โชคดี หรือโชคร้ายของคีรี กาญจฉพาสน์ก็ไม่รู้ ที่มีความสามารถผลักดัน โครงการรถไฟฟ้าออกมาให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ได้เป็นผลสำเร็จ
และ สร้างความภูมิใจให้กับคีรี และตระกูลกาญจนพาสน์อย่างใหญ่หลวง
ในขณะที่โครงการโฮปเวลล์ทางรถไฟยกระดับระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการแก้ไขการจราจรของรัฐบาลเมื่อประมาณ
8 ปีก่อน และถูกกำหนดให้เป็นเส้นทาง ที่สอดประสาน และรองรับ ซึ่งกันกับรถ
ไฟฟ้า BTS กลับไปไม่ถึงไหน เส้นทางของโฮปเวลล์นั้น จะขยายไปไกลทั้ง เส้นเหนือ
ใต้ และตะวันออก เพื่อขนคนเข้าเมือง และจะมีจุดที่เชื่อมโยง กับรถไฟฟ้า BTS
ที่ปักหลักเส้นทางอยู่ใจกลางเมือง เมื่อแผนการของ โฮปเวลล์พัง ภาพ ที่เห็นในเส้นทางระยะแรกจากดอนเมืองถึงยมราชจึงมี
เพียงเสาค้างโด่ ในขณะที่รถไฟฟ้า BTS กลับฟันฝ่าอุปสรรคจนสามารถ ก่อสร้างได้สำเร็จ
แต่กำลังถูกจับตามองอย่างไม่กะพริบเหมือนกันว่า เมื่อมีเพียงเส้นทาง รถไฟฟ้าในใจกลางเมืองโดดๆ
โดยไม่มีเครือข่ายเชื่อมโยงนั้น รวมทั้งราคา ค่าโดยสารของรถไฟฟ้า ที่ค่อนข้างสูง
เพราะเป็นโครงการที่รัฐไม่ได้เข้ามา ร่วมทุนด้วยนั้น จะสร้างปัญหาให้การใช้รถไฟฟ้าของคนน้อยเกินไปหรือไม่
"ผมขอเวลาอีกระยะหนึ่ง ตอนนี้เรามีแผนการต่างๆ มากมาย ในการดึง คนมาขึ้นรถ
รวมทั้ง!ารเข้าไปทำโครงการโฮปเวลล์"
คีรีประกาศก้อง ซึ่งถึงวันนี้เขายังไม่หายเหนื่อย แล้วก็คงต้องเหนื่อย หนักอีกต่อไป
เมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2542 ประชาชนคนไทยคงไม่รู้ว่า ผู้บริหารรถไฟฟ้า
BTS กลุ่มหนึ่ง นำโดยคีรี กาญจนพาสน์ ได้ตระเวนกราบไหว้สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
ที่ทางวิ่งของรถลอยฟ้าพาดผ่าน คีรีต้องการขอขมาต่อ สิ่งที่คนเคารพเหล่านั้น
ตามธรรมเนียมปกติของชาวไทยพุทธ แต่สิ่งหนึ่งก็คือ ณ ขณะนั้น เขากำลังต้องการกำลังใจอย่างยิ่งในการเดินรถไฟฟ้าอย่าง
เป็นทางการครั้งแรก ในวันรุ่งขึ้น
เช้าวันที่ 5 ธันวาคม 2542 วันมหาปิติของประเทศไทยทั้งประเทศ เป็นวันเดียวกับ
ที่ทีมงานผู้บริหารรถไฟฟ้ากำหนดเป็นวันเดินรถอย่างเป็น ทางการครั้งแรก หลายคนคอยเฝ้าดูปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นตามสถานี ใหญ่ๆ ด ้วยความระทึก
แต่แล้วภาพ ที่คนเบียดเสียดแย่ง กันขึ้นรถไฟฟ้าในวันเปิดใช้วันแรกนั้น อาจจะทำให้คีรีสามารถผ่อนลมหายใจอย่างโล่งอกไปได้ชั่วคราว
ชั่วคราว จริงๆ
ก่อนหน้านั้น คีรีได้ออกมาให้สัมภาษณ ์กับสื่อมวลชนต่างๆ ว่ารถไฟ ฟ้าจะต้องมีคนขึ้นประมาณ
6-7 แสนคนต่อวัน รายได้ต่อวันจะต้องประมาณ 18 ล้านบาท จึงจะสามารถคืนทุนได้ภายในเวลา
12 ปี และย้ำว่า ศักยภาพของรถไฟฟ้า BTS นี้สามารถรองรับคนได้ถึง 1 ล้าน 1
แสนคน ต่อวัน
แต่ในช่วงเดือนแรกของการเดินรถ ตัวเลขของคนใช้รถ ที่ออกมาโดย เฉลี่ยแล้วในวัน
หยุดเสาร์-อาทิตย์ จะประมาณ 200,000 คน โดยที่วัน ธรรมดาอยู่ ที่ 1 ประมาณ
150,000-160,000 คน มีราย ได้เข้ามาช่วง วันหยุดประมาณ 9 ล้านบาท ส่วนวัน
