Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 กรกฎาคม 2548
รอนายกฯ เซ็น FTA-ญี่ปุ่น 7 ปี เสรีเหล็ก-เกษตรไม่คุ้ม             
 


   
search resources

International
FTA




เปิดข้อเสนอ FTA ไทย-ญี่ปุ่น รอเพียง "ทักษิณ" จดปากกาเซ็นสิ้นก.ค.นี้ สภาหอฯ ระบุสินค้าเกษตรให้เพิ่มแค่โควตา ทยอยลดภาษีซื้อเวลา ลดทันที 0% แค่กุ้ง ทูน่า ผลไม้ แฉญี่ปุ่นกีดกันสินค้าประมงต้องใช้แรงงานไทย 75% ขีด 7 ปีเสรีเหล็กรีดร้อนนับถอยหลังปีที่ 10 ภาษี 0% ส่วนยานยนต์ยังอุบไต๋

แหล่งข่าวสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับนายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มาชี้แจงและรับทราบท่าทีของสภาหอการค้าในเรื่องการจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA) หรือ FTA ไทย-ญี่ปุ่น โดยนายพินิจได้เปิดเผยว่า รายการสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอให้ไทยที่ถือว่าเป็นข้อเสนอขั้นสุดท้ายของการทำงานระดับคณะเจรจาฯ ในรอบที่ 8 ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ต่อไปจะเป็นการเจรจาและตัดสินใจระดับการเมือง ระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเพื่อจะให้ลงนามได้ทันภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ แต่หากมีข้อติดขัด เพิ่มเติมแก้ไขได้หลังจากความตกลงฯใน 6 เดือน ก็จะเป็นหน้าที่ระดับคณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป

"จะไม่มีการเจรจารอบใหม่อีกแล้ว ถือว่าปิดฉากแค่นี้ จะเป็นหน้าที่ตัดสินใจระดับรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ได้ลงนามได้ทันสิ้นเดือนนี้ แต่ภายใน 6 เดือนหลังลงนามหากมีข้อติดขัดมีการแก้ไขอันไหนเพิ่มเติมอะไรไม่ชัดเจนก็จะเป็นการใช้ล็อบบี้ ก็จะเป็นระดับคณะเจรจาเป็นฝ่ายดำเนินการไป" แหล่งข่าวคนเดียวกันกล่าว

แหล่งข่าวระบุต่อว่า นายพินิจยังได้เปิดเผยถึงข้อเสนอเปิดเสรีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมว่า ในรอบสุดท้ายที่ฝ่ายญี่ปุ่นยอมอ่อนข้อให้มากกว่ารอบที่ 7 เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ถึง 1 เม.ย. 2548 ที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ให้สภาหอฯ รับทราบ แต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นนายพินิจไม่ได้เปิดเผยเอกสารว่ารายละเอียดของข้อเสนอรายการสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเสนอให้ไทยเป็นอย่างไร เป็นเพียงการกล่าวสรุปสั้นๆให้ฟัง โดยพูดอย่างรวดเร็วๆ โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่รับทราบกันเฉพาะระดับรัฐมนตรีของฝ่ายไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น โดยรายการสินค้าเกษตรที่ญี่ปุ่นเสนอให้ไทยมี 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ลดภาษีเป็น 0% ทันที (Immediate Tariff Elimination) มี 1. กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และกุ้งแปรรูป 2. ผลไม้เมืองร้อนทุกชนิด จากเดิมรอบที่ 7 ยกเลิกภาษีทันทีให้ทุเรียน มะละกอ มะพร้าว ส่วนผลไม้ชนิดอื่นเหลือ 0% ใน 3 -7 ปี 3. ปลาทูน่าและแซลมอน จากเดิมรอบ 7 ลดภาษีจาก 9.6% เหลือ 0% ใน 5 ปี และ 4. เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ได้เพิ่มขึ้นมา

กลุ่มที่ 2 ทยอยลดภาษี (Reduce Tariff) มี 1. ไก่แปรรูป จากภาษีเดิม 6% เหลือ 3% ภายใน 5 ปี 2. เนื้อหมู ลดภาษีให้ทันที 3% จากอัตราภาษีเดิม 21.3% จากเดิมรอบที่ 7 ลดภาษีจาก 21.3% เหลือ 10.65% ใน 5 ปี 3. เนื้อวัว และหมู ที่เป็น Product ลดภาษีจาก 20% เหลือ 16% ภายในโควตา 1,200 ตัน จากเดิมรอบที่ 7 คงภาษี 20% ภายในโควตา 1,200 ตัน 4. ปลาหมึกกล้วย ภายใน 5 ปี ลดภาษีเหลือ 0% จากเดิมรอบ 7 ลดภาษีจาก 3.5% เหลือ 2% และ 5. น้ำมันรำข้าว ลดภาษีจาก 8.5 เยน/กก. เหลือ 4 เยน/กก. ใน 5 ปี

กลุ่มที่ 3 โควตา (Quota) 1. กล้วยหอม โควตา 4,000 ตันในปีแรก เพิ่มเป็น 8,000 ตันในปีที่สาม จากเดิมรอบที่ 7 โควตา 3,000 ตันในปีแรก เพิ่มเป็น 6,000 ตันในปีที่สาม 2. สับปะรดสด โควตา 100 ตันใน ปีแรก เพิ่มเป็น 300 ตันในปีที่ห้า 3. แป้งมัน สำปะหลังแปรรูป ยกเว้นภาษีในโควตา 250,000 ตัน จากเดิมรอบที่ 7 ยกเว้นภาษีในโควตา 200,000 ตัน และ 5. กากน้ำตาล โควตา 4,000 ตัน ในปีที่สาม และเพิ่มเป็น 5,000 ตันในปีที่สี่

