Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539
สันติ สามัคคี สร้างสรรค์ แนวทางสืบสานเจตนารมณ์ของชาว 6 ตุลา             
 





20 ปีถือว่าเป็นตัวเลขที่นานพอสมควรสำหรับการครบรอบเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก่อนหน้านี้มีการจัดงานทำบุญอย่างสม่ำเสมอทุกปีที่ธรรมศาสตร์ คนก็ทราบข่าวบ้างไปบ้างไม่ไปบ้าง อีกอย่างหนึ่งคือยังไม่มีการรำลึกเหตุการณ์นี้อย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการศึกษาค้นคว้า การสอบถามว่ามีใครสูญหายตากจากบ้างจากเหตุการณ์นั้น การรวบรวมประวัติศาสตร์บอกเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ การที่จะฟื้นฟูจิตใจของคนหนุ่มสาวเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งปัจจุบันก็เป็นคนวัยกลางคนแล้ว ไม่ได้มีการกระทำสิ่งเหล่านี้มาในอดีต เพราะฉะนั้น 20 ปีเป็นโอกาสที่ดี

ความคิดเรื่องการจัดงานรำลึกฯครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้วที่ครบรอบ 19 ปีว่าควรมีการทำอะไรสักอย่างในวาระครบรอบ 20 ปี ดังนั้นการจัดงานปีนี้จึงมีเวลาเตรียมตัวมากเป็นปี ได้มีการพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การอภิปราย จดหมายเวียนในหมู่ชาว 6 ตุลา กระทั่งได้ตกผลึกความคิดเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

การจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลาในปีนี้มีจุดมุ่งหมายตามคำขวัญที่ได้จากการระดมความคิดดังกล่าวว่า ปณิธาน 6 ตุลาคือยากให้สังคมไทยมีความสามัคคีและมีการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี เพื่อที่จะเสนอว่า 20 ปีผ่านไปภาพต้องเป็นตรงกันข้ามกับเมื่อ 20 ปีก่อน

เมื่อ 20 ปีก่อนคนไทยเราแตกความสามัคคีกันมาก เราใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหาทางสังคมทำให้เกิดความสูญเสีย ความโศกเศร้า

20 ปีผ่านไปแล้วเราสรุปบทเรียนว่ารำลึกเดือนตุลานั้นหมายถึงการฟื้นฟูความสมัครสมานสามัคคีและการสนับสนุนส่งเสริมแนวทางสันติวิธี

นอกจากนี้คณะกรรมการฯยังได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อการรำลึกอย่างรอบด้านโดยมีการศึกษาดูประวัติศาสตร์และมองไปข้างหน้า ซึ่งผลงานการศึกษานี้จะมีการนำเสนอในงานรำลึกที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5-6 ตุลาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผลงานวิชาการที่ศึกษาครั้งนี้มี 3 เรื่องคือ 1. สรุปบทเรียน 6 ตุลาจากคำบอกเล่า 2. ความทรงจำและการหลงลืมกรณี 6 ตุลา 3. บทวิเคราะห์ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในสังคมไทย โดยทีมงานวิจัยจะเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหลัก

นอกจากนี้จะมีการรวบรวมรายละเอียดว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดอะไรขึ้นบ้าง มีใครเสียชีวิตบ้าง ติดต่อญาติของผู้เสียชีวิต ซึ่งจะมีการจัดงานอุทิศส่วนกุลศลให้พวกเขาเป็นครั้งใหญ่ โดยนิมนต์พระ 106 รูปและมีพิธีกรรม มีการวางดอกไม้ การสร้างโบสถ์จำลองถึงผู้ที่เสียชีวิตเหล่านั้น

งานอีกด้านหนึ่งที่จะเป็นการมองไปสู่อนาคตคือพยายามวางแผนงานสร้างอนุสรณ์สถาน ซึ่งเรื่องนี้ก็มีความยินดีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความเห็นด้วยในการที่จะสร้างเป็นอนุสรณ์สถานภายในบริเวณมหาวิทยาลัยได้ แต่งานนี้เป็นงานใหญ่ ซึ่งงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลาในปีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น หลังเสร็จงานนี้เราก็จะหันมาจับงานสร้างอนุสรณ์สถานให้เป็นจริงเป็นจังต่อไป

บทเรียนจาก 6 ตุลาทำให้เราคิดว่าน่าจะมีการสร้างการเมืองใหม่ที่เป็นระบบการเมืองที่ดีและมีผู้นำทางการเมืองที่ดี เพื่อที่จะได้ไม่ให้ซ้ำกับความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสังคมไทย

ผมมองว่าเหตุการณ์ 6 ตุลามีลักษณะต่างจากเหตุการณ์อื่นๆอยู่พอสมควร อย่างน้อยก็ 2 ด้านคือ

1. การใช้สื่อสารมวลชนโหมกระพือความเกลียดชัง ซึ่งผลที่ตามมาคือความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความรุนแรงเฉพาะระหว่างผู้มีอาวุธกับประชาชนที่ชุมนุมประท้วง แต่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากฝูงชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไปกระทำต่อผู้ชุมนุมประท้วง เหตุการณ์ครั้งอื่นๆเช่น 14 ตุลาหรือ พฤษภา’35 เกิดระหว่างผู้ถืออาวุธกับผู้ประท้วงมันไม่มีลักษณะที่ว่าไปปลุกความเกลียดชังจนเกิด พูดง่ายๆคือฝูงชนด้วยกันเองใช้ความรุนแรงต่อกัน

