|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538
|
|
ถ้าถามความเห็นบริษัทต่างชาติเรื่องที่ญี่ปุ่นปิดตลาดในประเทศรับรองว่าทุกบริษัทที่ถูกจะต้องส่ายหัวด้วยความระอาไปตาม ๆ กัน เนื่องจากมาตรการดังกล่าวนอกจากจะทำให้บริษัทต่างชาติขาดตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญที่สุดไปแห่งหนึ่งแล้ว ยังมีผลทางอ้อมทำให้คนในประเทศตกงานอีกด้วย เนื่องจากหากไม่มีกำไรจากการส่งออกสินค้าบริษัทก็ต้องปลดคนงาน
แต่ผลจากการปกป้องตลาดยังสร้างความเดือดร้อนให้ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเองอีกด้วยเพราะผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นต้องซื้อหาอาหารในราคาที่แพงกว่าที่อื่น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าของบริษัทในญี่ปุ่นนั้นสูงมาก ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีราคาแพง ครั้นจะเลือกซื้อสินค้านำเข้า รัฐบาลก็ขึ้นภาษีจนมีราคาสูงพอ ๆ กัน
แต่ชาวญี่ปุ่นจะต้องจ่ายค่าตอบแทนของการปิดตลาดในราคาเท่าใดกันแน่ ? คำตอบนี้มีอยู่ในหนังสือ “MEASURING THE COSTS OF PROTECTION”
แต่งโดยสามนักเศรษฐศาสตร์ชาวญี่ปุ่นคือ โยโกะ ซาซานามิ, ชูจิโร อูราตะและฮิโรกิ คาวาอิ
ทั้งนี้ ทั้งสามไม่ได้เน้นการตรวจสอบราคาสินค้าในตลาดมากนัก แต่สนใจมาตรการของรัฐบาลที่ทำให้ต่างชาติเจาะตลาดญี่ปุ่นได้ยากแทนเนื่องจากประเด็นนี้จะเป็นความวิตกกังวลของต่างชาติมากกว่า รวมถึงการเปรียบเทียบราคาสินค้าอย่างเดียวกันในญี่ปุ่นกับประเทศอื่น ๆ ตรงบริเวณท่าเรือ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสินค้าที่ยังไม่มีการกำหนดอัตราภาษี
ผลสำรวจพบว่า ในปี 1989 สินค้าอาหารในญี่ปุ่นแพงกว่าสินค้านำเข้าถึง 100% ราคาวิทยุและโทรทัศน์สูงกว่าที่นำเข้ามาถึง 6 เท่า ไม่ต้องพูดถึงราคาเสื้อผ้าที่มีราคาสูงถึง 300% และราคาน้ำมัน 200%
ในปีเดียวกัน ต้นทุนที่คนญี่ปุ่นต้องจ่ายให้กับการปกป้องตลาดมีจำนวนสูงถึง 15 ล้านล้านเยน(158,400 ล้านดอลลาร์) ต่อปี หรือ 3.8% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ต้นทุนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมเนื่องจากการปิดตลาดกลับส่งผลดีธุรกิจในประเทศ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสามยังสรุปว่า การที่ญี่ปุ่นนำมาตรการปกป้องตลาดมาใช้นั้นกลับยิ่งจะเป็นการทำให้สินค้าของต่างชาติเป็นที่ต้องการมากขึ้นเข้าไปอีกในที่สุดหากวัดกันที่คุณภาพและความนิยมของนอก
|
|
|
|
|