ต่อๆ มาลดลงเหลือ วันละประมาณ 7 ล้านบาท
" ที่ผมบอกว่าเราควรได้ 6 แสนคนต่อวัน ทำไมทุกคนต้องคิดว่าหมายถึงวันนี้
ถ้าเป็น 6 แสนคนต่อวันจริงๆ ป่านนี้ผมนั่งไม่ติดแล้ว มันต้องมี อะไรพังไปสักอย่าง
มันเป็นไปไม่ได้เราคาดการณ์กันว่าในวันแรกๆ เราน่าจะได้ ประมาณ 1 แสนคนต่อวัน
กำลังดี ตอนนี้เราได้มาแล้ว 2 แสนคน ก็รับกันจนเครื่องมันดาวน์" คีรีเปิดใจกับ
"ผู้จัดการ" เมื่อมีกระแสข่าวออกมาในช่วงแรกว่าคนขึ้นรถน้อยกว่า
ที่เขาคาดหมาย ไว้ ในวันนั้น หน้าตาของเขาดูสดใส ขึ้นกว่าช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามากนัก
ในช่วงแรกๆ ของการเดินรถ ไฟฟ้านี้คีรียังไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ทั้งสิ้น
คนที่ขึ้นรถไฟฟ้าในระยะนี้ ยังประเมินไม่ได้ว่าเป็นคนที่ใช้รถแน่นอนหรือไม่
เพราะส่วนหนึ่งอาจจะยังเป็นช่วงของการลองขึ้นลองใช้ แต่ยังตัดสิน ไม่ได้ว่าคนเหล่านั้น
จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้รถไฟฟ้าจริงๆ ซึ่งในต่าง ประเทศเช่น ฮ่องกง และสิงคโปร์
อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 6 เดือน ถึงจะฟัน ธงลงไปได้ว่า คนที่ยังใช้รถเวลานั้น
เป็นตัวเลขของผู้โดยสาร ที่แท้จริง ซึ่งถ้า มองอีกมุมหนึ่ง การที่ยอดคนใช้รถน้อยในระยะแรก
ก็กลับกลายเป็นเรื่อง ที่ ดีเพราะทางคีรีเองก็จะได้มีเวลาในการปรับปรุงระบบต่างๆ
ได้ทันเช่นกัน พร้อมๆ กับสามารถวางแผนรองรับ และส่งเสริมการขายกลุ่มเป้าหมาย
ที่ แท้จริงได้ด้วย
ณ ขณะนี้รายได้หลักของคีรีคือ เงิน ที่เก็บได้จากค่าโดยสารเพียงอย่าง เดียว
กยรบริหารพื้นที่สถานี เพื่อให้เช่าเป็นร้านค้านั้น หรือพื้นที่ขายโฆษณา
บนรถไฟฟ้า และตามสถานีต่างๆ นั้น คิดเป็นรายได้เพียง 2% ของรายได้ ทั้งหมดเท่านั้น
กว่าโครงการนี้จะสำเร็จลงได้ยังต้องใช้เวลาตั้ง 7 ปี ดังนั้น ถ้าต้องรอ
ต่อไป เพื่อเม็ดเงินกำไร ที่เขาคาดหวังว่าจะได้กลับคืนมา ทำไมคีรีจะรอไม่ได้
ถึงแม้ว่าในช่วงเวลา ที่ต้องรอนี้ ว่ากันว่าเขาอาจจะต้องแบกภาระดอกเบี้ยไม่
ต่ำกว่าวันละ 10 ล้านบาทก็ตาม
คีรีเสียเวลากับการแก้ปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่ทยอยเกิดขึ้นมา ตลอดระยะเวลา
7 ปี เป็นปัญหา ที่ทีมงานทุกคนแม้จะมีประสบการณ์ในการ ทำธุรกิจ ที่เคี่ยวกรำขนาดไหนก็ไม่เคยคาดคิด
และมองไม่ออกว่าจะเกิดขึ้น ได้ เป็นบทเรียน ที่ล้ำค่าที่สุดในการทำธุรกิจสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ใน
เมืองไทย ซึ่งเป็นโครงการเดียวของโลก ที่ลงทุนโดยภาคเอกชนทั้งหมด
แต่คีรีกลับคงยืนหยัด และไม่ยอมแถ้ เขามั่นใจอย่างมากๆ ว่าจุดหมาย ปลายทางของรถไฟฟ้า
คือ ขุมทรัพย์ก้อนใหญ่ ที่รออยู่
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2530 ซึ่งเป็นปีทองของคีรี หรือ "หว่อง จงซัน"
คนนี้เริ่มต้นการทำธุรกิจในเมืองไทย หลังจากประสบความสำเร็จจากการทำ ธุรกิจทางด้านบริษัทตัวแทนจำหน่ายเสื้อผ้า
ภัตตาคาร และโรงแรมในฮ่องกง
