Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540
เมื่อธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องขี่หลังเสือ!             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ความพยายามของธนินท์ ชาติรอด ซี.พี. รอด

   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
ธนินท์ เจียรวนนท์
ศุภชัย เจียรวนนท์
สุภกิต เจียรวนนท์
Telecommunications




สิ่งที่สะท้อนความยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของซี.พี ก็คือ การมีเครือข่ายอาณาจักรที่ครอบคลุมไปเกือบทุกแขนงของธุรกิจที่มีอยู่ หากเปรียบเทียบกับนิยามของอัลวิน ทอล์ฟเลอร์ เจ้าตำรับคลื่นลูกที่สามแล้ว

ซี.พี. นับเป็นเจ้าของธุรกิจไม่กี่รายที่มีธุรกิจอยู่บนคลื่นธุรกิจทั้ง 3 ลูก ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นผู้หนึ่งที่มีความศรัทธาในเรื่องเทคโนโลยีอย่างมาก

ในธุรกิจเกษตรกรรมซึ่งเติบโตมาจากกิจการเลี้ยงไก่ ธนินท์ได้นำเอาเทคโนโลยีมาเป็นส่วนผสมในการสร้างธุรกิจนี้ให้เติบโตมาแล้ว ธนินท์นำพากลุ่มซี.พี. เข้าสู่ธุรกิจเทคโนโลยีเมื่อสิบปีที่แล้ว

ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจโทรคมนาคมยังถูกผูกขาดอยู่ภายใต้ 2 หน่วยงานรัฐ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) การเติบโตของกลุ่มชินวัตร

ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดทางธุรกิจด้วยการเข้าไปผูกกับขั้วอำนาจในองค์การโทรศัพท์ฯ คว้าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ ที่ปั่นเม็ดเงินมหาศาล นับเป็นโมเดลธุรกิจที่คลาสสิกที่สุดในยุคนั้น

เช่นเดียวกับบริษัทยูไนเต็ดคอมมูนิชั่น อินดัสตรีส์ จำกัด(ยูคอม) ที่คว้าสัมปทานโทรศัพท์มือถือจากค่ายกสท.ซี่งส่งผลให้ยูคอมก้าวจากบริษัทค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมริมถนนราชเทวีเล็กๆ

กลายมาเป็นเจ้าของกิจการโทรคมนาคมขนาดใหญ่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี สำหรับซี.พี.กรุ๊ป ซึ่งมีทั้งพลังเงินทุนและเครือข่ายธุรกิจ โมเดลธุรกิจโทรคมนาคมของซี.พี.จึงไม่ได้เริ่มต้นแค่บริการเสริม

แต่ธนินท์ต้องการเข้าไปถึงแก่นกลางของการวางรากฐานระบบโทรคมนาคมที่จะเข้าถึงตัวลูกค้าในระดับ MASS นั่นคือที่มาของการเข้าสู่โครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย

ซึ่งต่อมาในสมัยรัฐบาลอานันท์ปันยารชุน โครงการนี้ถูกตัดเหลือแค่ 2 ล้านเลขหมายในกรุงเทพฯ และได้เพิ่มมาอีก 6 แสนเลขหมาย รวมเป็น 2.6 ล้านเลขหมายในปัจจุบัน

ตามสไตล์ของซี.พี.แล้ว เมื่อลงมือทำอะไรต้องทำให้ใหญ่และต้องครบวงจร การงลงทุนนำไฟเบอร์ออพติกหรือใยแก้วนำแสงมาสร้างเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน

แทนที่จะเป็นแค่สายทองแดงนับเป็นรูปธรรมสะท้อนความเป็นคนที่ไม่ได้มองอะไรแค่ชั้นเดียวของธนินท์อย่างดี ด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยียุคดิจิตอล ที่มีแถบความถี่กว้างมหาศาล

ทำให้มีสมรรถนะในการสื่อสารได้ทั้งข้อมูลภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถสื่อสารได้สองทาง (อินเตอร์แอคทีฟ)

สัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้การดำเนินงานของบริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น (ทีเอ) จึงไม่ใช่แค่โทรศัพท์เท่านั้น

แต่ยังเป็นแหล่งที่มาของบริการเสริมที่เกิดจากความสามาถของโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกนี้ไม่ว่าจะเป็น บริการเคเบิลทีวี วีดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ เทเลเมดดิซีน โฮมช้อปปิ้ง

และอื่นๆ ทั้งหมดนี้จะกลายเป็นการปฏิวัติในชีวิตประจำวันของคนในอนาคต ความหมายของการเป็นเจ้าของสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ของธนินท์

จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่มาของรายได้จากส่วนแบ่งจากค่าใช้โทรศัพท์ และการเป็นซัปพลายเออร์

อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งเครือข่ายเท่านั้น แต่เท่ากับว่าทีเอกำลังกลายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางด่วนข้อมูล ที่จะปฏิวัติโฉมหน้าใหม่บริการสื่อสารในทศวรรษหน้า

เมื่อสิบปีที่แล้วธนินท์เคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาจะไม่ให้ลูกมาทำธุรกิจดั้งเดิมที่ทำอยู่แล้ว เพราะทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็โดนด่า แต่ไม่ใช่สำหรับธุรกิจใหม่ ที่เป็นธุรกิจด้านเทคโนโลยี

ที่ธนินท์เลือกสานฝันด้วยทายาท ศุภกิจ เจียรวนนท์ ทายาทคนรองเข้ามามีบทบาทในกิจการของทีเอ โดยเฉพาะการรับผิดชอบบริการพีซีทีซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญต่อการขยายของโทรศัพท์พื้นฐาน

ธุรกิจโทรคมนาคมจึงมีความหมายยิ่งไปกว่านั้น คือ ความเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูลเจียรวนนท์ หลังคว้าโครงการโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย

ทีเอก็เร่งกวาดใบอนุญาตทำบริการเสริมจากโทรศัพท์สาธารณะเคเบิลทีวี บริการเอสพี คู่สายเช่าความเร็วสูง บริการเอชเอส ออดิโอ เท็กซ์ อินเตอร์เน็ต ภายใต้การลงทุนของเทเลคอม

โฮลดิ้ง(ทีเอช)ซึ่งทีเอเปิดขึ้นมาเพื่อลงทุนธุรกิจบริการเสริมทั้งบนบกฟ้าอากาศ รวมทั้งบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมารองรับร่วม 30 บริษัท เมื่อบวกกับความยิ่งใหญ่ของซี.พี.

ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้ามองเห็นอยู่เบื้องหน้าไม่ไกล แต่ไม่มีอะไรที่แน่นอน! ภาวะต่างๆ ดูจะไม่เป็นใจให้กับการออกจากจุดสตาร์ทของทีเอเท่าใดนัก ธุรกิจโทรคมนาคมในวันนี้

ไม่ใช่ยุคของการคว้าใบอนุญาตสัมปทานสื่อสาร และนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อหากำไรจากส่วนต่างราคาหุ้น เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ใช่แหล่งรายได้ชั้นดีของทุนสื่อสารอีกต่อไป

ซึ่งไม่สอดคล้องกับภาวะของการลงทุนของทีเอ ซี่งบริการเสริมทั้งหลายก็อยู่ในช่วงตั้งไข่ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

ยังต้องใช้เงินเพื่อเร่งสร้างโทรศัพท์พื้นฐานให้ทันกำหนดที่ให้ไว้กับองค์การโทรศัพท์ฯ ยิ่งการมาของซี.พี.ในธุรกิจโทรศัพท์ทำให้เส้นแบ่งระหว่างโทรศัพท์พื้นฐาน (FIX LINE) และโทรศัพท์มือถือ (WIRLESS COMMUNICAION) ที่มีชินวัตรและยูคอมเป็นเจ้าของพื้นที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

