Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
เกียดิ้นเฮือกใหญ่ หวังผงาดตลาดรถต่างชาติ             
 





การนำรถแบบใหม่ ๆ เข้ามาเจาะในตลาดใหญ่อย่างสหรัฐ ฯ ถือได้ว่าเป็นการเสี่ยงอย่างมากเอาการที่สุดอย่างหนึ่งทว่าคิม ซุน ฮง ประธานของเกีย มอเตอร์ คอร์ป ผู้ผลิตรถใหญ่อันดับ 2 แห่งเกาหลีใต้ก็ได้เริ่มทำสิ่งนั้นแล้วในเดือน ก.พ. 1994 โดยได้เริ่มชายซับคอมแพคยี่ห้อซีเฟียในราคาต่ำผ่านทางเชนของดีลเลอร์รายใหม่ ๆ ในรัฐทางตะวันตกหลายรัฐ และในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมาพวก ดีลเลอร์เหล่านั้นก็จะได้รับรถรุ่นที่สองของเกีย คือ SPORTAGE ซึ่งเป็นรถเพื่อการใช้สอยสารพัดประโยชน์

กลยุทธ์ที่อาจหาญครั้งนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับยุทธศาสตร์การเติบโตของคิม และเพื่อเป็นการดำรงอยู่ให้ได้ในธุรกิจรถ คุณจำเป็นต้องเป็นผู้เล่นระดับโลกที่สามารถผลิตรถได้อย่างน้อย 1 ล้านคันต่อปี ทว่าการที่จะก้าวขึ้นมาอยู่ในสถานะที่ว่าได้ทำให้เกียต้องตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ ด้วยต้นทุนสำหรับการขยายกิจการและการจัดสรรเงินทุนสำหรับผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัทจำเป็นต้องใช้วิธีขอยืมเงินอย่างหนัก โดยในปี 1993 หนี้สินของเกียได้พุ่งพรวดไปถึง 3,300 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 68% ในระยะเวลา 2 ปี และในปี 1994 บริษัทคาดว่าต้นทุนดอกเบี้ยจำนวน 384 ล้านดอลลาร์ก็คงจะเกือบเท่ากันกับผลกำไรจากการดำเนินการทีเดียว

หากยุทธศาสตร์ที่ว่าของคิมไม่เสดงให้เห็นผลคุ้มค่าอย่างรวดเร็ว เขาก็อาจจำเป็นต้องหาหุ้นส่วนที่ร่ำรวยเข้ามาร่วมเอี่ยวด้วย ไม่เหมือนกับคู่แข่งอย่างฮุนได มอเตอร์ โค และแดวู มอเตอร์ โค 2 บริษัทผู้ผลิตรถชื่อดังซึ่งอยู่ในกลุ่มแชโบล ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้และแม้ว่าฟอร์ด มอเตอร์ โค จะมีหุ้นอยู่ในเกีย 10% ในขณะที่ก็ได้มาสด้า มอเตอร์ คอร์ป มาช่วยอีกแรงคือถือหุ้นอยู่ 8% ก็ตาม ทว่าบทบาทส่วนใหญ่ของทั้ง 2 บริษัทก็จะถูกจำกัดอยู่แค่ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเท่านั้นเอง

แม้ว่าคิมเล็งที่จะขยายกิจการไปยังต่างประเทศ แต่ขณะเดียวกันเขาก็ต้องต่อสู้อย่างแข็งขันในสนามรบในประเทศเพื่อต่อกรกับผู้นำตลาดคือฮุนได เกียต้องเจ็บตัวอย่างสาหัสจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในตลาดรถยนต์ซึ่งมีอัตราการโตโดยเฉลี่ยอยู่ 14.7% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 1991 ในขณะที่ความต้องการรถซับคอมแพคยังคงมีอยู่ ความร่ำรวยของชาวเกาหลีที่เพิ่มมากขึ้นได้พลอยทำให้ความต้องการรถเก๋งซีดานซึ่งมีพลังแรงม้าสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งรถดังกล่าวนี้ก็เรียกได้ว่าถูกรถรุ่นโซนาต้า ทูและแกรนเดอร์ ของฮุนไดครองตลาดอยู่แล้ว

และแม้ว่าจะได้มีการเสนอให้ตัดอัตราค่าใช้จ่ายด้านการจัดสรรเงินทุนให้กับผู้บริโภคยอดขายของบริษัทก็ยังลดลง 14% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 1994 และบรรดานักวิเคราะห์ก็ออกมาคาดการณ์ว่ารายได้ของเกียในปีที่แล้วจะตกต่ำลง