การเริ่มทำธุรกิจในเมืองไทยของ คีรีแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่ใหญ่ๆ คือ การพัฒนา
ที่ดิน การขนส่ง และการสื่อสารคมนาคม ทั้ง 3 ธุรกิจคือ ตัวต่อจิ๊กซลว์ ที่คีรีกำลังใช้เวลาในการสอดประสานประกอบกันให้ลงตัว
เพื่อ เม็ดเงินกำไร ที่จะไหลกลับคืนมา
เริ่มแรกคีรียึดหัวหาดบนถนนบางนา-ตราดช่วงกิโลเมตร ที่ 14 เปิดโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการแรกคือ
"ธนาซิตี้" ซึ่งมีทั้งบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม
และสนามกอล์ฟเป็นโครงการใหญ่ยักษ์ ที่ ถูกวาดแผนไว้ในที่ดินประมาณ 1,560
ไร่
ด้วยความตั้งใจจริงในการก่อสร้าง และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคใน โครงการ ภายในเวลา
2 ปี ธนายงประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขายเป็น อย่างมาก และเป็นบริษัท ที่ราคาหุ้นเป็นดาวรุ่ง
ที่พุ่งแรงมากในสมัยนั้น และ ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับตัวเขาเองอย่างมากเช่นกัน
แผนรุกต่อไป ยังโครงการคมนาคมจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทันที
ต้องยอมรับว่าคีรีเป็นนักพัฒนา ที่ดินคนแรกของเมืองไทย ที่ให้ความ สำคัญในการลงทุนทางด้านระบบการขนส่งอย่างเป็นจริงเป็นจังที่สุด
"ผมต้องการทำโครงการที่อยู่อาศัย ที่สมบูรณ์แบบในด้านการบริการ ลูกค้า
ถ้าผมหา ที่อยู่อาศัยให้ลูกค้าพร้อมกับระบบขนส่งมวลชน ที่จะรับ และ ส่ง ที่อยู่ในโครงการนั้น
ได้ ก็จะเป็นเรื่อง ที่วิเศษที่สุด" นี่คือ เหตุผลหนึ่ง ที่คีรี เคยกล่าวกับสื่อมวลชน
ถึงความเป็นมาในการเข้าไปทำโครงการรถไฟฟ้า
นอกจากนั้น ยังจะเป็นการแก้ปัญหาของการจราจร ที่ตรงจุดที่สุด และยัง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในเรื่องการเดินทางแล้ว
ยังจะเป็นการสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับโครงการพัฒนา ที่ดินต่างๆ ของเขาอย่างมหาศาลอีกด้วย
คีรีขอเข้าไปทำสัญญาสัมปทานจากกรุงเทพมหานคร เพื่อบริหาร โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ
จำกัด (มหาชน) (BTSC) ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1 ล้านบาทโดย บริษัทธนายง
จำกัด มหาชน เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด และ ได้ลงนามในสัญญา สัม ปทานไปตั้งแต่วันที่
9 เมษายน 2535 ระยะทางตามสัญญาสัมปทานครั้ง แรกมีความยาวเพียง 13 กิโลเมตรครึ่งระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ
2 ปีครึ่งถึง 3 ปี
"ทำโครงการระยะทางแค่นั้น ใช้งบประมาณไม่น่าถึง 20,000 ล้านบาท ไม่มีปัญหา
ลำพังเงินของธนายงอย่างเดียวก็น่าจะเอาอยู่"
นั่นคือ สิ่งที่คีรีคิด ซึ่งหากไม่มีอะไรผิดพลาด โครงการรถไฟฟ้านี้เปิดใช้
ไปตั้งแต่ประมาณปี 2538 ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจฟองสบู่กำลังฟูฟ่อง และ สามารถกวาดเงินในช่วงนั้น
