Adelphia ประกาศว่า สินทรัพย์ของบริษัทรั่วไหลในรูปเงินกู้ยืม โดยธุรกิจส่วนตัวของครอบครัว
ไรกัส ผู้ก่อตั้งบริษัท ถึง 3.1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำไปโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ
และ
ยังใช้พนักงานที่สวามิภักดิ์ ให้ช่วยกันแยกบัญชีออกจากระบบในสมุด เงินบางส่วนก็ยืมไปเพื่อนำมาซื้อหุ้น
ของ Adelphia เอง นอกจากนั้นยังมีธุรกิจครอบครัวที่ต้องสงสัยว่า
นำเงินหรือสินทรัพย์ของบริษัทไปลงทุน รวมถึงกิจกรรมเพื่อความสำราญส่วนตัวที่หรูหรา
ในรูปของบ้านพักตากอากาศ และสนามกอล์ฟระดับ เอ็กซ์คลูซีฟ สุดท้ายบริษัท
จึงต้องเร่งขออำนาจศาลคุ้มครองล้มละลายตามมาตรา 11 ซึ่งเป็นทางออกที่ละทิ้ง
มหาชนที่ซื้อหุ้นของบริษัทไว้ในตลาดหุ้น เพราะทำให้ราคาหุ้นตกฮวบแทบไม่เหลือค่าอะไร
รวมถึงยังเป็นการ
ตัดกลุ่มเจ้าหนี้ออกจากการเข้ายึดทรัพย์สินของบริษัท หรือเรียกเก็บเงินโดยไม่ผ่านศาล
อีกเกมซึ่งเป็นการรักษาฉากหน้า เช่นเดียวกับกรณีของ Enron คือ ปลด บริษัทตรวจสอบบัญชีทิ้ง
หาว่าทำผิดพลาดที่ละเลยการตรวจสอบบัญชี ปล่อยให้มีการหมกข้อมูลนอกบัญชี
อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทตรวจบัญชี Deloitte & Touche ได้โต้ตอบ ว่า ตั้งแต่วันที่
1 พฤษภาคม บริษัทได้ เอ่ยปากว่า
ทางบริษัทวิตกถึงการ จัดการของอเดลเฟียว่าไม่ซื่อสัตย์และไม่ตรงไปตรงมา
เรื่องปัญหาหนี้ที่ ปล่อยแบบไม่มีหลักประกัน และเรื่องเคเบิล บ็อกซ์ มูลค่า
102 ล้านดอลลาร์ที่อเดลเฟียซื้อมา แต่กลับถูก
ยักย้ายไปลงสมุดบัญชีของอีกบริษัทที่ครอบครัวไรกัสควบคุม บริษัทได้เอ่ยปากกับคณะกรรมการตรวจบัญชีของบริษัท
ที่มีประธานคือ เออร์แลนด์ เคลบอร์น ที่ตอนนี้ขึ้นเป็นประธานบริษัท
ประธานกรรมการ และรักษาการหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งอเดลเฟียเองก็ยัง ได้นำข้อทักท้วงนี้ขึ้นรายงานต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ด้วย
Deloitt & Touche
ยังตอบโต้ด้วยการขอยกเลิกผลการตรวจสอบบัญชีอเดลเฟีย ปีงบประมาณ 2001 ซึ่งบริษัทปล่อยออกมาในเดือนพฤษภาคมปีนี้
โดยบอกว่า บริษัทได้ถูกกดดันให้ผลิตรายงานการเงิน ในเดือนเมษายน
ขณะที่อเดลเฟียไม่ยอมปล่อยข้อมูลเรื่องธุรกิจเครือข่ายให้ Deloitt &
Touche ยังบอกอีกว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษตั้งแต่เดือนมีนาคม เพื่อตรวจสอบ
บัญชีนอกระบบระหว่างบริษัทกับครอบครัวไรกัส แต่คณะทำงานไม่ได้รับมอบหมายงานจากคณะกรรมการ
ชุดที่มีอยู่จนกระทั่งกลางเดือนเมษายน
การขอล้มละลายทำให้บริษัทยังไม่ต้องเคลียร์หนี้สินที่เรียกเก็บเข้ามา แต่สามารถดึงเงินมาใช้เพื่อ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินการแพร่ภาพให้ลูกค้าใน 3,500 ชุมชนอย่างไม่ติดขัด
รวมถึงนำเงินไปจ่ายค่าจ้าง พนักงานเป็นความจำเป็นเบื้องต้น ในตอนแรกบริษัทประกาศขายธุรกิจเคเบิลทีวีตามเมืองใหญ่ๆ
เช่น ลอสแองเจลิส ฟลอริดา และเวอร์จิเนีย
แต่หลังการยื่นล้มละลายไม่ถึงสัปดาห์ บริษัทก็แถลงว่า อาจเก็บธุรกิจเหล่านี้ไว้
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ของลอสแองเจลิส บอกว่า บริษัทยังไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียมธุรกิจประจำเทอม
3
เดือนที่ต้องจ่าย ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ค่าธรรมเนียมส่วนนี้คิดเป็น
5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ และบริษัทต้องจ่ายก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม ขณะนี้ทางเมืองได้ส่งหนังสือจากทนายความทวง
ถามไปแล้ว
นอกจากนั้นยังทวงถามถึงค่าธรรมเนียมย้อน หลังในระหว่างปี 1996-1999 อีก
3.2 ล้านดอลลาร์ ที่ทนาย ความประจำเมืองเพิ่งค้นพบในระหว่างการตรวจสอบบัญชี
พร้อมทั้งขู่ว่าจะทบทวนสัญญาการให้แฟรนไชส์ดำเนิน ธุรกิจเคเบิลทีวีในลอสแองเจลิส
ที่จะหมดอายุในวันที่ 2 สิงหาคมนี้ ส่วนการสอบสวนเรื่องการฉ้อฉลและรายงานผลการ
เงิน ที่นำทีมโดย ก.ล.ต.
จะใช้เวลาประมาณ 10 สัปดาห์ถึง 3 เดือน นับจากปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา
ในระยะหลัง เคเบิลทีวีในสหรัฐอเมริกา ยังประสบ ปัญหาการบุกตลาดอย่างหนัก
ของจานรับสัญญาณดาวเทียม
ขนาดเล็ก โดยเฉพาะไดเร็กต์ทีวี ซึ่งเป็นผู้แพร่ภาพผ่านจาน ดาวเทียมอันดับหนึ่งของประเทศ
นอกจากข้อเสนอให้ช่อง ที่มากกว่า ยังมีการแจกจานรับสัญญาณและเครื่องรับภาพ
ให้ฟรี รวมถึงติดตั้งฟรี
หรือจ่ายค่าติดตั้งน้อยมาก และยัง ไม่เรียกร้องให้ลูกค้าเซ็นสัญญาผูกมัด
3 เดือน ถึงหนึ่งปี อย่างที่นิยมทำกันแต่ก่อน