|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2539
|
|
ปัญหาปวดขมองของเมืองเบียร์ตอนนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้นการขาดแคลนขยะเพราะหลังจากมีการคาดการณ์กันมาหลายทศวรรษว่าไม่ช้าไม่นาน ขยะจะกองท่วมหัวท่วมหูคนเยอรมัน แต่มาถึงวันนี้ปรากฎว่ารัฐบาลต้องอิมพอร์ตขยะจากแดนไกลถึงบราซิล เนื่องจากโรงงานแปรรูปขยะที่ตั้งขึ้นทั่วประเทศเกิดอาการตกงานกันเป็นแถว ขณะที่โครงการถมที่ดินที่วางเอาไว้ก็ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเมื่อไม่นานมานี้พบว่า ปริมาณขยะในประเทศลดจำนวนลงจนน่าตกใจ โดยในไตรมาสแรกของทศวรรษนี้ ขยะจากทุกแหล่งลดลง 16%
เหลือเพียง 252 ล้านตัน ขยะตามบ้านที่เคยมีถึง 43.3 ล้านตันตอนนี้เหลือแค่ครึ่งเท่านั้น
อย่างนี้ต้องเรียกว่า ฝันหวานของนักนิเวศวิทยากลายมาเป็นฝันสยองของเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาค นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 มีการโหมโปรโมตแคมเปญเรียกร้องให้ชาวเยอรมันลดแยกประเภทและรีไซเคิลขยะ ชนิดที่ว่าไม่มีการหยุดพักโฆษณากันเลย ขณะเดียวกัน ทางภาคอุตสาหกรรมก็ริเริ่มแยกประเภทขยะต่างๆออกจากกันและกัน พลาสติก กระดาษ เศษแก้วและวัตถุออกมารีไซเคิล
ขยะที่ไม่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อีกถูกนำไปจำกัดในเตาหลอมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความร้อนที่ได้ถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกทอด ผลลัพธ์ก็คือ ขยะทั้งจากครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็นที่ต้องการอย่างหนัก จนเมื่อถึงจุดหนึ่งก็เกิดสภาพขาดแคลนขยะขึ้นมา ส่งผลให้ต้นทุนของขยะถีบตัวสูงขึ้นทันที
ประเทศเพื่อนบ้านของเยอรมนีที่มีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมแรงกล้าล้วนแล้วแต่ประสบปัญหานี้กันทั้งนั้น แต่ไม่มีประเทศไหนที่ขาดแคลนขยะรุนแรงเท่าเมืองเบียร์ ถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นปัญหาระดับชาติก็ไม่ผิด เพราะเมื่อไม่นานมานี้ สภาเมืองดุสเซลดอร์ฟได้สั่งให้โรงงานกระดาษในท้องถิ่นหยุดส่งกากการผลิตไปให้โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในเบลเยียม (เพื่อแลกกับเงิน 162 ดอลลาร์ต่อ 1 ตัน) เป็นการชั่วคราว แต่ว่าให้ขนมาให้โรงงานรีไซเคิลขยะของเมืองแทน (เสนอราคาน่าสนใจกว่าคือตันละ 324 ดอลลาร์
ร้อนถึงบริษัทปูนเบลเยียมต้องวิ่งเต้นขอความยุติธรรมจากสหภาพยุโรป (อียู) โดยฟ้องว่าการกระทำของดุสเซลดอร์ฟเป็นการละเมิดกฎตลาดเดียวของอียู ซึ่งจนถึงวันนี้ คดีดังกล่าวยังคงอยู่ในดุลพินิจของศาล
ขณะเดียวกัน วิกฤติการณ์ขาดแคลนขยะก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้นในเมืองเบียร์ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากโรคกลัวขยะในทศวรรษที่แล้วที่ส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นเร่งมือสร้างโรงงานกำจัดขยะขึ้นมา แต่วันนี้เมื่อเทบจะไม่มีขยะให้กำจัด รัฐบาลจึงเหมือนถูกกดดันให้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้โรงงานขยะยังเดินเครื่องอยู่ได้ ค่าที่เอาเงินภาษีของประชาชนไปทุ่มให้โรงงานที่ว่าไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่นโรงงานขยะที่ใช้เทคโนโลยีนำสมัยตลอดกาลในออกซ์เบิร์กนั้นทุ่มทุนสร้างกันถึง 520 ล้านดอลลาร์ ว่ากันว่าขณะนี้รัฐบาลเยอรมนีต้องกันเงินภาษีไปสร้างและจ่ายค่าต้นทุนตายตัวของโรงงานขยะทั่วประเทศเพิ่มขึ้นถึง 84%
จนแม้แต่รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของรัฐนอร์ธ ไรน์เวสต์ฟาเลีย ยังออกปากว่า “ตลาดขยะสับสนอลหม่านเหลือเกินแล้วตอนนี้”
ไม่รู้เหมือนกันว่า ถ้ารัฐบาลเยอรมนีมาเห็นสภาพขยะล้นเมืองในบ้านเราจะหัวเราะหรือร้องไห้กันแน่
|
|
|
|
|