Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 กรกฎาคม 2548
บบส.ผวาเอ็นพีแอลรอบ 2 สั่งฝ่ายประนอมหนี้เช็กฐานะธุรกิจหวั่นกระทบทั้งระบบ             
 


   
search resources

บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
Economics




ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยได้รับปัจจัยลบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ทยอยขยับขึ้น โดยเฉพาะทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูง ทำให้ต้องออกมาตรการดูดสภาพคล่องผ่านการออกพันธบัตรหลายแสนล้านบาท จะยิ่งเป็นแรงกดดันต่อสถาบันการเงินในการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพื่อสกัดมิให้สินเชื่อเหล่านี้กลายเป็นหนี้ไหลย้อนกลับ (เอ็นพีแอล) รอบสอง ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงภาระหนี้ของภาคเอกชน แม้ว่าจะดีขึ้น แต่หากพิจารณาไส้ในแล้วจะพบว่าเป็นการรี-ไฟแนนซ์หนี้ มากกว่าความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งเกิดขึ้นจากรายได้จากการประกอบกิจการ

นายหาญ เชี่ยวชาญ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เปิดเผยว่าทางบบส.ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของเอ็นพีแอลรอบสอง โดยได้กำชับให้ทางฝ่ายประนอมหนี้ติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ทั้งในเรื่องของยอดขายมีความเคลื่อนไหวในทางที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจหรือไม่ รวมถึงการพิจารณามูลฐานของโอกาสที่จะเกิดหนี้อีกครั้ง

"เราเป็นห่วงภาวะเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่หยุด ซึ่งบบส.ก็กลัวการเกิดเอ็นพีแอลรอบสองเพราะเริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างแล้ว ตอนนี้ฝ่ายประนอมหนี้ได้เข้าไปติดตามและมอนิเตอร์ลูกหนี้อย่างใกล้ชิด เพิ่มความถี่เข้าไปดูเพื่อเป็นการป้องกัน เหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับลูกหนี้และบบส.ด้วย ความไม่ประมาทเป็นเรื่องที่ดีกว่ามาแก้ไขปัญหาทีหลัง และหากบรรเทาปัญหาได้ผลดีต่อประเทศก็จะไม่ได้รับผลกระทบเข้าไปอีก" นายหาญกล่าว

ทั้งนี้ตามตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ทางรัฐบาลได้ประกาศว่าไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวเพียง 3.3% ชะลอตัวลงจากเฉลี่ย 6.1% ในปี 2547 โดยตัวแปรหลักมาจากราคาน้ำมัน ผลกระทบจากสึนามิ ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ และภาวะภัยแล้ง และผลต่อเนื่องดังกล่าวเริ่มขยายวงต่อแนวทางการลงทุนของภาคเอกชน เห็นได้จากไตรมาสแรกขยายตัว 10.6% ชะลอตัวจาก 12.7% ในไตรมาสที่แล้ว การเลิกจ้างเพิ่มขึ้น 51% การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนขยายตัว 4.5% ชะลอตัวจาก 5.4% ในไตรมาสที่แล้ว

นายหาญกล่าวถึงแนวทางการของบบส.จากนี้ว่า ยังคงเดินหน้าเจรจาซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีเอ) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ซื้อหนี้กับธนาคารกรุงไทย (KTB) มูลค่า 15,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการเจรจาในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับใกล้ช่วงปิดงบกลางปีของธนาคาร นอกจากนี้ บบส. ยังสามารถเข้าไปประมูลหนี้ในกรมบังคับคดีได้อีก 15,000 ล้านบาท รวมแล้วขณะนี้บบส.มีหนี้ที่บริหารประมาณ 240,000 ล้านบาท

"บบส.มีศักยภาพที่จะรับหนี้มาบริหารได้มากเท่าไหร่ก็รับได้ เพราะเจตนาของเราคือตั้งใจที่จะมีส่วนช่วยเหลือระบบเศรษฐกิจและลดปริมาณหนี้ในระบบให้มากที่สุด เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศ แต่ก็ยอมรับว่าเป้าหมายการรับซื้อหนี้ของบบส.ตามแผน คงต้องรอไปก่อน เนื่องจากคาดว่าการแก้ไขพระราชกำหนดของบบส. คงเสร็จไม่ทันภายในปี 2548" นายหาญกล่าว

ทั้งนี้ ทางบบส.ได้กำหนดเงื่อนไขในการซื้อหนี้เอ็นพีแอลไว้ 2 แนวทาง คือ กรณีที่การแก้ไขพระราชกำหนด (พรก.) ของบบส.เสร็จไม่ทันปีนี้ ทางบบส. คงทำได้เพียงเข้าไปประมูลหนี้ในกรมบังคับคดีตามแผนตั้งไว้ในปี 48 ที่ 9,081 ล้านบาท และเป็นส่วนของเอ็นพีเอประมาณ 1,732 ล้านบาท และกรณีที่ได้รับการแก้ไขพ.ร.ก.ของบบส.เสร็จทัน จะสามารถซื้อหนี้เอ็นพีแอลโดยไม่ขัดต่อพ.ร.ก.ได้ประมาณ 100,000 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีเอ ในช่วง 4 ปี (2548-2551) จะอยู่ที่ 6,800 ล้านบาท 27,200 ล้านบาท, 27,200 ล้านบาท และ 6,800 ล้านบาทตามลำดับ

นายหาญกล่าวถึงในส่วนของหนี้ที่ซื้อจากกรุงไทยว่า ภายในอาทิตย์นี้จะส่งหนังสือถึงลูกหนี้ให้รับทราบเกี่ยวกับการสวมสิทธิของบบส.และให้ลูกหนี้มาเจรจาประนอมหนี้ เช่น บริษัท แชลเลนจ์ พร็อพเพอร์ตี้ ของนางราศรี บัวเลิศ เจ้าของโครงการ รอยัล เจริญกรุง นั้นมูลหนี้ 8,300 ล้านบาท แต่หากรวมดอกเบี้ยค้างรับเข้าไปจะตกประมาณ 9,500 ล้านบาท และหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นมูลค่าเกือบ 100% ของมูลหนี้ โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท

"เราพร้อมที่จะช่วยเหลือลูกหนี้ แต่ลูกหนี้บางรายต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งแนวทางการแก้ไขมีหลายรูปแบบอย่างโครงการรอยัล เจริญกรุง เป็นโครงการที่มีศักยภาพและอยู่ในทำเลซีบีดี" นายหาญกล่าว

สำหรับความคืบหน้าการประนอมหนี้ของ บบส. ณ เม.ย.48 แบ่งเป็น ลูกหนี้จากปรส.ได้ข้อยุติแล้ว 1,673 ราย มูลหนี้ 156,845 ล้านบาท ได้ข้อยุติด้วยการดำเนินการคดีและระงับการติดตาม 557 ราย มูลหนี้ 40,203 ล้านบาท ลูกหนี้จากกรมบังคับคดี และองค์การบริหารสินเชื่อ (อบส.) แบ่งเป็นอยู่ระหว่างการสวมสิทธิทางคดี 902 ราย มูลหนี้ 8,855 ล้านบาท และสวมสิทธิทางคดีแล้ว/ไม่ต้องสวมสิทธิ 759 ราย มูลหนี้ 5,170 ล้านบาท

ในส่วนฐานะการเงิน บบส.มีสินทรัพย์รวม 23,891.70 ล้านบาท หนี้สินรวม 5,913.70 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 17,977.63 ล้านบาท กำไรสุทธิ 536.37 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 5.36 บาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us