องชำระคืนด้วยเงินบาทเกินกว่าสองเ
ท่าตัวของค่าเงินในช่วงเจ็ดเดือนก่อนหน้า
ด้วยเหตุนี้ลูกหนี้ของไทยบางรายจึงมักคอยหลบเลี่ยงการชำระหนี้ และแม้จะมีความสามารถชำระแล้วก็ไม่ยอมจ่าย
ส่วนธนาคารไทย ซึ่งย่ำแย่อยู่แล้วก็ทรุดลงไปอีก ทำให้ธนาคารไม่สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้
ขณะเดียวกัน กิจการธุรกิจ ที่มีขีดความสามารถก็ไม่สามารถหาแหล่งเงินทุนได้
การออกกฎหมายในเดือนมิถุนายน จึงมีความมุ่งหมาย ที่จะพลิกสถานการณ์ดังกล่าว
แต่คนมีชื่อเสียงในสังคมอย่างประชัยก็ดูเหมือน่ไม่ยี่หระกับกฎหมายดังกล่าว
เขาให้สัญญาซ้ำๆ ว่าจะเจรจา เพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการกับเจ้าหนี้ และบอกปัดในนาทีสุดท้าย
โดยอ้างว่าฝ่ายเจ้าหนี้เรียกร้องมากเกินไป
"ประชัยไ ม่ให้ความร่วมมือใดๆ ทั้งสิ้น" นักวิเคราะห์ธนาคารต่างประเทศ คนหนึ่งกล่าว
"เขาใช้ท่าทีแบบไม่เป็นมิตร และมุ่งโจมตี" (hostile and belligerent) เมื่อเจ้าหนี้เหนื่อยหน่ายกับการหน่วงเหนี่ยวจึงหันไปหาศาลล้มละลายกลาง
ส่วนประเด็นทั่ว่าทีพีไอล้มละลายจริงหรือไม่ ประชัยแย้งว่าสินทรัพย์ ของบริษัทมีมูลค่าสูงกว่าหนี้สินถึง
749 ล้านดอลลาร์ ณ ปลายเดือน กันยายน 1999 แต่ศาลไม่รับพิจารณาเอกสารดังกล่าว
เนื่องจากไม่มีการลงนามรับรองโดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ
ในท้ายที่สุด การปฏิเสธ ที่จะชำระหนี้ก็ย้อนกลับไปเล่นงานประชัยเอง เมื่อศาล
สั่งให้ทีพีไอล้มละลายเนื่องจากไม่สามารถชำระหนี้ได้ และสั่งให้เปลี่ยนตัวผู้บริหารโดยภายในหนึ่งถึงสองเดือน
ฝ่ายเจ้าหนี้จะต้องโหวตตัวผู้จัดทำแผน และดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งคาดกันว่า
"เอ็ฟเฟ็คทิฟ แพ ลนเนอร์ส" จะได้รับเสนอจากเจ้าหนี้หลักคือ ธนาคารกรุงเทพ
ลิมกล่าวว่า เมื่อมองย้อนกลับไปแล้วเรื่องทั้งหมด "เป็นเรื่อง ที่ผิดปกติมากทีเดียวสำหรับไทย
ไม่คิดว่าจะมีกรณี ที่ต่อสู้กันดุเดือดขนาดนี้อีกแล้ว แล้วเสริมว่า "ประหลาดใจ
ที่มันเป็นกรณี ที่สู้กันหนักมาก ทั้ง ที่น่า จะเจรจาตกลงกันได้ก่อนหน้านี้"
แต่กรณีทีพีไอก็ไม่ได้หมายความว่า ภารกิจทั้งหลายลุล่วงไปแล้ว การปรับ โครงสร้างหนี้
ที่ไม่ก่อรายได้ไม่ใช่เรื่องเดียวกับการเก็บเงินฝาก "ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก
เพื่อลดจำนวนของหนี้เอ็นพีแอลลงให้อยู่ในระดับ ที่จัดการได้" ม.ร.ว.จัตุมงคล
โสณกุล ผู้ว่าการธปท. กล่าว และหากการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพพอ "ก็จะมีปัญหาเอ็นพีแอลใหม่ๆ
เกิดตามมาอีก"
อย่างไรก็ตาม การกดดันให้ลูกหนี้ชำระหนี้เท่า ที่สามารถชำระได้หรือไม่ก็มอบกิจการให้ผู้อื่นบริหารนับเป็นเครื่องมือ
ที่ใช้ได้ผล กระบวนการของศาลล้มละลายกลาง ที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ธนาคารมีความแข็งแกร่งขึ้น