ความหวั่นวิตกของชินวัตรและยูคอมเจ้าของอาณาจักรมือถือที่มีต่อการมาของทีเอ ทำให้เกิดการขยายตัวของโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แน่นอนย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อโทรศัพท์พื้นฐาน

บริการโทรคมนาคมในวันนี้ไม่ใช่ตลาดที่ถูกผูกขาดอยู่แค่องค์การโทรศัพท์ฯและการสื่อสารแห่งประเทศไทย สนามของโทรคมนาคมในวันนี้ล้วนเต็มไปด้วยผู้เล่นที่ถือใบอนุญาตสัมปทานมือถือ เพจเจอร์ อินเตอร์เน็ต ทรังค์เรดิโอ ฯลฯ ที่จะมาร่วมแชร์ส่วนแบ่งตลาด นับเป็นครั้งแรกที่โทรศัพท์พื้นฐานที่เคยต้องนั่งรอเป็นปีกลับต้องอาศัยกลยุทธ์การตลาดเข่ามาช่วยกระตุ้นยอดจอง

หลังจากส่งมอบโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย ในวันที่ 30 กันยายน 2539 ทีเอก็ต้องออกโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถมออกมาเป็นระลอกเพื่อเพิ่มยอดจอง ที่มีอยู่ 1 ล้านกว่าเลขหมาย ในภาวะเช่นนี้

ทีเอจึงจำเป็นต้องอาศัยความอึด ความอดทน ผลตอบแทนอย่างอดทนมากกว่าปกติ! โดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจที่ทรุดต่ำลงและค่าเงินบาทอ่อนตัวลงส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจโทรคมนาคม

ที่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล และต้องซื้อเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ ปรัชญาธุรกิจสื่อสารของธนินท์ คือ ทีเอไม่ใช่ผู้ผลิตดาวเทียม ไม่ใช่ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ แต่ทีเอคือผู้นำเงินไป "เลือก" ซื้อเทคโนโลยี

บริการเสริมโทรศัพท์พกพาพีซีที (PERSONAL COMMUNICATION TELEPHONE) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกเลือกซื้อหามาภายใต้ปรัชญานี้ ความสำคัญของพีซีที คือ

การเป็นเทคโนโลยีที่มีส่วนผสมระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์มือถืออยู่ในตัว พีซีที เป็นเหมือนอาวุธชิ้นสำคัยที่ทีเอต้องการนำมาทดแทนความต้องการทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน

และโทรศัพท์มือถือในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือ ได้ทั้งยอดจองโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มขึ้น

และได้ส่วนแบ่งตลาดจากผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกในการใช้โทรศัพท์ที่สามารถพกพาติดตัวไปได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือที่โทรศัพท์พื้นฐานไม่มี บริการพีซีที เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของ PHS (PERSONAL HANDY PHONE) จากประเทศญี่ปุ่น คือเป็นระบบโทรศัพท์พกพา ที่ใช้ไมโครเซลล์ คือ เซลล์ขนาดเล็กที่มีกำลังส่งขนาด 10-500 มิลิวัตต์

เพื่อให้โทรศัพท์ลูกข่ายมีนาดเล็กใช้พลังงานต่ำ มาใช้เป็นบริการเสริมบนโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย จำทำให้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์พื้นฐานสามารถพกพาไปใช้นอกสถานที่ได้

โดยใช้หมายเลขเดียวกัน และเมื่อใช้รวมกับโครงข่ายอัจฉริยะ (Advance Intelligent Network) ลูกข่ายพีซีทีจะใช้เลขหมายเดียวกับโทรศัพท์พื้นฐาน ตามแผนของทีเอจะต้องเปิดให้บริการพีซีทีในเฟสแรกภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2540 มีพื้นที่ครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน1,500 ตารางกิโลเมตร รองรับรับผู้ใช้ประมาณ 7 แสนราย และในเฟส 2 จะขยายพื้นที่ที่เหลืออีก 2,700 ตารางกิโลเมตร ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เสร็จในปี 2541 รองรับผู้ใช้รวมเป็น 1 ล้านคน ซึ่งฐานผู้ใช้พีซีทีจะเป็นลูกค้าของพีซีที และองค์การโทรศัพท์ฯ ศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวว่าทีเอคาดว่าจะมียอดจองพีซีทีประมาณ 1 แสนราย หากเป็นไปตามที่คาดหมายจะทำให้ทีเอมียอดการจองโทรศัพท์พื้นฐานเพิ่มขึ้น เพราะผู้ที่จะใช้บริการพีซีทีจะต้องใช้เบอร์ของทีเอ

