Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กรกฎาคม 2545
ชี้ศก.ไทยยังไม่ฟืนตัว ธุรกิจคอนซูเมอร์ซบต่อ             
 


   
search resources

ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย), บจก.




"ดีทแฮล์ม"ยักษ์ใหญ่คอนซูเมอร์ชี้กำลังซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคครึ่งปีแรกฝืด กำลังซื้อชนชั้นกลาง-ล่างซบเซาต่อเนื่อง ผลเสียผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์โปรโมชั่น ลดงบโฆษณาสร้างแบรนด์

ส่งผลตลาดหดตัว บริษัทคอนซูเมอร์เข้าสู่ยุคลำบาก แย่งส่วนแบ่งลูกค้าเก่ากันเอง ครึ่งปีแรก ดีทแฮล์มโตแค่ 9% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี แม้ช่วงวิกฤตยังโตได้ ถึง 20% คาดทำยอดขายได้ 6,800 ล้านบาท

"เอเยนซี่"บ่นลูกค้าอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ระวังใช้งบโฆษณา หลังวินาศกรรมสหรัฐฯเจ้าของสินค้ากลับมาใช้งบ 60% ด้านค้าปลีกรับผลกระทบมาตรการรัฐกระตุ้นอสังหาฯ

ลูกค้าไม่จับจ่ายใช้สอยในภาคค้าปลีก นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายสินค้าอุปโภค บริโภค บริษัทดีทแฮล์ม จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เปิดเผย "ผู้จัดการรายวัน"

ว่าภาพรวมกำลังซื้อของผู้บริโภคระดับชนชั้นกลางในช่วงครึ่งปีแรกตลาดค่อนข้างซบเซาอย่างมาก โดยภาพความเป็นจริงของประชากรระดับกลางยังไม่มีกำลังซื้อ

จากภาพรวมเศรษฐกิจประเทศที่ยังไม่ดีขึ้น ทำให้ คนไม่มีความมั่นใจในการใช้จ่ายเงิน จะเห็นได้จากผู้บริโภคจะเลือก ซื้อสินค้าแพคใหญ่ลดลง เพราะไม่ต้องการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากใน

การซื้อสินค้าแต่ละครั้ง ถึงแม้ว่าสินค้าแพกใหญ่จะมีราคาถูกกว่าแพก เล็กก็ตาม แต่ผู้บริโภคก็จะเลือกซื้อสินค้าขนาดเล็กราคาถูกแทน แม้ว่าเทียบปริมาณสินค้าแล้วจะมีราคาแพงกว่า

และจะต้องเสียเวลามาซื้อสินค้าบ่อยครั้งก็ตาม การที่เห็นตลาดรถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นในช่วงนี้ มาจากปัจจัยการกระตุ้นด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำของภาครัฐเป็นหลัก

ไม่ได้เกิดจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีอำนาจใน การจับจ่ายใช้สอยจริง โดยในส่วนของอสังหาริม- ทรัพย์นั้นถือเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคระดับกลางต้องการซื้ออยู่แล้ว และเมื่อได้รับอานิสงส์ดอกเบี้ย

ต่ำจากภาครัฐ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงพยายามที่จะหา ทางเป็นเจ้าของ ถึงแม้ว่ากำลังซื้อของตัวเองยังไม่พร้อมก็ตาม ส่วนรถยนต์ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ ได้รับผลดีจากดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ

ทำให้ผู้บริโภคระดับสูงที่ยังมีอำนาจซื้อ ไม่ต้องการฝากเงินที่ได้รับดอกเบี้ยต่ำ และหันมาซื้อรถยนต์ที่เป็นสิ่งอำนวย ความสะดวกมากขึ้น นายสมบุญกล่าวต่อว่าสำหรับดีทแฮล์ม

ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมายอดขายมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเพียง 9% เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุด ในรอบ 3 ปี จากเดิมที่เคยมีอัตราการเติบโตในระดับ 20% ต่อเนื่อง แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตเศรฐกิจ

ประเทศไทยปี 2540 ดีทแฮล์มก็มีตัวเลขอัตราการเติบโตที่ดี เนื่องจากได้ดำเนินกลยุทธ์การตลาด ในลักษณะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งของคู่แข่งขัน ซึ่งประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง

และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การที่ตลาดไม่มีการขยายตัวตลอดช่วงเวลาที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤต และผู้ประกอบการไม่ได้ให้ความสนใจในการสร้างตลาด ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

แต่จะแก้ปัญหาด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ณ ช่องทางการจำหน่ายต่างๆ เพื่อสร้างยอดขายในระยะสั้น โดยได้ลดลงปริมาณโฆษณาผ่านสื่อ ที่ถือเป็นการสร้างตลาด และสร้างแบรนด์สินค้าลง