มหาศาลไปแล้ว ถึงแม้จะมาเจอยุควิกฤติทางการ เงินในปี 2540 แต่แน่นอนว่ารถไฟฟ้าได้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติ
กรรม และวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ จนถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเริ่ม
นับหนึ่งใหม่เช่นวันนี้
แต่ความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นก็คือ โครงการนี้มีปัญหาตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือ
ตอกเสาเข็มต้นแรก จนถึงวันสุดท้ายก่อนหน้าจะเปิดการเดินรถ ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาทางด้านกา
รเมือง ปัญหาทางด้านสังคม และปัญหาทางด้านการ เงิน ที่ทยอยประดังเข้ามาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา
7 ปีที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่คีรีตัดสินใจทำรถไฟฟ้า BTS เมื่อประมาณปี 2534 นั้น
สถานการณ์ทาง การเงินของธนายง ซึ่งเป็นบริษัท ที่ถือหุ้นใหญ่นั้น อยู่ในช่วง
ที่มีความพร้อมทางด้านการเงินเต็มที่ แต่กว่าโครงการนี้จะเดิน เครื่องได้จริงๆ
ก็เป็นเวลา ที่ธนายงเองก็แทบจะไม่มีเงินติดกระเป๋า ภาระอัน หนักหน ่วงของรถ
ไฟฟ้า ที่เกิดขึ้น แทบจะฉุดเอาธนายง มุดจมดินลงไปด้วย
มรสุมลูกแรกของคีรีไม่ได้เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้า BTS แต่เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ที่ตอนนั้น เขาขยายตลาดครอบคลุมทั้งธุรกิจขาย ให้เช่า และบริหารหลังการขาย
ในปี 2534 ผลประกอบการของธนายงได้กำไรสุทธิ 1,049 ล้านบาท สูง กว่าปี 2533
ประมาณ 50% ในปี 2535 รายได้ก็ขยับขึ้นไปอีกเป็น 1,314 ล้านบาทแต่พอปี 2536
ผลประกอบการของธนายงกลับลดเหลือเพียง 647 ล้านบาท รายได้ ที่เคยได้จากการขายเมื่อปี
2535 ประมาณ 2,000 ล้านบาทลดเหลือเพียง 647 ล้านบาทเท่านั้น และตัวเลขของมันก็
ลดน้อBถอยลงมาเรื่อยๆ พร้อมๆ กับ ที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท แข่ง"ันการขายกันอย่างหนัก
ปี 2541 ผลกระทบของธุรกิจวิกฤติเศรษฐกิจ ที่กร€หน่ำอย่างต่อเนื่อง ธนายงส่งผลให้ในปีนั้น
บริษัทขาดทุนประมาณ 6.4 พันล้านบาท โครงการ พัฒนาต่างๆ ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ไม่มีสิทธิ์พลิกฟื้น
สถาบันการเงินเอง ก็ยังเข้มงวดในการปล่อยเงินกู้ ทำให้ลูกค้ายกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายใน
หลายโครงการ
ไตรมาสแรกปี 2542 ธนายงก็ยัง ขาดทุนอยู่อีกประมาณ 4.3 พัน ล้านบาท หุ้นของธนายงจะสวิงก
ลับมาได้อีกครั้งหรือไม่ในอนาคตอันใกล้นี้ เห็นทีจะต้องฝากความหวังไว้ ที่รถไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เพราะ โครงการพัฒนา ที่ดินอื่นๆ ของธนายงนั้น ต้องคอยเวลาเพียงอย่างเดียว
ซึ่งไม่รู้ว่า อีกนานแค่ไหน
"ในส่วนของธนายงเองคงต้องอยู่เฉยๆ อีกนาน ในตลาดยังมีของปรส. อีกเยอะ
ที่ถูกกว่าการพัฒนาขึ้นมาใหม่" เป็นความเห็นของคีรี
โครงการธนาซิตี้นั้น แม้เฟสแรก จะทำการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย แต่ เฟส ที่