พอ ที่จะปล่อยสินเชื่อได้อีก ประชัยเคยท้าว่าประเทศไทยไม่มีทางเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
โชคยังดี ที่ดูเหมือนว่าเขาจะคิดผิด
19 เมษายน 2543
AWSJ - "เจ้าหนี้ทีพีไอตัดสินใจเลือกผู้บริหารกิจการ "ความไม่ไว้วางใจ ระหว่างฝ่ายผู้กู้กับฝ่ายผู้ให้กู้ทำให้ปัญหาทางการเงินของทีพีไอกลายเป็นกรณีการสะสางหนี้สิน
ที่มีปัญหามากที่สุด กรณีหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
ประธานกรรมการ และผู้ถือหุ้นใหญ่ของทีพีไอจะรู้ ผลในวันนี้ว่าปัญหาดังกล่าวจะทำให้เขาต้องสูญเสียตำแหน่งการบริหารกิจการหรือไม่
ประชัยเจรจากับเจ้าหนี้กว่า 140 ราย ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ 3,500
ล้านดอลลาร์ของทีพีไอมาเป็นเวลากว่า 2 ปีครึ่งแล้ว โดยทีพีไอต้องเสียค่าธรรมเนียมทนายความ
บัญชี และ ที่ปรึกษา รวมถึงเกือบ 10 ล้าน ดอลลาร์ และผลที่ได้รับก็คือ การถูกฟ้องกลับ
และการเผชิญหน้า รวมทั้งบทเรียนสำคัญในเรื่องวัฒนธรรมทางธุรกิจ ที่แตกต่างกันระหว่างตะวันออก
และตะวันตก
การเจรจาสะสางหนี้ของทีพีไอต้องล้มเลิกไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ หลังจาก ที่ประชัยขัดขวางแผนปรับโครงสร้าง
ที่ร่วมเจรจากันมาอย่างเหน็ดเหนื่อย ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้เจ้าหนี้ตัดสินใจฟ้องร้องต่อศาลล้มละลายกลาง
เมื่อเดือนที่แล้ว ศาลได้ตัดสินให้ทีพีไอมีสภาพล้มละลาย และสั่งให้ดำเนินการปรับโครงสร้างทางการเงินต่อไป
ทั้งนี้เจ้าหนี้ของท ีพีไอจะตัดสินใจในวันนี้ว่าใครจะเป็น ผู้จัดทำแผน และบริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
เมื่อพิจารณาหนี้จำนวนมหาศาลของทีพีไอแล้ว ความคืบหน้าในการแก้ปัญหา จึงเป็นข่าวดีสำหรับไทย
แต่ตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการย่อมถือเป็น ผู้บริหารกิจการบริษัทด้วย
หมายความว่า กิจการอุตสาหกรรม ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง ของไทย และเป็นกิจการด้านปิโตรเคมีแบบครบวงจรเพียงแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กำลังจะตกไปอยู่ในมือของ นักการเงินต่างประเทศ
"มองว่าเรื่องทั้งหมดนี้เศร้ามาก มันไม่ควรจบอย่างนี้" เทอรี โรบินสัน
(Terry Robinson) แห่งธนาคารเชสแมนฮัตตัน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในด้านการปรับโครงสร้างกิจการทีพีไอกล่าว
"งานนี้ไม่มีใครชนะ"
ประเด็นดังกล่าวยิ่งเห็นเด่นชัดขึ้นจากการเลือกผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ
ซึ่งฝ่ายเจ้าหนี้นำโดยเจ้าหนี้กลุ่ม ที่ใหญ่ที่สุดได้เสนอชื่อเอ็ฟเฟ็ คทิฟ
แพลน เนอร์ส ขณะที่ประชัยก็กำลังขอเสียงสนับสนุนให้กับทีพีไอ แพลนเนอร์ เพื่อรับผิดชอบการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการโดยร่วมมือกับเอิร์นส์
