Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กรกฎาคม 2545
"เอไอเอส"เปิด2แนวรบตลาดมือถือ คุณภาพเครือข่าย-การตลาดภูมิภาค             
 


   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
พีรเวท กิจบูรณะ




เอไอเอสยกระดับหนีคู่แข่ง ใช้สำนักควบคุมคุณภาพเครือข่าย สร้างมาตรฐานตรวจสอบเครือข่ายให้ใช้งานได้โดนใจลูกค้าด้วย 3 องค์ประกอบเริ่มจากพื้นที่ให้บริการครอบคลุมต่อเนื่อง

ความสามารถในการเข้าถึงระบบ และความมีเสถียรภาพของระบบ พร้อมเดินหน้าตั้ง Regional Head Quarter ภาคใต้ บริหารงานเบ็ดเสร็จทั้งเครือข่ายและการตลาด

เพื่อให้แพกเกจโปรโมชั่นสนองตอบตรงความต้อง การมากที่สุด นายพีรเวท กิจบูรณะ ผู้จัด การสำนักควบคุมคุณภาพเครือข่าย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส

หรือเอไอเอสกล่าวว่าเอไอเอสให้ความสำคัญกับคุณภาพเครือข่าย (Network Quality) ที่จะต้องสามารถสนองตอบความต้องการใช้งานของผู้บริโภคให้ได้ เอไอเอสจึงได้มองการพัฒนาเครือข่ายในเชิงลึก

ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานควบคุมคุณภาพเครือข่ายขึ้น เพื่อเป็นเหมือนศูนย์กลางในการรวบ รวมข้อมูลผลการวัดคุณภาพของเครือข่าย สรุปคำร้องเรียนลูกค้าและความต้องการของลูกค้า

จากนั้นทำหน้าที่วิเคราะห์และจัดทำเป็น เกณฑ์เพื่อวัดและสร้างมาตรฐานในการจัดการและควบคุมคุณภาพเครือข่ายของเอไอเอส มาตรฐานการจัดการที่ตั้งขึ้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะกล่าวคือ

1.พื้นที่ให้บริการของเครือ ข่ายต้องครอบคลุมและต่อเนื่อง สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของผู้บริโภคในแต่ละบริเวณอย่างแท้จริง

โดยจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ทันสถานการณ์ความต้องการที่เกิดขึ้น 2.ความสามารถในการเข้าถึงระบบ หมายถึงต้องสามารถโทร.เข้าออกได้อย่าง ไร้ข้อจำกัดในทุกพื้นที่

และ3.ความมีเสถียรภาพของระบบ หมายถึงความเชื่อมั่นในการใช้งาน อาทิ สัญญาณคมชัด ปราศจากเสียงรบกวนและโทร.ได้ต่อเนื่อง ในปี 2544-2545 เอไอเอสลงทุนเครือข่ายเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก

โดยในปี 2544 รวมเป็นเงิน 21,800 ล้านบาท และเพียงแค่สิ้นสุดไตรมาส 2 ของปี 2545 เอไอเอสลงทุนด้านเครือข่ายไปแล้วประ มาณ 18,620 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนสถานีฐานในระบบจีเอสเอ็ม

แอดวานซ์ทั้งหมด 4,766 แห่ง ระบบเซลลูล่าร์ 900 ประมาณ 1,551 แห่ง โดยมีความสามารถของระบบจีเอส เอ็ม แอดวานซ์ รองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 8.2 ล้านเครื่อง ในขณะที่มีคนใช้ประมาณ 7.2

ล้านเครื่อง เอไอเอสดำเนินการทดสอบคุณภาพของเครือข่ายด้วยการพาสื่อมวลชนเดินทางไปยังอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แล้วใช้วิธีการนั่งรถบัสทด

สอบสัญญาณไปตามเส้นทางหลวงสายหลักจนถึงจ.สุราษฎร์ธานี และข้ามไปยังเกาะสมุย ซึ่งปรากฏว่าตลอดเส้นทางสัญญาณสามารถใช้งานได้ดีในระดับน่าพอใจ