กลุ่มที่ 4 กลับมาเจรจาใหม่ (Re-negotiate) ในอีก 3 ปีหลังความตกลงฯมีผล 1. น้ำตาลทรายดิบ 2. สับปะรดกระป๋อง 3. แป้งมันสำปะหลังดิบ กลุ่มที่ 5 ยกออกจากการเจรจา (Exclusion) มี ข้าว และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากแป้งและน้ำตาล

ขีด 7 ปีเสรีเหล็กลด 0% ปีที่ 10

นายพินิจยังกล่าวถึงรายการสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยยอมอ่อนข้อต่อฝ่ายญี่ปุ่นในการเปิดเสรีเหล็ก แผ่นรีดร้อน ด้วยการคงภาษีเหล็กแผ่นรีดร้อนไว้ในอัตราฐาน เป็นเวลา 7 ปีแรก หลังจากความตกลงมีผลบังคับจะเริ่มลดภาษี เหลือ 0% ในปีที่ 10 ซึ่งเป็นท่าทีอ่อนข้อลงจากในรอบที่ 7 ที่ไทยจะคงภาษีเหล็กแผ่นรีดร้อนไว้ที่อัตราฐาน (ประมาณ 7-9.5%) เป็นเวลา 10 ปีแรก หลังจากความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ จากนั้นจะเริ่มลดภาษีในปีที่ 11 และเหลือ 0% ในปีที่ 15

ส่วนรายการสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์และยานยนต์ที่เป็นรถยนต์ที่นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ขนาด 3000 ซีซีขึ้นไป ที่ฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเปิดเสรีใน 2 เรื่องนี้นายพินิจ ระบุว่า ตนไม่ทราบข้อมูลไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้จึงไม่ขอเปิดเผยแต่ท่าทีในรอบที่ 7 ที่เขาใหญ่ ชิ้นส่วนรถยานยนต์ ภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐ ยอมฝ่ายญี่ปุ่นให้ลดภาษีจากอัตรา 10-30% ในปีแรก ให้เหลือ 0% ในปีที่ 15 ขณะที่ยานยนต์ในรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ขนาด 3000 ซีซีขึ้นไป ที่เป็นรถยนต์หรูจะกลับมาเจรจาใหม่อีก 3 ปีข้างหน้า ในรายละเอียดเงื่อนไขการลดภาษี

แหล่งข่าวระบุว่า นายพินิจยังได้กล่าวถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเสนอให้ไทย 2 รายการ คือ รองเท้า และเครื่องหนัง กับอัญมณีและเครื่องประดับ แต่นายพินิจระบุเพียงว่าสินค้า 2 รายการนี้ฝ่ายญี่ปุ่นให้แบบมีเงื่อนไข แต่นายพินิจไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดให้ทราบว่าเงื่อนไขที่ทางญี่ปุ่นกำหนดมานั้นคืออะไร

นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการประเมินผลและกำหนดแนวทางขยายผลจากการเจรจาเอฟทีเอ กล่าวว่า FTA ไทย-ญี่ปุ่น เป็นที่ชัดเจนว่าปลายเดือนกรกฎาคมนี้จะต้องมีการ ลงนามกันอย่างแน่นอน แต่หากมีปัญหาที่ต้องใช้การตัดสินใจจากฝ่ายการเมือง ทางรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อม ที่จะส่ง นายโชอิชิ นาคากะวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) จะเดินทาง มาเจรจากับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้วยตัวเองเพื่อให้ได้ข้อสรุปสุดท้าย

สภาหอฯอัดข้อเสนอญี่ปุ่นน้อยไปไม่คุ้ม

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าแม้ล่าสุดญี่ปุ่นยอมเปิดตลาดให้กับสินค้าเกษตรของไทยหลายรายการ แต่ถือว่าไม่คุ้มเป็นการให้ที่น้อยเกินไป เช่น กล้วยหอมต้องลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ขณะที่ญี่ปุ่นเสนอยกเลิกภาษีให้กับฟิลิปปินส์ได้ภายใน 10 ปี แต่สำหรับไทยให้ได้แค่โควตา หรือไก่แปรรูปควรลดเหลือ 3% ในปีแรกและลดเหลือ 0% ใน 5 ปี หรือแม้แต่กากน้ำตาล ที่ญี่ปุ่นให้โควตาแก่ไทย ทางสภาหอการค้าเห็นว่าไทยไม่ควรรับข้อเสนอนี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยเลย

แฉแหกตาเปิดเสรีสินค้าประมง

รองประธานสภาหอการค้า กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะปลาทูน่า แซลมอน และปลาหมึกกล้วย หรือสินค้าประมงอื่นๆ ของไทยอาจมีปัญหาในการส่งออก แม้ญี่ปุ่นจะเปิดเสรีให้เพราะติดปัญหาเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า และการที่ญี่ปุ่นกำหนดเงื่อนไขว่าสินค้า ประมงไทยต้องใช้แรงงานในประเทศไม่น้อย กว่า 75% พร้อมให้ไทยไปสำรวจทำรายงานว่า ในประเทศไทยมีการใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมประมงเป็นจำนวนเท่าไร

แหล่งกำเนิดสินค้า และเงื่อนไขต้องใช้แรงงาน ไทยไม่ต่ำกว่า 75% ทูน่าคงส่งออกไม่ได้ ก็รู้กันอยู่ปลาทูน่า 1 กระป๋องค่าใช้จ่ายด้านแรงงานน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าตัวอื่นๆ ทางญี่ปุ่นเองก็ยืนยันที่จะให้ระดับรัฐมนตรีของไทยเป็นฝ่ายตกลงกับรัฐมนตรีของญี่ปุ่นโดยไม่ขอเจรจาผ่านทางคณะเจรจาอีกแล้ว" นายพรศิลป์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us