แอนด์ ยัง (Earnst & Young) ซึ่งเป็นบริษัทบัญชีในกลุ่ม "B ig Five"
ดังนั้น เจ้าหนี้จึงต้องตัดสินใจเลือกระหว่างบริษัท ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร
แต่ขาดประสบการณ์ขั้น ต้นในกิจการแบบทีพีไอกับบริษัท ที่จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือกันแต่ยังไม่ผ่านการทดสอบ
ซึ่งเจ้าหนี้บางรายเกรง ว่าจะเป็นบริษัท ที่อยู่ฝ่ายเดียวกับประชัย 8br>
ความกังวลใจของฝ่ายเจ้าหนี้เกี่ยวกับทางเลือก ที่สองนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหา
ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทำให้การเจรจาล้มเหลว ดัง ที่โรบินสัน ให้ความเห็นว่า
"ไม่มีใครไว้วางใจใคร" ส่วนแอนโทนี นอร์แมน กรรมการผู้จัดการเอ็ฟเฟ็คทิฟ
แพลนเนอร์ส มีความเห็นทำนองเดียวกัน "คุณประชัยคิดว่าเจ้าหนี้กำลังพยายามแย่งบริษัทของเขาไป"
และว่า "เจ้าหนี้ ไม่ไว้วางใจว่าคุณประชัยจะใช้หนี้"
ต้นตอของปัญหาเกิดจากมุมมอง ที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับบุคลิกภาพของประชัย รวมทั้งแนวทางการทำธุรกิจ
ที่บางครั้งก็มีผลในทางลบ ผู้ที่ชื่นชมประชัยอย่างเช่น ไซริล อลัพพั ท (Cyril
Alappat) ที่ปรึกษากรรมการบริษัททีพีไอ เห็นว่าประชัยเป็นยักษ์ใหญ่รายหนึ่งในอุตสาหกรรมของไทย
กล่าวคือ เป็นวิศวกร ที่ทุ่มทุนลงไปในเทคโนโลยีล้ำสมัย และมีโรงงานระดับมาตรฐาน
โลก ที่มีพนักงานนับพันคน "ในท้ายที่สุดแล้ว คนเหล่านี้คือ คนที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ"
แต่นักการเงินตะวันตกกลับมองว่า ประชัยเป็นคนหัวรั้น ที่คอยสร้างปัญหา
ที่ไม่อาจยกโทษให้ได้ อีกทั้งเป็นคู่เจรจา ที่เอา แต่หลบเลี่ยง ข้าราชการระดับสูง"องไทยรายหนึ่งบอกว่า
ประชัยคุ้นเคยแต่การทำตามใจตัว และเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำนั้น ถูกต้อง นักธุรกิจชาวยุโรปผู้หนึ่งกล่าวว่า
ประชัยเป็นคนที่ "ไม่ยอมให้ใครมาขวาง และเป็นคนที่ยอมหักไม่ยอมงอ"
แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชัยกับเจ้าหนี้ในขณนี้จะย่ำแย่อย่างหนัก แต่ก็ใช่ว่า
ที่ผ่านมาจะเป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับจาก ที่ทีพีไอประกาศพักการชำระหนี้ในเดือนสิงหาคม
ปี 1997
การเจรจากับเจ้าหนี้ในช่วงแรก "เป็นไปอย่างมืออาชีพ และมีเหตุผล" สตีเฟน
มิลเลอร์ (Steven Miller) ทนายความของจอห์นสัน สโตคส์ แอนด์ มาส เตอร์ ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการของเจ้าหนี้กล่าว
ส่วนทีพีไอได้ว่าจ้างเชส แมนฮัตตันเป็นที่ปรึกษา และได้เรียกประชุมเจ้าหนี้
เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินของบริษัท และเมื่อเดือนธันวาคม 1997
ทีพีไอ และเชส แมน ฮัตตันได้เสนอร่างแผนฟื้นฟูกิจการระยะ 7 ปี ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่พอใจกับแผนฟื้นฟูกิจการฉบับร่างเท่าไรนัก