2. เหตุการณ์อื่นๆเราพูดถึงได้อย่างเต็มปากเต็มคำ สังคมยอมรับว่า 14 ตุลาและพฤษภา’35 เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ 6 ตุลานั้นสังคงยังสับสนอยู่ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ เพราะฉะนั้นดีแล้วที่ถูกปราบหรือว่าเป็นเรื่องที่เกิดความแตกแยกทางความคิดหรือว่าถ้าคิดไปอีกสุดข้างหนึ่งก็คือเป็นเรื่องที่มีความคิดอนุรักษ์นิยมต้องการจะโค่นล้มทั้งรัฐบาลและนิสิตนักศึกษา เลยวางแผนจะดำเนินการจนประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจรัฐ

เวลาที่ผ่านไป 20 ปีตัวบุคคลที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ก็ไม่ใช่ว่าเสียชีวิตไปทั้งหมด ยังมีชีวิตอยู่ ระยะเวลาได้ช่วยให้เกิดการมองที่อาจจะลดทิฐิลดอารมณ์ความยึดติดอะไรต่างๆลงไปบ้าง ในแง่ของอดีตนักศึกษาก็เป็นโอกาสทบทวนว่าสิ่งที่ผ่านไปนั้นมีอะไรที่เป็นสิ่งดีงาม มีอะไรที่เป็นส่วนผิดพลาดในทำนองเดียวกันผมก็คิดว่าผู้ที่อยู่อีกฝ่ายหนึ่ง ผู้ที่ใช้สื่อสารมวลชนโหมกระหน่ำสร้างความเกลียดชัง ไม่ทราบว่าจะใช้เวลาที่ผ่านไป 20 ปีทบทวนฟื้นฟูความทรงจำ สรุปบทเรียนอย่างที่ฝ่ายนักศึกษาหรือฝ่ายเรากำลังทำอยู่หรือไม่ ควรเป็นวัยที่น่าจะได้ทบทวนดูแล้ว

สังคมยังมองเหตุการณ์ 6 ตุลาด้วยความสับสนและไม่เข้าใจ ถึงเวลาแล้วที่ต้องทำความเข้าใจมันเป็นบทเรียนที่เจ็บปวด แต่หากเราทำความเข้าใจกับบทเรียนที่เจ็บปวด มันก็ดีกว่าทำเป็นไม่รับรู้และดีกว่าแน่ๆกับการที่จะเอาเหตุการณ์นั้นมาบิดเบือนตอกย้ำถึงความเจ็บปวดต่างๆ

ผมยกตัวอย่างกรณีประเทศแอฟริกาใต้ซึ่งเพิ่งเลิกระบบแบ่งแยกผิวไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมาเขาได้ตั้งกรรมาธิการชุดหนึ่งชื่อคณะกรรมาธิการเพื่อความจริงและการคืนดี มีสาธุคุณเอสมอนด์ ตูตูเป็นประธานฯเป็นโอกาสที่ทั้งฝ่ายอดีตรัฐบาลของคนผิวขาวและผู้นำของสภาครองเกรสแห่งชาติแอฟริกันได้มาพูดว่าตนเองได้อะไรผิดพลาดไปบ้างในอดีต ได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทั้ง 2 ฝ่าย แน่นอนฝ่ายรัฐบาลผิวขาวละเมิดมากกว่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็มีการละเมิดเหมือนกัน ก็มาพูดกันโดยหวังว่าความขมขื่นต่างๆเมื่อมีการพูดและทำความเข้าใจก็จะยอมรับได้ และชีวิตในอนาคตต่อไปจะดีขึ้น

การจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลาครั้งนี้อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นอันหนึ่ง ผมไม่ทราบว่าเราจะก้าวไปอย่างแอฟริกาใต้ได้มากน้อยแค่ไหน แต่เท่าที่ผมฟังในเวลานี้ ผมก็รู้สึกว่าคนหนุ่มสาวในอดีตมาถึงตอนนี้เขาก็ค่อนข้างจะมองปัญหาได้ลึกซึ้งมากขึ้น และความรู้สึกขุ่นข้องแค้นเคืองในอดีตก็ลดทอนลงไปมากพอสมควร อีกนิดหนึ่งก็คงสามารถให้อภัยได้ หรือบางคนก็ได้ให้อภัยไปแล้วและก็มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาเหมือนกันและเท่าที่ผมฟังดูมันก็มีข้อผิดพลาดของฝ่ายนิสิตนักศึกอยู่

ผมว่ามันเป็นการก้าวไปในทิศทางที่ผมเห็นด้วย แต่ที่ว่ายังก้าวไปไม่ไกลเหมือนแอฟริกาใต้ เพราะหลายคนที่เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐและใช้สื่อสารมวลชนก็ดี เขาเหล่านั้นอาจจะยังไม่พร้อมและเราไม่มีโอกาสที่จะได้พูดคุยกับเขาเท่าที่ควร ไม่ทราบว่าในปีนี้จะเป็นจุดเริ่มได้หรือไม่ ถ้ามาทำความเข้าใจกันมากขึ้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่มีความจำเป็นก่อนที่ทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับว่าอะไรคือสัจธรรม อะไรคือข้อเท็จจริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us