การอ่อนตัวค่าดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้เงินบาทไทยค่าแข็งขึ้นช่วงนี้ ส่งผลผู้ส่งออกไทย
ต้องปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ทิศทางค่าดอลลาร์ และบาทระยะต่อไป ทำให้นายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
แสดงความห่วงใยเรื่องนี้ แนะแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านการค้าระหว่างประเทศของไทย
เนื่องจากความผันผวน ค่าดอลลาร์สหรัฐ
ผู้ส่งออกไทยควรกระจายการค้าขายกับต่างประเทศรูปเงินตราสกุลอื่นๆ เพิ่มขึ้น
อาทิ เงินยูโรกลุ่มสหภาพยุโรป และเงินเยนญี่ปุ่น ทดแทนการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ
เป็นหลัก เพื่อ
การส่งออกไทยจะลดความเสี่ยงจากอิทธิพลดอลลาร์สหรัฐ ช่วยให้การส่งออกของไทยยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
ขณะที่บาทค่าเข้มแข็งขึ้นราว 8.8% เมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ต้นปี
บาทกลับอ่อนตัวประมาณ
3.6% เมื่อเทียบเงินยูโร ค่าลดราว 3.8% เมื่อเทียบเยน จะเป็นผลดีต่อสินค้าส่งออกไทยที่ค้าขายรูปสกุลเงินยูโรและเงินเยนช่วงนี้
เพราะทำให้สินค้าไทยราคาถูกลงในสายตา ผู้ซื้อต่างชาติ
หากผู้ส่งออกไทยติดต่อค้าขายกับประเทศ คู่ค้ารูปสกุลเงินยูโรและเยนเพิ่มขึ้น
จะมีส่วนช่วยชดเชยผลเสียจากการที่บาทแข็งค่าขึ้นเทียบ ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม
การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การ
ค้าขายสินค้ากับต่างประเทศที่โน้มเอียงสู่เงินตรา สกุลยูโร ควรทำค่อยเป็นค่อยไป
ประเด็นสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึง คือ กลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินยูโรร่วมกัน
หรือที่เรียกกันว่า กลุ่มยูโรโซน
จะยินดีขยายบทบาทของตนเวทีเศรษฐกิจและการค้าโลกมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งเพิ่มพูนความสัมพันธ์เศรษฐกิจ-การค้ากับไทยเพียงใด
ช่วงที่ผ่านๆ มา สหรัฐฯ มีความสำคัญด้าน เศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน และการเงินภูมิภาค เอเชีย รวมทั้งในไทย มากกว่ากลุ่มยุโรป ส่งผลดอลลาร์สหรัฐ
มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างมาก ประมาณว่า
การค้าระหว่างประเทศของไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐมากกว่า 80% ของมูลค่า การค้าทั้งหมดของไทย
เมื่อเทียบกับสายสัมพันธ์ เศรษฐกิจของไทยกับกลุ่มประเทศยุโรป
ซึ่งมักค้าขายภายในภูมิภาคเดียวกันเป็นหลัก ส่งผลให้การใช้เงินยูโรยังไม่แพร่หลายเท่าใดนักในกลุ่มประเทศเอเชีย
รวมทั้งไทย ปัจจุบันการส่งออกสินค้าของไทยไปกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ประมาณ
15%
ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย เทียบสัดส่วนส่งออกไป สหรัฐฯ ราว 20% เงินยูโร
เป็นเงินตราสกุลใหม่ที่เปิดตัวสู่ตลาดการเงินโลกปี 2542 ฐานะเป็นเงินตราสกุล
เดียวประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 12