2 ซึ่งมีทั้งในส่วนของโรงแรม สำนักงาน โรงพยาบาล โรงเรียน โรงภาพยนตร์ และศูนย์การค้านั้น
ถูกชะลอตัวมาตั้งแต่ประมาณปี 2535
ในช่วงเวลาเดียวกันโครงการทางด้านธุรกิจบันเทิงของเขาคือ สกายทีวี ก็ไม่ปร
ะสบความสำเร็จต้องขายกิจการไป เช่นเดียวกับโครงการ VSAT ที่ ดำเนินการภายใต้ชื่อ
บริษัทไทยสกายคอม ความผิดพลาดอยู่ ที่คีรีไม่ได้ลง มาจับโครงการเหล่านี้ด้วยตัวเอง
เพราะความ ที่เป็นเจ้าโปรเจ็กต์ทั้งในเมือง ไทย และบริษัทในฮ่องกง ทำให้เขามีเวลาในการทำงานน้อยมาก
และได้ ปล่อยอำนาจการ บริหารให้ตกอยู่ในมือของผู้อื่นทั้งสิ้น
วันนี้เขาจึงมีความหวังกับการบริหารโครงการรถไฟฟ้า BTS ที่เขาทุ่ม เทเวลาให้อย่าง
เต็มที่ และไม่ยอมปล่อยให้ใครเข้ามาบริหารแทนเด็ดขาด
ในขณะเดียวกันคีCียังมีความหวังกับโครงการทางด้านพัฒนา ที่ดิน เพราะแม้
ที่ดินหลายแปลงของธนายงถูกพับเก็บ แต่เขาก็ยังพยายามเข้าไปเป็น เจ้าของ ที่ดินแปลงใหม่ๆ
หลายแปลงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และ ที่ดิน เหล่านั้น เป็นทำเล ที่เส้นทางรถไฟฟ้าพาดผ่านทั้งสิ้น
เมื่อกลางปี 2538 หลังลงนามแก้ ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อย้ายพื้นที่จอดรถมา
ที่ตลาดหมอชิต คีรีก็ถือโอกาสสานสัมพันธ์ต่อกับทางกรมธนารักษ์ เข้าไปขอเช่าพื้นที่ประมาณ
8 ไร่ บริเวณ กรมปศุสัตว์บนถนนพญาไท ช่วงระหว่าง ถนนศรีอยุธยากับถนนเพชรบุรี
โดยมีแผนการที่จะกำหนดเป็น คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ พร้อม ที่จอดรถ 1,200 คัน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็ คือ ลูกค้า ที่ต้องการสำนักงาน ร้านค้าย่อย ที่สะดวกในการเดินทางเนื่องจาก
ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS
คีรีจะต้องยกกรรมสิทธิ์ ที่ดิน 2 ไร่ และก่อสร้างอาคารชดเชย ที่อำเภอบ ้านนา
จังหวัดนครนายกให้กรมปศุสัตว์ และต้องก่อสร้างอาคารชดเชย เพื่อใช้เป็นที่ทำการของกรมปศุสัตว์แห่ง
ใหม่บน ที่ 10 ไร่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ปัจจุบันได้ลง นามในสัญญาสร้างอาคารชดเชยแล้ว
และยังอยู่ในระหว่างการแก้ไขราย ละเอียดของอาคาร จึงไม่ได้ลงนามในสัญญายกกรรมสิทธิ์
โครงการที่ 2 คือ ไทม์ สเตชั่น บนถนนพญาไท บริเวณถนนพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา
ซึ่งเป็นจุดตัดของโฮปเวลล์กับ BTS เป็นอาคารสูง 45 ชั้น พื้นที่ประมาณ 60,000
ตารางเมตรโครงการนี้มีการวางแผนไว้ให้มี การเชื่อม จากสถานีรถไฟฟ้า BTS เข้าตัวโครงการสะดวกในการเดินทาง
และเป็นจุดขึ้นลงของคนที่ใช้รถไฟฟ้าเพราะเป็นสถานีใหญ่สถานีหนึ่ง
3. โครงการที่ดินเช่าสำหรับโครงการเอยูเอ มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ เช่าในนามของบริษัทสหกรุงเทพพัฒนา
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือหนึ่งของธนายง โดยเช่าจากสำนักงานพระคลังข้าง ที่ สำนักพระราชวัง
