Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2538
สมุดโน๊ต             
โดย เพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม
 





ผู้บริหารจำนวนมากหลงไหลกับคำว่า “รีเอ็นจิเนียริ่ง” หนังสือและคำปาฐกถาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม

เหมือนกับว่าทุกคนจะตระหนักว่าสังคมธุรกิจไทยกำลังต้องการการ “ยกเครื่อง” ครั้งใหญ่

แต่ในความเป็นจริงมีองค์กรใดบ้างที่ “รีเอ็นจิเนียริ่ง” แท้จริง เป็นคำถามที่ผู้บริหาร หลาย ๆ คนเลี่ยงที่จะตอบ

ขณะที่รีเอ็นจิเนียริ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยของการพัฒนาทางด้านอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีที่ทะลวงเข้าสู่ศูนย์กลางของอำนาจในการจัดการและบริหาร

โดยตัวมันเองก็ต้องเผชิญกับแรงสกัดกั้นที่แข็งแกร่งและฝังรากในสังคมธุรกิจไทยมานาน

ประการแรก วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า รีเอ็นจิเนียริ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่รีเอ็นจิเนียริ่ง “นิสัย” ของผู้บริหารเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะเปิดกว้างสู่โลกทัศน์และการรับรู้ใหม่

ประการที่สอง-ผู้บริหารจำนวนมากต่างตระหนักดีว่าการรีเอ็นจิเนียริ่งคือการรื้อปรับระบบองค์กรอย่างถึงราก พวกเขายินดีต้อนรับ แต่ในฐานะมืออาชีพเขาต้องเผชิญกับ “ระบบครอบครัว” ซึ่งอาจจะถึงภาวะที่สั่นคลอนเมื่อรีเอ็นจิเนียริ่ง

มีทางใดบ้างที่องค์กรที่ต้องการรีเอ็นจิเนียริ่ง แต่ไม่การแตะต้องกับ “ระบบครอบครัว” ซึ่งเหมือนผู้บริหารตัวจริงในบริษัทแห่งนั้น?

หากมีทางออก คำว่า “รีเอ็นจิเนียริ่ง” อาจแพร่หลายยิ่งกว่านี้ในสังคมไทย

“สวนสนุก” เติบโตขึ้นมากเมื่อมันถูกผนึกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

“สวนสนุก” ในความหมายเดิมที่ตั้งอยู่เพียงลำพัง มีอัตราการเติบโตที่ชะลอลงอย่างชัดเจน ขณะที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มองว่า ธุรกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งการสร้างอาณาจักรศูนย์การค้า

ด้วยความชาญฉลาดพวกเขาผสมผสานธุรกิจศูนย์การค้าและสวนสนุกได้อย่างแนบแน่น กลายเป็นส่วนที่เสริมซึ่งกันและกันอย่างแพร่หลาย และมีอัตราการขยายตัวที่น่าสนใจพอ ๆ กับงบประมาณที่ลงทุนไปในแต่ละที่

แต่ถึงแม้จะมีเครื่องเล่นใหญ่โต และเสียงอึกทึกเพียงใดก็ตาม ธุรกิจสวนสนุกในเมืองไทยก็ยังขาดปัจจัยที่สำคัญหลายประการไม่ใช่เงินทุน

ประการแรก- สวนสนุกเมืองไทยยังขาด “จินตนาการ” พวกเขาอาจลงทุนสร้างเมือง สร้างหุ่นมากมาย แต่ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งเหล่านั้นขาดซึ่งชีวิตชีวา

จินตนาการในสวนสนุกเมืองไทยเป็นจินตนาการที่ขาด ๆ เกิน ๆ ไปปะติดปะต่อ เหมือนเรื่องราวที่ไม่มีที่มาที่ไป

พวกเราอาจนั่งรถไฟฟ้าผจญไปในอวกาศ แต่ไม่รู้สึกเหมือนเดินทางจริง สัมผัสเพียงแค่รถที่สั่นไปมาและวิ่งเร็ว ๆ

สวนสนุกเมืองไทยขาดการสร้างบรรยากาศที่เร้าใจ สร้างจินตนาการและอารมณ์ให้เกิดความตื่นเต้นที่จะร่วมสนุก

ประการที่สอง-บริการของพนักงานสวนสนุกเมืองไทยเป็นบริการที่ให้กันแบบ “เบื่อหน่าย” พวกเขาไม่ได้ถูกปลูกฝังให้เป็นส่วนหนึ่งของ “ความสนุก”

ขณะที่ผู้ที่เดินทางไปเที่ยวสวนสนุกในต่างประเทศ จะสัมผัสได้ทันทีว่า พนักงานทำงานด้วยความกระตือรือร้น สร้างบรรยากาศตั้งแต่ผู้เล่นเข้าคิว จนสิ้นสุดการเล่น

ชุมชนเทพประทานเป็นภาพสะท้อนอีกฉากหนึ่งของความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดโดยรัฐ

30 ปีที่ผ่านมาเป็นความสูญเปล่า ไม่ใช่เป็นความสูญเปล่าของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ความสูญเปล่าของเอกชน เช่นตระกูล “กาญจนพาสน์”

เมื่อพยายามแก้ไขปัญหา แต่ด้วยความที่ล่าช้าทำให้การคลี่คลายปัญหายุ่งยากและซับซ้อนขึ้นไปอีก

ขณะเดียวกันความชอบธรรมของชาวสลัมก็มีมากขึ้น พอ ๆ กับความเข้าใจในโลกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่แทรกซึมไปได้ทุกชนชั้น ตราบใดที่พวกเขามั่นใจในสิทธิ์ของพวกเขา

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กำลังเผชิญหน้าความภาพพจน์ที่ขัดแย้งที่เป็นทั้งภาพนักบุญและนายทุน ทั้งกรณีบึงพระรามและกรณีชุมชนเทพประทาน

สำนักงานทรัพย์สินฯ ที่กำลังค่อย ๆ เปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้เช่ามาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่พยายามผสมผสานความขัดแย้งทุกอย่างให้ลงตัว จึงต้องลำบากใจทุกครั้งที่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us