ชาติ จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 15 ชาติ เนื่องจากอังกฤษ สวีเดนและเดนมาร์ก
ยังไม่ร่วมใช้เงินตราสกุลนี้ หลังจากกลุ่มยูโรโซนนำเงินยูโรออกใช้หมุน เวียนระบบเศรษฐกิจ
ตั้งความหวังว่าเงินตราสกุล
เดียวยุโรปจะสวมบทบาทแทนเงินตราสกุลเดิมประเทศสมาชิก EU 12 ชาติ มีบทบาทสำคัญวงการการค้าและระบบการเงินโลก
อาทิ ' บทบาทสื่อกลางการค้า คาดเงินยูโรจะเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้
ประกอบธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ราว 1 ใน 5 ของมูลค่าการค้าโลก เทียบดอลลาร์สหรัฐ
ที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด สัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งมูลค่าการค้าโลก ส่วนเยนบทบาทค่อนข้างน้อย
ราว
5% เท่านั้น ' บทบาททุนสำรองระหว่างประเทศ คาดว่าประเทศต่างๆ ถือครองเงินยูโร
ในฐานะทุน สำรองเงินตราต่างประเทศ ประมาณ 20% ของปริมาณทุนสำรองฯทั้งโลก
เทียบกับทุนสำรอง
เงินตราต่างประเทศที่อยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ราว 63% เยน 6% ' บทบาทสื่อกลางในตลาดตราสารหนี้ของ
โลก เงินยูโรบทบาทค่อนข้างโดดเด่นในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ
ตราสารหนี้ที่ซื้อขายกันรูปสกุลเงินยูโรประมาณ 35% ของมูลค่าตราสาร หนี้ในตลาดโลก
ใกล้เคียงสัดส่วนการค้าตราสาร หนี้รูปดอลลาร์สหรัฐ ระดับ 37% และการซื้อขาย
ตราสารหนี้รูปสกุลเยน 17%
เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลหลักอีกสกุลหนึ่งแวดวงการค้าและการเงินโลก ที่มีโอกาสทาบรัศมีดอลลาร์สหรัฐ
เนื่องจากสหภาพยุโรปประชากรถึง 300 ล้านคน แนวโน้มสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้การใช้เงินยูโรมีโอกาสเติบโตต่อไป แต่ที่ผ่านมา เงินยูโรยังไม่ได้รับความสนใจ
เต็มที่ ค่าอ่อนตัวลงเป็นลำดับหลังจากประเดิมใช้เงินตราสกุลนี้ 3 ปีก่อน
เหตุผลที่ผู้นำชาติยุโรปอ้างว่าเงินยูโรอ่อนตัว
เพราะค่าดอลลาร์เข้มแข็งเกินไป ดูเหมือนแนวคิดดังกล่าวอาจเป็นจริง เพราะขณะนี้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนแรงลง
ส่งผลเงินยูโรกลับฉายแววสดใส ท่ามกลางมรสุมค่าดอลลาร์สหรัฐ ตกต่ำ
เงินยูโรกอบกู้ค่าเงินสูงขึ้น เฉลี่ย 1 ยูโรต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินแข็งแกร่ง
ในรอบ 2 ปี ทำให้ประเทศต่างๆ จับตาเงินยูโร ในฐานะเงินตราสกุลหลักที่มีศักยภาพไม่ด้อยกว่าดอลลาร์สหรัฐ
เงินยูโร :
พ้นวิกฤต พิชิตโอกาส บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดสรุปปัจจัยสำคัญ
5 ประการ ที่จะช่วยสนับสนุนเงินยูโรให้บทบาทโดดเด่นแวดวงเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ
ดังนี้ *
เงินทุนไหลกลับยุโรป สถานการณ์ปั่นป่วนตลาดเงินตลาดทุนสหรัฐฯ ทำให้เงินลงทุนบางส่วนเริ่มไหลกลับยุโรป
สวนทางช่วงก่อนหน้านี้ ที่กระแสเงินทุนจากยุโรป
หลั่งไหลเข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในสหรัฐฯ อย่างมาก ทั้งรูปการลงทุนโดยตรง
และการลงทุน ทางอ้อม เพื่อซื้อหุ้น พันธบัตร และตราสารหนี้ต่างๆ เนื่องจากสหรัฐฯ
