Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
GEORGE H. LIU &RODOLFO L. VERGARA 4 เปล่าใช่อเมริกัน แอ๊ฎเฎรซัล 3             
 


   
www resources

American Appraisal Homepage

   
search resources

อเมริกัน แอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย)
Consultants and Professional Services




อเมริกัน แอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) จำกัด (American Appraisal (Thailand) Ltd.) บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินอเมริกันเป็นต่างชาติรายแรกที่เข้ามาจดทะเบียนดำเนินธุรกิจประเมินสินทรัพย์ในไทยตั้งแต่ปี 2517 และสามารถประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและเมื่อเดือนธันวาคม 2536 บริษัทได้รับการคัดเลือกจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้ชำนาญการประเมินราคาทรัพย์สินสำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์

แต่ในก้าวย่างปีที่ 2 ความยุ่งยากได้โหมกระหน่ำบริษัทภายหลังกรณีอื้อฉาวธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การหรือที่คุ้นหูกันว่า BBC ถูกเปิดเปิงออกมาไม่นานนัก เมื่อปรากฎข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่าบริษัทอเมริกัน แอ๊พเพรซัลถูก ธปท.คัดชื่อ (Delisted) ออกจากรายชื่อบริษัทประเมินเพราะกระทำผิดจรรยาบรรณโดยประเมินราคาทรัพย์สินสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งทรัพย์สินที่ประเมินราคาสูงกว่าความเป็นจริงนี้ได้นำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคารฉาวแห่งนี้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพและหนี้เสียแก่แบงก์แห่งนี้จำนวนมหาศาล

ทว่า ในความเป็นจริงเรื่องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นกับบริษัทแต่อย่างใดทั้งนี้เพราะเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องชื่อของบริษัทที่บังเอิญเกิดไปใกล้เคียงกับบริษัทที่ถูกเพิกถอนจริงๆนั่นก็คือบริษัทอเมริกัน สแตนดาร์ด แอ๊พเพรซัล จำกัด ความผิดพลาดนี้เป็นเหตุให้ชื่อเสียงของบริษัทที่สร้างสมมากว่า 2 ทศวรรษต้องมัวหมองไป

นอกเหนือจาก บริษัทอเมริกัน สแตนดาร์ด แอ๊พเพรซัลจำกัด ถูกเพิกถอนออกจากรายชื่อเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคมและกรกฎาคม ธปท.ยังได้เพิกถอนรายชื่อของบริษัท คอลลิเออร์ส จาร์ดีน(ประเทศไทย) จำกัดและบริษัท ไทยประเมินราคา ตามลำดับจนถึงปัจจุบันผู้ชำนาญการประเมินราคาทรัพย์สินตามรายชื่อของแบงก์ชาติเหลือเพียง 14 รายเท่านั้นอย่างไรก็ตามยังมีกระแสข่าวออกมาว่าบริษัทไซมอน ลิมและห้างหุ้นส่วนจำกัด อาจจะถูกเพิกถอนเป็นรายต่อไป

“การที่บริษัทหนึ่งจะเลือกใช้บริการบริษัทประเมินราคาทรัพย์สิน ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจก็คือการยอมรับในชื่อเสียงของบริษัท” George H. Liu ประธานบริษัทอเมริกัน แอ๊พเพรซัลฮ่องกง สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวถึงความในใจขณะที่ Rodolfo L. Vergara กรรมการผู้จัดการบริษัทอเมริกัน แอ๊พเพรซัล(ประเทศไทย) กล่าวด้วยความหนักใจถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญครั้งนี้ว่า

“เราเป็นบริษัทที่มี Code of ethic เข้มงวดมากและการประเมินราคาทรัพย์สินของเราใช้มาตรฐานสากลตามบริษัทแม่ในอเมริกา นอกจากนี้ผู้ประเมินของเรายังเป็นมืออาชีพ ทุกคนต้องเข้าไปฝึกอบรมที่สมาคมประเมินราคาทรัพย์สินอเมริกัน (American Society Appraisal) และการที่มีข่าวปรากฎออกมาว่าบริษัทของเราถูกคัดออกจากรายชื่อของธปท.นั้นเป็นเรื่องเข้าใจผิดเพราะบริษัทที่ถูกคัดออกชื่อคล้ายกับเรา”