นอกจากนี้ทีเอจะมีรายได้จากค่าเครื่องลูกข่ายซึ่งตกประมาณ 9,000 บาท ค่าบริการรายเดือนที่เก็บจากลูกค้าที่ต้องการใช้พีซีที 200 บาทต่อเดือน และค่าใช้บริการการจะเก็บเป็นแอร์ไทม์ 2 นาทีแรก 3 บาท และนาทีถัดไปนาทีละ 1.50 บาท และเสียค่าทางไกล 3.8 และ 12 บาท ตามระยะทาง ทีเอประมาณการไว้ว่าในแต่ละเดือนจะมีรายได้จากค่าบริการใช้พีซีทีประมาณ 500 บาทต่อเดือน

ซึ่งจะทำให้ทีเอมีรายได้เพิ่มขึ้นทันที 500 ล้านบาท ความยากลำบากของพีซีที คือ การเป็นเทคโนโลยีที่นำเอาระบบพีเอชเอสมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในเมืองไทย พีซีที จึงเป็นการลองผิดลองถูกครั้งสำคัญของทีเอ ! เพราะระบบพีเอชเอส ถูกพัฒนาขึ้นมาจากประเทศญี่ปุ่นจึงถูกออกแบบให้เหมาะสมกับวิถึวีวิตของคนในยี่ปุ่นซึ่งมักเดินทางด้วยเท้า

แต่คนไทยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตบนรถประจำทางหรือรถยนต์ จึงต้องมีการปรับปรุงระบบเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบให้สามารถใช้งานในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในกรณีของตัวสถานีฐานที่ใช้รับส่งสัญญาณของพีซีที

หากเป็นระบบพีเอชเอสที่ญี่ปุ่นจะมีกำลังส่งให้เพิ่มขึ้นเป็น 200 มิลลิวัตต์ เพื่อให้มีความแรงในการส่งสัญญาณไม่ขาดหายในขณะที่เคลื่อนที่ "ตัวระบบของพีซีทีซึ่งใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณต่ำ เพื่อให้มีลูกข่ายขนาดเล็ก ในทางกลับกันก็ต้องติดตั้งสถานีลูกข่าย (Cell Station) จำนวนมาก เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมได้มากที่สุดทั้งในและนอกอาคาร ซึ่งเป็นเงินลงทุนที่สูงมาก"

คนในวงการโทรคมนาคมสะท้อน ก่อนหน้าการแจกเครื่องลูกข่ายพีซีทีให้กับลูกค้าที่จองไว้ 1 แสนเครื่องเพียงวันเดียว ทีเอต้องออกมาระงับการจองเครื่องลูกข่ายพีซีที และประกาศเลื่อนเปิดให้บริการไปเป็นต้นปีหน้า ทีเอชี้แจงต่อสาธารณชนว่าเป็นเพราะอุปกรณ์สถานีลูกข่าย (Cell Station) ของเอ็นอีซี ซึ่งเป็น 1 ซัปพลายเออร์หลัก

ที่นำมาติดตั้งมีปัญหามีน้ำซึมเข้าไปเนื่องจากเมืองไทยฝนตกชุก ทำให้เกิดไอน้ำและความชื้นจนทำให้อุปกรณ์เกิดชำรุดเสียหาย ความหมายที่แท้จริงก็คือ

ระบบยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะเปิดใช้งานได้เพราะนอกจากปัญหาเรื่องน้ำฝนแล้วพีซีทีก้ยังมีปัญหาสถานีฐานของเอ็นอีซีที่นำมาติดตั้ง มีกำลังส่งเพียงแค่ 20 มิลลิวัตต์ ซึ่งใช้ได้ดีในญี่ปุ่น

