Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538
การเมืองก่อนเปลี่ยนยุค             
 





ชัยชนะของพรรคชาติไทยและคุณบรรหาร ศิลปอาชามองได้หลายแง่มุม

ผมอยากจะมองให้ไกลออกไปสักหน่อย !

ด้านหนึ่ง หมดยุคเผด็จการทหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้วเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 เป็นตัวหยุดยั้งไม่เพียงแต่พลังประชาธิปไตยภายในประเทศเท่านั้น แต่โลกานุวัตรที่วิ่งกระทบสังคมไทยโดยรวม ทำให้ไม่มีใครกล้าแม้แต่จะคิดนำระบอบเช่นว่ากลับมาอีก

แต่อีกด้านหนึ่ง ยุคของประชาธิปไตยที่มีความหมายแค่การเลือกตั้งไม่น่าจะอยู่ได้นานนัก

พรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทยเป็นพรรคใหญ่ทั้ง 2 พรรคผลัดกันขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีครบแล้ว คุณชวน หลีกภัยไม่ได้พิสูจน์ว่าการเป็นนักเลือกตั้งอาชีพมา 21 ปีมีความหมายอะไรกับการเป็น CEO ของ Thailand Inc. ขณะที่คุณบรรหาร ศิลปอาชายังคงเป็น CEO ภายใต้ระบบเดิมที่ยังไม่ได้รับการปรับ จะต้องเผชิญอุปสรรคทั้งภายในพรรคตนเองพรรคร่วมรัฐบาลและกลไกรัฐที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย

วันนี้ทุกคนพูดถึงแต่การปฏิรูปการเมือง

แม้จะด้วยความเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้างและมีความคิดเห็นแตกต่างหลากหลายกันไป

แต่ที่แน่ๆคือระบบการเมืองปัจจุบันถูกท้าทายอย่างรุนแรง

คุณชวน หลีกภัยก็ดี คุณบรรหาร ศิลปอาชาก็ดี พรรคประชาธิปัตย์ก็ดี พรรคชาติไทยก็ดี หากจะมีความเป็นตัวแทนของกลุ่มทุน ก็เป็นกลุ่มทุนอุตสาหกรรม กลุ่มทุนท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ฯลฯ เรียกได้ว่าในทางประวัติศาสตร์เริ่มจะล้าหลังแล้ว

ต่างกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร !

คนๆนี้เป็นกลุ่มทุนสื่อสารโทรคมนาคม กลุ่มทุนของโลกยุคคลื่นลูกที่สาม ที่ก้าวเข้ามาสู่กิจกรรมช่วงชิงอำนาจรัฐด้วยตนเองแม้ว่ากิจการของเขาจะได้มาด้วยสัมปทานจากรัฐ แต่นั่นก็มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เพราะรัฐที่เคยผูกขาดกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ต้องปล่อยมือให้ภาคเอกชน ก็แหละเมื่อภาคเอกชนถือสัมปทานที่อาจถูกกระทบง่ายๆด้วยการเมืองเช่นนี้ จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะต้องเข้ามากุมอำนาจรัฐเพื่อพิทักษ์สัมปทานที่ได้มา ในขณะที่กลุ่มอื่นๆก็ต้องเข้ามาทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างน้อยก็เพื่อให้การลงทุนด้านนี้มีเสรีมากขึ้น ไม่ถูกผูกขาดโดยรัฐหรือโดยกลุ่มเอกชนที่กระโจนเข้าสู่กระแสการเมือง

การจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้วุ่นวายพอเป็นกระสายเพราะการตัดสินใจของคนๆหนึ่ง

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

ผมจะไม่วิเคราะห์ว่าคนๆนี้พลิกฟื้นชีวิตจากการถูกเมินว่าไร้ค่า ไร้ราคา ไร้ความหมาย ขึ้นมาเป็นพรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.มากเป็นอันดับ 3 ของทั้งหมดและเป็นอันดับ 2 ในรัฐบาลผสมที่มีบทบาทสูงยิ่งเพราะอะไร แต่จะขอวิเคราะห์การเลือกกระทรวงของหัวหน้าพรรคความหวังใหม่แทน

หากพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธในฐานะที่มี 57 เสียง เลือกนั่งกระทรวงมหาดไทยควบรองนายกรัฐมนตรีตามเดิม คุณบรรหาร ศิลปอาชาก็คงอนุโมทนาสาธุ เพราะไม่มีใครคัดค้านแน่แต่การพลิกล็อกครั้งนี้ทำให้ Faction ต่างๆ ในพรรคชาติไทยที่ยังไม่ทันเกมในกระแสโลกใหม่ต่างรุมทึ้งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกันพัลวัน ในเชิงการเมืองแล้วพรรคชาติไทยมีหวังรับเละแน่

แต่ช่างเถอะ นั่นไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะอภิปราย ณ ที่นี้

ประเด็นคือ 2 กระทรวงหลักที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเลือก

กระทรวงคมนาคม

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงคมนาคมมีบทบาทสูงมากในโลกยุคใหม่ เพราะประเทศไทยยังไม่มี Independent Regulatory Agency วางกรอบดูแลการแข่งขันด้านนี้ เจ้ากระทรวงคมนาคมจึงยิ่งใหญ่เอาการ

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายทหารเหล่าสื่อสาร เคยมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบก เขาเป็นคนฉลาดติดตามความเปลี่ยนแปลงในโลกอยู่ตลอดเวลา การจงใจเลือกกระทรวงคมนาคมทำให้ผมมองเห็นได้ว่าคนๆนี้ยังไม่ตาย และจะไม่ตายง่ายๆตรงกันข้าม ผมมองว่าโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอยู่แค่มือเอื้อม

เพราะพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเลือกกระทรวงกลาโหมควบคู่ไปด้วยทำไมและเขาจะได้อะไร

สิ้นเดือนกันยายน 2539 ผู้บัญชาการทหาร 3 เหล่าทัพจะเกษียณอายุราชการพร้อมกัน ไม่ต้องพูดถึงการโยกย้ายประจำปีนี้ การโยกย้ายกลางปีหน้าไม่จำเป็นต้องเล่นพรรคเล่นพวก แต่ “ทหารเก่าไม่มีวันตาย” ผู้เคยได้รับสมญาว่าขงเบ้งทัพบกคนนี้สามารถผูกพันธมิตรกับผู้นำกองทัพทั้ง 3 เหล่าได้ไม่ยาก

โครงการต่างๆที่ประสานกองทัพเข้ากับกิจกรรมพัฒนา อาทิโครงการอีสานเขียวจะต้องกลับมาแน่นอน

มิพักต้องพูดถึงโครงการใหม่อื่นๆ ที่จะให้กำลังพลในกองทัพมีบทบาทต่อสังคมมากขึ้น

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธจะมีแต่ได้กับได้

ไม่ต้องปวดหัวเรื่องกระจายอำนาจ ไม่ต้องยุ่งยากกับการโยกย้ายตำรวจ

และไม่ต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ทำอะไรไม่ค่อยได้ในระบบปัจจุบัน

สมการ ‘คมนาคม + กลาโหม’ จะนำมาซึ่งคำตอบอย่างไรผมไม่รู้

รู้แต่ว่าไม่ธรรมดาแน่นอน !   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us