Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2530
บัณฑูร ล่ำซำ ผู้มีเอกภาพในความขัดแย้ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัณฑูร ล่ำซำ
Banking and Finance




บัณฑูร ล่ำซำ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2496 ปัจจุบันอายุ 34 ปี เขาเป็นลูกชายคนเดียวของบัญชา ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งต้นตระกูลเป็นจีน และเข้ามาค้าขายในประเทศไทยตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ (เทวกุล)

ราชนิกูลผู้สืบเชื้อสายมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บัณฑูรมีน้องสาว 2 คน ศุภวรรณ ล่ำซำ และวรางคณา ล่ำซำ สายเลือดธุรกิจและความเป็นเจ้านายผสมผสานอยู่ในตัว เขาเป็นคนหนุ่มที่ดีพร้อมด้วยชาติกำเนิดและทรัพย์ศฤงคารอย่างน่าอิจฉา มีความฉลาดเฉลียวและรสนิยมที่นุ่มละไม

ความเป็นลูกชายคนเดียวของบัญชา แม้ "ล่ำซำ" จะไม่มีจารีตระบุไว้ว่าเขาจะเป็นทายาทคนต่อไป แต่คนรอบข้างรู้ดีว่า "ใช่" และดูเหมือนจะเดินรอยตามพ่อ "บัญชา ล่ำซำ" ประดุจเงา

บัณฑูรเริ่มการศึกษาชั้นประถม 1-3 ที่โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สาธิต มศว.ประสานมิตร จากนั้นไปอเมริกาต่อที่ไฮสกูลที่ PHILLIPS EXETER ACADAMY

เพื่อเตรียมตัวศึกษาในระดับปริญญาตรี

เป็นที่รู้กันว่าบัญชาสนับสนุนอย่างยิ่งให้ผู้มีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์หรรือด้านเทคนิคเรียนต่อทางด้านบริหารธุรกิจ

เพราะเขาได้ตัวอย่างจากหลายประเทศที่นักบริหารที่มีพื้นฐานทางด้านเทคนิคทำงานได้ดี ดังนั้นไม่เพียงแต่พนักงานกสิกรไทยที่มีพื้นฐานทางด้านนี้จะได้รับการสนับสนุนเท่านั้น

บัณฑูรก็ได้รับคำแนะนำอย่างนี้เช่นกัน เขาเจริญรอยตามบัญชาซึ่งจบปริญญาตรีทางเคมี ด้วยการเรียนวิศวเคมี

เมื่อจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยปรินซตันแล้ว เขาสมัครเข้าเรียนต่อที่ HARVARD BUSINESS SCHOOL ขณะนั้นบัณฑูรเป็นหนึ่งในนักศึกษาไม่กี่คนที่จบปริญญาตรีใหม่ ๆ

และไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน เขาเรียนจบฮาร์วาร์ดในปี 2520

ทันทีที่กลับถึงเมืองไทย งานที่เริ่มกลับไม่ใช่ธุรกิจของ "ล่ำซำ" ทว่าบัณฑูร ต้องกลับมารับราชการทหารเป็นร้อยตรีประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดอยู่ประมาณ 2 ปี บทสรุปที่เขาได้รับจากการเป็นทหารคือ

"ถ้าราชการต้องแข่งขันแบบธุรกิจก็เจ๊งไปนานแล้ว"

ที่สุดเขาก็ต้องเดินในกรอบที่ "ล่ำซำ" เตรียมไว้ให้ โดยเข้าทำงานที่ธนาคารกสิกรไทยครั้งแรกในปี 2522 เริ่มด้วยตำแหน่งพนักงานประจำฝ่ายกิจการต่างประเทศ ในขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยากร เทวกุล

(ขณะนี้เป็นกรรมการรองผู้จัดการ) น้าชายเป็นผู้อำนวยการฝ่าย

ชีวิตการทำงานของทายาทที่ "ล่ำซำ" มาดหมาย เริ่มขึ้นเมื่ออายุ 26

ถ้ากล่าวถึงการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นกิจการหลักของ "ล่ำซำ" แล้ว ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีวิถีทางที่ต่างกันออกไป