โดยไม่ได้มองว่าการโฆษณา เป็นการสร้างการรับรู้ และความจงรัก ภักดีต่อแบรนด์สินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายของ สินค้าในระยะยาว การตัดงบโฆษณาลงทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร

จึงไม่เกิดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ตลาดของสินค้าก็ไม่มีการขยายตัว มูลค่า ก็อยู่ในระดับคงที่หรือลดลง "ปัญหาวิกฤตที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต่างคิดเอาตัวรอดด้วยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เร่ง

จัดโปรโมชั่นเพิ่มยอดขาย โดยหวังเพียงการดึงส่วน แบ่งการตลาดมาจากคู่แข่งเท่านั้น โดยไม่ให้ความ สนใจในการสร้างตลาดใหม่ๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว ทำให้ขณะนี้ผู้ประกอบการในธุรกิจ

สินค้าอุปโภค บริโภค เข้าสู่ยุคลำบาก เพราะไม่สามารถเพิ่มยอดขายจากตลาดที่มีขนาดเท่าเดิมได้อีกต่อไป" นายสมบุญกล่าว ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์วินาศกรรมประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมา

ทำให้บริษัทเจ้าของสินค้าอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ หลายรายเช่น ยูนิลีเวอร์ฯลดงบประมาณโฆษณาลงอย่างมาก ในบางกลุ่มสินค้าลดลงถึง 50% บางรายใช้งบประมาณอย่างระมัดระวัง

สำหรับภาพรวมของสินค้าอุปโภค บริโภคใน ปีนี้ น่าจะมีการขยายตัวในระดับ 5% เท่านั้น ในขณะที่เมื่อ 3 ปีก่อนอัตราการเติบโตอยู่ในระดับ 7-8% ในส่วนของดีทแฮล์ม เมื่อ 3

ปีก่อนเคยมีอัตราการเติบโตของยอดขายในระดับ 10-15% และ 20% ในปี 2544 แต่ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้รับผลดี จากการได้ลูกค้าใหม่ คือ ผู้ผลิตนมสำหรับเด็ก มี้ด จอห์นสัน ที่มียอดขายปีละ 1,000

ล้านบาท ทำให้ในปี 2544 ดีทแฮล์มมียอดขายราว 6,100 ล้าน บาท แต่หากไม่รวมรายได้ของมี้ด จอห์นสัน ก็จะทำให้ปี 2544 ดีทแฮล์มจะมีอัตราการเติบโตเพียง 10-11% เท่านั้น

ส่วนในปีนี้ที่ผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรก มี อัตรการเติบโตเพียง 9% คาดว่าถึงสิ้นปีนี้ ก็น่าจะทำได้ในอัตราเดียวกัน หรือมีมูลค่ายอดขายราว 6,800 ล้านบาท โดยน่าจะมีลูกค้าใหม่เข้ามาอีก 2 ราย

จากเมื่อต้นปีนี้บริษัทได้ลูกค้าใหม่ 1 ราย คือ ราชาชูรส ลีโอเบอร์เนทท์ชี้ลูกค้ายังตัดงบ นางพรศิริ โรจน์เมธา กรรมการผู้จัดการ บริษัทลีโอเบอร์เนทท์ จำกัด เปิดเผยว่า

หลังจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 หลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ ได้ปรับลดงบประมาณการทำกิจกรรมการตลาด

โฆษณา ประชาสัมพันธ์ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อรอดูสถานการณ์ของโลกว่าเป็นไปในทิศทางใด ปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ จะเริ่มคลี่คลายไปในแนวทางที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่

ขณะนี้ลูกค้าที่เป็นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ ได้กลับมาใช้เม็ดเงินโฆษณาเพียง 60% เท่านั้น ซึ่ง สินค้าคอมซูเมอร์ ประเภทอุปโภคบริโภค ที่เคยเป็นผู้นำในอันดับต้นๆ ในการใช้จ่ายงบโฆษณา พบ

ว่าขณะนี้สินค้าบางกลุ่มก็ยังคงชะลอการใช้งบในส่วนดังกล่าว โดยจะระมัดระวังในการใช้งบประมาณเป็นอย่างมาก สาเหตุหลักอีกประการคงมาจากความไม่มั่นใจว่าผู้บริโภคจะมีกำลังซื้ออย่าง

แท้จริงในสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น "ลูกค้าส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนแปลงวีธีการใช้งบ ประมาณการทำตลาด จากการโฆษณาผ่านสื่อ เป็น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่คาดว่าจะเห็นผล