แต่สำหรับเมืองไทยต้องการออกแบบให้เคลื่อนที่ได้ในความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นจะต้องเปลี่ยนให้เป็น 200 มิลลิวัตต์ "ผลกระทบในด้านรายได้ของทีเอก็คือ รายได้ที่มาจากบริการพีซีทีที่คาดว่าจะเข้ามาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คงจะต้องถูกเลื่อนออกไปอีกจนถึงปีหน้า" ศุภชัย ชี้แจง ต้นทุนในการดำเนินงานของพีซีทีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

เมื่อจำนวนสถานีฐานที่คาดว่าจะติดตั้งเพียงแค่ 2 หมื่นเครื่อง ต้องเพิ่มขึ้นอีก 7,000 เครื่อง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ เมื่อบวกกับค่าเงินบาทลอยตัว ทีเอต้องถมเงินลงทุนไปในโครงการเพิ่มขึ้นจาก 6,286 ล้านบาท เป็น 16,000 ล้านบาท "ตอนแรกเราคาดว่าจะใช้แค่ 6 พันล้านบาท แต่เอาเข้าจริงแล้วมันไม่ได้เมื่อบวกกับค่าเงินบาทอ่อนตัว ต้นทุนเพิ่มขึ้นทันที 40% ดังนั้นเราต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีกมาก" แหล่งข่าวในบริษัททีเอเล่า ดร.วัลลภ วิมลวณิชย์ กรรมการทีเอกล่าวว่า ทีเอได้ทำสัญญาซื้อขาย MINIMUM CONTRACT PRICE กับซัปพยายเออร์เอาไว้ คือ

ทีเอจะจ่ายเงินค่าระบบไม่เกิน 16,000 ล้านบาท ไม่ว่าระบบจะต้องขยายเครือข่ายเพิ่มเติมอีกหรือไม่ก็ตาม ภาระของพีซีที คือ กำหนดชำระหนี้ให้กับซัปพยายเออร์ ก็คือหลังจากเปิดให้บริการ ทีเอจะต้องจ่าย 10% ของมูลค่าการติดตั้ง คือ 1,600 ล้านบาท และจะต้องชำระส่วนที่เหลือ 14,400 ล้านบาท ถัดจากนี้ไปอีก 540 วัน (ปีครึ่ง)

ปัญหาการเลื่อนเปิดให้บริการพีซีทีที่เกิดจากปัญหาของระบบ ไม่เพียงแต่ส่งผลในด้านของผลการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจ

แม้แรงบันดาลใจของผู้บริหารของทีเอยังมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม แต่ในภาวะที่ไม่เป็นใจเช่นนี้ ธนินท์คงต้องหันมาทบทวนบทบาทของทีเอใหม่อีกครั้ง ยูทีวี เคเบิลทีวี

เป็นบริการเสริมบนเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกชิ้นแรกที่ธนินท์ที่นำเสนอสู่ตลาด และจัดเป็นธุรกิจขายอาหารสมองที่ธนินท์ตั้งความหวังไว้อย่างมาก ความโดดเด่นของยูทีวีในช่วงแรกของการออกสู่ตลาด คือ การเป็นเคเบิลทีวีที่ส่งมาตามสายโทรศัพท์ขนานแท้ ไม่ใช่เคเบิลทีวีผ่านระบบไมโครเวฟ สัญญาณของภาพจึงชัดเจน และไม่ต้องเจอปัญหาการลักลอบดู

และด้วยประสิทธิภาพขอวไฟเบอร์ออพตกยูทีวีสามารถนำบริการเลือกดูหนังเรื่องใดได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดหรือแม้แต่วีดีโอออนดีมานด์

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่เพิ่มความสะดวกในชีวิตประจำวัน เพียงแค่สั่งซื้อหนัง หรือ สินค้าและบริการผ่านหน้าจอทีวี การมาของยูทีวี จึงเป็นการจุดพลุของบริการเคเบิลทีวี