เคยเป็นแหล่งลงทุนเนื้อหอมช่วง 10
ปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการที่สหรัฐฯ ปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ยุค New Economy
ประมาณว่าเงินลงทุนจากยุโรปเฉลี่ยสูงถึง 80% ของเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดของสหรัฐฯ
หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า
500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/ปี คาดว่าเงินลงทุนจากยุโรป ที่เคยแสวงหาผลตอบแทนในต่างแดน
โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และละตินอเมริกา แนวโน้มจะทยอยไหลกลับลงทุนภายในภูมิภาคตนเองมากขึ้น
อีกทั้งเงินลงทุนใหม่ยุโรป จะเลือกลงทุนกลุ่มตนเอง ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัยมากกว่า
เงินลงทุนประเทศ ภูมิภาคอื่นๆ อาจเห็นลู่ทางการลงทุนในยุโรป ทดแทนการลงทุนในสหรัฐฯ
คาดว่าจะส่งผลดีเงินยูโรให้มีค่ามั่นคง เพราะความต้องการเงินยูโรขยับสูงขึ้น
* เงินยูโรเพิ่มบทบาททุนสำรองเงินตราต่างประเทศ หลังจากเงินยูโรเปิดตัวสู่ตลาดการเงินโลกปี
2542 ประเทศต่างๆ
ถือเงินตราน้องใหม่สกุลนี้เป็นส่วนหนึ่งทุนสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มเติมจากเดิมที่นิยมถือครองดอลลาร์สหรัฐ
เป็นหลัก แต่ระยะแรก การใช้เงินยูโรเป็นทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศค่อนข้างจำกัด
เนื่องจากบรรดาประเทศต่างๆ ยังไม่ค่อยคุ้นเคยนัก เพราะเงินยูโรเป็นเพียงสกุลเงินอ้างอิง
ยังไม่มีการพิมพ์ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ออกใช้ จนกระทั่งต้นปี 2545 กลุ่มประเทศยูโร
จึงนำธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ออกใช้หมุนเวียนจริงจัง ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
เกิดวิกฤตค่าเงินเอเชีย ทำให้ประเทศเอเชียส่วนใหญ่พะวงกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศตน
โดยเฉพาะปัญหาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอ จึงไม่สนใจจะบริหารจัดการปรับสัดส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนัก
ความต้องการที่จะใช้เงินยูโรเป็นทุนสำรอง
เงินตราต่างประเทศแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับเวลาต่อมา กลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
15 ประเทศ ประกาศลดสัดส่วนถือทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
เพื่อถือสกุลเงินยูโรมากขึ้น การที่เศรษฐกิจเอเชียเริ่มฟื้นตัว ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น
ส่งผลความต้องการถือเงินยูโรเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศขยายตัว
โดยเฉพาะช่วงค่าดอลลาร์สหรัฐ ตกต่ำ เกิดความไม่แน่นอนตลาดหุ้นและเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นแรง
จูงใจให้ความต้องการถือเงินยูโรเป็นทุนสำรองฯ แนวโน้มสดใส ความต้องการถือเงินยูโรเป็นทุนสำรอง
เงินตราระหว่างประเทศ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินยูโรมั่นคง ขณะนี้ประเทศเอเชีย
