|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2539
|
|
“สิว” ศัตรูหัวใจของชายและหญิงมาตั้งแต่วัยรุ่น หนุ่มสาวประมาณ 80% เคยเป็นสิวมาแล้วแทบทั้งสิ้น บางคนอาจจะเคยเป็นแบบรุนแรงจนฝากรอยแผลเป็นไว้ให้ดูเป็นที่ระลึกจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่หลายคนโชคดีเป็นสิวแบบไม่รุนแรง
มีคำถามที่ว่าหลังจากผ่านพ้นช่วงวัยหนุ่มสาวแล้ว ยังมีโอกาสเป็นสิวอีกหรือไม่ ตอบได้เลยว่าในขณะที่บางคนกำลังอ่านบทความนี้อยู่ก็ยังถูกสิวตามรังควาน จึงสรุปได้ว่าแม้ผ่านพ้นช่วงวัยหนุ่มสาวมาแล้ว ก็ยังมีโอกาสเป็นสิวอีกเช่นกัน
สาเหตุของการเกิดสิว เกิดจากหลายสาเหตุเช่นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P. ACNES อยู่บนผิวหนังหรือฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมไขมันโตขึ้น ร่วมกับการอุดตันของต่อมไขมันหรือเกิดจากสาเหตุภายนอกร่างกายได้แก่การใช้เครื่องสำอางชนิดที่ทำให้เกิดสิวได้ เช่นการใช้ออยล์หรือครีมบำรุงผิว
การใช้ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมตัวยาสตรีรอยด์ การแพ้ความร้อนหรือต้องสัมผัสน้ำมันหรือฝุ่นละอองตลอดเวลา นอกจากนี้แล้วการรับประทานยาบางประเภทสามารถทำให้เกิดสิวได้เช่น ฮอร์โมนส่วนบางคนกลัวเรื่องของการรับประทานอาหารว่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดสิวนั้นอาหารไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดสิวแต่อย่างใด
จากการประชุมทางวิชาการ 12 TH REGIONAL CONFERENC OF DERMATOLOGY ที่จัดโดยสมาคมแพทย์โรคผิวหนังแห่งประเทศไทยที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จ.ชลบุรีเมื่อเร็วๆนี้ว่า มีการนำเสนอบทความทางวิชาการ เรื่อง “RETINOIDS IN ACNE : STATUS AND PERSPECTIVE” โดยเน้นว่าเมื่อเป็นสิวแล้วจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพราะ “สิว” จัดเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์นายแพทย์ HENRI LEFRANCO หัวหน้าแผนกวิจัยทางคลินิกด้านโรคผิวหนังบริษัท เอฟ ฮอฟมันน์ ลาโรซ จำกัด ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้ร่วมพัฒนากลุ่มยาเรตินอยด์มานานกว่า 20 ปีแล้วเปิดเผยว่า เรตินอยด์ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2503 บริษัท เอฟ ฮอฟมันน์ สาโรซ จำกัดได้สังเคราะห์เรตินอยด์ หรืออนุพันธ์ของไวตามิน เอ ประมาณ 2,500 ชนิดแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. ACIDIC RETINOIDS เช่น ROACCUTANE ใช้สำหรับรักษาสิว
2. AROMATIC RETINIODS เช่น TIGASON และ NEOTIGASON ซึ่งใช้สำหรับรักษาเรื้อนกวาง
ROACCUTANE ได้ถูกนำมาใช้ในการบำบัดสิวลุกลามชนิดรุนแรง แต่ในภาวะสิวที่รุนแรงน้อยลงการใช้ยาก็ยังได้ผลดีจึงอาจกล่าวได้ว่าสามารถใช้รักษาสิวได้ทุกระยะด้วยประสิทธิภาพที่ดี ในทางปฏิบัติแพทย์จะเป็นผู้คำนวณยาให้ผู้ป่วยว่ารับหรือให้ยาสะสม (TOTAL CUMULATIVE DOSE) 120 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมซึ่งจุดนี้เป็นประเด็นสำคัญในการใช้ยา เพราะมีผลทำให้อัตราการกำเริบของสิวต่ำที่สุด
นายแพทย์ HENRI LEFRANCO ได้ยกตัวอย่างผู้ป่วยหญิงที่เป็นสิวรุนแรงเรื้อรังมาหลายปี โดยใช้วิธีสารพัด แต่อาการยังไม่ดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยยา ROACCUTANE วันละ 1 มิลลิกรัมสิ้นสุดการรักษา สิวหายไปหมด มีรอยแผลเป็นปรากฎอยู่บ้างเนื่องจากเธอมารับการรักษาด้วย ROACCUTANE หลังจากสิวลุกลามเป็นเวลานานแล้ว หากมาเร็วกว่านี้ จะมีแผลเป็นน้อยกว่านี้แต่อย่างไรก็ตามแผลเป็นนี้ก็สามารถรักษาด้วยศัลยกรรม