และยังเป็นการท้าทายเจ้าเก่าอย่างไอบีซีของกลุ่มชินวัตร การดิ้นรนของไอบีซีจึงเกิดขึ้นมาเป็นระลอกแล้วระลอกเล่า ทั้งการหาพันธมิตรและในด้านของซอฟต์แวร์รายการ

ในระหว่างที่ไอบีซียังต้องวุ่นอยู่กับปัญหาเรื่องเสาเถื่อน ยูทีวีก็อาศัยความโดดเด่นในเรื่องเทคโนโลยี และการตลาดกวาดยอดสมาชิกแซงหน้าไอบีซีไปได้ แต่ไม่ใช่ชัยชนะที่ถาวรของยูทีวี

เมื่อไอบีซีเริ่มตั้งตัวติดและไปคว้าเอาพันธมิตร UIH 1 ใน 3 ยักษ์ใหญ่ด้านเคเบิลทีวีของโลกมา ในสมรภูมิการสู้รบของธุรกิจเคเบิลทีวี

ไม่เหมือนกับธุรกิจอื่นๆที่เมื่อลงทุนถึงจุดหนึ่งก็สามารถถึงจุดคุ้มทุนได้ในเร็ววัน แต่สำหรับเคเบิลทีวีแล้ว ยิ่งการแข่งขันมากขึ้นก็ยิ่งมีต้นทุนที่สูงขึ้น

โดยเฉพาะในเรื่องของซอฟต์แวร์รายการอันเป็นหัวใจของธุรกิจเคเบิลทีวี และรายการซอฟต์แวร์เหล่านี้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงยากจะควบคุมในเรื่องราคา ตัวเลขขาดทุนของไดบีซี

และยูทีวีเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนถึงสภาพธุรกิจเคเบิลทีวีเป็นอย่างดี "ธุรกิจเคเบิลทีวีมันเหมือนกับการขี่หลังเสือ" คำกล่าวของ สมพันธ์ จารุมิลินทท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทยูทีวี เคเบิลทีวี

สั้นๆ แต่ได้ใจความ ไม่เพียงแต่ยูทีวีใช้เงินลงทุนไปจำนวนมาก ทั้งในเรื่องของซอฟแวร์รายการ ที่ต้องทุ่มซื้อมาเพื่อต่อกรกับไดบีซีเท่านั้น

ความน่าตื่นตาตื่นใจของเทคโนโลยีเปย์เปอร์วิวก็ไม่ได้ตอบรับจากลูกค้าเท่าที่ควร รายได้ส่วนหนึ่งที่คาดว่าจะมาจากบริการพิเศษเหล่านี้จึงไม่ได้ตามเป้าหมาย สิ่งที่ยูทีวีพบก็คือ

จุดคุ้มทุนของยูทีวีก็ยิ่งห่างไกลออกไปเรื่อยๆ ภายใต้สมรภูมิรบที่เห็นอยู่เพียงภายนอกก็คือการเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อรวมธุรกิจระหว่างไอบีซีและยูทีวี อันที่จริงแล้วธนินท์ก็อาจไม่ต้องรีบร้อนตัดสินใจ

หากไม่เป็นเพราะผลพวกจากภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินบาทลอยตัว ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนซอฟต์แวร์รายการ ที่เพิ่มขึ้นมาทันทีอีก 40 % และทำให้ธนินท์ต้องหันมาทบทวนการลงทุน

ในภาวะเช่นนี้ทางเลือกของธนินท์ก็มีไม่มากนัก 9 ตุลาคม 2540 เป็นวันที่ไดบีซี และยูทีวีลงนามบันทึกความเข้าใจ ในการร่วมมือกันดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวีหลังจากการเจรจากันมานานนับปี