แต่ก็นับว่าเป็นฐานสำหรับการเจรจาต่อมา
หนึ่งปีต่อมา ผู้บริหารหลายร้อยคนทั้งจากฝ่ายเจ้าหนี้ และทีพีไอก็เข้าร่วมประชุม
เพื่อโหวตแ ผนฟื้นฟูกิจการฉบับร่าง ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึก มีความหวัง
"เรารู้สึกสบายใจกับแผนฟื้นฟู รวมทั้งข้อตกลงต่างๆ" มิลเลอร์ กล่าว หลังจากนั้น
อีกสองเดือนทีพีไอ และ เจ้าหนี้ก็ลงนามในข้อตกลงหนา 70 หน ้า ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นความหวัง
ที่เป็นไปได้
ตามข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งระบุระยะเวลาในการฟื้นฟูกิจการ 5 ปี โดยที่ทีพีไอจะชำระเงินต้นจำนวน
700 ล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปี 2003 โดยเป็น เงินจากการขายสินทรัพย์เป็นมูลค่า
200 ล้านดอลลาร์ และเงินสดหมุนเวียน ขณะเดียวกันเจ้าหนี้จะแปลงหนี้ดอกเบี้ย
300 ล้านดอลลาร์ ที่ยังไม่ได้ ชำระเป็นหุ้น 30% ของทีพีไอ ส่งผลให้สัดส่วนการถือครองหุ้นกิจการทีพีไอ
ที่ประชั ย และครอบครัวเคยถืออยู่ 58% ลดลงมาอยู่ ที่ 41% ทั้งนี้ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดอยู่
แต่ฝ่าย เจ้าหนี้ก็มีโอกาส ที่จะเข้าควบคุมกิจการได้ หากทีพีไอไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
โดยหากทีพีไอผิดสัญญา เจ้าหนี้ก็จะออกหุ้นกู้แปลงสภาพ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือครองกิจการ
เป็น 75% และส่งผลให้ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ มีหุ้นกิจการเหลือเพียง 11%
ฝ่ายเจ้าหนี้ได้ร้องเรียนว่าทีพีไอเพิ่งลดการอัดฉีดเงินสดหมุนเวียน ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าแผนฟื้นฟูกิจการจะต้องรวมถึงการแปลงหนี้เป็นทุนเมื่อเดือนสิงหาคม
1998 แต่การแปลงหุ้นก็ส่งผลให้มูลค่าของหนี้ลดลงโดยการกำหนดราคาหุ้น ที่เจ้าหนี้จะได้ไว้สูงกว่าราคาหุ้น
ที่มีอยู่เดิม
นอกจากนั้น เจ้าหนี้ต่างตกใจเมื่อรู้จากบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส
(PricewaterhouseCoopers) ซึ่งตรวจสอบพบว่ามีการถ่ายโอนเงินสดจำนวนมากจากทีพีไอไปยังบริษัทอื่นๆ
หลังจากนั้น เจ้าหนี้ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ ที่จัดได้ว่าเป็น "การสู้รบแบบกองโจร"
กับทีพีไออีกนาน 6 เดือน ในการเปลี่ยนข้อตกลงฉบับร่างให้เป็นสัญญาเต็มรูป
"ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลงเรื่อยๆ ใ นระหว่าง ที่มีการเจรจา"
นอร์แมนแห่งเฟอริเอร์ ฮอดจ์สันกล่าว "ความวุ่นวายทั้งหมดเกิดจากเรื่องของความไม่ไว้วางใจกัน"
ทีพีไอเองก็รู้สึกเช่นเดียวกัน และมองข้อตกลงฉบับร่างว่าปกป้องฝ่าย เจ้าหนี้โ
ดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการผิดสัญญาไว้หลายต่อหลายแห่ง ที่สำคัญที่สุดก็คือ
เจ้าหนี้ปฏิเสธ ที่จะดำเนินการสะสางหนี้ค้างชำระ ในปี 2003 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดของแผนฟื้นฟูกิจการระยะ
