Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539
PHS มือถือวัยกระเตาะ             
 





ใครที่สงสัยว่าเหตุใน PERSONAL HANDY PHONE SYSTEM หรือเรียกสั้นๆว่า PHS ถึงไปได้สวยในญี่ปุ่นและจะยังเป็นเช่นนั้นต่อไปในตลาดเอเชียอาคเนย์ข้อข้องใจนี้อาจบรรเทาเบาบางลงหากได้ฟังเรื่องที่เกิดขึ้นกับฮาจิมะ ทามูระ บัณฑิตหนุ่มหน้าใสจากมหาวิทยาลัยวาเซดะผู้นี้ เล่าว่าเขาและเพื่อนๆมักจะมีปัญหาเวลานัดท่องราตรีในสถานที่ที่คนแน่เอี๊ยด

“บางทีเราก็นัดเจอกันในผับแต่ถ้าร้านเต็ม เราก็จะมูฟไปที่อื่น ปัญหาก็คือถ้ามีคนหนึ่งคนใดมาสายเราจะบอกเขาได้ยังไงว่าเราย้ายไปไหน แต่ก่อนเราอาจจะแก้ปัญหาโดยการแอบเขียนโน้ตติดไว้ที่ประตูร้านโดยหวังว่าเจ้าของร้านจะไม่เห็นและขยำทิ้งไปก่อนที่เพื่อนของเราจะได้อ่าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้วเพราะเรามี PHS”

อันที่จริงความสะดวกสบายของโทรศัพท์มือถือไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร ติดอยู่ที่ราคาออกจะแพงเกินไปสำหรับนักเรียนนักศึกษา แต่หลังจากเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว หนุ่มสาวรุ่นราวคราวเดียวกับทามูระก็มีทางเลือกใหม่ในราคาแค่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 4 ของโทรศัพท์มือถือทั่วๆไปเท่านั้นนั่นก็คือ PHS จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างใดที่ PHS ฮิตระเบิดเถิดเทิงทำยอดขายถล่มทลาย ณ สิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สมาชิกระบบ PHS พุ่งทะลุเป้า 3.5 ล้านรายไปเรียบร้อย

“พวกที่เลือก PHS คงเป็นเพราะราคาย่อมเยา แต่สำหรับผู้ที่ต้องไปเมืองนอกเป็นว่าเล่นและไม่อยากพลาดข้อมูลข่าวสารมักจะเลือกโทรศัพท์เซลลูลาร์มากกว่า” เรโกะ วาดะเจ้าของร้านมือถือในย่านชิมชาชิ กลางกรุงโตเกียวเล่าให้ฟัง

PHS อาจจะมีข้อจำกัดสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งและต้องการใช้โทรศัพท์ติดต่อสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับหนุ่มสาวที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเรียน การรับจ็อบและปาร์ตี้คงไม่รังเกียจรังงอนข้อจำกัดข้อนี้ของ PHS เท่าที่สำรวจพบปรากฎว่า กว่าครึ่งของสมาชิกใหม่มีอายุไม่ถึง 25 ปีและ 30% ในจำนวนนี้ยังอยู่ในวัยเรียน ส่วนเวลาที่มีผู้ใช้บริการชุกที่สุดคือห้าทุ่มสะท้อนให้เห็นแนวโน้มอีกประการคือ PHS ถูกใช้เป็นทางออกสำหรับขาโจ๋ที่ยังอยู่กับพ่อแม่เพื่อแอบรับโทรศัพท์ยามวิกาลโดยที่พ่อแม่ไม่กระโตกกระตากแม้แต่น้อย

และถึงแม้สถานีเครือข่ายของ PHS จะครอบคลุมบริเวณแค่ไม่กี่ร้อยเมตรและสามารถถ่ายทอดสัญญาณพร้อมกันครั้งละเพียง 3 ช่องสัญญาณเท่านั้น แต่ความที่ต้นทุนการตั้งสถานีตกแค่ 25,500 ดอลลาร์โดยประมาณ จึงทำให้ผู้ให้บริการสามารถซอกซอนไปตั้งสถานีในสถานที่ห่างไกลที่โทรศัพท์เซลลูลาร์ไปไม่ถึงได้ อาทิ ในโตเกียวขณะนี้นั้นสมาชิกระบบ PHS สามารถใช้บริการจากเกือบทุกสถานีรถไฟใต้ดินเลยทีเดียว นอกจากนั้น ผู้ให้บริการค่ายต่างๆยังเตรียมการผุดสถานีเครือข่ายรองรับกันอย่างคึกคัก

อย่างไรก็ดี กว่าที่ PHS จะฮอตฮิตถึงขั้นนี้ได้ ก็ต้องอาศัยกลยุทธ์การตลาดเข้มข้นเอาการ มีตั้งแต่ลดราคากระทั่งแจกโทรศัพท์ฟรีแต่เฉพาะผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกตอนซื้อเครื่องเท่านั้น โดยให้ผู้บริการจะรับภาระในส่วนนี้ไป ทว่าขณะเดียวกันแผนกการตลาดรุกกร้าวเหล่านี้ก็เป็นบูมเมอแรงย้อนกลับมาเล่นงานผู้ให้บริการเช่นกัน เพราะการโหมโปรโมตเพื่อให้ได้สมาชิกเพิ่มขึ้นๆก็เท่ากับว่าผู้ให้บริการรายนั้นต้องเสียเงินมากขึ้นและทางเดียวที่จะชักทุนคืนก็คือรายได้จากค่าธรรมเนียมที่สมาชิกจ่ายให้นั่นเอง

การลงทุนลักษณะนี้นำไปสู่การขาดทุนก้อนโต ตัวอย่างเช่นดีดีไอ โตเกียว พ็อกเกต เทเลโฟนที่ขาดทุนยับกว่า 400 ล้านดอลลาร์ในปีการเงินที่แล้วและคาดว่าจะขาดทุนต่ออีก 660 ล้านดอลลาร์ในปีการเงินนี้ บริษัทแห่งนี้ได้แต่หวังจะฟื้นกำไรได้บ้างในปีต่อๆไปเพราะอย่างน้อยดีดีไอก็ยังมั่นใจได้ว่า นับวันวัยรุ่นยิ่งจะต้องการอิสรเสรีและความเป็นส่วนตัวมากขึ้นทุกที “พวกเขาต้องการโทรศัพท์ของตัวเองไม่ใช่โทรศัพท์ที่เป็นของคนทั้งบ้านอีกต่อไป” โยอิชิโร่ สึจิ ผู้ขัดการดีดีไอมองโลกในแง่ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us