ซึ่งปริมาณ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมค่อนข้างสูงสุดในโลกอยู่แล้ว
แสดงท่าทีจะเพิ่มสัดส่วนถือเงินยูโรเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ มากขึ้น
* เศรษฐกิจยุโรปคมในฝัก หากพิจารณาผิวเผิน เศรษฐกิจกลุ่มยูโร ค่อนข้างเชื่องช้า
เมื่อเทียบสหรัฐฯ ช่วง 5 ปีที่แล้ว
การเจริญเติบโตเศรษฐกิจเฉลี่ยราว 2.4% ต่อปี เทียบกับสหรัฐฯ ขยายตัว GDP
เฉลี่ยราว 4.2% ต่อปี อัตราว่างงานกลุ่มยูโรปัจจุบันราว 9% สูงกว่าในสหรัฐฯ
กว่า 2 เท่า อย่างไรก็ตาม
เศรษฐกิจยูโรมีเสถียรภาพระดับหนึ่ง ไม่ผันผวนรวดเร็วเหมือนสหรัฐฯ อีก ทั้งกำลังอยู่ในกระบวนการปฏิรูปอย่างเป็นระบบ
ทำให้เศรษฐกิจกลุ่มยูโรทิศทางมั่นคงในอนาคต
ปัจจัยที่ช่วยเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจยูโรขณะนี้ ได้แก่ การลงทุนด้าน IT ซึ่งดำเนินต่อเนื่อง
เช่น เยอรมนีอัตราลงทุนด้าน IT เพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 28% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2534
เป็นต้นมา ตลาดแรงงานยุโรปปรับตัว
โดยปรับปรุงกฎหมายแรงงานเป็นลำดับ ช่วยให้ตลาดแรงงาน ยืดหยุ่นกว่าเดิม จ้างแรงงานใหม่ๆ
เพิ่มขึ้น อัตราว่างงานที่เคยสูงกว่า 10% เริ่มชะลอตัว งบประมาณเกินดุล
ประเทศสมาชิกต้องปรับลดงบประมาณขาดดุลให้อยู่ภายในกฎเกณฑ์สนธิสัญญา Maastricht
ทำให้ประเทศยูโรส่วนใหญ่ยอดงบประมาณเกินดุล ปฏิรูปภาษี
เพื่อสร้างความได้เปรียบดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ปรับปรุงระบบเก็บภาษี
และปรับโครงสร้างอัตราภาษีใหม่ จึงกลายเป็นแฟชั่นทั่วยุโรป เป็นต้น เศรษฐกิจยุโรปปี
2545 คาดว่าจะเฉลี่ยราว 2.2%
เทียบกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งทางการสหรัฐฯ ประมาณราว 3.5% แต่สหรัฐฯ ต้องแบกปัจจัยเสี่ยงด้านขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง
4 % ของ GDP ความผันผวนตลาดหุ้นสหรัฐฯ และค่าดอลลาร์
หากวิกฤตศรัทธาเศรษฐกิจและธุรกิจสหรัฐฯ ตลาดหุ้น และค่าดอลลาร์ ยังคงดำเนินต่อไป
ยิ่งทำให้ค่าเงินยูโรโดดเด่นมากขึ้นเท่านั้น * ยุโรปได้เปรียบอัตราดอกเบี้ย
สถานการณ์อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศโดยทั่วไปทรงตัวระดับต่ำแทบทุกภูมิภาค
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำปรับลดดอกเบี้ยตลอดปีที่ผ่านมา ปัจจุบันดอกเบี้ยระยะสั้น
(Fed funds rate)
ของสหรัฐฯ ทรงตัว 1.75% ซึ่งต่ำสุดรอบ 40 ปีของสหรัฐฯ เป็นระดับต่ำมากเมื่อเทียบชาติตะวันตกอื่นๆ
คาดการณ์ว่าสหรัฐฯอาจต้องรักษาดอกเบี้ย ระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง
หากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่มีท่าทีฟื้นตัวชัดเจน สหรัฐฯ จึงแทบหมดโอกาสจะใช้มาตรการอัตราดอกเบี้ย
เพื่อช่วยพยุงค่าดอลลาร์ของตนช่วงนี้
ส่งผลประเทศยุโรปยังคงได้เปรียบด้านอัตราดอกเบี้ยเหนือสหรัฐฯ แม้กลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโรร่วมกัน
หรือที่เรียกว่า กลุ่มยูโรโซน ทยอย ปรับลดดอกเบี้ยทั่วไปลงเช่นกันรอบปี
2544
