แนวทางแก้ปัญหากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ)
ด้วยการออกพันธบัตร ซึ่งเป็นการระดมเงินออม (ระยะยาว) จากประชาชนมาใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
เป็นแนวทางที่คนส่วนมากเห็นด้วย รวมทั้งฝ่ายค้าน ซึ่งอดีต รมว.คลัง นายธารินทร์
นิมมาน เหมินท์ ก็อภิปรายสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยบอกด้วยว่า เป็นแนวทางเดียวกับที่เขาเคย
ทำมาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ก็เคย ออกกฎหมายเพื่อให้มีการออกพันธบัตร
จำนวน 5 แสนกว่าล้านบาท เพื่อใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ บางส่วนไปแล้วในปี 2541
ในการออกพันธบัตร 300,000 ล้าน บาทเพื่อมารีไฟแนนซ์หนี้บางส่วนในครั้งนี้นั้น
แน่นอนว่าพันธบัตรจำนวนนี้ต้องเข้า มาสร้างความสับสนในตลาดเงินระยะหนึ่ง
แม้ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) นางธาริษา
วัฒน เกส จะอธิบายเรื่องนี้ว่าเป็นการโยกเงินจาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งคือ
การโอนเงินจากเงิน ฝากไปยังพันธบัตรรัฐบาล และรัฐบาลก็นำ เงินมาให้กองทุนฟื้นฟูฯ
และกองทุนฟื้นฟูฯ นำไปชำระคืนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/ พี) ซึ่งทำให้เงินไหลกลับธนาคารพาณิชย์
ดังนั้นในด้านอุปสงค์อุปทานไม่เปลี่ยน แปลง แต่ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินหายไป
ธปท.ได้พยายามจำกัดจุดที่จะก่อ ให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดเงิน และตลาดพันธบัตร
แต่กระนั้นตลาดก็ยังคงมีความกังวลอยู่ดี และมองกันว่าการออก พันธบัตรลอตนี้ยังถือเป็นปัจจัยเสี่ยงในตลาดอยู่
(ปลายสัปดาห์ก่อนที่จะมีการประกาศเรื่องพันธบัตร 3 แสนล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มสูงขึ้น
0.08% ตอบรับข่าวนี้) รวมทั้งมองด้วยว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าตลาดในตอนนี้
(สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลที่เคยออกมาก่อนหน้านี้ประมาณ 0.6% - 0.8%) จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในการออกพันธบัตรอื่นๆ
ธปท.กำหนดขายพันธบัตรกองทุน ฟื้นฟูฯ ล็อตนี้ให้แก่ประชาชนทั่วไป สหกรณ์
มูลนิธิและองค์กรการกุศล เพื่อสาธารณประ- โยชน์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้จากผล
ประโยชน์ในเงินต้น โดยกำหนดวงเงินซื้อขั้นต่ำ ไว้ที่ 50,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าเป็นวงเงินที่สูง
พอสมควร คนที่จะลงทุนต้องมีเงินเก็บเงินออม และต้องถือยาวกว่า 1 ปีจึงจะได้ผลตอบแทน
ที่คุ้มค่าเงินลงทุน ซึ่งก็มีผู้ห่วงว่า ธปท.จะระดม เงินได้ครบตามที่ต้องการหรือเพราะเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลอยู่
หากจะให้ดี ธปท.ควรทำ ความเข้าใจกับประชาชนและนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้มาก
กว่านี้ โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ ที่นักลงทุนจะได้รับ ซึ่งก็เป็นประโยชน์
