|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ตุลาคม 2539
|
|
ในยุคที่ผู้คนห่วงใยสุขภาพมากขึ้น นอกจากโรงพยาบาลจะเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดแล้ว สินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพก็ทยอยกันออกมาอวดโฉมเป็นทิวแถว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน หมอน เครื่องสำอาง เครื่องอุปโภค บริโภคเช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟันฯลฯ เรียกว่าในชีวิตประจำวันหากจะถนอมรักษาสุขภาพกันสุดๆก็มีสินค้าให้เลือกใช้กันอย่างครบครัน เพียงแต่ว่าเมื่อได้สิ่งที่ดีกว่า ปลอดภัยกว่าราคาก็ย่อมจะสูงกว่าด้วยเป็นธรรมดา
ปัจจุบันแฟชั่นเพื่อสุขภาพจึงเกิดขึ้นอย่างหนาตาและมิได้รอดพ้นไปจากสายตาของ ทวีวัฒน์ ตติยมณีกุล ประธานบริหาร บริษัท เอส.เค.การ์เม้นท์ (1995) จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ “S’FARE” เขาได้ออกมาแนะนำคอลเลกชั่นใหม่ภายใต้ชื่อว่า “S’FARE CASUALIST” รุ่น “GREEN-TEX COLLECTION” ซึ่งเป็นเสื้อผ้าเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรายแรกของไทยที่ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าปลอดสารพิษและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
“เสื้อผ้าของเราผลิตด้วยกระบวนการผลิตแบบธรรมชาติที่เรียกว่าไบโอพลัส (BIO PLUS) โดยมีแนวคิดสำคัญที่ว่าจะไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษและพยายามจะไม่ใช้สารเคมีใดๆเลย หากจำเป็นต้องใช้ก็จะใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุด” ทวีวัฒน์กล่าว
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนังและลมหายใจ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจากสารฟอร์มัลดีไฮด์และสารโลหะหนัก เช่นสีย้อมอะโซ ซึ่งหากสารเหล่านี้สะสมในร่างกายมากๆอาจมีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็งได้ในระยะยาว ซึ่งประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีให้ความสำคัญค่อนข้างมาก
การทำตลาดในประเทศ S’FARE มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในระดับกลางถึงบน เนื่องจากสินค้ามีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งในขั้นเปิดตัวนี้ก็มีสินค้าให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นชุดทำงาน ชุดลำลองหรือกระทั่งชุดกีฬา
แต่หากมองกันดีๆแล้วการปรับตัวของ S’FARE ครั้งนี้มุ่งไปที่การขยายตัวในตลาดโลกด้วย เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยมีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งวัตถุดิบและค่าแรง ขณะที่สิ่งทอในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีน อินโดนีเซีย อินเดียและเวียดนาม ซึ่งมีต้นทุนต่ำได้เข้ามาแย่งตลาดส่งออกจำนวนมากจนผู้ประกอบการสิ่งทอไทยหายใจไม่ทั่วท้องไปตามๆกัน
หนทางที่จะอยู่รอดได้ในยามนี้ นอกจากพยายามลดต้นทุนทุกชนิดแล้ว ผู้ผลิตยังพยายามที่จะยกระดับสินค้าของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อให้มีสถานะในการแข่งขันที่ดีขึ้นด้วย
ภายหลังข้อตกลงเรื่องสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้ GATT เริ่มมีผลบังคับใช้โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดเสรีภายใน 10 ปี (2538-2548) ซึ่งทำให้ประเทศผู้นำเข้าที่เคยมีระบบโควตาต้องค่อยๆยกเลิกระบบดังกล่าวอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าและยกเลิกมาตรการกีดกันอื่นๆและดำเนินนโยบายทางการค้าอย่างเป็นธรรมในเรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุนการค้าส่งออกและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อตกลงดังกล่าวทำให้ประเทศพัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐ เยอรมนี ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งเป็นตลาดนำเข้ารายใหญ่ของโลกจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากปัญหาเรื่องต้นทุนกรผลิตภายในประเทศและการแข่งขันจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามระบมาตรฐานสินค้าจะกลายเป็นระบบหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการนำเข้าสินค้าในหลายๆอุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนของสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเองก็จำเป็นที่จะต้องมี ISO 14000 เป็นตัวรับประกันว่มีระบบการจัดการมาตรฐานสิ่งแวดล้อมแล้ว
มาตรฐาน ISO 14000 นี้มีเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการคือ ขบวนการผลิตต่างๆจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Production ecology) สินค้านั้นต้องไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค (Human ecology) และสินค้าหลังใช้แล้ว เมื่อเป็นขยะจะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อไป (Disposal ecology)
นี่เองเป็นเหตุผลสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ S’FARE พยายามยกระดับคุณภาพสินค้าดดยเน้นเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
ทวีวัฒน์ กล่าวถึงสินค้าคอลเลกชั่นใหม่ของตนว่าเป็นผ้าที่ผลิตจากใยฝ้าย 100% ซึ่งเป็นใยธรรมชาติผลิตโดยใช้หลักธรรมชาติและปลอดภัยจากสารเคมีเป็นพิษตกค้าง ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดอาการแพ้ และไม่ส่งผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม
เขาเชื่อว่า GREEN-TEX COLLECTION นี้จะได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ให้ความสำคัญในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมพอสมควรและจะเป็นผลดีต่อบริษัทในระยะยาวต่อไปเมื่อผู้คนหันมาให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
|
|
|
|
|