ไม่เพียงแต่มีการจัดตั้งสำนักควบคุมคุณภาพเครือข่าย แต่ภายหลังจากที่เอไอเอสมีการปรับโครง สร้างการบริหารงานแบบ Network Organization

ที่เป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจการบริหารในแนวตั้งและแนวนอน โดยส่วนหนึ่ง คือการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการ ส่วนภูมิภาคหรือ Regional Head Quarter เพื่อเข้าใกล้ผู้บริโภคให้มากขึ้น

"การจัดองค์กรแบบนี้ เพื่อให้มีแผนงานเป็นของภาคใต้ เพื่อให้ สนองตอบความต้องการของลูกค้า ภาคใต้อย่างแท้จริง"นายสุทธิศักดิ์ กุณทีกาญจน์ ผู้จัดการสำนักปฏิบัติ การส่วนภูมิภาคเอไอเอส

กล่าวย้ำว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นการสนอง ตอบการทำตลาดแบบ Localize Marketing ซึ่งการตัดสินใจด้านการตลาดในการจัดแพกเกจโปรโมชั่นต่างๆจะเบ็ดเสร็จในภาคใต้

แต่ก็อาจต้องมีการขอความเห็นจากส่วนกลางด้วย โดยจะเห็นการทำตลาดเป็นรูปธรรมในต้นปีหน้า สำหรับพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือของคนในภาคใต้ เอไอเอสพบว่า

1.ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้โทร.ทางไกลมากกว่าโทร.ในพื้นที่ ในสัดส่วน 80/20 2.ลูกค้าจะมีการเดินทางบ่อยครั้ง ไม่อยู่กับที่เดินทางข้ามจังหวัดมาก การใช้งานจะอยู่ตามเส้นทางหลวงสายหลักค่อน ข้างสูง

3.ลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ เข้ามาใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติหรืออินเตอร์เนชั่นแนล โรมมิ่งจำนวนมาก และบางพวกหันมาซื้อซิมการ์ดโลคัลจำนวนมาก ซึ่งแนว

ทางการทำโปรโมชั่นเฉพาะภาคใต้อาจใช้วิธีการให้โทร.เป็นอัตราคงที่หรือแฟลตเรต แล้วเพิ่มจำนวนนาทีให้มากขึ้น "ผมเพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง 2 เดือน

ภารกิจหลักๆตอนนี้คือการดูแลและสนับสนุนตัวแทนจำหน่าย ในการเรื่องการทำธุรกิจให้เกิดความ คล่องตัวมากที่สุด รวมทั้งสร้างความใกล้ชิดกับดีลเลอร์ รวมทั้งการให้บริการลูกค้ารายใหม่ ส่วนลูก

ค้าปัจจุบันก็จัดให้มีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น ดูแลเรื่องการเปลี่ยนโปร โมชั่นต่างๆ ซึ่งราไยด้เฉลี่ยต่อเลขหมายในภาคใต้ หากเป็นระบบโพสต์เพดประมาณ 1,200 บาทต่อเลขหมายถ้าเป็นพรีเพดประมาณ 600

บาทต่อเลขหมาย" นายสุทธิศักดิ์กล่าวว่าการจัดตั้งสำนักปฏิบัติการส่วนภูมิภาค เชื่อว่าจะทำให้เอไอเอสสามารถเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในแต่ ละภูมิภาคอย่างแท้จริง

รวมทั้งสามารถตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรูป แบบการให้บริการ การจัดกิจกรรม ต่างๆที่ถูกใจคนท้องถิ่น

การใช้พนักงานที่เป็นคนในพื้นที่ซึ่งเข้าใจถึงนิสัยใจคอและไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการ รวมทั้งศักยภาพในการขยายเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วเนื่อง จากความคุ้นเคยพื้นที่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us