Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
45 UP...กับโรคกระดูกพรุน             
 





เชื่อว่าผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนหลายคนคงจะกำลังร้อนๆหนาวๆกับเรื่องราวของโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวและอยู่ใกล้ตัวสตรีกลุ่มนี้มากที่สุดโรคหนึ่ง กิตติศัพท์ความรุนแรงของ “โรคกระดูกพรุน” เริ่มคุ้นหูคนไทยมากขึ้นในแง่ที่มีผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ป่วย ทำให้เจ็บปวด ทุกข์ทรมานและต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากในการรักษา

สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือนและหญิงสูงอายุเป็นวัยที่มีความบกพร่องในการสังเคราะห์ไวตามินดีที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างเนื้อกระดูก จากการศึกษาพบว่าสตรีวัยหมดประจำเดือน (48ปี-50ปี) เป็นสภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เซลล์สลายกระดูกทำงานเพิ่มขึ้นกว่าภาวะปกติ

จากสถิติของผู้ป่วยพบว่า โรคกระดูกพรุนอาจเกิดกับผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่าสี่สิบปีก็ได้ถ้าเธอผู้นั้นต้องสูญเสียอวัยวะสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงไปก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่นทดแทนตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนได้

3 วิธีหนีโรคกระดูกพรุน

1. สำหรับคนที่มีร่างกายแข็งแรงตามปกติ ถ้าไม่อยากให้โรคกระดูกพรุนมากล้ำกรายควรเลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ในภาวะที่ร่างกายอ่อนแอ เช่นมีการติดเชื้อ เจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีวัยสูงขึ้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมมาก เช่น นม นมผง บางคนไม่ชอบดื่มนมเพราะไม่คุ้นในรสชาติ สามารถเลือกอาหารไทยๆเช่น ปลาร้าผง กะปิ กุ้นแห้งตัวเล็กๆกุ้งฝอยในน้ำจืด งาดำคั่ว ถั่วแดงหลวง ผักคะน้า ตลอดจนเต้าหู้ขาวที่ใช้ใส่แกงจืดก็มีแคลเซียมมาก

2. นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้วควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มสุราและน้ำชากาแฟ ตลอดจนการบริโภคเนื้อและหมูมากเกินไปและรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดมากเกินไป

3. การออกกำลังกายโดยให้น้ำหนักของร่างกายลงที่กระดูกแนวยาวเช่นการเต้นแอโรบิก การเดิน-วิ่ง ถ้าทำเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ในระยะเวลาครั้งละประมาณ 15-30 นาทีจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง

หมดประจำเดือนก่อนวัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

คนไข้หญิงรายหนึ่ง มีภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ยังไม่หมดประจำเดือน เพราะประจำเดือนของเธอหมดไปก่อนธรรมชาติ เนื่องจากโรคร้ายมาเบียดเบียนทำให้ต้องตัดรังไข่และมดลูกทิ้งเธอแพ้ฮอร์โมนทดแทน และไม่คิดว่าเป็นเรื่องสำคัญกว่าจะรู้ตัวก็สายเกินแก้

คำแนะนำสำหรับหญิงประจำเดือนหมดก่อนวัย

1. ปรึกษาสูตินรีเวชหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกเพื่อขอรับฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ขาดไปเนื่องจากต้องตัดมดลูกออก สามารถแก้ไขได้โดยรับประทานฮอร์โมนเพศ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาสั่งให้ตามความเหมาะสม ผู้ที่จะใช้ฮอร์โมนได้ ต้องไม่มีประวัติการเจ็บป่วยเกี่ยวกับถุงน้ำดีและมะเร็งเต้านม เนื่องจากการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ากลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนเพศเสริมมีโอกาสเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูกเพิ่มถึง 4 เท่าตัวทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 23 เปอร์เซ็นต์ก่อนใช้ฮอร์โมนจึงควรปรึกษาแพทย์