5 ปี แต่หากทีพีไอไม่ส ามารถระดมเงินทุนใหม่ได้หลังจาก ที่บรรลุ ข้อตกลงอื่นๆ
ทั้งหมดแล้ว ก็ให้ถือว่า ทีพีไอทำผิดสัญญา "ตอนหลังผมมาคิดเรื่องนี้ แล้วมีคำถามว่า
คุณต้องการเงิน คืนหรือว่าต้องการบริษัทของผมกันแน่" ประชัยพูดถึงข้อเรียกร้องต่างๆ
ของฝ่ายเจ้าหนี้
ประชัยเชื่อว่าวิธีเดียว ที่จะปกป้องทีพีไอได้ คือ ระดมทุนใหม่ และเมื่อตลาดหุ้น
ฟื้นตัวขึ้นในกลางปีที่แล้ว พร้อมกับการกระเตื้องขึ้นของอุตสาห กรรมปิโตรเคมี
ประชัยก็มองเห็นลู่ทางในเดือนสิงหาคม บล.เมอร์ริล ลินช์ ภัทร และ บล.เจเอฟ
ธนาคมได้แนะนำให้ทีพีไอระดมทุนจำนวน 1,000 ล้านดอลลาร์ ภายในต้นปี 2000 ซึ่งทีพีไอ
เชื่อว่าการซื้อคืนหุ้นในราคาลด จะไปตัดหนี้สินได ้ราว 1.2-1.3 พันล้านดอลลาร์
ทีพีไอเรียกประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว และขอเพิ่มราย ละเอียดแนบท้ายในแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของแผนการเพิ่มทุน
ทีพีไอต้องการหาผู้ลงทุนรายใหม่โดยกำจัดหุ้นก ู้แปลงสภาพของเจ้าหนี้ และเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการผิดสัญญา
ทีพีไอสัญญาว่ารายละเอียดแนบท้ายนี้จะมี ผลก็ต่อเมื่อบริษัทสามารถเพิ่มทุน
1,000 ล้านดอลลาร์ได้สำเร็จ ในชั้นแรก ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ให้ความสนใจ "เสียงตอบรับของเจ้าหนี้ก็คือ
เราไม่ต้องการฟังเรื่องนี้ เราคิดว่าคุณกำลังดึงเรื่องไว้" วิวัฒน์ วิฑูรย์เธียร
ประธานเจ้าหน้าที่ ด้านการลงทุนทีพีไอบอก "นั่นเป็นจุดเปลี่ยน ที่สำคัญ"
ความสัมพันธ์ ของทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว โดยในเดือนธันวาคมหลังจาก
ที่ทีพีไอประกาศพักชำระหนี้ได้ 28 เดือน เจ้าหนี้ของทีพีไอได้ยื่นคำขาดให้ประชัยลงนามในแผนฟื้นฟูกิจการ
มิฉะนั้น จะได้รับการตอบโต้ ทางกฎหมาย วันที่ 17 มกราคม ประชัยตกลงยื่นแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาล
เพื่อให้ดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการร่วมกันโดยรวมถึงเงื่อนไขในเรื่อง การระดมทุนเพิ่มด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายมีเวลาเพียงหนึ่งเดือนใ นการเจรจาเงื่อนไข ต่างๆ
ก่อน ที่ศาลจะนัดฟังการไต่สวน การเจรจาในเรื่องการเพิ่มทุนเป็นไปอย่างเร่งรีบ
และโดยทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ซึ่งทำให้มีความคืบหน้าไปมาก แต่เนื่องจากเวลา
ที่จำกัด การคาดหวังว่าเจ้าหนี้กว่า 140 รายจะบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายตามแผนก่อน
ที่ศาล ล้มละลายจะดำเนินการไต่สวนคดี จึงเป็นเรื่อง ที่ "คิดตื้นๆ" ผู้บริหารรายหนึ่งจากฝ่ายเจ้าหี้ให้ความเห็น
ตลอดหนึ่งเดือนหลังจาก ที่เจ้าหนี้เป็นฝ่ายชนะคดี ประชัยมีแนวโน้มประนีประนอมมากขึ้นในเรื่องการโหวตเลือกผู้จัดทำแผนฟื้นฟูฯ
