|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2539
|
|
ศิลปินหนุ่มใหญ่วัย 47 ใช้เวลากว่า 20 ปีสร้างสรรค์และจัดเผยแพร่งานแสดงในต่างประเทศ ส่วนมากเป็นแถบยุโรปซึ่งเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น
สมยศ หาญอนันทสุขศึกษาศิลปะครั้งแรกที่โรงเรียนช่างศิลป์ พ.ศ. 2508-2510 ศึกษาต่อในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นมาศึกษาศิลปะกับจ่าง แซ่ตั้งศิลปินอาวุโสของไทยผู้ล่วงลับ
ในพ.ศ. 2515 สมยศได้รับทุนจากรัฐบาลเยอรมนีไปศึกษาต่อทางศิลปะจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาจิตรกรรมจากมหาวิทยาลัยคุนสท์ อคาเดมี (KUNSTAKADEMIE) ในเมืองมิวนิกและศึกษาเพิ่มเติมที่ KOENIGLICHE KUNSTAKADEMIE กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
ผลงานศิลปะในระยะแรกของสมยศ สร้างขึ้นในพ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นทั้งงานเรียนและงานสร้างสรรค์อิสระเป็นภาพขาวดำที่ใช้เทคนิคการวาดด้วยดินสอ ปากกาลูกลื่น พู่กันจีน และหมึกบนกระดาษ สีน้ำมันบนผ้าใบ ผลงานดังกล่าวใช้สัญลักษณ์จากชิ้นส่วนอวัยวะมนุษย์มาเป็นสื่อผลงานเช่นนิ้วมือ นิ้วเท้า ใบหน้าคนโดยขยายภาพให้มีขนาดใหญ่เพื่อแสดงพลังทางอารมณ์ ให้ความรู้สึกอึดอัด กดดันโดยเน้นพื้นผิวของเนื้อหนังให้ดูปูดโปนราวกับสิ่งมีชีวิตที่พร้อมจะปริแตกออกมาภายนอก
ผลงานดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากภาพเขียนจีน โดยเฉพาะการนำรูปทรงของภูเขาที่ยิ่งใหญ่ทางธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการจัดองค์ประกอบของภาพ เนื้อหาของสภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นจากความรู้สึกขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นระบบเผด็จการ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น
ผลงานในช่วง พ.ศ. 2530 ส่วนใหญ่เริ่มจากการกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดบ่อยครั้ง สมยศมีโอกาสเดินทางไปแสวงหาข้อมูลในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย โดยให้ความสนใจกับศิลปะพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่นเป็นพิเศษ เช่นลวดลายบนสิ่งทอจำพวกผ้าถุง ผ้าขิ่น และเสื้อผ้าชาวเขาที่มีรูปทรงและสีสันสวยงาม ตลอดจนศิลปะไทยโบราณ ซึ่งถือเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมและประเพณีอันยาวนานของไทย สมยศได้นำความบันดาลใจจากสิ่งเหล่านี้มาเป็นแนวทางในการสร้างงานศิลปะ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเวลาต่อมา
ผลงานล่าสุดใน พ.ศ. 2538-2539 ได้พัฒนามาเป็นแนว “นามธรรม” สมยศเปรียบการทำงานศิลปะเสมือนหนึ่งการเดินทางในดินแดนที่ยังไม่เคยไป โดยเริ่มจากการหยอดหรือเทสีลงบนผืนผ้าใบเป็นตัวนำ จากนั้นจึงลงมือจัดจังหวะของช่องไฟ รูปทรง พื้นผิวให้มีความสอดคล้องและขัดแย้งในขณะเดียวกันการสร้างงานในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดสำเร็จรูป หรือการสเกตซ์ไว้ล่วงหน้า เนื่องจากต้องการความรู้สึกอิสระในขณะสร้างงาน ซึ่งต้องอาศัยความรอบคอบ สติและสมาธิในขณะสร้างงาน
|
|
|
|
|