มีบ้างที่ทายาทได้รับการคาดหมายและมีโอกาสเตรียมตัวกับตำแหน่งที่รออยู่ มีบ้างที่ก้าวขึ้นมาอย่างฉับพลัน

ตั้งแต่โชติ ล่ำซำได้ร่วมกับญาติและกลุ่มเพื่อนสนิทก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยเมื่อปี 2488 และกุมบังเหียนธนาคารได้เพียง 3 ปีก็ถึงแก่กรรม เกษม ล่ำซำ น้องชายรับช่วงต่อ

เกษม เป็นคนที่ "ล่ำซำ" กำหนดให้ดูแลกิจการนี้อยู่แล้ว เขาเตรียมตัวด้วยการเรียนและฝึกงานการธนาคารที่ประเทศอังกฤษ

เพื่อเตรียมพร้อมการสืบทอดตำแหน่งต่อจากพี่ชาย และเขาก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารสร้างความก้าวหน้า ให้แก่กิจการธนาคารไม่เป็นที่ผิดหวังแก่ครอบครัวเลยแม้แต่น้อย

แต่เมื่อเกษมเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยอุบัติเหตุทางเครื่องบินสายการบินอะลิตาเลีย หลังจากควบคุมธนาคารกสิกรไทยได้ 15 ปี

บัญชา ล่ำซำ ต้องรับตำแหน่งต่อโดยไม่คาดคิดมาก่อน ปี 2506 บัญชาซึ่งขณะนั้นดูแลกิจการเมืองไทยประกันชีวิตกิจการที่ครอบครัวหมายหมั่นห้เขาดำเนินการ

ต้องเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการสืบต่อจากเกษมผู้เป็นอา ทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการธนาคารมาก่อนเลย แต่กสิกรไทยยุคของบัญชาก็นับว่าเป็นยุคที่เติบโตอย่างมั่นคง

และเมื่อถึงบรรยงค์ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบัน ซึ่งรับหน้าที่ต่อจากบัญชาพี่ชายซึ่งขึ้นไปเป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารตั้งแต่ปี 2519 ก็นับว่าเหมาะสมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ

เพราะทำงานร่วมกับบัญชาและอยู่ในวงการธนาคารมานาน

จากวันที่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันรอยเท้าที่คนรุ่นก่อนประทับไว้ตลอดเส้นทางการเติบโตของกสิกรไทยนั้นยิ่งใหญ่นัก วันนี้กสิกรไทยเป็นธนาคารพานิชย์อันดับสองจากธนาคารพานิชย์ทั้งสิ้น 16 แห่ง

รองจากธนาคารกรุงเทพเท่านั้น เมื่อสิ้นธันวาคม 2529 มีสินทรัพย์ 116,193,270 ล้านบาท เงินฝาก 96,712,219 ล้านบาท เงินให้กู้ยืม 79,338,519 ล้านบาท

กสิกรไทยวันนี้ใหญ่โต ถึงแม้จะมั่นใจได้ว่าตนเองเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งสูงสุดคนต่อไปแน่นอน แต่นับว่าเป็นภาระหนักหน่วงที่บัณฑูรต้องพิสูจน์ให้ทั้งคนใน "ล่ำซำ" กสิกรไทย

และคนภายนอกเห็นว่าเขาเหมาะสมกับตำแหน่งนี้จริง ๆ !