นายแพทย์ W.A.D. GRIFFITHS อีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญสถาบันโรคผิวหนังเซนต์จอห์น โรงพยาบาลเซนต์โทมัส ลอนดอนประเทศอังกฤษ กล่าวในระหว่างการประชุมว่า สิวเป็นผลต่อสุขภาพจิต สร้างความรำคาญและกังวลแก่ผู้คนจำนวนมากมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต บางรายงานแสดงถึงผลกระทบทางจิตใจของผู้เป็นสิว เช่น กลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ หลายคนไม่ผ่านการสอบสัมภาษณ์เวลาไปสมัครงาน เพราะใบหน้าเต็มไปด้วยสิว แม้บางคนเป็นสิวน้อยแต่ผู้เป็นกลับวิตกกังวลมาก ดังนั้น การรักษาสิวจะต้องรักษาให้หายโดยเร็ว เพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย
ส่วนในเรื่องของราคา หากมองผิวเผินอาจรู้สึกว่า ROACCUTANE แพง แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาติดต่อกันในเวลาถึง 54 สัปดาห์เนื่องจากความเรื้อรังและการกำเริบของสิวผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายคิดเป็นเงิน 3.244 เหรียญนิวซีแลนด์ในขณะที่รับประทานยา ROACCUTANE ขนาด 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 4-5 เดือนก็ทำให้สิวหายขาด ซึ่งถือเป็นตำรับยาที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานถึง 54 สัปดาห์โดยสรุปแล้ว ISOTRETINOIN หรือ RETINOIDS เป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพถ้าใช้ด้วยความระมัดระวัง
ในเรื่องเดียวกัน LEE และ COOPER จากประเทศออสเตรเลียได้ศึกษาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการใช้ ROACCUTANE ซึ่งรักษาสิวหายภายใน 20 สัปดาห์ คิดเป็นเงินเหรียญ 1,800 เหรียญแต่ถ้าให้ยาปฏิชีวนะและทายาเฉพาะที่หมุนเวียนกันไปในช่วง 3 ปีคิดเป็นเงิน 2,500 เหรียญดังจะเห็นได้ว่าถูกกว่ากัน 26% การที่เภสัชกรจะมาบอกว่ายาปฏิชีวนะถูกกว่านั้นไม่เป็นความจริง
ในที่ประชุมมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ ISOTRETINION หรือ RETINOIDS ในรูปของยาทาเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของยากินที่ประชุมลงความเห็นว่ายาทาได้ผลน้อยกว่ายากินเพราะเรตินอยด์ในรูปของยาทาจะไวต่อแสงมาก และจะเปลี่ยนเป็นกรดวิตามินเอ ภายใน 10 นาทีหลังจากโดนแสงผลคือแทนที่ผู้ป่วยจะได้รับ ISOTRETINOIN ก็จะได้รับเกรดวิตามินเอแทน ประสิทธิภาพในการรักษาจึงต่ำกว่าการใช้ยากิน
ในบางประเทศมีการให้ ROACCUTANE 1-2 เม็ดต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันสิวกลับมาเป็นอีก ซึ่ง DR. GRIFFITHS ชี้แจงว่าถ้าหากมีการกลับมาเป็นสิวจริงก็ควรให้มีการรักษาอีก 1 COURSE ในขณะเดียวกับพบว่าดาราบางคนใช้เพื่อทำให้ผิวหน้าดูสดใสอ่อนเยาว์ซึ่งเป็นการใช้ยานอกจากข้อบ่งใช้ ในความเป็นจริงแล้วหากอาการสิวกำเริบน้อยอาจจะให้ยาทาเท่านั้น
สิวบนใบหน้าบางตำแหน่งอาจเป็นอันตราย โดยเกิดการอักเสบรุนแรงและลุกลามมากขึ้นจนกลายเป็น “แผลเป็น” ได้บางคนเป็นสิวอักเสบมากๆ นอกจากจะเจ็บปวดเพราะฝีหนองแล้วยังเกิดปมด้อย บางคนซึมเศร้าและสูญเสียความมั่นใจ
แพทย์หญิง ปรียา กุลละวณิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ROACCUTANE เป็นยาในกลุ่มวิตามินเอมีฤทธิ์ลดไขมันที่ผิว ลดการอุดตันและอักเสบของสิว และทำให้สิวแห้งแต่การใช้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังและระหว่างใช้ยาถ้าเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์ต้องคุมกำเนิด การรักษาสิวอาจต้องใช้เวลา สำหรับคนที่เป็นเพียงเล็กน้อยใช้แค่ยาทาเฉพาะที่ก็เพียงพอ ส่วนผู้ที่เป็นสิวมากอาจต้องรักษาด้วยยารับประทานติดต่อกันนานกว่าจะหาย ทั้งนี้เห็นได้ว่า ROACCUTANE ไม่ใช่ยาตัวใหม่ แต่เป็นยาที่แพร่หลายในหลายประเทศผลข้างเคียงของยาอาจทำให้ผู้ใช้ริมฝีปากแห้งซึ่งแก้ไขได้โดยใช้วาสลินทาริมฝีปากเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและเมื่อหยุดยา อาการข้างเคียงก็จะหายไปเอง อย่างไรก็ตามการใช้ยาตัวนี้ควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง การใช้ยานี้อย่างถูกวิธีจะทำให้ได้ประโยชน์จากยานี้อย่างคุ้มค่า
|
|
|
|
|