ที่จะมีขึ้นในวันนี้ แต่ทีพีไอก็ยังคงกล่าวหาเจ้าหนี้รายใหญ่ว่าพยายาม ที่จะ
"ทำลายทีพีไอ" ด้าน เจ้าหนี้เองก็มีท่าทีตอบโต้กลับเช่นกัน "หากมองการเจรจาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงตอนนี้"
กรรมการรายหนึ่งของฝ่ายเจ้าหนี้กล่าว "เราไม่มั่นใจเลยว่าทีพีไอจะยินดีหรือมีความสามารถ
ที่จะดำเนินการ เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทุกฝ่าย"
20 เมษายน 2543
AWSJ - เจ้าหนี้ทีพีไอโหวตเลือกผู้จัดทำแผนสางหนี้" เจ้าหนี้ของทีพีไอชนะฝ่ายบริหารของบริษัท
โดยลงมติเลือกบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสะสางหนี้สินจากต่างประเทศเข้าดูแลกิจการบริษัท
และปรับโครงสร้างหนี้สินราว 3.5 พันล้านดอลลาร์
ศาลล้มละลายกลางจะประกาศแต่งตั้งเอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์ส เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ
ซึ่งเป็นกิจการที่มีการผิดชำระหนี้สูงที่สุดของไทย การลงมติเป็นการยุติการเจรจาต่อรอง
ที่ยุ่งยาก และต่างฝ่ายต่างไม่พอใจ ซึ่ง กัน และกัน ที่ยืดเยื้อมากว่า 30
เดือน โดยประเด็นเริ่มมาตั้งแต่การแก้ ปัญหาหนี้สินของทีพีไอ และเมื่อการเจรจาล้มเลิกไป
ประเด็นจึงอยู่ ที่ว่า ใครฟื้นฟูกิจการจะเป็นผู้ที่บริหารกิจการด้วย
เอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์สได้รับคะแนนโหวตจากฝ่ายเจ้าหนี้ ซึ่งถือครองสัดส่วนของหนี้รวม
73.03% ในที่ประชุม จึงนับเป็นคะแนนถึงสองในสามตาม ที่กำหนดไว้ว่าเป็นสัดส่วน
ที่ถือว่าชนะ "ทีพีไอ แพลนเนอร์" ด้านเจ้าหนี้ รายใหญ่ ก็โล่งอกกับผลการโหวตเช่นกัน
เพราะก่อนหน้าที่จะประกาศผลคะแนนนั้น มีการพูดกันว่าผลจะออกมาในอีกทางหนึ่ง
"เราดีใจ และคิดว่าสิ่งนี้ จะเป็นตัวเร่งให้มีการปรับโครงสร้างอย่างรวดเร็ว
และทันเวลา" สตีเฟน มิล เลอร์ ทนายความแห่งจอห์นสัน สโตคส์ แอนด์ มาสเตอร์
ซึ่งเป็นผู้ปร ะสานงาน และดำเนินการเจรจาในนามของฝ่ายเจ้าหนี้กล่าว
ทั้งนี้เอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์ส มีความมั่นใจว่า จะหาทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
และด้านปิโตรเคมีเข้ามา บริหารกิจการของทีพีไอได้ทันที ที่ศาลประกาศแต่งตั้ง
แอนโทนี่ นอร์แมน กล่าวว่า สิ่งที่จะดำเนินการอย่างแรก และนักวิเคราะห์มองว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ก็คือ การแสวงหาความร่วมมือจากผู้ บริหารระดับสูงชุดปัจจุบันของทีพีไอ "เราจะขยายแนวร่วม
และดึงพวกเขาเข้ามาด้วยหลักการทำงานร่วมกัน" มิลเลอร์ กล่าว
นอกจากนั้น เอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลน เนอร์ส ยังได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญทาง ด้านอุตสาหกรรม
เพื่อช่วยบริหารกิจการของ ทีพีไอเพิ่มเติม ได้แก่ แบรี่ เมอร์ฟี อดีต กรรมการผู้จัดการคาลเท็กซ์