ตามสัญญาโครงการนี้ จะเริ่มนับสัญญาการเช่าในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2543
และยังมี ที่ดินอีก 17 ไร่ ที่ตั้ชื่อไว้เรียบร้อยแล้วว่าโครงการสวนสาทร
ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งเช่าจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังเมื่อปี 2538 เพื่อจะ สร้างเป็นอาคาร
ที่พักอาศัย
ที่ดินทั้ง 4 แปลงนี้แม้ยังไม่ได้เริ่มพัฒนาโครงการแต่ทางคีรียืนยันว่ายัง
เป็นกรรมสิทธิ์ของธนายง และปัจจุบันถึงจะพัฒนาโครงการไม่ได้เนื่องจาก ปัญหาวิกฤติท
างเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมากนักเพราะ เป็นที่ดินเช่า ซึ่งจ่ายเพียงค่าเช่าที่ดินบางส่วนไปเท่านั้น
และบางแปลงก็ยังไม่ ได้ลงนามในสัญญายกกรรมสิทธิ์ ซึ่งแน่นอนว่าหากเศรษฐกิจ
ที่ดินมี สัญญาณฟื ้นตัวขึ้นเมื่อไหร่ ที่ดิน ที่รายรอบโครงการรถ ไฟฟ้านี้มีสิทธิ์
ที่จะทำรายได้ได้เร็วกว่า ที่ดินแปลงอื่นๆ แน่นอน
แต่ก่อนหน้านั้น คีรีได้พัฒนา ที่อยู่อาศัยหลายโครงการ เพื่อรับประโยชน์
อย่างเต็มๆ กับโครงการรถไฟฟ้า BTS โครงการที่เสร็จไปแล้วก็คือ โครงการยงสุอพาร์ทเม้นท์
ที่ซอยสุขุม 39 ที่ปากซอยเป็นสถานีรถไฟฟ้าซอยพร้อมพงษ์ โครงการเดอะรีเจ้นท์รอยัลเพลส
1 และ 2 คอนโดให้เช่าสูง 26 ชั้น ในซอยมหาด เล็ก 1 และโครงการเดอะแกรนด์รีเจ้นท์
1 ในซอยมหาดเล็ก 2 ซึ่งทั้ง 2 โครงการ นี้ มีสถานีรถไฟฟ้าราชดำริรองรับอยู่หน้าปากซอย
โครงการคอนโดมิเนียมในซอยลือชา อนุสาวรีย์ ผู้เช่าก็สามารถขึ้น รถไฟ ฟ้าตรงอนุ
สาวรีย์ได้โดยสะดวกส่วนโครงการทีเอสที ทาวเวอร์ อาคาร สำนักงานให้เช่าอีกแห่งหนึ่งบนถนนวิภาวดีรังสิต
ที่สามารถทะลุถนนพหลโยธิน ออกมาได้นั้น ก็สามารถมาขึ้นรถไฟฟ้า ที่สถานีหมอชิตได้เลยเช่นกัน
หากดูในรายละเอียดของส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้า ที่กทม.กำลัง ผลักดัน และคีรีก็ประกาศก้องพร้อมสานต่อนั้น
จะพบว่ามีโครงการที่ดิน ที่ กำลังรอพัฒนา และพัฒนาแล้วของ ธนายงอยู่เส้นทางเหล่านั้น
อยู่ หลายโครงการโดยเฉพาะ เส้นบางนาตราดนั้น สามารถทำให้โครงการ ธนาซิตี้ฟื้นชีพขึ้นมาก่อนโครงการอื่นๆ
โดยไม่จำเป็นต้อง รอให้ภาพรวม ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวขึ้นมาก่อนด้วยซ้ำไป
ปัญหา ที่สำคัญที่สุดของการทำโครงการรถ ไฟฟ้า BTS และทำให้เกิด ปัญหาต่อเนื่องอื่นๆ
ตามมาคือ เรื่องของโรงจอด และซ่อมบำรุงของรถไฟฟ้า ซึ่งกทม.กำหนดพื้นที่เดิมไว้
ที่สวนลุมพินี และถูกกระแสคัดค้าน ตั้งแต่รถไฟ ฟ้า BTS ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการคัดเลือกผู้ก่อสร้าง
เมื่อประมาณต้นปี 2536 โดยประชาชนได้รวมกลุ่มกันอ้างว่าพื้นที่ตรงนี้รัชกาล
ที่ 7 มีพระ ประสงค์ ที่จะให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ในที่สุดกทม. จำยอมต้องเลื่อนอู่จอดรถไป
ที่สถานีขนส่งหมอชิตบนถ นนพหลโยธินแทน ซึ่งมีกรมธนารักษ์เป็นเจ้าของ ที่ดิน
แต่กว่าจะผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่จะต้องเสนอไปยังคณะกรรมการกำกับ โครงการระบบขนส่งมวลชนมหานคร