Rodolfo L. Vergara เปิดเผยว่าหลังเกิดเหตุมีลูกค้าเป็นจำนวนไม่น้อยที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถามความจริงที่เกิดขึ้น ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาบริษัทจึงมีภาระหน้าที่หลักๆคือการชี้แจงความจริงให้ลูกค้ารับทราบ สวนทางกับบริษัทแม่ในอเมริกาที่มีการเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ศตวรรษ ของบริษัทเมื่อวันที่ 19กันยายนที่ผ่านมา

“จากข่าวที่ออกไปทำให้เราต้องคอยชี้แจงข้อเท็จจริงแก่ลูกค้าที่โทรเข้ามาสอบถามไม่ขาดระยะ ทำให้เรายุ่งยากมากขึ้น” กรรมการผู้จัดการ กล่าวด้วยสีหน้าที่เคร่งเครียด

อเมริกัน แอ๊พเพรซัล (ประเทศไทย) นับเป็น 1 ใน 5 บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินต่างชาติที่มีบทบาทโดดเด่นในตลาดไทยและ 4 บริษัทนั้นได้แก่บริษัทเจแอลดับลิว (Jones Lang Wootton), ริชาร์ด เอลลิส, เฟิร์ส แปซิฟิก เดวี่ส์และเชสเตอร์ตันไทย ปัจจุบันบริษัทมีสำนักงาน 9 แห่งได้แก่เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ ขอนแก่น พัทยา หาดใหญ่ สุพรรณบุรี ระยองและจันทบุรี โดยมีกรุงเทพฯเป็นสำนักงานใหญ่และในอนาคตอันใกล้นี้บริษัทมีแผนที่จะเปิดสำนักงานแห่งที่ 10 ที่ลำปางต่อไป

ที่ผ่านมา สำนักงานในไทยสามารถทำรายได้ให้แก่บริษัทแม่ในสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของรายได้รวมทั้งหมดและแม้ว่าก้าวย่างของบริษัทจะไม่ราบรื่นเหมือนที่ผ่านมา แต่ความน่าเชื่อถือที่ได้สะสมมาเป็นเวลานานยังคงเอื้ออำนวยให้บริษัทได้รับความไว้วางใจจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) ในขั้นตอนแรกของการแปรรูปกิจการร่วมกับเจแอลดับลิว หรือโจนส์ แลงวูธทั่น ทั้งนี้บริษัทจะทำการประเมินราคาทรัพย์สินของหน่วยธุรกิจทั้ง 6 หน่วยได้แก่ หน่วยการผลิตกระแสไฟฟ้า (Power generation) ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าที่ได้จากถ่านหิน พลังงานความร้อนและไอน้ำ แต่ไม่รวมกระแสไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำ, หน่วยระบบส่งไฟฟ้า (Engineering system), หน่วยบำรุงรักษา (Maintenance), หน่วยเหมือง (Mining), หน่วยระบบส่ง (Transmission system) และหน่วยวิศวกรรมสายส่ง (Engineering Construction) ซึ่งทรัพย์สินที่ประเมินราคาครั้งนี้มีมูลค่าถึง 200,000 ล้านบาท

นอกจากนี้บริษัทยังเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินแก่สถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารกรุงเทพธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารนครธนโดยเข้าไปประเมินราคาทรัพย์สินสาขาของธนาคารทั่วประเทศพร้อมกันนั้นยังรับเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธ.อ.ส.)แม้ว่าค่าบริการที่ได้รับจะไม่มากนักเนื่องจากเป็นการคิดในอัตราต่อครั้งประมาณ 1.600 บาทแต่เนื่องจากธอส.มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วประเทศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในแง่ของการสร้างชื่อและฐานลูกค้าเป็นอย่างดี ส่วนค่าบริการที่บริษัทคิดจากลูกค้าบริษัทอื่นๆจะอยู่ในช่วงระหว่างไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทในระยะเวลาการทำงาน 5 เดือน

“ปัจจุบันเรามีพนักงานทั้งหมด 185 คนซึ่งส่วนใหญ่จะทำงานในส่วนงานที่เรียกว่า Unit for Government Housing Bank ซึ่งจะประเมินทรัพย์สินที่จะนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือที่เรียกว่า Mortgage Appraisal อันเป็นงานที่สร้างรายได้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวนไม่น้อย” กรรมการผู้ซึ่งเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี 2518 กล่าวถึงธุรกิจของบริษัทพร้อมทั้งกลยุทธ์ในอนาคตของบริษัท

“Business Enterprise Valuation เป็นอีกตลาดหนึ่งที่เราต้องการเจาะเข้าไปโดยเฉพาะในสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible asset) อันได้แก่ทรัพย์สินทางปัญญา ค่าความนิยม (Good will) สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us