Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2540
แอลสตาร์ในสายฝน             
โดย ยังดี วจีจันทร์
 

   
related stories

ตัวตนสนธิ ลิ้มทองกุล

   
search resources

Telecommunications




ตำแหน่งของแอล-สตาร์ คือ 116 องศาตะวันออก ข้อเด่นคือเป็นดาวเทียมที่ออกแบบมาทางด้านบรอดคาสติ้งโดยเฉพาะ และสามารถบีบลำแสงให้ตกลงในบริเวณที่ต้องการ 3 ส่วน

ปัญหาภาพไม่ชัด มิใช่เรื่องเล็กน้อย เมื่อคิดทำธุรกิจทีวี ไดเร็กต์ ทู โฮม หรือ DTH แม้แต่รัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งร่วมลงทุนในโครงการ "มีแซท เน็ตเวิร์ก ซิสเต็ม" ก็ปวดหัวกับปัญหานี้มาแล้ว

โครงการนี้เปิดให้บริการโทรทัศน์ 40 ช่อง โดยเป็นที่รู้จักกันในนามแอสโทรเน็ตเวิร์ก ต้องประสบปัญหาในระหว่างซอฟท์ลอนช์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพราะฝนตกหนัก คลื่นสัญญาณหายไป ต้องเลื่อนกำหนดแพร่ภาพ แล้วแก้ปัญหาด้านเทคนิคเป็นการใหญ่ โดยใช้วิธีเพิ่มแรงสัญญาณจากดาวเทียมไปยังจานรับสัญญาณ แต่ก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด

แอล-สตาร์ จะเผชิญปัญหาเหมือนมีแซท หรือไม่?

ในการกำหนดความเข้มของสัญญาณ แอล-สตาร์จะไม่ปล่อยลำแสงกระจายไปทุกที่ เพราะจะทำให้ความเข้มลดลง นี่จึงเป็นเหตุให้ต้องแบ่งลำแสงออกเป็นสามส่วนคือ เขตแหลมทอง เขตชมพูทวีป และเขตเอเชียตะวันออก

"แอล-สตาร์แต่ละดวง มีเคยูแบนด์ทั้งหมด 32 ทรานสปอนเดอร์ กำลังส่งของดาวเทียมดวงนี้ต้องถือว่าแรงที่สุด ในบรรดาดาวเทียมประเภทเคยูแบนด์เรียกว่า ซูเปอร์ ไฮ-เพาเวอร์ เคยูแบนด์ ภาพจะไม่ล้ม ถ้าเราจะทำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในอินเดียก็ต้องคำนึงถึงฤดูมรสุม" สนธิกล่าว

สุรเดช มุขยางกูร กรรมการผู้จัดการของ ABCN กล่าวว่า "ความแรงของสัญญาณที่มีกำลังส่งถึง 8.5 กิโลวัตต์ จะทำให้แอล-สตาร์สามารถเอาชนะอุปสรรคในการส่งสัญญาณได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศอย่างไร"

แหล่งข่าวใน ABCN ให้ความเห็นว่า โดยทฤษฎีก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะแอล-สตาร์ได้รับการออกแบบ โดยการขจัดจุดอ่อนของดาวเทียมดวงอื่นๆ แต่ในการแพร่ภาพที่เป็นจริง ก็ต้องคอยดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us