ซึ่งมีรองนายกฯ อำนวย วีรวรรณ เป็นประธานในตอนนั้น ให้ความเห็นชอบ ให้สร้างโรงจอดรถ
และซ่อมบำรุง รถไฟฟ้า ที่สถานีขนส่งหมอชิตแทน ที่สวนลุมพินี และให้ต่อขยายเส้นทางไป
อีก 4 กิโลเมตร จากสถานีสนามเป้าถึงสถานีขนส่งตลาดหมอชิต
และก็ต้องรอทางกระทรวงการคลังแต่ง ตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณา การใช้พื้นที่สถานีขนส่งตลาดหมอชิตขึ้น
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2536 ซึ่งรัฐ มนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (บุญชู
ตรีทอง) เป็นประธาน และ อธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นเลขานุการ คณะทำงานฯได้มีการประชุมหารือเป็นระยะ
ได้ข้อสรุปการใช้พื้นที่ 40 ไร่ ในส่วนของโรงจอด-ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า สำหรับพื้นที่ด้านหน้า
23 ไร่ ให้นำไปจัดประโยชน์ เพื่อนำรายได้มาชดเชยให้กับ บริษัทขนส่งจำกัด
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 และกรุงเทพ
มหานครได้ลงนามในสัญญากับกรม ธนารักษ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2537
แล้วจึงลงนามแก้ไขสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2538 และมีการมอบพื้นที่
ส่วนแรกประมาณ 5 ไร่ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2538 เพื่อก่อสร้างศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า
เป็นเวลาเกือบ 2 ปีเต็มหลังได้รับสัมปทาน ที่คีรีทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากเฝ้ารอแต่เพียงอย่างเดียว
การขยายระยะทางจาก 13 กิโลเมตรครึ่งเป็น 24 กิโลเมตร ทำให้งบ ประมาณในการลงทุนจาก
20,000 ล้านบาทต้องเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 กว่าล้านบาท และความล่าช้า ที่เกิดขึ้นจากปัญหานี้
ได้ไปผนวกรวมกับอีก หลายๆ ปัญหา และได้ลากยาวไปเจอกับช่วงวิกฤติทางการเงินเมื่อรัฐบาล
ใช้มาตรการเงินบาทลอยตัว เมื่อปี 2540 ทำให้เจอค่าส่วนต่างตรงจุดนี้อีก 1
หมื่นกว่าล้าน จนในที่สุด โครงการนี้เพิ่มขึ้นเป็น 54,925 ล้าน บาท
แม้พื้นที่อู่จอดรถจะลงตัว และเริ่มการก่อสร้างได้ไม่นาน แต่ปัญหาการ จราจรก็เกิดขึ้น
พล.ต.ท.สล้าง บุนนาค รองอ.ตร ฝ่ายจราจรในสมัยนั้น ได้ แจ้งให้ดำเนินการจับกุมบริษัท
BTSC ว่าเป็นตัวการสำคัญท ี่ทำให้การ จราจรติดขัด คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช
ก็รวมพลังกับประชาชนคัดค้านให้ เปลี่ยนเป็นการทำรถใต้ดิน ที่ร้ายหนักก็คือ
คนที่เคย เห็นด้วยกับโครงการ นี้คือ บุญชู โรจนเสถียร ที่เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนจำลอง
ศรีเมือง กลับคล้อยตามกระแสคัดค้านเหล่านั้น และเห็นด้วยว่าน่าจะให้ทำ รถใต้ดิน
ทางด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก็ดึงเรื่องนี้เข้าสภาฯ อภิปราย อย่างดุเดือดว่า
สัญญา ที่เอกชนทำกับกรุงเทพมหานคร เป็นสัญญาอัปยศ