|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ดีแทคเตรียมขอใบอนุญาตอินเทอร์เน็ต และมือถือ 3G หวังให้บริการครบวงจรครอบคลุมด้านสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงทั้ง 3G, EDGE, GPRS, Wi-Fi และ Wi-Max บนอุปกรณ์ไร้สายทั้งโทรศัพท์มือถือและพีดีเอ พร้อมเปิดบริการ DTAC PushMail ให้บริการรับส่งอีเมลสำหรับลูกค้าองค์กร ก่อนให้บริการลูกค้ายาฮู ฮอตเมลทั่วไปอีก 3 เดือนหน้า
นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมุนิเคชั่นหรือดีแทคกล่าวว่าดีแทคมีแผนที่จะขอใบอนุญาตการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายอย่าง Wi-Fi และ Wi-Max สามารถมาเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์มือถือได้ รวมทั้งอุปกรณ์ปลายทางอย่างพีดีเอ สามารถใช้บริการได้ทั้งการเป็นโทรศัพท์มือถือและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย Wi-Fi และ Wi-Max เพื่อให้ในอนาคตดีแทคสามารถให้บริการได้ครบวงจร
ดีแทคยังมีแผนที่จะขอใบอนุญาตการให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G ทันทีที่กทช.ออกหลักเกณฑ์ให้ใบอนุญาตซึ่งคาดว่าจะเป็นต้นปีหน้า เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของเครือข่ายที่ดีแทคจะวางระบบ 3G ในกรุงเทพฯ เพื่อให้บริการมัลติมีเดียครบวงจร เนื่องจากระบบ 3G ต้องใช้เงินลงทุนสูงไม่สามารถวางโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศได้ ส่วนเทคโนโลยี EDGE ซึ่งเร็วกว่า GPRS 4 เท่าจะอยู่ในหัวเมืองใหญ่ๆ เพื่อการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง แต่ถ้าหากไกลกว่านั้นในระดับอำเภอจะเป็นเทคโนโลยี GPRS ซึ่งกว่า 5 พันสถานีฐานของดีแทคทั่วประเทศรองรับ GPRS ทั้งหมด
"ยุทธศาสตร์เครือข่ายของดีแทคจะมีทั้ง 3G, EDGE และ GPRS เพื่อให้บริการสื่อสารข้อมูลครบวงจร ให้ลูกค้าใช้ได้สะดวกต่อเนื่อง (Seamless) ทั่วประเทศ ถึงแม้ความเร็วจะแตกต่างกันบ้างก็ตาม"
นายซิคเว่กล่าวว่า ดีแทคยังเปิดให้บริการ DTAC PushMail ซึ่งเป็นบริการต่อยอดของ Mobile Business Solution ที่ดีแทคมีเป้าหมาย 3 อย่างคือ 1. เพื่อหลีกหนีการแข่งขันด้านราคา สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้วยการเสนอบริการให้ลูกค้าองค์กรในลักษณะโซลูชัน โดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่อง GPRS ที่ดีแทคครอบคลุมทั่วประเทศ 2. เพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย เพราะบริการ PushMail ลูกค้าจะต้องเสียค่าบริการเพิ่มประมาณ 600 บาทต่อการใช้งาน 1 คน ซึ่งเท่ากับจะเพิ่มรายได้ต่อเลขหมาย ซึ่งปัจจุบันลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่จะมีรายได้ต่อเลขหมายประมาณ 2 พันบาท แต่ถ้าเป็นองค์กรขนาดรองลงมาจะมีรายได้ประมาณ 1,500 บาท และ 3. จะทำให้ลูกค้าองค์กรอยู่กับดีแทคนานขึ้น เพราะเป็นบริการในลักษณะ Long Term คนใช้แล้วจะติด เป็นกลยุทธ์ CRM ในการรักษาฐานลูกค้า
นายสันติ เมธาวิกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายลูกค้าดีแทคกล่าวว่า บริการ DTAC PushMail มุ่งลูกค้าองค์กรเป็นหลักในช่วงแรก โดยลูกค้าสามารถรับส่งอีเมลองค์กรและตารางการนัดหมายได้อย่างสมบูรณ์แบบบนโทรศัพท์มือถือหรือพีดีเอ รวมทั้งยังสามารถเปิดเอกสารแนบที่มาในรูปแบบต่างๆ ได้ และยังสามารถตรวจสอบแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงตารางนัดหมายที่ส่งมายังอีเมลแอดเดรสองค์กรของผู้ใช้ DTAC PushMail สามารถลดขนาดข้อมูลลงกว่าครึ่ง เพื่อเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดและประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะปลอดภัยด้วยระบบรักษาความปลอดภัยมาตรฐานสากลที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเลือกใช้ และที่สำคัญใช้งานง่ายเหมือนการส่ง SMS
สำหรับเป้าหมายในครึ่งปีหลัง ดีแทคคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการประมาณ 3 พันราย และคาดว่าในปีหน้าจะมีผู้ใช้บริการ 1 หมื่นราย ซึ่งดีแทคเชื่อว่าบริการ DTAC PushMail จะเพิ่มรายได้ต่อเลขหมายอีกอย่างน้อย 25% นอกจากนี้อีกประมาณ 3 เดือน ดีแทคจะให้บริการ PushMail กับลูกค้าทั่วไปที่ใช้เมลของยาฮู หรือฮอตเมล (POP3) ซึ่งจะคิดค่าบริการในลักษณะแพกเกจเหมาจ่ายที่ไม่สูงเหมือนลูกค้าองค์กร
ปัจจุบันลูกค้าองค์กรดีแทคมีอยู่ประมาณ 4 พันองค์กร โดยที่มีลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ทดลองใช้ DTAC PushMail อย่างสถาบันการเงินเช่น ธนาคารกสิกรไทย กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างเช่นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย กลุ่มธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าไอทีเช่น เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น
|
|
|
|
|