"อึดอัดนะ แต่มันเป็นความจริงอย่างหนึ่งในชีวิตผม เราอยู่ในสภาพอย่างนี้ก็ต้องทำไปเลือกไม่ได้" บัณฑูรเคยบอก "ผู้จัดการ" ถึงความรู้สึกต่อการที่ใคร ๆ มั่นหมายในตัวเขา

บัณฑูรเป็นชายหนุ่มร่างสันทัดไม่ต่างจากผู้เป็นพ่อ ใบหน้าสดใสภายใต้กรอบแว่นทรงเรย์แบนน่าจะบอกว่าเขาเป็นคนรื่นเริง ช่างพูด แต่คนที่ทำงานร่วมกับเขากลับบอกว่าเคร่งขรึมเอาการเอางาน

อาจเป็นเพราะสถานภาพที่ดำรงอยู่ก็เป็นได้ที่ทำให้บัณฑูรเหมือนหนึ่งรวมไว้ด้วย 2 บุคลิกภาพ ภาพหนึ่งเป็นผู้บริหารที่เอาจริงเอาจังกับงาน เคร่งขรึมเกินวัย อีกภาพหนึ่งอ่อนไหว

รักดนตรีและศิลปวัฒนธรรม ดู ๆ มันขัด ๆ กันอยู่ในตัว

ในภาพของนักบริหารที่เอาจริงเอาจังกับงาน เคร่งขรึมเกินวัยนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากทางสาย "ล่ำซำ" ที่มีการสืบทอดทางธุรกิจการค้ามานาน บวกด้วยความเข้มงวด มีวินัย ละเอียดลออ

เสริมเข้ากับความมุ่งมั่นทางธุรกิจของ "ล่ำซำ" เป็นบรรยากาศที่บีบรัดให้บัณฑูรมีบุคลิกดังกล่าว

จากวันที่เริ่มงานในตำแหน่งพนักงานประจำฝ่ายต่างประเทศ จนถึงปี 2527 ที่ธนาคารพานิชย์มีการแข่งขันหนักหน่วงในการเติบโตเป็นอิเลคโทรนิคแบงก์

กสิกรไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร์ครั้งใหญ่เช่นกัน บัณฑูรต้องย้ายจากฝ่ายกิจการต่างประเทศชั่วคราวเพื่อมาทำหน้าที่ประสานงานบริหารการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ใหม่

ซึ่งสามารถจัดระบบได้เรียบร้อยภายในเวลาเพียงปีครึ่ง รวดเร็วอย่างเหลือเชื่อ ขนาดที่ทางฮาร์วาร์ดต้องให้ความสนใจติดต่อขอทำเป็นกรณีศึกษาสำหรับนักศึกษาบริหารธุรกิจ

"เราทำกันหามรุ่งหามค่ำ ตอนนั้นมีความกดดันสูงจากการต่อสู้ทางการตลาดเรายังตามเขาอยู่ต้องไล่ให้ทัน" บัณฑูร พูดถึงการรื้อระบบคอมพิวเตอร์จากเดิมเคยวางไว้เป็นระบบ DECENTRALIZE

ให้แต่ละสาขามีคอมพิวเตอร์ใช้งาน กระจายให้แต่ละสาขาติดตั้งคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนเป็นระบบ CENTRALIZE ที่มีซี.พี.ยู.ศูนย์กลางอยู่ที่สำนักงานใหญ่แล้วออนไลน์ไปตามสาขาต่าง ๆ

เหมือนกับธนาคารกรุงเทพ และธนาคารพาณิชย์

ว่ากันว่าแนวความคิดที่ผู้บริหารรื้อระบบคอมพิวเตอร์เปลี่ยนใหม่นี้มาจากความคิดของผลิตผลจากฮาร์วาร์ดเฉกเช่นบัณฑูร ด้วยเช่นกัน !