ดอกเบี้ยเงินยูโรทรงตัวอยู่ระดับ 3.25% ปัจจุบัน ซึ่งสูงกว่าของสหรัฐฯ ทำให้เงินยูโรเป็นสกุลเงินตราที่จูงใจนักลงทุนมากกว่าดอลลาร์สหรัฐ
ประเด็นน่าสังเกตคือ ธนาคารกลางยุโรป (European Central
Bank: ECB) ซึ่งดูแลรับผิดชอบนโยบายการเงินกลุ่มประเทศยูโรโซน แนวโน้มอาจปรับดอกเบี้ยสูงขึ้น
หากเห็นว่าภาวะเงินเฟ้อประเทศกลุ่มนี้ส่อเค้าปะทุเกินเพดานอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย
2%
สถานการณ์ดังกล่าว จะทำให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยยุโรปและสหรัฐฯ กว้างขึ้น
จะมีส่วนเกื้อหนุนเงินยูโรให้มีค่ามั่นคงยิ่งขึ้น * ปลอดภัยจากเหตุการณ์ก่อการร้ายข้าม
ชาติ
ดอลลาร์สหรัฐเคยเป็นสกุลเงินปลอดภัย ที่สุดสกุลหนึ่งของโลก แต่หลังจากเหตุวิปโยคในสหรัฐฯ
กันยายน 2544 ส่งผลสหรัฐฯ กลายเป็นดินแดนเป้าหมายก่อการร้ายข้ามชาติ
แนวโน้มอาจเกิดเหตุการณ์รุนแรงได้ทุกขณะ ส่งผลบทบาทเดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะสกุลเงินปลอด
ภัย เสื่อมถอยลง ความต้องการถือดอลลาร์ จึงลดลงด้วย นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง
จึงกระจายการลงทุนอยู่ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศอื่นๆ รวมถึงเงินยูโร หากสถานการณ์ในภูมิภาคต่างๆ
ของโลก ยังคงร้อนระอุด้วยภัยก่อการร้าย และการสู้รบ
จะทำให้ความต้องการถือเงินสกุลปลอดภัยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เงินฟรังก์สวิส เงินยูโร
และเงินปอนด์ สเตอร์ลิง แทนที่จะดอลลาร์สหรัฐ การที่เงินยูโรกลับมาฉายแววสดใส
ค่าพุ่งขึ้นเทียบเท่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ
อีกครั้งระยะนี้ มองกันว่าเงินยูโรแนวโน้มจะเพิ่มบทบาทในเวทีการเงินและการค้าโลกมากขึ้น
ท่ามกลางความอึมครึมค่าดอลลาร์สหรัฐ ที่กำลังกระทบจากวิกฤตศรัทธาบริษัทชั้นนำสหรัฐฯ
จนสะเทือนตลาดหุ้นและตลาดเงินสหรัฐฯ อย่างหนักขณะนี้ ประเทศไทย คาดว่าระยะยาว
เงินยูโรจะเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลหลักที่แทรกตัวมีบทบาทการค้าของไทยเพิ่มขึ้น
เพื่อช่วยบรรเทาความผันผวนการส่งออกของไทย และกระจายความเสี่ยงจากความแกว่งไกวค่าดอลลาร์สหรัฐฯ
ไทยควรขยายความสัมพันธ์กับกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งมีมาตรฐานจัดระเบียบเศรษฐกิจ
มั่นคง แนวโน้มเป็นกลุ่มเศรษฐกิจเสรีที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ แม้ตลาดสหภาพยุโรปมีมาตรการการค้าเข้มงวดมาก
เป็นอุปสรรคต่อสินค้าส่งออกของไทยอยู่บ้าง
แต่หากผู้ส่งออกไทยเข้าใจกฎระเบียบกลุ่มอียูอย่างละเอียดรอบคอบ คาดว่าจะช่วยลดความขัดแย้งการค้าระหว่างกันได้
สินค้าไทยจะสามารถเจาะตลาดการค้าขนาดใหญ่
ที่ประชากรกำลังซื้อสูงแห่งนี้ได้กว้างขวาง ขณะเดียวกันทางการไทยควรเพิ่มสัดส่วน
ถือเงินยูโรเป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เหมือนประเทศเพื่อนบ้านเอเชียอื่นๆ
เพื่อช่วยประคับประคองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศโดยรวมของไทยให้มีเสถียรภาพ
ไม่ผันผวนตาม สกุลดอลลาร์สหรัฐ จนเกินไป