Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
เศษเหรียญดิจิตอล             
 





เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เครือข่ายจัดจำหน่ายทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรขนาดใหญ่กำลังไขว่คว้าหาช่องทางที่ปลอดภัยในการทำเงินจากเครือข่ายดังกล่าว พูดง่ายๆก็คือ วิธีการที่ลูกค้าจะมั่นใจจนยอมใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์เหมือนกับเวลารูดซื้อของตามห้างนั่นเอง

ไซเบอร์แคชดูจะรู้เรื่องนี้ดี ต้นเดือนที่แล้ว บริษัทดาวเด่นในเรสตัน เวอร์จิเนียแห่งนี้จึงได้ออกผลิตภัณฑ์รุ่นปฏิวัติวงการ โดยอ้างว่าเจ้าระบบ “ไซเบอร์คอยน์” ตัวนี้จะเปลี่ยนเวิลด์ไวด์เว็บให้กลายเป็นตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ

ผู้ที่สนใจไซเบอร์คอยน์สามารถเข้าไปเยี่ยมชมในไซต์ของไซเบอร์แคช จากนั้นจัดการดาวน์โหลดกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์มาไว้ในฮาร์ดไดรฟ์แล้วสมัครเป็นสมาชิกกับทางบริษัทให้เรียบร้อย หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ไซเบอร์คอยน์จะแปลงกายทำหน้าที่คล้ายกับตู้เอทีเอ็มให้ลูกค้าโอนเงินจากแบงก์ที่มีสัญญากับบริษัท มาเข้ากระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ของตัวเอง โดยสามารถสั่งโอนเงินได้ตั้งแต่ 20-100 ดอลลาร์

ทีนี้เมื่อเจอไซต์ที่รับไซเบอร์แคช ลูกค้าก็สามารถซื้อสินค้าหรือบริการโดยจ่ายด้วยบัตรเครดิตหรือไซเบอร์คอยน์ก็ได้

ผู้ประกอบการออนไลน์ถึงกับยกให้ “คอยน์” หรือเงินดิจิตอล เป็นเสมือนคาถาวิเศษทำให้การทำธุรกิจในไซเบอร์สเปซเป็นเรื่องที่เป็นไปได้เพราะในกรณีที่สินค้าหรือบริการราคาจิ๊บจ๊อยแค่ 1 เหรียญหรือบางครั้งน้อยกว่า ลูกค้าคงไม่อยากรูดบัตรเครดิตให้เสียเวลา แต่สำหรับไซเบอร์คอยน์แล้วไม่มีปัญหาสักนิด

ตัวอย่างเช่นเมื่อกลางเดือนที่แล้วเช่นกัน เฮดเกมส์ได้เปิดตัว “วอร์บเบิล” เกมปริศนาหาคำที่หายไป ผู้เล่นสามารถเปิดเข้าไปทดสอบฝีมือได้พร้อมเพรียงกันคราวละ 2,000 คนโดยมีเดิมพันสำหรับผู้ชนะตั้งแต่ 10 ดอลลาร์ต่อ 1 คำ ส่วนค่าธรรมเนียมลงแข่งครั้งละ 1 ดอลลาร์ซึ่งคุณสามารถจ่ายเป็นไซเบอร์คอยน์ได้ทันที

ในส่วนของไซเบอร์แคชนั้นจะได้รายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้เหมือนกับกรณีของผู้ออกบัตรเครดิตนั่นเองเช่นถ้าการทำธุรกรรม 1 ครั้งคิดค่าธรรมเนียม 25 เซ็นต์ไซเบอร์แคชจะชักส่วนแบ่งจากทางแบงก์ 6 เซ็นต์ ส่วนธนาคารก็จะไปเรียกเก็บจากผู้ค้า 8 เซ็นต์ซึ่งเท่ากับว่าถ้ามีผู้นิยมใช้ไซเบอร์คอยน์มากเท่าไหร่ กำไรของไซเบอร์แคชก็มีสิทธิ์จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น

แต่ลำพังไซเบอร์แคชคนเดียวคงจะเข็นไซเบอร์คอยน์ให้โตยาก ไซเบอร์แคชจึงชักชวนบริษัทที่เปิดไซต์ให้บริการให้เวิลด์ไวด์เว็บ 30 รายมาร่วมโครงการด้วย คาดว่าจำนวนพันธมิตรจะเพิ่มเป็น 100 รายก่อนสิ้นปี ในส่วนของธนาคารที่เข้าร่วม ขณะนี้มี 6 แห่งที่ตกลงออกกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ให้ เรียกได้ว่าไซเบอร์แคชเป็นเจ้าแรกที่มีขุมกำลังและตลาดเป้าหมายชัดเจนที่สุด ณ ชั่วโมงนี้

อย่างไรก็ตาม ไซเบอร์แคชยังต้องแข่งกับผู้พัฒนาระบบธุรกรรมออนไลน์รายอื่นๆตลอดจนแบงก์ยักษ์ใหญ่อีกหลายราย อาทิ ซิตี้แบงก์ที่กำลังซุ่มพัฒนาซอฟต์แวร์จัดการเงินอิเล็กทรอนิกส์ออกมาให้บริการ เท่ากับว่าค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจะต่ำลงเรื่อยๆ

สำหรับประเด็นของความปลอดภัยนั้น เมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่แล้ว BANK OF INTERNATIONAL SETTLEMENT ได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบปัญหาความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งสมาร์ทการ์ดที่ร่ำๆจะออกในเร็วๆนี้และซอฟต์แวร์จัดการเงินดิจิตอล โดยมีอิสราเอล เซนโดรวิก รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขานิวยอร์กเป็นหัวหน้า ผลการตรวจสอบที่เผยแพร่ออกมาเมื่อต้นเดือนที่แล้วสรุปว่า ระบบเหล่านี้มีความปลอดภัยสูงกว่าบัตรเครดิตเสียอีก แต่มาตรการอย่างหนึ่งอย่างใดอาจจะไม่รัดกุมพอ จำเป็นต้องประสานมาตรการเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน

สุภาษิต “คนเดียวหัวหายสองคนเพื่อนตาย” จึงยังใช้ได้ในโลกยุคหายใจเข้าออกเป็นอินเตอร์เน็ตด้วยประการฉะนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us