ออยล์ในออสเตรเลีย และทีม ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมจากมิวส์ สแตนซิล ที่มีสำนักงานอยู่ในเมืองดัลลัส
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทีพีไอ และฝ่ายเจ้าหนี้ นอร์แมนประกาศว่าเขาเห็น
ด้วยกับการแต่งตั้งให้ สิปปนนท์ เกตุทัต ซึ่งเป็นประธานกรรมการ สำนักงานวางแผนแห่งชาติ
และเป็นประธานผู้ก่อตั้งบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) เป็นประธานกรรมการของเอ็ฟเฟ็คทิฟ
แพลนเนอร์สด้วย
อย่ างไรก็ตาม ทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับความสามารถของเเอ็ฟเฟ็คทิฟ แพลนเนอร์ส
ที่จะดำเนินงานร่วมกับประชัย ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของทีพีไอ
ซึ่งเป็นคนหัวรั้นมองการลงคะแนนครั้งนี้ในแง่ลบ และกล่าวหาว่าฝ่ายเจ้าหนี้มีแผนการที่จะขายธุรกิจบางส่วนออกไปในราคาถูก
"ผมหวังว่าทุกสิ่งจะเป็นไปด้วยดี และหวังว่าจะไม่มีใครเข้ามาทำลายบริษัท"
ประชัยกล่าวขณะที่รอฟังผลการโหวต
ผู้บริหารรายใหม่ของทีพีไอปฏิเสธเรื่องการขายกิจการบางส่วนทิ้ง โดยนอร์แมนได้ย้ำว่าบริษัทจะดำเนินการ
เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นทั้งหมด และจะเร่งจัดทำแผนปรับโครงสร้าง
ที่เป็นไปตามข้อตกลง ที่เจรจากับทีพีไอต ลอดช่วงสองปีที่ผ่านมา "หากเขาทำตาม
ที่บอกกับทุกคนก็โอเค" วชิรพันธุ์ พรหมประเสริฐ กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายการเงินทีพีไอ
กล่าวภายหลังการลงมติ
อย่างไรก็ตาม ประชัยก็ไม่ได้ยอมแพ้โดย ไม่ตอบโต้ใดๆ เขากล่าวหาธารินทร์
นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า คอยชี้แนะให้ธนาคารทั้งของรัฐ
และเอกชนในไทยเลือกผู้จัดทำแผนเข้าข้างฝ่ายเจ้าหนี้
"มันไม่ยุติธรรม" ประชัยบอก และเสริมว ่า "รัฐบาลควรจะเข้ามาไกล่เกลี่ยแทน
ที่จะผลักผมลงนรกอย่างนี้"
ประชัยได้ร้องค้านเกี่ยวกับสิทธิในการลงคะแนนของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ
(ไอเอฟซี) ที่เป็นตัวแทนของของธนาคารเจ้าหนี้ต่างชาติ 41 แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รวม400
ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นราว 12% ของ คะแนนโหวตของเจ้าหนี้ แต่ศาลตัดสินไม่รับคำร้องค้านดังกล่าว
ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประชัย "หมดโอกาสแล้ว" เจ้าหนี้รายหนึ่งให้ความเห็น
1 พฤ ษภาคม 2543
บิสซิเนสวีค นิตยสารรายสัปดาห์ ของ McGraw-Hill แห่งสหราชอาณาจักร
พาดหัวข่าวว่า "เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแค่พื้นผิว" หากดูเพียงผิวเผินดู เหมือนว่า
เศรษฐกิจของไทยกำลังเดินเครื่องอย่างสวยง ามอีกครั้ง คาดหมายอัตราเติบโตเศรษฐกิจอยู่
ที่ 4.5% ในปีนี้ และกำลังได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน หนี้สินประเภท