โดยคาดว่าสถานการณ์ของเกียในช่วงครึ่งแรกตกอยู่ในสภาพ “น่าผิดหวังอย่างยิ่ง” โดยนักวิเคราะห์ได้ตัดรายได้สุทธิทั้งปีของเกียลงประมาณ 40% เหลือ 27.5 ล้านดอลลาร์จากยอดขายที่ได้ประมาณ 6,800 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ราคาหุ้นของเกียก็ตกลงถึง 36% ในช่วง 7 เดือนแรกเหลือ 18.25 ดอลลาร์ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกียทีเดียว

เกียรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยหันมาเร่งพัฒนารถเก๋งซีดานของตนโดยได้วางแผนที่จะเริ่มเข็นเอารถยนต์รุ่นที่ขึ้นต้นด้วยอักษร G ออกมาในปีนี้ และคาดว่าจะขายรถยนต์ในประเทศได้ 350,000 คันเพิ่มขึ้น 40% จากปี 1994 และเกีย ก็เชื่อมั่นว่ารถซีดานแบบใหม่นี้จะสามารถท้าแข่งกับรถโซนาต้าซึ่งเป็นรถที่ขายดีที่สุดของฮุนไดได้

อย่างไรก็ตาม การเติบโตในระยะยาวของเกียจำต้องขึ้นอยู่กับความสำเร็จในตลาดต่างชาติ ซึ่งก็รวมถึงตลาดสหรัฐฯด้วย โดยเกียได้ส่งออกรถยนต์ขนาดเล็ก “เฟสติวา” ให้กับฟอร์ดเพื่อขายในสหรัฐ ฯ มาเป็นเวลานานเกือบ 10 ปี แล้วรวมทั้งรถ “แอสไพร์” ซึ่งเป็นรถซับคอมแพคที่ได้รับการออกแบบโดยมาสด้า

ทุกวันนี้ เกียมีดีลเลอร์ซึ่งขายรถซีเฟียอยู่ 88 รายใน 12 มลรัฐทางตะวันตก ซึ่งมีฐานราคาอยู่ที่ 8,495 ดอลลาร์หรือถูกกว่าไครส์เลอร์ นีออนอยู่ 1,000 ดอลลาร์ ทว่ายอดขายของเกียในสหรัฐ ฯ คงจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าในตอนแรกและคงต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีสำหรับการสร้างเครือข่ายการขายแห่งชาติ อย่างไรก็ตามรถ SPORTAGE ราคา 14,000 ดอลลาร์ซึ่งเข็นขึ้นมาเพื่อต่อกรกับรถรุ่น RODEO ของอีซูซุและจี๊ป เชโรกีก็คงจะช่วยยอดขายของบริษัทให้กระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง

นอกจากนี้ คิมยังกระหายที่จะพัฒนาตลาดใหม่ ๆ ในยุโรปและเอเชีย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ได้ลงนามเพื่อประกอบรถยนต์ของเกียในเยอรมนี, ฟิลิปปินส์, อิหร่านและอินโดนีเซีย ทั้งยังได้เจรจากับบรรดาผู้จัดจำหน่ายรถในยุโรปซึ่งการนำเข้ารถยนต์ของเกียกำลังตกลงโดยคาดว่าการส่งออกรถไปยังยุโรปในปี 1994 คงจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จาก 21,836 คัน ในปี 1993

ในขณะที่หนทางข้างหน้าอาจเต็มไปด้วยขวากหนาม แต่คิมก็เชื่อมั่นว่าบริษัทของเขาจะต้องแกร่งขึ้นกว่านี้เมื่อโครงการขยายบริษัทได้เริ่มต้นในปี 1997 ซึ่งหลังจากนั้นความสามารถในการผลิตรถของเกียก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 930,000 คันต่อปีจาก 650,000 คันในปี 1993 โดยหัวใจของโครงการขยายกิจการนี้อยู่ที่เงินจำนวน 2,000 ล้านดอลลาร์สำหรับการผลิตรถที่ใช้เทคโนโลยีล้ำหน้า และโรงงานทดสอบสภาพรถยนต์ทางชายฝั่งตะวันตกของเกาหลี ซึ่งหากนับถึงโรงงานใหม่และการปรับปรุงที่กว้างไกลในด้านการออกแบบ สไตล์และคุณภาพแล้ว เกียก็อาจจะก้าวขึ้นมาสู่สถานะตลาดบนทั้งในเกาหลีและต่างชาติในไม่ช้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us