Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
พีซีภาษาจีน : ต้องกล่อมก่อนใช้งาน             
 





ในวันคริสต์มาสที่ผ่านมาในสิงคโปร์ ชายคนหนึ่งกำลังนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ของเขาซึ่งเป็นเครื่องพาวเวอร์ แมคอินทอช รุ่นใหม่ที่โรงงานแอปเปิลสิงคโปร์เป็นผู้ผลิต แต่เมื่อเขาพูดคำสั่งผ่านไมโครโฟนตามที่เครื่องของเขาบอกในจอ มันกลับไม่ยอมทำตามคำสั่งแม้ว่าเขาจะพยายามใช้วิธีต่าง ๆ ทั้งพูดเร็ว ๆ พูดช้า ๆ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งทำให้เขาใช้คอมพิวเตอร์ด้วยความยากลำบาก

นี่ไม่ใช่เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ เพราะการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารด้วยภาษาจีนเป็นปัญหาใหม่ในช่วงปีใหม่นี้ที่ทางแอปเปิ้ล-อิสส์ รีเสิร์ชและสิงคโปร์ แอปเปิ้ล ดีไซน์ เซ็นเตอร์กำลังหาทางแก้ไขปรับปรุงอยู่

ก่อนหน้านี้ การจำคำพูดของคอมพิวเตอร์จำกัดอยู่เพียงแค่คำไม่กี่ร้อยคำเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะยิ่งบรรจุคำลงไปมากเท่าใด ก็หมายความว่าคอมพิวเตอร์จะต้องใช้เวลาล้วงหาคำที่ตรงกับที่มันได้ยินในพจนานุกรมของมันนานเท่านั้น เมื่อบวกกับปัญหาที่ว่าภาษาจีนนั้นคำเดียวกันอาจมีความหมายต่าง ๆ กัน และออกเสียฟังยาก ก็ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเสียงสั่ง กลายเป็นปัญหาหนักอกมากกว่าเครื่องอำนวยความสะดวก

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้คณะนักวิจัยที่แอปเปิ้ล-อิสส์ ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหานี้แล้ว โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์ จีน และอังกฤษ กับวิศวกรชาวอเมริกันของแอปเปิลเพื่อปรับปรุงเครื่องที่ไม่ยอมทำงาน นั่นคือทำให้เสียงของคนเราเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับเครื่องให้ได้

วิธีแก้ปัญหาของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้คือ การอาศัยสถิติหรือคำที่ผู้สั่งใช้บ่อยที่สุด เช่นถ้าคุณอยู่ในวงการธุรกิจ คำว่า “โทร” คุณใช้บ่อยกว่าคำว่า “โท” (ที่แปลว่าปริญญาโทหรือไม้โท) เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะเลือกคำว่า “โทร” เป็นอันดับแรก ซึ่งถ้ามันกำกวมคุณก็ลบคำที่ใช้น้อยกว่าออกจากความถี่ได้ในภายหลัง นอกจากนี้ ผู้สั่งยังต้องสร้างความคุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์โดยการเล่านิทานให้เครื่องฟัง (ไม่ต้องห่วง มันไม่เคลิ้มหลับแน่นอน) เพื่อให้มันคุ้นกับเสียงของผู้ใช้ จากนั้นเจ้าคอมพิวเตอร์ก็จะสร้างโมเดลของรูปแบบเสียงของเจ้านายมันขึ้นมาเอง

ในที่สุด เมื่อเครื่องรู้ว่าเสียงมีความแตกต่างกันยังไง ทีนี้ไม่ว่าคุณจะพูดช้า ๆ อย่าง “สา-หวัด-ดี-คร๊าบ” หรือพูดเร็ว ๆ อย่าง “สวัสดีครับ” มันก็สามารถที่จะจดจำทั้งสองเสียงได้ แม้ว่าเครือข่ายการรับรู้ของเครื่องจะจำอะไรได้มากมาย แต่ก็ทำได้ไม่ดีนักกับการจำเสียง ดังนั้นจึงต้องการบรรทัดฐานบ้างในบางครั้ง นั่นคือเหตุที่ไม่ค่อยมีคนใช้คำว่า “ใครขายไข่ไก่” ในการบันทึกเสียง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us