นอกจากการช่วยจัดระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารแล้ว ความคิดเรื่อง MIS (MANAGEMENT INFORMATION SYSTEM) โดยการใช้คอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูลเพื่อการบริหาร

ก็เป็นงานชิ้นเอกของบัณฑูรอีกชิ้นหนึ่ง

"ธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีเอกสารข้อมูลมาก วัน ๆ จะมีแต่การส่งผ่านทางเอกสาร การจัดการข้อมูลเอกสารเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็น จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายได้

ถ้าจัดการกับข้อมูลได้เร็วจะทำให้ผู้บริหารตัดสินใจได้เร็วขึ้น ไม่ชักช้าอืดอาด" นักการธนาคารคนหนึ่งสนันบสนุนว่า MIS เป็นสิ่งจำเป็นในธุรกิจการธนาคาร

และทางกสิกรไทยก็กำลังทยอยจัดทำเรื่องนี้ตามความคิด และแรงผลักดันของบัณฑูร

ขณะนี้บัณฑูรดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบสาขาในต่างประเทศ 5 สาขา ลอนดอน แฮมเบอร์ก นิวยอร์ค ลอสแอนเจลิส ฮ่องกง รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับเงินโอนทั้งหมด

เช็คเดินทาง บัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ดและวีซ่า

เป็นสายงานที่จะทำกำไรให้ธนาคารในอนาคตไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมที่ได้จากการออกเอกสารเครดิตต่าง ๆ , เช็คเดินทาง, บัตรเครดิต หรือเงินโอน ซึ่งจะเติบโตขึ้นพร้อม ๆ

กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ

นอกจากนี้เขายังเป็นกรรมการในคณะกรรมการเครดิตของธนาคาร ซึ่งมีผลต่อการปล่อยเงินกู้ของธนาคาร

ซึ่งลักษณะการปล่อยเงินกู้ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่บอกให้เห็นถึงลักษณะบุคลิกของผู้บริหารธนาคารได้เช่นกัน

สำหรับบัณฑูรแล้วเขาบอก "ผู้จัดการ" ว่า กสิกรไทยเป็นธนาคารที่ค่อนข้าง CONSERVATIVE มันขึ้นอยู่กับว่าเราเปรียบเทียบกับอะไรด้วย CONSERVATIVE หรือ AGGRESSIVE ต่างมีข้อดีข้อเสีย พวก

AGGRESSIVE อาจปล่อยพรวด ๆ ในธุรกิจธนาคารมันแปลกแต่คนปล่อยไม่ต้องมาแก้ คนแก้ไม่ได้ปล่อย แต่พวก CONSERVATIVE อาจถูกด่าว่าไม่ยอมสู้ แต่เราจะวัดกันเดี๋ยวนั้นไม่ได้ อาจต้อง 3

ปีให้หลังถึงจะรู้เรื่อง ธุรกิจนี้ไว่ว่าที่ไหนในโลกมันเป็นอย่างนี้ มันเป็น CYCLE มันอาจมี AGGRESSIVE แล้วก็ลง CONSERVATIVE มันเป็นวัฏจักร" บัณฑูรให้ความเห็นเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ

อาจเป็นเพราะฮาร์วาร์ดสอนแนวคิดในการเปรียบเทียบสถานการณ์รอบด้านก่อนการตัดสินใจให้เขามาก ๆ ก็เป็นได้ เขาจะเป็นนายธนาคาร AGGRESSIVE หรือ CONSERVATIVE

ก็คงแล้วแต่สถานการณ์

เหล่านี้คงพอเป็นผลงานและสร้างจุดยืนที่สนันสนุนให้สถานะความเป็นทายาทเด่นล้ำขึ้นมาได้บ้าง ความรู้ MBA

ฮาร์วาร์ดที่เขาว่าได้ใช้ดีอย่างยิ่งยวดทำให้เขาเข้าไปจัดการอะไรอีกหลายสิ่งหลายอย่างในกสิกรไทยมีบ้างที่สำเร็จไปแล้ว มีบ้างที่รอการประเมินผล และที่กำลังจะทำต่อไปยังมีอีกมาก

สิ่งที่บ่งบอกถึงแนวคิดของบัณฑูรอีกเรื่องหนึ่งคือ วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งนักบริหารหลายคนให้ความเห็นว่าที่จริงแล้ววัฒนธรรมองค์กรคือปรัชญาของผู้บริหารระดับสูงนั่นเอง