ซึ่งผู้บริหารทั้งสองค่ายก็ไม่คิดว่าการตกลงร่วมมือกันจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ ภายใต้สัญญาฉบับนี้ เท่ากับว่านับจากนี้สงครามการแย่งชิงสมาชิกจะยุติลง การลงทุนเพื่อทุ่มซื้อซอฟต์แวร์ รายการก็จะหมดลง เปลี่ยนมาเป็นการแชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกัน และแย่งสรรกันทำตลาดตามศักยภาพของแต่ละคน การผนึกธุรกิจร่วมกันระหว่างไอบีซี และยูทีวีจึงเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีถอยไป 3 ก้าว เพื่อความอยู่รอด ปรัชญาทางธุรกิจของธนินท์ที่ว่ากิจการใดทำไม่สำเร็จหรือไม่ทำกำไรก็ต้องถอยออกมา หรือหาผู้ร่วมทุนหรือหาทางรวมกิจการ (merge) ยังใช้ได้ดีอยู่ทุกสมัย

ดูเหมือนว่าโชคจะไม่เข้าข้างทีเอเท่าใดนัก เพราะไม่เพียงแค่ปัญหาของตัวเองเท่านั้น แต่ยังต้องเจอกับภาวะแวดล้อมภายนอกสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อบรรดาทุนสื่อสารโดยตรง ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องน้ำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศทั้งสิ้น ผลการดำเนินงานโดยรวมในไตรมาส 3 ของปี 2540

ทีเอขาดทุนสุทธิจำนวน 971 ล้านบาท ซึ่งขาดทุนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วจำนวน 85 ล้านบาท โดยการขาดทุนส่วนใหญ่มาจากผลประกอบการของโครงการโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย

ขณะเดียวกันทีเอต้องเจอกับผลขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน 10,914.9 ล้านบาท เป็นในส่วนของทีเอ 8,814.4 ล้านบาท และบริษัทย่อย 2,100.5 ล้านบาท

ซึ่งจะตัดจ่ายตามอายุของหนี้เป็นเวลา 10 ปี "ตอนแรกผู้บริหารของซี.พี.ก็คาดการณ์ไว้ก่อนแล้วว่า ธุรกิจโทรคมนาคมเป็น LONGTERM PROJECT ที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะคืนทุน

แต่คุณธนินท์เองไม่ได้คาดคิดว่า จะเจอกับเหตุการณ์ภาวะของเศรษฐกิจเช่นนี้และดีมานด์ของตลาดมันก็ไม่ได้มากอย่างที่คิดไว้"แหล่งข่าวในทีเอกล่าว

เป้าหมายเวลานี้ของทีเอไม่ใช่การสร้างแสนยานุภาพทางเครือข่ายอีกต่อไป แต่เป็นความอยู่รอดในภาวะที่เศรษฐกิจไม่เป็นใจเช่นนี้ จากนายทุนกระเป๋าหนัก

ทีเอก็ต้องหันมาเล่นบทนักขายกิจการเพราะในภาวะเช่นนี้ เงินสดคือสิ่งที่จำเป็นที่สุด บริษัทซีนีเพล็กซ์ และไลนส์เซอร์วิส 2 ใน 30 บริษัทในเครือเทเลคอมโฮลดิ้ง ที่ทีเอขายออกไปทำกำไร 499.2 ล้านบาท เป็นเม็ดเงินสดเข้ามาใช้ ตามมาด้วยการขายหุ้นในบริษัทเจียไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ลงทุนในบริษัท APT Satellite ทำโครงการดาวเทียมแอปสตาร์ในเมืองจีน หนึ่งในโครงการสยายปีกบนน่านฟ้า เพื่อนำเงิน 2,700 ล้านบาท เข้ากระเป็ามาใช้ในยามจำเป็น "เราจำเปนต้องขายออกไปเพราะหากเป็นภาระในการลงทุนระยะยาว และผลตอบแทนที่ได้มา เป็นอคกประมาณ 3 ปีขึ้นไป เราก็ยังไม่น่าที่จะไปลงทุน" ดร.วัลลภ กล่าวถึงสิ่งที่ทีเอต้องทำเมื่อขายหุ้น บริษัท เจียไต๋ฯ ออกไป แต่จากบทเรียนที่ผ่านมา ธนินท์รู้ดีว่าการลงทุนหมดหน้าตัก