ด้านยอดขายได้ทันที ในส่วนนี้ลูกค้าจะต้องกำหนด สัดส่วนการใช้โฆษณาและกิจกรรมที่ชัดเจนว่าควร จะเป็นสัดส่วนอย่างไร เพราะหากละเลยการสร้างแบรนด์ผ่านสื่อโฆษณา

ก็จะเป็นปัญหาในอนาคตของแบรนด์นั้น ที่ผู้บริโภคจะไม่มีความจงรักภักดีในแบรนด์สินค้า" นางพรศิริกล่าว ค้าปลีกรับผลกระทบรัฐฟื้นอสังหาฯ นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล อดีตประธานสมาคม

ผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในช่วง 6 เดือนแรกมีอัตราการขยายตัวประมาณ 5-6% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เติบโตประมาณ 7% การขยายตัวครึ่งปีแรกในอัตราดังกล่าว

ถือว่าค่อนข้างฝืดในมุมมองของผู้ประกอบการค้าปลีก สาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัย เช่น การฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร การเข้ามาฟื้น

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ผู้บริโภคไปใช้เงินภาคธุรกิจ อสังหาฯมากขึ้นการเสนอดอกเบี้ยต่ำของธุรกิจรถยนต์

ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคใช้เงินเพื่อซื้อรถยนต์มากขึ้น จากปัจจัยต่างๆดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยในธุรกิจค้าปลีกลดลง และส่งผลต่อเนื่องทำให้ค้าปลีกมีอัตราการเติบโตต่ำตามไปด้วย

ในปี 2544 ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกมีอัตราเติบโตทั้งปี 7% คาดว่าในช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้ค้าปลีกน่าจะขยายตัวมากขึ้น ทำให้ภาพรวม ทั้งปีขยายตัวเท่ากับปีก่อน คือ 7% ได้

เพราะฤดูกาลขายของค้าปลีกช่วง 6 เดือนหลังจะดีกว่า 6 เดือนแรก อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของค้าปลีกในปีนี้ยังมาจากกลุ่มดิสเคานต์สโตร์เป็นหลัก เนื่องจาก เป็นกลุ่มที่มีการเปิดสาขามากที่สุด

พบว่าผู้ประกอบการ 4 รายหลัก คือ เทสโก้ โลตัส,บิ๊กซี, คาร์ฟูร์ และแม็คโคร เปิดสาขารวมกันในปีนี้ 20 แห่ง และคาดว่าก่อนกฎหมายค้าปลีกไทยจะออกมาบังคับใช้

ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวยังคงขยาย สาขาในอัตราดังกล่าวอยู่ ในขณะที่กลุ่มห้างสรรพสินค้ากลับไม่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีการขยายสาขาใหม่

ปัจจุบันตลาดรวมค้าปลีกไทยทุกประเภทมีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโมเดิร์นเทรด 25-30% ที่เหลือเป็นค้าปลีกดั้งเดิม ที่ยังมีสัดส่วนสูงกว่า แต่มีอัตราลดลงเรื่อยๆ

กำลังซื้อลดฉุดตัวเลขศก. ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าปีนี้ภาพ รวมเศรษฐกิจน่าจะขยายตัวประมาณ 3.2% ถือว่าค่อนข้างดีในภาวะปัจจุบัน การเติบโตดังกล่าวจะมา

จากภาครัฐกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ และตลาดส่ง ออกจะต้องขยายตัวในอัตรา 3% อย่างไรก็ตามจาก สถานการณ์การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกในปีนี้ ที่ไม่สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ถึงสิ้น ปีนี้หากตัวเลขการส่งออกไม่ติดลบก็ถือว่าอยู่ในระดับดี สาเหตุหลักที่การส่งออกของไทยไม่สามารถ ขยายตัวได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯซบเซา และการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯมีสัดส่วนถึง

20% เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2545 นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า

เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อภาย ในประเทศเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน อาทิ โครงการกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อพ่อค้าแม่ค้าแผงลอย ที่ดำเนินการ โดยธนาคารออมสิน โครงการสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี ที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินของภาครัฐ รวมถึงการลดเพดานเงินเดือนขั้นต่ำ

ของผู้มีสิทธิทำบัตรเครดิตลงมาเหลือ 7,500 บาท จากเดิม 10,000 บาท ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผลจากยอดขายสินค้าอุปโภค บริโภคที่มีอัตราการลดลงอย่างมากในช่วง 6 เดือน แรกของปี 2545

เมื่อเทียบกับช่วงที่ไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2541 เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศได้ผลไม่มากนัก

โอกาสที่จะเห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการขับเคลื่อนโดยกำลังซื้อภาย ในประเทศจึงเป็นเรื่องยาก ท่ามกลางการแข็งค่าของ เงินบาทส่งผลให้ผู้ส่งออกของไทยเสียเปรียบด้านการแข่งขัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us