|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2538
|
|
บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนักการเมืองที่ถูกปรามาสจากสังคมไทยว่ามีจุดอ่อนเปรียบเสมืองแผลทั้งตัวด้านความฉ้อฉลและมีขีดความสามารถเพียงแค่เป็นผู้จัดการรัฐบาลเท่านั้น
แต่ข้อเท็จจริงวันนี้ เขากำลังเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของไทยที่ผ่านการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ที่เกิดจากอิทธิพลกระบวนการพลวัตของเอเชียและการไหลบ่าของผลิตผลข้อมูลข่าวสารที่ระบบถูกเปิดกว้างขึ้นจากทุกตารางกิโลเมตรของประเทศไทย
มีการจับตาอย่างใกล้ชิดจากกลุ่มที่มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยว่าเขาจะสามารถสลัดคราบนักการเมืองแห่งทศวรรษ 70 ให้กลายเป็นนักการเมืองที่เพียบพร้อมสำหรับทศวรรษ 2000 ได้หรือไม่
ดูเหมือนว่ากลุ่มพลังทางเศรษฐกิจจะถูกทำให้เชื่อว่าภาพของบรรหารที่เกิดจากช่วงการรณรงค์เลือกตั้งเป็นความจริง ไม่ใช่การสร้างภาพ
ความเชื่อถูกกำหนดขึ้นมาจากภูมิหลังของเขาที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนนักการเมืองที่มั่งคั่งจากธุรกิจสมัยใหม่เป็นที่ทราบกันดีว่าบรรหารร่ำรวยมาจากการทำธุรกิจโซดาไฟ ที่ใช้วัตถุดิบจากแหล่งเกลือในต่างจังหวัด การทำธุรกิจคลอรีนและการเป็นหุ้นส่วนสำคัญของธุรกิจก่อสร้างสี่แสงการโยธา
ถ้าประเมินผลประโยชน์ของบรรหารแล้ว จะเห็นว่าเขามีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวิถีการผลิตแบบเก่า
ดังนั้น บรรหารจึงแตกต่างจากนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ไต่เต้ามาจากฐานธุรกิจสมัยใหม่
“เขามีบุคลิกส่วนตัวที่น่าทึ่งมาก ขยัน จำแม่น ติดตามงานและตัดสินใจเร็ว” ชวลิต ธนะชานันท์ อดีตรัฐมนตรีช่วงกระทรวงการคลังที่เคยทำงานกับบรรหารมาเมื่อ 5 ปีก่อนเคยเล่าให้ผมฟัง
ความขยันและติดตามงานดูเป็นภาพฝังใจสำหรับคนสุพรรณที่เคยเห็นเขาเนรมิต ความเจริญด้านสาธารณูปโภคให้กับจังหวัด ชนิดคนเมืองหลวงยังต้องอิจฉาด้วยเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น
แหล่งข่าวของผมท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าบรรหารเป็นนักการเมืองคนเดียวที่มีประสบการณ์และความชำนาญการจัดงบประมาณของรัฐมากที่สุด เนื่องเพราะเป็นกรรมาธิการงบประมาณของรัฐสภามานานต่อเนื่องกันถึง 15 ปี
ก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ขณะเป็นผู้นำฝ่ายค้านรัฐบาลกลางออสเตรเลียเชิญเขาเป็นแขกของรัฐบาลเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียท่ามกลางที่ปรึกษาหนุ่มผู้เชี่ยวชาญกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ดอกเตอร์สุรเกียรติ เสถียรไทยและบุตรสาวของเขาเอง กัญจนา ศิลปอาชาจากมหาวิทยาลัยบอสตัน
ตรงนี้แหละที่ผมเห็นว่ามีความหมายต่อความเป็นนักการเมืองของบรรหารมากเพราะการเดินทางไปออสเตรเลียครั้งนั้นมีคุณค่าต่อภาพพจน์ของเขามากกว่าการโฆษณาด้วยเงินจำนวนล้านๆ
ขณะเดียวกันผมก็เชื่อว่าวันนี้ ออสเตรเลียคิดถูกที่เชิญบรรหารไปในฐานะแขกรัฐบาล
ผมเชื่อในกฎการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์เพื่อความอยู่รอดเช่นนี้แล้ว ผมจึงเชื่อว่าบรรหารกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง เพราะเขาก็ต้องการอยู่รอดในเวทีการเมืองยุคใหม่ที่ถูกห้อมล้อมด้วยพลวัตของความเป็นสากลในมิติทางเศรษฐกิจ
เขาต้องการความเข้าใจลักษณะความเป็นพลวัตของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในตลาดเอเชียที่กำลังตกเป็นเป้าหมายการกดดันจากสหรัฐฯ และการแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบต่อกันในหมู่ประเทศอาเชียน
สิ่งนี้คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบรรหารทางด้านรูปการจิตสำนึกหรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เขากำลังบ่มเพาะวิสัยทัศน์ของตัวเองเพื่อความเป็นผู้นำในรัฐบาล
บรรหารวันนี้กำลังสลัดบุคลิกและรูปการจิตสำนึกในฐานะ “ผู้จัดการรัฐบาล” เป็น “ผู้นำรัฐบาล”
ตลอดชีวิตการเป็นรัฐมนตรีของบรรหาร เขาบริหารนโยบายของเขาโดย “แอบอยู่ข้างหลัง” ผู้นำรัฐบาลแต่ละคนๆตลอดตั้งแต่พลเอกเปรม พลเอกชาติชาย
ผมเชื่อว่าวันนี้เขาไม่สามารถแอบอยู่ข้างหลังได้ต่อไปเขาต้องเปิดกว้าง และโปร่งใสกับกระบวนการตัดสินใจเศรษฐกิจสมัยใหม่
แน่นอน ผมเชื่อว่าเขาทำตามสัญญาแน่ในความเป็นคนฉับไว กล้าตัดสินใจสำหรับโครงการเศรษฐกิจสมัยใหม่
|
|
|
|
|