หากต้องใช้เวลานานเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนักสำหรับปรัชญาการทำธุรกิจของซีพี ทีเอจึงต้องเลือกมากขึ้น บริการพีซีที และบริการของเอเซียมัลติมีเดีย

เป็นเพียงสองโครงการในเวลานี้ที่ทีเอตัดสินใจดำเนินการต่อ "จริงๆแล้วทีเอแทบไม่มีทางเลือก เพราะเราลงทุนพีซีที และเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกมาขนาดนี้แล้ว มีอย่างเดียวเลย หากไม่ทำต่อ ก็เลิกไปเลย" แหล่งข่าวในทีเอกล่าว ทางแก้ปัญหาของทีเอ คือ แยกบริการเสริมพีซีทีออกจากทีเอ จัดตั้งเป็นบริษัทเอเซียไวร์เลส คอมมูนิเคชั่น (AWC) และหาพันธมิตรเข้ามาซื้อหุ้น

วิธีนี้จะช่วยแห่งเบาภาระในเรื่องเงินลงทุน ไม่เป็นภาระหนักในเรื่องเงินลงทุนกับทีเอ และยังมีเงินสดจากการขายหุ้นจากพันธมิตรมาใช้ในโครงการ และหากทีเอโชคดีได้พันธมิตรที่มีประสบการณ์จะมาช่วยในเรื่องเทคโนโลยีและการทำตลาดของพีซีทีได้ ส่วนบริษัทเอเซียมัลติมีเดีย (AM) ให้บริการโครงข่าย Hybrid Fiber-Optic Coaxial

เครือข่ายทางด่วนข้อมูลชิ้นสำคัญที่ใช้ลำเลียงบริการเสริมในรูปแบบต่างๆของในอนาคต ไม่ว่าจะบริการอินเตอร์เน็ต โฮมช้อปปิ้ง วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เทเลเมดดีซีน ปัจจุบันโครงข่ายของ AM มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 750,000 ครัวเรือนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และอีกประมาณ 54,000 ครัวเรือนใน 4 จังหวัดใหญ่ๆ แต่หลังจากเจอพิษค่าเงินบาททีเอก็ลดการลงทุนจาก 20,000 ล้านบาท เหลือ 14,000 ล้านบาท โดยเน้นวางเครือข่ายเพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดหลักๆเพื่อให้องค์การโทรศัพท์ฯเช่าสำหรับให้ทีเอเช่าช่วงต่อเครือข่าย AM ยังมีไว้สำหรับให้ยูทีวีเช่าโครงข่ายสำหรับการให้บริการเคเบิลทีวี แล้วการขยายงานในปีหน้าของ AM จะสามารถให้บริการเช่าโครงข่ายแก่ทีเอ บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด

ซี่งเป็นบริษัทในเครือที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต การลงทุนของ AM ก็เหมือนกับการลงทุนของพีซีที ที่ทีเอต้องคลักกระเป๋าอย่างหนัก จึงต้องการหาหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (STRATIGIC PARTNER) มาร่วมหุ้น

เพื่อแบ่งเบาภาระการลงทุนเช่นเดียวกับในกรณีของพีซีที ในยามนี้แม้ว่าแรงบันดาลใจของธนินท์ยังมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม แต่ธนินท์ก็เริ่มเรียนรู้แล้วว่า ธุรกิจเทคโนโลยีไม่เหมือนธุรกิจค้าไก่ หรือเกษตรกรรม แต่เป็นหลังเสือที่แม้อยากลงก็ทำไม่ได้ง่ายๆ ธุรกิจโทรคมนาคม จึงกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดของซี.พี.กรุ๊ปในยามที่ได้รับผลกระทบจากภาวะค่าเงินบาทอย่างหนัก

การเลือกคงกิจการใดไว้เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญของธนินท์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us