Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
ภารกิจของธารินทร์ นิมมานเหมินทร์             
 





กระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังเลือกตั้งนำพาคณะรัฐมนตรีชุดบรรหาร 1 ทยอยประจำกระทรวงต่างๆไปแล้ว

ขณะที่รัฐมนตรีของรัฐบาลชวน ต่างเก็บข้าวของกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ทว่าสิ่งที่พวกเขาเหลือทิ้งไว้และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดคือมติคณะรัฐมนตรี

โดยเฉพาะประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดตั้งแบงก์ใหม่ที่ยังเหลือตกค้างจากรัฐมนตรีคลังคนก่อน ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ มาสู่สุรเกียรติ เสถียรไทยเจ้ากระทรวงคนใหม่

ก่อนที่จะเริ่มต้นเดินทางกันต่อดิฉันคิดว่าผลงานของรัฐมนตรีคลังคนเก่ามีนัยสำคัญซึ่งไม่ควรผ่านเลยไป

ประกาศกระทรวงฉบับที่ว่านี้ เป็นเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งในมติที่ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีชุด “ทิ้งทวน” ของอดีตนายกฯชวน หลีกภัยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ คือผู้ที่อยู่เบื้องหน้าและเบื้องหลังของเรื่องนี้เขาเป็นคนคิดเอง, วางกฎเกณฑ์และผลักดันเข้าครม. จนเป็นผลสำเร็จทันรถไฟขบวนสุดท้ายเขาให้เหตุผลที่ต้องเร่งรีบพิจารณาให้เสร็จว่าต้องการให้พ้นจากการแทรกแซงของนักการเมือง

แต่ดิฉันคิดว่าหากมองอีกมุมหนึ่งให้ดีคุณธารินทร์บอกอะไรกับเราหลายอย่างผ่านรายละเอียดของกฎเกณฑ์จัดตั้งแบงก์ใหม่ชิ้นนี้

เงื่อนไขมีอยู่ว่า

ประการแรก ธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งใหม่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 7,500 ล้านบาทชำระเต็มจำนวนทันที

นั่นหมายความว่าการลงทุนตั้งแบงก์ครั้งนี้จะต้องมีอัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูงกว่าการเอาเงินไปฝากหรือให้คนอื่นกู้สมมติว่าอยู่ในระดับ 15% นั่นก็คือแบงก์นี้จะต้องมีกำไรไม่ต่ำกว่าปีละ 1,125 ล้านบาท ไม่เช่นนั้นก็เอาเงินลงทุนนี้ไปฝากแบงก์ไว้ดีกว่าไม่ต้องเสี่ยง

ประการต่อมา กลุ่มแกนนำ กลุ่มผู้ร่วมยื่นคำขอและกลุ่มสถาบันการเงินต่างชาติ(ถ้ามี) จะถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์รวมกันได้เพียงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่เหลืออีก 50% จะต้องกระจายสู่สาธารณชนโดยแบ่งกระจายภายในจังหวัดที่ตั้งแบงก์ 100%

ในทางปฏิบัติการหาเงินสดสำหรับทุนจดทะเบียนถึง 7,500 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย กฎเกณฑ์นี้บังคับกลายๆอยู่แล้วว่าจำเป็นต้องหาพันธมิตรและในความเป็นจริงทางผลประโยชน์ธุรกิจแม้ผู้ถือหุ้นจะเป็นพันธมิตรที่เข้าใจกันมากเพียงใดหากแตกกลุ่มออกไปมากเท่าใดนั่นคือความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีตัวอย่างให้เห็นบ่อยครั้งถึงความไม่ลงรอยกันในเวลาต่อมา

เงื่อนไขนี้จึงเอื้อต่อการไม่มีผู้ใดเป็นเสียงข้างมากตรงตามความต้องการของรัฐบาลชวน ไม่ต้องการให้ใครผูกขาด แต่ขัดกับธรรมชาติของธุรกิจที่ว่า ผู้ลงเงินก็ย่อมต้องการสิทธิและเสียง ในการควบคุมเงินก้อนนั้นให้เกิดดอกออกผลไปตามที่เขาต้องการคงไม่มีใครที่หวังลงเงินโดยไม่ต้องการอำนาจในการควบคุม

ผลพวงที่ตามมาอีกประการคือ เมื่อไม่มีใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีสิทธิออกเสียงอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ก็จำต้องพึ่งพิงนักบริหารมืออาชีพในอุตสาหกรรมการเงินที่ขาดแคลนอย่างสาหัส การล่าซื้อคนในวงการช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาจนราคาค่าตัวถูกปั่นขึ้นไปหลายเท่าก็ไม่ช่วยให้คุณภาพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะนักการธนาคารซึ่งต้องใช้เวลาในการสั่งสมประสบการณ์กว่าจะจับได้ไล่ทันลูกหนี้ที่มาข้อกู้เงินและบ่มเพาะการมองธุรกิจในระยะยาวไม่ใช่ระยะสั้นเหมือนธุรกิจด้านตลาดทุน

ผู้ที่จะเข้ามาใหม่ยังต้องรักษาคำมั่นสัญญาว่าจะเป็น Financial Arms ของรัฐบาลยามสถานการณ์คับขันอีกด้วย

เงื่อนไขทั้งหมดสวยหรูเต็มไปด้วยเหตุผล แต่ไม่เอื้อต่อการเกิดธุรกิจธนาคารพาณิชย์รายใหม่ ไม่มีนักธุรกิจคนใดอดทนเสียสละต่อประเทศชาติ ตราบใดที่ยังรักษากระเป๋าเงินของตัวเองไว้ไม่ได้

พูดง่ายๆว่าไม่มีนักการเงินคนใดที่ทุ่มเทตัวเองเพื่อกอบกู้นโยบายกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น โดยกระโจนเข้าสู่ธุรกิจตามหัวเมืองซึ่งมีไม่มากพอที่จะทำรายได้ให้เป็นกอบเป็นกำอีกทั้งยังมีพันธะเงื่อนไขที่ขัดต่อธรรมชาติธุรกิจที่พะรุงพะรังพ่วงไปด้วย

น่าประหลาดที่ผู้ถือหุ้นแบงก์พาณิชย์ซึ่งใจจดจ่อกับการเฝ้ามองคู่แข่งหน้าใหม่ต่างโล่งอกเมื่อเห็นกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผ่านครม. แทนที่พวกเขาจะมีปฏิกิริยาต่อต้านตามธรรมชาติที่ไม่ต้องการเพิ่มคู่แข่งทางธุรกิจ กลับพากันชื่นชมว่ารัฐบาลตั้งเงื่อนไขได้ถี่ถ้วนรอบคอบ พร้อมใจกันยืนยันความมั่นใจว่าระบบการเงินไทยจะมั่นคงแข็งแรงอย่างแน่นอน

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหม่แบงก์ไทยพาณิชย์ก็พลอยโล่งใจไปด้วย

ภารกิจของเขาลุล่วงไปแล้ว!   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us