2. รับประทานยาและไวตามินเสริม กรณีผู้ป่วยแพ้ฮอร์โมนทดแทน ไม่สามารถรับประทานได้ แพทย์จะพิจารณาให้ไวตามินดีสังเคราะห์สำเร็จรูปเพื่อนำมาใช้รักษาและป้องกันโรคร่างกายมีภาวะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

เมื่อเอ่ยถึงวิตามินดี คนทั่วไปมักมีความเข้าใจผิดคิดว่าวิตามินดีมีอยู่ในแสงแดด ร่างกายของเราได้รับโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินสังเคราะห์สำเร็จรูปชดเชยในกรณีที่ร่างกายมีภาวะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

แท้จริงแล้วแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างไวตามินดีด้วยสารเริ่มต้นที่ผิวหนังแล้วส่งไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอีกหลายขั้นที่ตับและไตเป็น CALCITRIOL ซึ่งเป็นไวตามินดีที่ออกฤทธิ์ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซี่ยมเข้าไปสร้างเนื้อกระดูก

ในภาวะปกติคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายจะสามารถสร้างไวตามินดีที่ออกฤทธิ์ได้ แต่ในบางภาวะเช่นผู้เป็นโรคตับ โรตไต โรคทางเดินอาหารเรื้อรังหรือผู้สูงอายุซึ่งมีระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมลง จึงไม่สามารถเปลี่ยนไวตามินธรรมชาติให้เป็นรูปที่ออกฤทธิ์ได้ ต้องรับประทานไวตามินดีสังเคราะห์สำเร็จรูปเพื่อช่วยสร้างเนื้อกระดูก แต่การให้ยานี้ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์

3. รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง เช่น นม เนยและเกลือแร่ต่างๆซึ่งหาได้จากไวตามิน ได้แก่...

ไวตามินเอ จากตับไข่แดงและพืชที่มีสีเหลืองเช่น แคร็อท มะเขือเทศ ไวตามินเอมีบทบาทในการเสริมสร้างเซลล์กระดูกให้ทำงานตามปกติ

ไวตามินซีจากผัก ผลไม้

ไวตามินดี จากไข่แดงและน้ำมันตับปลาและพืชผักที่มีสีเหลืองแดง ไวตามินดีนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซี่ยมเข้าไปสร้างเนื้อกระดูก แต่ในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุมักมีความบกพร่องในการสังเคราะห์ไวตามินดีเพื่อนำมาใช้ในการส่งเสริมให้การดูดซึมของแคลเซียมเพิ่มขึ้นจึงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับวิตามินสังเคราะห์สำเร็จรูป โดยแพทย์จะเป็นผู้ควบคุมขนาดของวิตามินที่ร่างกายต้องการได้ถูกต้องจึงไม่ควรขึ้นมารับประทานเอง

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง กรณีที่มีกระดูกโปร่งบางแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบข้อต่อและกระดูก

5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้แคลเซี่ยมในกระดูกลดลงเช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำชากาแฟ รวมทั้งการใช้ยาบางประเภท เช่นยาลดกรด ยากล่อมประสาท ยาสตีรอยด์ ยารักษาโรคต่อมไทรอยด์

ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์

จะเห็นได้ว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกันได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ต้องใช้หลายวิธีร่วมกันจึงจะได้ผล

หญิงวัย 45 ขึ้นไปเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากเพราะใกล้หมดประจำเดือน (อาจมีบางรายหมดประจำเดือนแล้ว) ควรเร่งบำรุงร่างกายให้แข็งแรงตาม 5 วิธีดังกล่าวข้างต้น สำหรับผู้ที่หมดประจำเดือนก่อนวัย ไม่ว่าจะหมดโดยธรรมชาติหรือต้องสูญเสียระบบธรรมชาติไปเพราะโรคภัยไข้เจ็บควรรีบปรึกษาแพทย์ขอรับคำแนะนำในการป้องกันตนให้พ้นจากโรคกระดูกพรุน หรือถ้าอยู่ในภาวะเริ่มเป็น แพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคน้อยลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us