ลองนึกถึงสมัยที่ยังเรียนหนังสือ ช่วงใกล้สอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืนวันก่อนสอบแล้ว
ผมเชื่อว่าคน ส่วนใหญ่จะทำคล้ายๆกัน คือ พยายามอ่านหนังสือ หรือตำราให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอนให้ดึกที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กันสองสาม ประการ คือ
อ่านหนังสือไม่ทัน และหวังว่าการอ่าน ทวนซ้ำ จะทำให้จำได้ดีขึ้นในช่วงสั้นๆ
ก่อนเข้าห้อง สอบในวันรุ่งขึ้น
นั่นคือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
แต่หากลองถาม ผู้อาวุโสทั้งหลายในครอบครัวเกี่ยวกับคืนวันก่อนสอบ ถ้าคุณผู้อ่านยังจำประสบการณ์ของตนเองสมัยเรียนได้
คำตอบของผู้อาวุโสทั้งหลายก็คือ คืนก่อนสอบไม่ต้อง อ่านให้มาก นอนให้เช้าหน่อย
อย่าอดนอน แล้วตอนเช้า จะสดชื่นความจำดี
นั่นคือ ความเชื่อต่อกันมาของคนที่ผ่านการ เตรียมตัว อย่างเร่งด่วนคืนก่อนสอบ
แต่หากถามว่า การนอนแต่หัวค่ำจะช่วยเรื่องการสอบได้อย่างไร น้อย คนนักที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้
ผลจึงมักจะเป็นไปใน ทางที่ว่า คนรุ่นต่อมาที่ต้องเตรียมตัวสอบก็ยังคงทำ เหมือนรุ่นก่อนๆ
คือ นอนดึก อ่านหนังสือตลอดทั้ง คืน เพื่อไปสอบในวันรุ่งขึ้น
แต่หากนำความรู้ทางด้านสรีรวิทยาเข้ามา อธิบาย เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์พบว่า การนอนของคนเรา แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือการนอนแบบ rapid
eye movement หรือเรียกสั้นๆ ว่า rem sleep กับ non-rapid eye movement หรือ
non-rem sleep ลักษณะที่แยกการนอนทั้งสองแบบออกจากกันอยู่ที่ การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
คือการนอนแบบ rem จะมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมอง (electro-encephalogram-EEG)
การเต้นของหัวใจ เหมือนคน ที่ตื่นปกติ มีการกลอกตาเคลื่อนที่ไปมาเหมือนเรา
กำลังมองภาพยนตร์ จุดที่ต่างจากคนตื่นมีอยู่ 2 อย่าง คือ กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง
และฝัน แต่การฝันในช่วง นั้นเมื่อเราตื่นมา เราจะจำไม่ได้
ส่วนการนอนแบบ non-rem จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับแบบแรก การนอนโดยปกติจะเริ่มจาก
non-rem ก่อนแล้วตามด้วย rem ประมาณ 20-25 นาทีแล้วกลับไปที่ non-rem เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
จนกระทั่งตื่นนอน
นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าการนอนแบบ non-rem จำเป็นสำหรับการเติบโตของมนุษย์
ส่วน rem-sleep จำเป็นสำหรับการพัฒนาของสมองและความจำ
นั่นคือการนอนดีสำหรับความจำ และความหมาย ต่อไปคือ การอดนอนในช่วงคืนก่อนสอบไม่น่าจะให้
ผลดีต่อความจำและความพร้อมในการสอบในวันรุ่งขึ้น
แต่ปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์ถกเถียงกันต่อคือ ความจำที่เกิดขึ้นในช่วง rem
sleep เป็นความจำที่ รวบรวมมาจากสิ่งต่างๆ ในช่วงกลางวันที่เราตื่น หรือมี
การจัดลำดับความสำคัญ และโยนสิ่งที่เป็นขยะที่ไม่น่า จำออกไป
เพื่อตอบคำถามนี้นักวิจัยกลุ่มหนึ่งในเบลเยียม ได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองในขณะที่คนกำลัง
หลับโดยใช้เครื่องมือ PET-Scan (positron emission tomograpghy) ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยบอกถึงการทำงาน
ส่วนต่างๆ ของสมอง (แน่นอนว่าเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สมองยังคงทำงานในขณะที่เราหลับ
ตัวอย่างที่เห็นชัด คือการฝัน) โดยนักวิจัยกลุ่มนี้ให้ผู้ถูกทดลองเรียนรู้
การตอบสนองต่อไฟกะพริบโดยการกดปุ่มเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ร่วมกับการทำ PET-scan
ในช่วงนั้น จากนั้น เมื่อคนกลุ่มนี้เข้านอน และหลับเขาก็จะถูกตรวจโดย PET-scan
อีกครั้งหนึ่ง
ที่น่าสนใจคือส่วนหนึ่งของสมองส่วน cuneus ซึ่งอยู่ทางด้านหลังมีการทำงานอย่างมากในช่วงของ
การฝึกและในช่วง rem-sleep โดยในช่วง non-rem สมองส่วนนี้จะไม่ทำงาน และที่น่าสนใจยิ่งขึ้นคือ
ใน คนที่ได้รับการฝึกโดยการให้ไฟกะพริบที่มีรูปแบบแน่นอน เช่น ไฟกะพริบ 3
ครั้งแล้วกดปุ่มครั้งหนึ่ง สมองส่วนนี้ จะทำงานมากกว่าคนที่ไฟกะพริบไม่มีรูปแบบแน่นอน
นอกจากนี้แล้วนักวิจัยยังพบต่อไปอีกว่า สมอง ส่วนที่อยู่ไกลออกไป คือ caudate
nucleus ซึ่งเกี่ยว ข้องกับการเรียนรู้เรื่องของลำดับและไวยากรณ์ก็มี การทำงานมากขึ้น
ข้อสรุปของงานวิจัยนี้คือ การนอนแบบ rem-sleep จะมีส่วนต่อการเก็บรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในตอน
กลางวันให้ถูกบันทึกกลายเป็นความจำ โดยความจำที่ เกิดขึ้นนี้สมองของเราไม่ได้บันทึกทุกเรื่องที่เกิดขึ้น
(ดัง เช่นสมองส่วน cuneus ในคนที่ได้รับการฝึกอย่าง ไม่มีรูปแบบ สมองส่วนนี้จะทำงานน้อยกว่าคนที่ได้
รับการกระตุ้นหรือฝึกอย่างมีแบบแผน) แต่จะบันทึก เฉพาะเรื่องที่สำคัญและเราตั้งใจเรียนรู้เหมือนมี
บรรณาธิการมาคัดเลือกเรื่องและจัดลำดับในการ ตีพิมพ์
หากข้อสรุปเรื่องนี้ถูกต้อง เราคงไม่ต้องห่วง เรื่องการนอนดึกเพื่ออ่านหนังสือไปสอบในวันรุ่งขึ้น
อีกต่อไป เพราะหากขาดการนอนแบบ rem sleep ในคืนนั้น ความรู้ที่อ่านไปก็จะไม่ถูกเรียบเรียงจัด
ลำดับความสำคัญและบันทึกเป็นความจำเพื่อนำไปใช้ การอดนอนในคืนก่อนสอบก็คงจะเป็นการอดนอน
ที่ไม่ได้ประโยชน์มากนัก
ความเชื่อเดิมที่สืบทอดกันมาเรื่องของ การเตรียมตัวในคืนวันก่อนสอบโดยการนอนแต่หัวค่ำ
และตื่นแต่เช้ายังเป็นสิ่งที่ถูกต้องและได้รับการยืนยัน ทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังคงมีปัญหาสำคัญกับบรรดา
นักศึกษาที่มาเอาดีช่วงก่อนสอบอยู่ดี คือ หากจะนอน ให้เช้าขึ้นแต่ไม่ได้อ่านหนังสือมาก่อนหน้านี้
แล้วเขา เหล่านั้นจะเอาอะไรมาบันทึกเป็นความจำในช่วง ของการนอน
เมื่อถึงจุดนี้สิ่งที่ผู้ใหญ่ในอดีตเคยสอนเรา ก็กลับมาย้ำถึงความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
คือ "อย่า หมายน้ำบ่อหน้า"