ในยุคของบัญชาวัฒนธรรมองค์กรที่ปลูกฝังให้พนักงานและสืบทอดมาอย่างชัดเจนคือ วินัยและระบบคุณธรรม กสิกรไทยยุคบัญชาไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก

ในเรื่องการมีวินัยนั้นไม่เพียงแต่พนักงานจะทำงานกันอย่างเป็นระเบียบมีขั้นตอนเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาเป็นอย่างดีแล้ว

แม้แต่ห้องน้ำธนาคารไม่ว่าจะเป็นที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาต้องสะอาดเอี่ยมตลอดเวลา

สำหรับบัณฑูรเขาเห็นด้วยกับวัฒนธรรมองค์กรที่มีอยู่ แต่สิ่งที่ฝังหัวเขาและเขาคิดจะปลูกฝังให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรต่อไปคือ การมีส่วนช่วยในการทำกำไรให้องค์กร (CONTRIBUTE)

"ในโลก BANKING มันแข่งขันกันมากขึ้น ไม่เหมือนเมื่อก่อนสบาย ๆ เพราะฉะนั้นถ้าทุกหน่วยไม่ช่วยกันทำกำไร ในที่สุดมันจะแย่ ยิ่งตอนนี้เราต้องส่งเสริมสำนึกเรื่องนี้" บัณฑูรเน้น

และแม้แต่ตัวเขาเองในสายตาที่คิดว่าครอบครัวมองเขา ก็มีความคิดเรื่อง CONTRIBUTE เข้ามาเกี่ยวข้อง

"เขาถือว่าผมเป็นทรัพยากรอันหนึ่ง ซึ่งก็เห็นว่าควรนำมาใช้ได้ เพราะเขาลงทุนไปมหาศาลในการให้การศึกษา ก็น่าจะนำมาใช้ได้"

เขากล่าวแล้วตามด้วยเสียงหัวเราะเป็นวิธีที่เขาใช้เสมอเพื่อเกลื่อนความรู้สึกในบทสนทนาที่เคร่งเครียด หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนเรื่องพูด

บัณฑูรคนที่มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังกับงานเป็นภาพหนึ่ง แต่ในอีกภาพหนึ่งยามมีเวลาล่างเขาเป็นคนอ่อนไหวเรียบร้อยยิ่งนัก

สายเลือดราชนิกูลทางข้างแม่แย่างเขาสนใจในประวัตติศาสตร์ความเป็นมาของชาติไทย และใฝ่ในศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ดนตรีไทยเป็นสิ่งที่เขาสนใจมากเมื่อเรียนที่สาธิต มศว.ประสานมิตรเขาเล่น "จะเข็" เป็นเครื่องดนตรีไทยชิ้นแรก ยามว่างเมื่อเรียนที่อเมริกาเขาใช้ "ขลุ่ย" เป็นเพื่อน กลับถึงเมืองไทยใหม่ ๆ เขาเล่น "ซออู้"

ล่าสุดเขาสนใจ "ซอสามสาย" เอาจริงเอาจังกับการฝึกฝนไม่แพ้หน้าที่การงาน กล่าวได้ว่าขณะนี้เขาเป็นยอดฝีมือซอสามสายคนหนึ่ง

ทุกครั้งที่บทสนทนามีเรื่องซอสามสายอยู่ด้วยเขาจะพูดมากกว่าปกติและรู้สึกพึงพอใจ เขายินดีที่จะนั่งพับเพียบให้เหน็บกินเป็นชั่วโมงเพื่อเล่นซอสามสาย

ว่ากันว่าซอสามสายที่เขาสั่งทำพิเศษนั้นทำจากงาช้างและกระโหลกมะพร้าวชั้นดีนั้นราคาคันหนึ่งกว่า 90,000 บาท ทั้งที่ซอในราคาปกติคันละประมาณ 500 บาทเท่านั้น

และถ้ามีเวลาว่างกว่านั้นเขาก็อาจไปเล่นเรือใบบ้าง บัณฑูรมีเพื่อนไม่มากนักเพราะจากเมืองไทยไปถึง 10 กว่าปี เพื่อนที่มีอยู่น้อยคนของบัณฑูรบอก "ผู้จัดการ" ว่า "แรก ๆ ที่คุณปั้นกลับเมืองไทย

คุณบัญชาต้องจัดงานปาร์ตี้ชวนเพื่อน ๆ มาสังสรรค์"

บัณฑูรก็เหมือนนักการธนาคารทั่วไปที่แต่ง "เนี๊ยบ" ทุกกระเบียดนิ้ว ร่างสันทัดในเสื้อแขนยาว ผูกเนคไทเรียบร้อย กางเกงกลีบโง้ง รองเท้าขัดเงาหนังอย่างดี จะนั่งทำงานที่ธนาคารตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง

หนึ่งทุ่ม ตลอดเวลาที่ทำงานนั้นเขาจะเรียกเอาอะไรเขาจะต้องได้ และได้ทันใจเสียด้วย

เขาเป็นคนจริงจังมุ่งมั่นอย่างนี้เสมอ

"คุณพ่อก็เคนเตือน ๆ บ้างเหมือนกัน" เขาบอก "ผู้จัดการ" เรื่องงานและการวางตัว

สำหรับบัณฑูรเองไม่ว่าใครจะมองเขาด้วยบุคลิกภาพอย่างไร จะเห็นว่าเขาเป็นทายาทหรือลูกเจ้านายใหญ่

แต่สำหรับบัณฑูรเองเขาคิดว่าตนเองเป็นพนักงานคนหนึ่งเป็นพนักงานที่ออกจะเป็นมืออาชีพเสียด้วย เขาจะรู้สึกไม่พอใจมาก ๆ ที่ใครจะเรียก กสิกรไทยว่า "แบงก์ของล่ำซำ"

"แบงก์ไม่ใช่ธุรกิจส่วนตัว แบงก์เป็น PUBLIC COMPANY จะมาทำเป็นแบบครอบครัวมันหมดยุคหมดสมัยแล้ว" เขาบอกว่าขณะนี้มี "ล่ำซำ" เพียง 5 คนเท่านั้นในกสิกรไทย คือ บัญชา บรรยงค์ ปรีชา

ไพโรจน์ และตัวเขาเอง จากจำนวนพนักงานทั้งสิ้นกว่าหมื่นคน

เมื่อวัยเด็กเขาใฝ่ฝันจะเป็นหมอ แต่ในชีวิตจริงเขาถูกกำหนดให้เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของกสิกรไทย ทั้งคนในล่ำซำและกสิกรไทย เพื่อน ๆ

ต่างเอาใจช่วยให้เขาก้าวไปถึงวันนั้นได้อย่างสะดวกสวยงามและราบรื่น

วันนี้เขาเป็นผู้อำนวยการฝ่าย ดูเหมือนยังยาวไกลกว่าที่จะถึงจุดหมายนั้น ถ้าพิจารณาตามโครงสร้างการบริหารของธนาคาร จากผู้อำนวยการฝ่าย เขาต้องไต่เป็นผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ และที่สุดตำแหน่งในปัจจุบันของบัญชา ล่ำซำ

ในฐานะพนักงานคนหนึ่งเขาคิดว่าเขาคงจะเดินไปตามโครงการนั้น

เพราะจริง ๆ แล้วก็คือเส้นทางที่จะช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์และการยอมรับอย่างสิ้นข้อสงสัยสำหรับตัวเขา

บัณฑูรจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่วางกำหนดไว้ให้นั้นได้เร็วแค่ไหน ก็คงต้องขึ้นกับตัวเขาเองด้วยว่าจะพิสูจน์ให้เบื้องบนเห็นความสามารถได้เร็วเพียงใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us