ที่ไม่ก่อรายได้ของภาคธนาคารลดลงมาอยู่ ที่ 37% จากระดับ 48% เมื่อปีที่
แล้ว และมี กิจการธุรกิจ ที่ปรับโครงสร้างหนี้บริษัทถึง 26.5 พันล้านบาท
กลุ่มธุรกิจ ที่บริหารงานแบบครอบครัว ซึ่งอยู่ในภาคการผลิตหลักของไทยก็ยังอยู่ในอาการร่อแร่
โดยที่ไม่มีผลกำไร และโรงงานก็มีขีดความสามารถ ต่ำการปรับกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ช่วยให้กิจการเหล่านี้ยังเปิดดำเนิน
การต่อไปได้ แต่หากไม่สามารถสะสางหนี้สินเดิม ก็ไม่มีทาง ที่จะหาเงินกู้ก้อน
ใหม่มาปรับปรุงโรงงานให้ทันสมัยได้
กิจการเหล่านี้ส ่วนใหญ่ก็ไม่ยินยอมให้มีการควบคุมการบริหารกิจการ และประสบขาดทุนจากการปรับปรุงการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ในจำนวนบริษัท 1,727 แห่ง ที่เข้าอยู่ในคณะกรรมการที่ปรึกษาการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
มีกิจการเพียง 210 แห่งเท่านั้น ที่ประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้
"หากคุณเก็บปัญหาเหล่านี้ไว้เพียง เพื่อช่วยต่อชีวิตกันไปนั่นก็ เท่ากับคุณกำลังผัดผ่อนปัญหาออกไป"
ลิน เอ็กซ์ตัน (Lynn Exton) นักวิเคราะห์ ด้านธนาคารแห่งเมอร์ริล ลินช์ แอนด์
โค ให้ความเห็น
ยิ่งกว่านั้น กฎหมายล้มละลาย ที่มีการปรับปรุงใหม่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
เจ้าหนี้ทั้ง 146 รายของทีพีไอพากันโล่งใจเมื่อศาลล้มละลายสั่งให้ทีพีไอปรับโครงสร้างหนี้
3.5 พันล้านดอลลาร์เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา แต่หลัง จากนั้น ประชัย และครอบครัว
ซึ่งถือหุ้นกิจการอยู่ราว 60% ก็ต่อสู้ เพื่อไม่ให้ธนาคารต่างชาติเข้าควบคุมกิจการ
ซึ่งแม้ว่าในที่สุดแล้วเ ขาจะพ่ายแพ้ แต่เขายังมีเวลาอีกราว 6 เดือนเป็นอย่างน้อยในระหว่าง
ที่กำลังดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการชั่วคราว กรณีทีพีไอจึงถือเป็นกรณีตัวอย่างของความยากลำบากอย่างยิ่งในการเรียกคืนเงินกู้กลับมา
นักลงทุนกล่าวว่าหากบริษัทไทยยอมลดราคาเสนอขายสินทรัพย์ลงบ้าง ก็จะมีนักลงทุนต่างประเทศสนใจซื้อ
ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินงานของศาลล้มละลายยังคงล่าช้า นักลงทุนจึงต้องเผื่อความเสี่ยงไว้ด้วย
"เรามองเรื่องมูลค่า สินทรัพย์ต่างกัน" อีริ ซิลเวอร์แมน (Eric Silverman)
แห่งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายมิลแบงก์, ทวีด, แฮดลีย์ แอนด์ แมคคลอยกล่าว และว่า
"บริษัท เหล่านี้ยังไม่ต้องการทิ้งสินทรัพย์ของตน"
นี่ เป็นความคิด ที่สั้น บริษัทไทยยังจะต้องมีขีดความสามารถในการทำกำไรได้อีก
มิฉนั้น กิจการก็จะเสี่ยงต่อ การล้มอย่างถาวรเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำในคราวต่อไป
และประเทศไทยไม่สามารถ ที่จะรักษาการฟื้นตัวทาง เ ศรษฐกิจไว้ได้นานโดยกลบเกลื่อนปัญหาเหล่านี้ไว้