|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ไอบีเอ็มประกาศนโยบายและแผนงานในการสร้างองค์กรให้เป็นบริษัทต้นแบบในยุคศตวรรษที่ 21 โดยเริ่มจากภายในก่อนขยายวงกว้าง ไปสู่การสร้างระบบนิเวศแบบออนดีมานด์ในระบบเศรษฐกิจและสังคม ด้วยนวัตกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ผ่านโครงการต่างๆ
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็มมีนโยบายและแผนงานในการขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นแบบอย่างของการบริหารทรัพยากรบุคคลในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งเน้นการนำคุณค่าของนวัตกรรม หรือ Innovation มาประยุกต์และสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคออนดีมานด์
การที่ไอบีเอ็มมีนโยบายดังกล่าว เพราะผู้บริหารไอบีเอ็มเชื่อว่า การสร้างโลกออนดีมานด์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ส่วนการดำเนินการนั้น ไอบีเอ็มจะเริ่มต้นภายในตัวองค์กรเองก่อนขยายวงกว้างไปสู่การสร้างระบบนิเวศแบบออนดีมานด์ในระบบเศรษฐกิจและสังคม โดยไอบีเอ็มยังคงยึดมั่นปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งนำความเชี่ยวชาญ ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรม เพื่อไปประยุกต์ใช้ และสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม
ตามแผนงานที่วางไว้ ไอบีเอ็มได้มุ่งปรับองค์กรภายใน ทั้งทางด้านกระบวนการดำเนินธุรกิจ วัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณภาพของบุคลากรให้สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์แบบออนดีมานด์บิสิเนส ขณะเดียวกันยังได้นำคุณค่าของนวัตกรรม หรือ Innovation Value มาสร้างคุณประโยชน์ในวงกว้างครอบคลุมไปสู่สังคม เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาทางการแพทย์ สาธารณสุข สภาวะทางด้านมนุษยธรรม ระบบการศึกษา รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชน์สู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลก
"เราพยายามสร้างตัวเองภายในองค์กรเป็นตัวอย่างในยุคออนดีมานด์ โดยนำอินโนเวชันไปสร้างให้เกิดกับอิมแพกต์กับเศรษฐกิจและสังคม"
สำหรับการสร้างให้เป็นองค์กรธุรกิจเป็นต้นแห่งศตวรรษที่ 21 นั้น ไอบีเอ็มกำหนดเป้าหมายชัดเจนที่จะปรับองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อยังคงความเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ที่บุคลากรยุคใหม่อยากทำงานด้วย หรือ Employer of choice โดยไอบีเอ็มได้มุ่งสร้างสรรค์องค์กรใน 4 ด้านหลัก คือ 1. บรรยากาศการทำงาน (climate) 2. วัฒนธรรมองค์กร (Culture) 3. การเสริมสร้างและส่งเสริมศักยภาพของบุคลากร (Capability) และ 4. การปรับระบบการทำงานให้เกิดความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด (Flexibility)
การสร้างองค์กรให้เป็น Employer of Choice นั้น ไอบีเอ็มจะดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย 1. การเปิดโอกาสให้พนักงานทั่วโลกได้กำหนดบทบาทและค่านิยมของพนักงานในยุคออนดีมานด์แห่งศตรวรรษที่ 21 ด้วยตัวเอง ผ่านโครงการที่ปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี คือ ValuesJam 2003, WorldJam 2004 และ WorldJam in Action 2005
2. โครงการ ThinkPlace ที่ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างทางความคิด และกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำมาปรับใช้เป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติขององค์กรต่อไป
3. Workforce Diversity นโยบายที่ให้โอกาสแก่พนักงานเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นด้านชาติพันธุ์ เพศ หรือความทุพพลภาพ เป็นต้น ซึ่งไอบีเอ็มได้ขยายผลนโยบายนี้สู่ระบบการศึกษาไทย ด้วยการสนับสนุนเยาวชนไทยที่เป็นผู้ทุพพลภาพแต่มีความสามารถ ด้วยการมอบทุนการศึกษาและความสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่บุคลากร ให้สามารถพัฒนาความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่
4. การสร้างไอบีเอ็มให้เป็นที่ทำงานแบบอย่างทางด้านการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงาน โดยไอบีเอ็มเปิดโอกาสให้พนักงานได้เติบโตในสายงานที่ต้องการอย่างเต็มที่ และเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญผ่านโครงการ IBM Career Day, On Demand Learning Day และ IBM Professional Certification
ส่วนการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมและระบบเศรษฐกิจไทยนั้น นางศุภจีกล่าวว่า ในการนำคุณค่าของนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์สังคมและระบบเศรษฐกิจไทยนั้น ไอบีเอ็มนำเสนอออกเป็น 4 ด้านหลัก คือ 1. สร้างคุณประโยชน์ต่อธุรกิจไทย 2. สร้างประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตและสังคมของคนไทย รวมถึงความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมต่างๆ 3. สร้างคุณประโยชน์ต่อวงการการศึกษาไทย และ 4. คุณประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยจะดำเนินการผ่านโครงการต่างๆ ประกอบด้วย
โครงการ World Community Grid เป็นโครงการที่ไอบีเอ็มร่วมกับหลายหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาและโครงการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมชั้นนำของโลก ในการประยุกต์เทคโนโลยีกริดคอมพิวติ้งมาสร้างคุณประโยชน์ ที่มุ่งบรรเทาและช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ทั้งทางด้านการแพทย์สาธารณสุข ในการค้นคว้าและวิจัยเพื่อเข้าใจถึงสาเหตุของโรคติดต่อร้ายแรงอย่างเอดส์ อัลไซเมอร์ มะเร็ง และโรคอื่นๆ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการวิจัยเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรง มลพิษในบรรยากาศโลก และการแก้ปัญหาทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอาหารสำหรับประชากรโลก ซึ่งกำลังเป็นปัญหารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งไอบีเอ็มจะเปิดตัวโครงการ World Community Grid อย่างเป็นทางการในประเทศไทยในงาน InnovAsia 2005 ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 21-23 กันยายนนี้
โครงการ Genographic เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มและ The National Geographic Society เพื่อศึกษาเส้นทางการอพยพและการตั้งรกรากของชาติพันธุ์มนุษย์ทั่วโลก และศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างมนุษย์ต่างชาติพันธุ์ ที่กำหนดช่วงเวลาในการศึกษาไว้ 5 ปีเต็ม
สำหรับโครงการ Genographic ประกอบด้วยงาน 3 ส่วนหลัก คือ 1. Field Research เป็น การเก็บตัวอย่างเลือดจากชนเผ่าท้องถิ่น ซึ่งดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันที่ศึกษาและเชี่ยวชาญทางด้านชาติพันธุ์มนุษย์ ซึ่งในตัวอย่างเลือดจะมี DNA ที่เก็บข้อมูลด้านชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่ช่วยสืบค้นถอยหลังไปถึงบรรพบุรุษนับเนื่องเป็นหลายร้อยยุค
2. Public Participation and Awareness Campaign เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคลทั่วไปที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยสั่งซื้อชุดตรวจ Genographic Participation Kit ได้ในราคา 99.95 เหรียญสหรัฐ รวมค่าจัดส่งและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ผ่านเว็บไซต์ของ National Geographic Society
3. Genographic Legacy Project เป็นรายได้จากการขายชุดตรวจ Genographic Participation Kit ซึ่งจะเป็นทุนสนับสนุนให้กับโครงการวิจัยสนามของ National Geographic Society ในอนาคต และสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยหลักด้านวัฒนธรรมโลกต่อไป
|
|
 |
|
|