แก่ ธปท.ด้วย เพราะในเรื่องของกฎหมาย เชื่อแน่ว่ารัฐบาลคงผลักดันออกมาได้
สำเร็จ แต่ในเรื่องของภาวะตลาดนั้น มี ความผันผวนและอ่อนไหวเกินกว่าความ
ควบคุมของรัฐบาล
สำหรับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ดังกล่าว จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร
รัฐบาล ที่ขายในตลาดรองบวกอัตราที่ กำหนดให้ใหม่ ซึ่งคาดว่าพันธบัตร 5 ปี
จะมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับดอกเบี้ยพันธบัตร รัฐบาล 5 ปี ที่ขายกันในตลาดรอง
(ณ วัน ที่ 25 มิ.ย.) + ส่วนต่างกำไรประมาณ 0.6% หรือ 3.63 + 0.6% = 4.23%
ส่วนพันธบัตร 7 ปี มีอัตรา 4.71 + 0.7% = 5.41% และ พันธบัตร 10 ปีเท่ากับ
5.44 + 0.8% = 6.24% และเสียภาษีเงินได้ตามอัตราภาษี พันธบัตรรัฐบาลตามปกติ
แต่รายรับรวม ที่ได้ก็ถือว่ายังสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ปัจจุบัน
ทั้งนี้ ธปท.จะไม่กำหนดว่า จะแบ่ง ขายพันธบัตรแต่ละอายุในวงเงินเท่าไร
แต่ขึ้นกับความต้องการของประชาชนเป็น หลัก หากแสดงความจำนงจะซื้อพันธบัตร
ระยะยาวจำนวนวงเงินเท่าไรก็จะขายตาม นั้น ดังนั้น ประชาชนที่ต้องการซื้อพันธบัตร
จะต้องกำหนดวงเงินและคำนวณระยะเวลา การใช้เงินของตนเองว่า ต้องการไถ่ถอน
มาใช้ เมื่อมีวัตถุประสงค์ใด หากเป็นการ ออม เพื่อใช้ใน 7 ปีข้างหน้า เช่น
เพื่อการ ศึกษาของบุตร ก็ให้ซื้อพันธบัตรอายุ 7 ปี
การที่นักลงทุนหรือผู้ออมเงินจะตัด สินใจซื้อพันธบัตรหรือไม่ คงต้องพิจารณา
ใน 2 ทางคือ แนวโน้มดอกเบี้ยอนาคตที่ อาจจะสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน และความเสี่ยง
ของการบริหารเงินออม หากเห็นว่า อนาคต ดอกเบี้ยจะสูงขึ้น ก็สามารถเลือกลงทุน
ในสิ่งที่ได้รับผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่า แต่ในช่วงปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้
1-2 ปี หรือ 2-3 ปีนี้ จะต้องยอมรับดอกเบี้ย และผลตอบแทนในอัตราต่ำก่อน ซึ่งก็คง
ต้องคำนวณกันเองว่า คุ้มหรือไม่กับการซื้อ พันธบัตรในขณะนี้ และได้รับผลตอบแทน
ที่มากกว่าตลาดตั้งแต่ปัจจุบัน แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ธปท.จะออกตารางที่คำนวณ ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับตามอายุ พันธบัตร
และจะบอกด้วยว่าหากมีการ ไถ่ถอนก่อนกำหนด จะถูกปรับอย่างไร หรือ จะได้เงินต้นและดอกเบี้ยจำนวนเท่าใด
อย่างไรก็ตาม ประชาชน สหกรณ์ ออมทรัพย์ และมูลนิธิ ซึ่งมีสิทธิซื้อพันธบัตรนั้น
หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินใน ระหว่างที่พันธบัตรยังไม่หมดอายุ แต่ต้อง ถือไว้เกิน
1 ปีขึ้นไป จึงนำมาขายคืนให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งได้ แต่ต้องลดราคาจากวันซื้อตามดอกเบี้ยที่อาจจะได้รับ
เกินไปจากการคำนวณจ่าย ซึ่งธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่ซื้อพันธบัตร
คืนมีทางเลือก 3 ทาง คือ ถือไว้เองจนหมดอายุก็ได้ดอกเบี้ยไป หรือนำไปขายต่อ
ให้ประชาชนที่ต้องการซื้อ หรือนำมาขาย คืน ธปท.ทันที
หากพิจารณาดูจากอัตราผลตอบแทน แล้ว ก็ถือว่าดีกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินฝาก
ในธนาคารแน่นอน เพียงแต่ว่านักลงทุนควร ดูความจำเป็นในการใช้เงินของแต่ละคน
เพื่อพิจารณาว่าจะซื้อพันธบัตรรุ่นใดดี จะได้จัดให้สอดคล้องกับความจำเป็น
รายละเอียดพันธบัตรช่วยชาติ
ราคาจำหน่าย :
หน่วยละ 10,000 บาท ซื้อครั้งละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท และไม่มีวงเงินสูงสุด
การจ่ายดอกเบี้ย :
ปีละ 2 งวด คือวันที่ 2 มีนาคม และ 2 กันยายน ของทุกปี ตลอดอายุพันธบัตร
การเสียภาษี :
ตามอัตราที่ประกาศไว้ในประมวลรัษฎากร เช่น บุคคลธรรมดา 15% ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย
ธปท.จะหักภาษี ณ ที่จ่าย และสำหรับบุคคลธรรมดาสามารถเลือกได้ว่าจะไปรวมคำนวณภาษี
ณ สิ้นปีหรือไม่ กำหนดชำระคืนเงินต้น ธปท.จะโอนเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)
ของผู้ทรงสิทธิ์ที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ตามที่แจ้งไว้ในใบคำขอรับคืนเงินต้น
โดยพันธบัตรอายุ 5 ปี กำหนดชำระคืน 2 กันยายน 2550, อายุ 7 ปี กำหนดชำระคืน
2 กันยายน 2552 และอายุ 10 ปี กำหนดชำระคืน 2 กันยายน 2555
การขายคืนก่อนครบกำหนด : ผู้ถือพันธบัตรสามารถขายคืนก่อนครบกำหนด ตั้งแต่
2 กันยายน 2546 เป็นต้นไป โดย ธปท.จะระบุราคาขายคืนก่อนกำหนดตามช่วงเวลา
การใช้พันธบัตรออมทรัพย์เป็นหลักประกัน :
ผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์สามารถใช้พันธบัตรออมทรัพย์ เป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรของรัฐ
เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรออมทรัพย์เป็นหลักประกันในการกู้เงินจากธนาคาร
การโอนกรรมสิทธิ์ :
กระทำได้ตั้งแต่ 2 กันยายน 2546 ยกเว้นผู้ที่ต้องการโอนกรรมสิทธิ์ เป็นหลักประกัน
ให้กระทำได้หลังจากได้รับพันธบัตรแล้ว แต่จะกระทำได้ในระหว่าง 15 วัน ก่อนวันถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยและเงินต้นไม่ได้
การกำหนดอัตราดอกเบี้ย :
อัตราดอกเบี้ยบนหน้าพันธบัตร จะอิงกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุเท่ากันในช่วงที่ออกพันธบัตรออมทรัพย์
บวกเพิ่มประมาณ 60, 0.70 และ 0.80% สำหรับพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 5, 7 และ
10 ปี ตามลำดับหรือพันธบัตร 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.63 + 0.6% = 4.23%, พันธบัตร
7 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.71 + 0.7% = 5.41% และพันธบัตร 10 ปี อัตราดอกเบี้ย
5.44 + 0.8% = 6.24%
ผู้มีสิทธิ์ซื้อ :
บุคคลธรรมดา สหกรณ์ มูลนิธิ และนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล
การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น
โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน
สถานที่แจ้งความประสงค์ขอซื้อและจำหน่ายพันธบัตร :
ผู้ซื้อสามารถติดต่อที่สำนักงานใหญ่และสาขาของธนาคารออมสิน และธนาคารพาณิชย์ไทย
13 แห่ง โดยพันธบัตรออมทรัพย์ไม่มีจำหน่ายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย