|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2539
|
 |
ในวาระของการครบรอบ “20 ปี 6 ตุลา” เวียนมาบรรจบในปี 2539 นี้กลุ่มผู้เคลื่อนไหวการชุมนุมในครั้งนั้น ซึ่งในเวลานี้เติบโตเป็นนักวิชาการ นักธุรกิจอยู่ในสมาคมองค์กรต่างๆและอาจเรียกพวกเขาว่า “ชาว 6 ตุลา” ได้ร่วมกับตัวแทนนักศึกษาจากสถาบันต่างๆมูลนิธิกลุ่มสมาคมและชมรมต่างๆที่มีเจตนาสืบสาน “ปณิธาน 6 ตุลา” เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยที่สงบ สันติ มีความเป็นธรรมและเป็นประชาธิปไตยของประชาชน ได้ร่วมกับมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์จัดงานดินเนอร์ ทอคขึ้นเมื่อ 3 กันยายนที่ผ่านมา
หัวข้อในการอภิปรายครั้งนี้คือ “ร่วมสร้างการเมืองใหม่” โดยมีผู้ร่วมอภิปรายคือคุณอานันท์ ปันยารชุน ศ.นพ.ประเวศ วะสี และคุณธีรยุทธ บุญมี ผู้ดำเนินการอภิปรายคือ คุณสุทธิชัย หยุ่น
การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือหาทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมการตามเจตนารมณ์และใช้ในการจัดงานรำลึก “20 ปี 6 ตุลา” นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการคือเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นเวทีที่จะกระตุ้นให้สังคมได้สนใจและมีส่วนร่วมในการพัฒนากระบวนการเมืองใหม่ที่สอดคล้องเหมาะสมกับสังคมไทย
นอกจากนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวได้เติบใหญ่ ด้วยความหวังที่จะช่วยผลักดันสังคมไทยด้วยวิถีทาง “สันติ สามัคคีและสร้างสรรค์” อย่างเป็นรูปธรรม
งานครั้งนี้มีการขายบัตรเพื่อระดมทุนในราคาที่นั่งละ 3,000 บาทซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีและสามารถหาทุนได้ประมาณ 2 ล้านบาทเพื่อใช้ในกิจกรรมดังกล่าว
งานดินเนอร์ ทอค ครั้งนี้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการจัดงานรำลึก “20 ปี 6 ตุลา” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5-6 ตุลาคมนี้ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์องค์ประกอบของงานมีทั้งด้านพิธีกรรม งานวิชาการและงานวัฒนธรรม
ดร.โคมทม อารียา ประธานกรรมการประสานงาน 20 ปี 6 ตุลากล่าวว่า “งานวันที่ 5 นั้นจะเน้นความหลากหลายและจัดโดยหลายองค์กร แต่รวมศูนย์อยู่ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการอภิปราย ฉายวิดีโอ ดนตรี อ่านบทกวี ละคร แสงสีบอกเล่าเหตุการณ์ 6 ตุลา”
“ส่วนวันที่ 6 ตุลานั้น มีงานที่สนามฟุตบอลในตอนเช้าและที่หอประชุมใหญ่ในช่วงบ่าย วันนี้งานจะมีลักษณะเน้นการรวมศูนย์และความเป็นพิธี”
ในช่วงเช้านั้นจะเป็นการตักบาตรพระจำนวน 106 รูปมีการสวดมนต์ การทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นมีการตั้งแถวเดินรอบสนามฟุตบอล ม.ธ. พิธีกรรมจุดนี้คณะผู้จัดประสงค์ จะให้ผู้เข้าร่วมได้ตั้งสติรำลึงถึงผู้ที่จากไประหว่างเดินจะมีการตีกังสดาล เพื่อให้เสียงที่แผ่กังวาลอยู่ในสนามบอลเวลานั้นเป็นเสียงแห่งธรรม แทนที่จะเป็นเสียงกระสุนปืนของเมื่อ 20 ปีก่อนจากนั้นให้นำดอกไม้ไปวางที่สถูปซึ่งจัดไว้
ต่อจากการวางหรีดและดอกไม้แล้ว จะมีการกล่าวไว้อาลัย พระสงฆ์ทำพิธี มีการกรวดน้ำรำลึกลงบนกล้าไม้ที่มีการเตรียมไว้ เพื่อให้ผู้สืบสาน “ปณิธาน 6 ตุลา” นำกล้าไม้เหล่านี้ไปปลูกให้ปณิธานนั้นงอกเงยสืบต่อเนื่องไป
ทั้งนี้ปณิธาน 6 ตุลาเกิดจากการสัมมนาระดมความคิดของคณะทำงานจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลาเมื่อเดือนมกราคม 2539 และได้สรุปนิยามว่าหมายถึง 1) ความใฝ่ฝันถึงสังคมที่สงบสันติ (สังคมทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า 2) วิญญาณของการแสวงหาความจริงอย่างเป็นอิสระ
ในภาคบ่ายจะมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การมอบรางวัลให้อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ผ่านบุตรชาย) แสดงธรรมปาฐกถาโดยพระไพศาล วิสาโลกล่าวสุนทรพจน์ประกาศเจตนารมณ์และเปิดภาพอนุสรณ์สถานซึ่งช่วงนี้ถือเป็นไฮไลท์ของงาน ต่อจากนั้นเป็นรายการวัฒนธรรม นาฏศิลป์ ดนตรีเพื่อชีวิต รายการในภาคหลังนี้อยู่ในหอประชุมใหญ่และสุดท้ายเป็นพิธีปิดงาน
|
|
 |
|
|