|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอทีจ่ายเงิน 4 พันล้านบาท แลกหุ้นและความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ไทยโมบาย ที่สามารถให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G กับกสท หลังยืดเยื้อมานาน เชื่อส่งผลดีการเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพราะทำให้ภาพรวมแผนธุรกิจทีโอทีด้านมือถือมีความชัดเจนขึ้น
นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ในเรื่องการโอนหุ้นและความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ของกิจการร่วมค้าไทยโมบาย โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นพยานว่าได้ข้อสรุปการโอนหุ้นและการซื้อคืนความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์แล้ว โดยตัวเลขทั้งหมดที่มีการตกลงกันคือ ทีโอทีจ่ายค่าความถี่ซึ่งสามารถให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ให้กสท 4,055 ล้านบาท ในขณะที่กสท จะจ่ายเงินคืนให้ทีโอทีจำนวน 55 ล้านบาท เป็นค่าหุ้นที่จะทำให้ทีโอทีกลายเป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียว จากเดิมที่ทีโอทีถือหุ้น 58% และกสท ถือหุ้น 42%
การยุติปัญหาเรื่องหุ้นและความถี่ จะทำให้แผนธุรกิจในการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ของทีโอทีมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากที่ปัญหาคาราคาซังเป็นเวลานาน เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างกันในการซื้อคืนความถี่ เนื่องจากทีโอทีต้องการจ่ายเงินเพียง 2.5 พันล้านบาท ในขณะที่ กสท ต้องการขายความถี่คืนในมูลค่า 4 พันล้านบาท ส่วนการซื้อหุ้นคืนสามารถบรรลุข้อตกลงก่อนหน้านี้ เพราะทีโอทีได้ลงทุนเป็นเม็ดเงินในกิจการร่วมค้าไทยโมบาย จนเกินมูลค่าหุ้นของกสท หมายถึงกสทต้องจ่ายเงินคืนทีโอที 55 ล้านบาท เพื่อขายหุ้นคืนทีโอที
สำหรับขั้นตอนต่อไปจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดทีโอทีและบอร์ดกสท โดยที่จะใช้วิธีการจ่ายเงินครั้งเดียว 4 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ทีโอทีได้เข้าหารือคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ใน 4 ประเด็นหลัก ที่คาดว่านักลงทุนต้องการความชัดเจนเมื่อทีโอทีออกโรดโชว์ ประกอบด้วย 1.การออกใบอนุญาต ที่กทช.จะออกให้ทีโอที ครบทุกประเภทบริการ ภายในสิ้นเดือนก.ค.นี้ ซึ่งหากกทช.ออกใบอนุญาตให้เอกชน ก่อนที่ทีโอทีจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะส่งผลกระทบกับแผนธุรกิจของทีโอที เพราะอาจเกิดการผ่องถ่ายลูกค้าขึ้น 2.การแปรสัญญาร่วมการงาน ซึ่งกทช.แสดงจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสัญญาร่วมการงาน โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคู่สัญญาเจราตกลงกันเอง
3. เรื่องกองทุนชดเชยการให้บริการสาธารณะแบบทั่วถึง (Universal Service Obligation หรือ USO) ซึ่งเป็นนโนยบายชัดเจนว่าทีโอทีจะเป็นผู้นำในการให้บริการ USO เนื่องจากต้องให้บริการสื่อสาร ในพื้นที่ซึ่งไม่คุ้มค่าในการลงทุน โดยที่ทีโอทีจะต้องได้รับการชดเชยที่สูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่นโดยที่ ทีโอทีจะต้องชี้แจงรายละเอียดว่าอะไรเป็นบริการที่ถือว่าเป็น USO และต้องได้รับการชดเชย อย่างบริการโทรศัพท์นอกข่ายสายในระบบ WLL หรือโทรศัพท์ทางไกลชนบท
4. เรื่องค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จ ซึ่งต้องให้กทช.กำหนดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่าย ส่วนค่าแอ็กเซสชาร์จนั้นกทช.ไม่มีสิทธิ์ในการยกเลิก เนื่องจากเป็นข้อตกลงในสัญญาร่วมการงานที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงและการให้ใช้เลขหมาย
"4 ประเด็นหลักเป็นเรื่องที่นักลงทุนจะถามเรามาก ซึ่งทีโอทีต้องขอความชัดเจนจากกทช."
นอกจากนี้ทีโอทีมีแผนที่จะแตกบริษัทลูกออกมาอีก 3 บริษัท คือ ทีโอที โมบาย ซึ่งภายหลังจัดการปัญหาเรื่องไทยโมบายแล้วจะทำให้แนวทางธุรกิจชัดเจนขึ้น ทีโอที มัลติมีเดียและทีโอที เซอร์วิสที่ร่วมทุนกับบริษัทในกลุ่มสิงเทลในการให้บริการ e-Government
|
|
|
|
|